กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนภายหลังเสร็จการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง ว่า การประชุมฯ ประสบความสำเร็จหลายประการ ที่ประชุมฯ ได้อนุมัติหลายโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศต่างๆ โดยเฉพาะทางฝ่ายเอเชีย อาทิ โครงการจัดสัมมนาและฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ นอกจากนั้นที่ประชุมได้อนุมัติกองทุนอาเซ็ม ขั้นที่ 2 (ASEM Trust Fund Phase II ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกองทุนอาเซ็มประการหนึ่งคือ การช่วยเหลือประเทศที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจให้สามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยสามารถใช้เงินจากกองทุนฯ เพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในด้านการบริหารประเทศ เพื่อปูทางไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งในระหว่างการประชุมฯ อังกฤษแจ้งว่าได้ตัดสินใจที่จะสมทบเงินกองทุนอีก 5 ล้านปอนด์ ในขณะที่จีนจะให้อีก 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในกรอบของอาเซียน ประเทศไทยได้พยายามผลักดันพม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามามีส่วนร่วมในอาเซ็มโดยอาจพิจารณาให้เข้าทีละประเทศ แต่ฝ่ายยุโรปยังมีข้อขัดข้อง ในขณะที่ฝ่ายเอเชียเห็นว่าสมควรที่จะให้ทั้งสามประเทศเข้าร่วม เนื่องจากขณะนี้ที่ประชุมฯ ยังไม่มีความสมดุลระหว่างสองภูมิภาค กล่าวคือ ฝ่ายยุโรปมี 15 ประเทศกับกรรมาธิการสหภาพยุโรป ในขณะที่ฝ่ายเอเชียมีเพียง 10 ประเทศ (อาเซียน 7 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ตกลงให้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 -------------------------------------------
28 พฤษภาคม 2544 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนภายหลังเสร็จการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง ว่า การประชุมฯ ประสบความสำเร็จหลายประการ ที่ประชุมฯ ได้อนุมัติหลายโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศต่างๆ โดยเฉพาะทางฝ่ายเอเชีย อาทิ โครงการจัดสัมมนาและฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ นอกจากนั้นที่ประชุมได้อนุมัติกองทุนอาเซ็ม ขั้นที่ 2 (ASEM Trust Fund Phase II ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกองทุนอาเซ็มประการหนึ่งคือ การช่วยเหลือประเทศที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจให้สามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยสามารถใช้เงินจากกองทุนฯ เพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในด้านการบริหารประเทศ เพื่อปูทางไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งในระหว่างการประชุมฯ อังกฤษแจ้งว่าได้ตัดสินใจที่จะสมทบเงินกองทุนอีก 5 ล้านปอนด์ ในขณะที่จีนจะให้อีก 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในกรอบของอาเซียน ประเทศไทยได้พยายามผลักดันพม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามามีส่วนร่วมในอาเซ็มโดยอาจพิจารณาให้เข้าทีละประเทศ แต่ฝ่ายยุโรปยังมีข้อขัดข้อง ในขณะที่ฝ่ายเอเชียเห็นว่าสมควรที่จะให้ทั้งสามประเทศเข้าร่วม เนื่องจากขณะนี้ที่ประชุมฯ ยังไม่มีความสมดุลระหว่างสองภูมิภาค กล่าวคือ ฝ่ายยุโรปมี 15 ประเทศกับกรรมาธิการสหภาพยุโรป ในขณะที่ฝ่ายเอเชียมีเพียง 10 ประเทศ (อาเซียน 7 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ตกลงให้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนภายหลังเสร็จการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง ว่า การประชุมฯ ประสบความสำเร็จหลายประการ ที่ประชุมฯ ได้อนุมัติหลายโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศต่างๆ โดยเฉพาะทางฝ่ายเอเชีย อาทิ โครงการจัดสัมมนาและฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ นอกจากนั้นที่ประชุมได้อนุมัติกองทุนอาเซ็ม ขั้นที่ 2 (ASEM Trust Fund Phase II ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกองทุนอาเซ็มประการหนึ่งคือ การช่วยเหลือประเทศที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจให้สามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยสามารถใช้เงินจากกองทุนฯ เพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในด้านการบริหารประเทศ เพื่อปูทางไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งในระหว่างการประชุมฯ อังกฤษแจ้งว่าได้ตัดสินใจที่จะสมทบเงินกองทุนอีก 5 ล้านปอนด์ ในขณะที่จีนจะให้อีก 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในกรอบของอาเซียน ประเทศไทยได้พยายามผลักดันพม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามามีส่วนร่วมในอาเซ็มโดยอาจพิจารณาให้เข้าทีละประเทศ แต่ฝ่ายยุโรปยังมีข้อขัดข้อง ในขณะที่ฝ่ายเอเชียเห็นว่าสมควรที่จะให้ทั้งสามประเทศเข้าร่วม เนื่องจากขณะนี้ที่ประชุมฯ ยังไม่มีความสมดุลระหว่างสองภูมิภาค กล่าวคือ ฝ่ายยุโรปมี 15 ประเทศกับกรรมาธิการสหภาพยุโรป ในขณะที่ฝ่ายเอเชียมีเพียง 10 ประเทศ (อาเซียน 7 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ตกลงให้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4 -------------------------------------------
28 พฤษภาคม 2544 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนภายหลังเสร็จการเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง ว่า การประชุมฯ ประสบความสำเร็จหลายประการ ที่ประชุมฯ ได้อนุมัติหลายโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศต่างๆ โดยเฉพาะทางฝ่ายเอเชีย อาทิ โครงการจัดสัมมนาและฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ นอกจากนั้นที่ประชุมได้อนุมัติกองทุนอาเซ็ม ขั้นที่ 2 (ASEM Trust Fund Phase II ) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของกองทุนอาเซ็มประการหนึ่งคือ การช่วยเหลือประเทศที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจให้สามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยสามารถใช้เงินจากกองทุนฯ เพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในด้านการบริหารประเทศ เพื่อปูทางไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งในระหว่างการประชุมฯ อังกฤษแจ้งว่าได้ตัดสินใจที่จะสมทบเงินกองทุนอีก 5 ล้านปอนด์ ในขณะที่จีนจะให้อีก 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในกรอบของอาเซียน ประเทศไทยได้พยายามผลักดันพม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามามีส่วนร่วมในอาเซ็มโดยอาจพิจารณาให้เข้าทีละประเทศ แต่ฝ่ายยุโรปยังมีข้อขัดข้อง ในขณะที่ฝ่ายเอเชียเห็นว่าสมควรที่จะให้ทั้งสามประเทศเข้าร่วม เนื่องจากขณะนี้ที่ประชุมฯ ยังไม่มีความสมดุลระหว่างสองภูมิภาค กล่าวคือ ฝ่ายยุโรปมี 15 ประเทศกับกรรมาธิการสหภาพยุโรป ในขณะที่ฝ่ายเอเชียมีเพียง 10 ประเทศ (อาเซียน 7 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ตกลงให้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 4
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-