18 กุมภาพันธ์ 2543 สรุปผลการหารือสองฝ่ายของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับรัฐมนตรีของประเทศต่างๆ ในระหว่างการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 --------------- ในระหว่างการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พบหารือสองฝ่ายกับหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศต่างๆ รวม 42 ประเทศ ทั้งประเทศจากกลุ่ม แอฟริกา เช่น อียิปต์ แอฟริกาใต้ กาบอง โตโก ประเทศจากตะวันออกกลางเช่น ซาอุดิอารเบีย อิหร่าน อิรัก คูเวต ประเทศในแถบเอเชีย เช่น จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ อินเดีย เนปาล และบังคลาเทศ ประเทศจาก ยุโรปตะวันตก เช่น เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส นอร์เวย์ ประเทศจากยุโรป ตะวันออก เช่น โรเมเนีย สโลวัค สโลเวเนีย ตลอดจนพบหารือกับหัวหน้าองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ประธานธนาคารโลก (นายเจมส์ วูล์ฟเฟนสัน) และผู้อำนวยการใหญ่ ILO (นายฮวนแซมโมเวีย) เป็นต้น สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. การแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานต่อไปของ WTO ความล้มเหลว ของการประชุมที่ซีแอตเติล ซึ่งมีการเห็นพ้องกันว่าเบื้องหลังความล้มเหลวของการประชุม น่าจะเกิดขึ้นจากความบกพร่องในการเตรียมความพร้อมก่อนการประชุม การที่สมาชิกไม่ได้พยายาม ผ่อนปรนท่าทีที่แตกต่างกัน ความรู้สึกต่อต้านอเมริกัน เป็นต้น การปฏิรูปองค์กรของ WTO ฝ่ายไทยมีความเห็นว่าควรมีการระบุให้ชัดลงไปว่ต้องการให้มีการ ปรับปรุงเรื่องใด สำหรับข้อเสนอของประเทศจากสหภาพยุโรปที่ต้องการให้ตั้งกลุ่ม Eminent Person เพื่อเป็นหน่วยงานที่จะช่วยประสานท่าทีที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก ฝ่ายไทยเห็นว่าควรจัดตั้งใน ลักษณะเป็น Executive Board หรือ Executive Committee ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลาง คล้ายกับที่มีในองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น IMF ที่จะช่วยเสนอความเห็น หรือข้อแนะนำที่เป็น ประโยชน์ต่อคณะมนตรีทั่วไปของ WTO การประสานความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งผู้แทนฝ่ายไทยมีความเห็นว่าควรมี การประสานการดำเนินงาน และกำหนดนโยบายระหว่างองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น ILO World Bank WTO และ IMF เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ซาอุดิอารเบีย จีน อิหร่าน เนปาล ขอให้ไทยช่วยผลักดันการเข้าเป็นสมาชิก WTO 2. การแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการประชุมอังค์ถัด ผู้แทนประเทศต่างแสดงความชื่นชมกับการจัดการประชุมครั้งนี้ ที่ได้ช่วยสร้างบรรยากาศ และความรู้สึกที่ดี ขึ้นระหว่างประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งฝ่ายไทยเห็นว่าอังค์ถัดจะเป็นองค์สำคัญที่จะช่วย ประเทศกำลังพัฒนาได้ โดยช่วยในด้านการศึกษาวิจัย วิเคราะห์และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ กำลังพัฒนา เพื่อใช้เจรจาในเวทีของ WTO นอกจากนั้น การประชุมครั้งนี้ยังได้จัดให้มี Interactive Debate ซึ่งได้เชิญหัวหน้าองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญมากล่าวปาฐกถา และแลกเปลี่ยนความเห็นกับประเทศ เช่น นายไมค์ มัวร์ จาก WTO นายเจมส์ วูลฟ์เฟนสัน จาก World Bank เป็นต้น 3. การหารือด้านการค้า 3.1 ประเทศต่างๆ ที่เข้าพบต่างพอใจกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษกิจของไทยและเห็นว่า เศรษฐกิจของไทยได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว ประเทศส่วนใหญ่ต้องการที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนกับประเทศไทยมากยิ่งขึ้น 3.2 ประเทศที่ยังไม่ได้มีการจัดทำความตกลงทางการค้ากับประเทศไทย เช่น กาบอง สโลวัค โตโก สโลเวเนีย เนปาล และเบลารุส เป็นต้น ได้แสดงความสนใจที่จะจัดทำความตกลงดังกล่าวกับประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้มีการค้าระหว่างกันมากยิ่งขึ้นรวมทั้งประเทศที่มีคณะกรรมาธิการการค้ากับไทย เช่น โรมาเนีย อิรัก เป็นต้น ก็ได้หารือถึงกำหนดเวลาที่ควรจัดให้มีการประชุมหารือเรื่องดังกล่าว 3.3 ประเด็นการค้า ที่ได้มีการหารือกัน เช่น อิรัก แสดงความประสงค์ที่จะนำเข้าข้าวจากไทย 200,000 ตัน รวมทั้งแสดงความสนใจในสินค้า น้ำมันพืช น้ำตาล และเครื่องจัก i คิวบา แสดงความประสงค์ที่จะนำเข้าข้าวจากไทย 150,000 ตัน คูเวต ได้มีการนำเข้าสินค้าสิ่งทอ ข้าว และสินค้าเกษตร จากไทย และไทยได้แสดงความสนใจที่ จะส่งออกอัญมณีไปยังคูเวต รัสเซีย ไทยได้ถือโอกาสสอบถามที่รัสเซียค้างชำระค่าข้าวของไทย ซึ่งรัสเซียได้ขอความเห็นใจ เนื่องจากประสบวิกฤติเศรษฐกิจ และขอชำระเป็นสินค้าแทน โดยได้ยื่นรายการสินค้าให้ฝ่ายไทยพิจารณา เกาหลีเหนือ ไทยได้สอบถามที่เกาหลีเหนือค้างชำระค่าข้าวจากไทย จำนวน 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ว่าจะสามารถชำระได้เมื่อใด ซึ่งเกาหลีรับที่จะไปประสานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไป กาบอง แสดงความสนใจในสินค้าสิ่งทอ และเครื่องหนัง โดยกาบองมีสินค้าออกที่สำคัญ คือ น้ำมัน และแมงกานีส ซูดาน ได้เชื้อเชิญให้ฝ่ายไทยเข้าไปลงทุนในซูดาน โดยเฉพาะในด้านปิโตรเลียมเหมืองแร่ และสินค้า สิ่งทอ ซึ่งไทยได้แจ้งให้ซูดานทราบว่าไทยส่งออกสินค้าอัญมณีในอันดับต้น จึงเป็นโอกาสดีที่ซูดานจะส่งออก วัตถุดิบ เช่น หินมีค่า ให้ไทย อียิปต์ เห็นว่า ควรมีการตั้งศูนย์กระจายสินค้าในทั้งสองประเทศ โดยไทยแสดงความสนใจที่จะ ตั้งศูนย์ดังกล่าวที่กรุงไคโร หรือเมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งอียิปต์รับที่จะอำนวยความสะดวกจัดหาสถานที่ให้ ประเทศส่วนใหญ่เห็นพ้องกับไทยว่าควรจะมีการแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนการค้าระหว่างกัน รวม ทั้งควรมี การจัดคณะนักธุรกิจไปเยือน และจัดงานแสดงสินค้า 4. ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์การลงทุนที่ได้มีการหารือกัน เช่น - เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ มีความสนใจที่จะจัดทำความตกลงด้านการลงทุนกับประเทศไทย - หลายประเทศ เช่น โอมาน และเนเธอร์แลนด์ แสดงความชื่นกับการจัดงาน BOI FAIR ของไทย โดยเฉพาะบู้ทของอุตสาหกรรมเกษตร 5. BIMST-EC หรือกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศพม่า บังคลาเทศ อินเดีย ศรี ลังกา และไทย 5.1 อินเดีย บังคลาเทศ ได้หารือถึงความร่วมมือในกลุ่ม BIMST-EC และเห็นพ้องกับฝ่ายไทยว่าควร จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของกลุ่มเป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับที่มีการประชุมระดับรัฐมนตรี เศรษฐกิจของเอเปค เพื่อกระตุ้นให้ความร่วมมือต่างๆ ที่กลุ่มเห็นชอบร่วมกันมีความคืบหน้ายิ่งขึ้น รวมถึงอาจพัฒนา ความร่วมมือไปจนถึงขั้นการจัดทำเขตการค้าเสรี 5.2 เนปาลได้แจ้งความประสงค์ที่จะเข้าเป็นสมาชิก BIMST-EC และขอให้ไทยช่วยผลักดันให้มีการรับ เนปาลเข้าเป็นสมาชิกก่อนกำหนดเวลาปกติที่เปิดโอกาสให้มีการรับสมาชิกเพิ่ม
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-