กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2544 ที่ประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) สมัยที่ 57 ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 19-25 เมษายน 2544 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ได้รับรองข้อมติจำนวนทั้งสิ้น 6 ฉบับ โดยฉันทามติ รวมทั้งข้องมติ 2 ฉบับ ซึ่งเสนอโดยประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรของสำนักเลขาธิการเอสแคปต่อไป ข้อมติทั้ง 6 ฉบับ ได้แก่
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/1 เรื่อง Implementation of the Sustainable Energy Development Action Programme, Strategies and Implemcniation Moduliries for the Asian and Pacific Region, 2001-2005 in support of the Bali Declaration on Ssia-Pacific Porspectives on Energy and Sustainable Development ซึ่งเสนอโดยอินโดนีเซียและไทยร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/2 เรื่อง Follow-up to the Fourth World Conference on Women and the ourcome of the twenty-third special session of the General Assembly ซึ่งเสนอโดยเวียดนาม และไทยร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/3 เรื่อง Regional cooperation in information and communication technologies for development ซึ่งเสนอโดย ไทย และมีจีน อินโดนีเซีย เนปาล ปากีสถาน และเวียดนามร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/4 เรื่อง Regional call for action to fight the human immunodeficiency virus/acquired immunodeficiency syndromc in Asia and the Pacific ซึ่งเสนอโดยไทย และมีออาเตรเลีย บังกลาเทศ ภูฎาน กัมพูชา จีน เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีเหนือ ศรีลังกา ตุรกี อังกฤษ สหรัฐฯ และเวียดนาม ร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/5 เรื่อง Ministerial Conference on Environment and Development in Asia and the Pacific, 2000 ซึ่งเสนอโดยญี่ปุ่น และไทยร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/6 เรื่อง Integration of Asian and Pacific developing countries and economies in transition into the international trading system ซึ่งเสนอโดยอิหร่านและ ไทยร่วมอุปถัมภ์
สำหรับข้อมติเอสแคป ที่ 57/3 เรื่องความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาคเพื่อการพัฒนา (Regional cooperation in information and communication technologies for development) ซึ่งเสนอโดยไทยนั้น มีสาระสำคัญที่ขอให้เลขาธิการบริหารเอสแคปให้ลำดับความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกและสมาชิกสมทบในภูมิภาคของเอสแคปในการพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) การเสริมสร้างสมรรถนะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข่าวสารเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และการพัฒนา ICT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบรรเทาความยากจน การพัฒราทรัพยากรมนุษย์และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ตลอดจนดำเนินมาตรการที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้ประโยชน์จาก ICT ในด้านการศึกษา สุขอนามัย การท่องเที่ยว การป้องกันอุบัติภัย การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมสถานภาพสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส และการสร้างรายได้และการจ้างงาน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสำคัญที่ขอให้เลขาธิการบริหารสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสมาชิกเอสแคป โดยให้มีการรับภาระค่าต่อเชื่อมอย่างเท่าเทียมกัน (symmetrically financed digital connections) และส่งเสริมการพัฒนา software โดยใช้แนวทางของ open-source software development concept
สำหรับข้อมติเอสแคป ที่ 57/4 เรื่องปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ ในเอเชียและแปซิฟิก (Regional call for action to fight the human immunodeficiency virus/acquired immunodeficiency syndrome in Asia and the Pacific) ซึ่งเสนอโดยไทยนั้น มีสาระสำคัญที่เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกสนับสนุนให้สือมวลชนมีบทบาทสำคัญในการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์ นอกจากนี้ เรียกร้องให้ประเทศผู้ให้สถาบันการเงินทั้งระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศองค์การระหว่างประเทศ สหประชาชาติ NGOs และภาคเอกชนสนับสนุน Global Access to Drug Programme เพื่อส่งเสริมให้ประเทศภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเข้าถึงยา antirctroviral ในราคาถูก และจัดตั้งกลไกเพื่อระดมทุนเพื่อจัดตั้ง Global AIDS Fund เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับโรคเอดส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ทั้งนี้ ข้อมตินี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยพิเศษ ที่ 26 เกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งจะมีระหว่างวันที่ 25 ถึง 27 มิถุนายน 2544 ณ นครนิวยอร์ก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-นห-
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2544 ที่ประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) สมัยที่ 57 ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 19-25 เมษายน 2544 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ได้รับรองข้อมติจำนวนทั้งสิ้น 6 ฉบับ โดยฉันทามติ รวมทั้งข้องมติ 2 ฉบับ ซึ่งเสนอโดยประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรของสำนักเลขาธิการเอสแคปต่อไป ข้อมติทั้ง 6 ฉบับ ได้แก่
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/1 เรื่อง Implementation of the Sustainable Energy Development Action Programme, Strategies and Implemcniation Moduliries for the Asian and Pacific Region, 2001-2005 in support of the Bali Declaration on Ssia-Pacific Porspectives on Energy and Sustainable Development ซึ่งเสนอโดยอินโดนีเซียและไทยร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/2 เรื่อง Follow-up to the Fourth World Conference on Women and the ourcome of the twenty-third special session of the General Assembly ซึ่งเสนอโดยเวียดนาม และไทยร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/3 เรื่อง Regional cooperation in information and communication technologies for development ซึ่งเสนอโดย ไทย และมีจีน อินโดนีเซีย เนปาล ปากีสถาน และเวียดนามร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/4 เรื่อง Regional call for action to fight the human immunodeficiency virus/acquired immunodeficiency syndromc in Asia and the Pacific ซึ่งเสนอโดยไทย และมีออาเตรเลีย บังกลาเทศ ภูฎาน กัมพูชา จีน เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีเหนือ ศรีลังกา ตุรกี อังกฤษ สหรัฐฯ และเวียดนาม ร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/5 เรื่อง Ministerial Conference on Environment and Development in Asia and the Pacific, 2000 ซึ่งเสนอโดยญี่ปุ่น และไทยร่วมอุปถัมภ์
- ข้อมติเอสแคป ที่ 57/6 เรื่อง Integration of Asian and Pacific developing countries and economies in transition into the international trading system ซึ่งเสนอโดยอิหร่านและ ไทยร่วมอุปถัมภ์
สำหรับข้อมติเอสแคป ที่ 57/3 เรื่องความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในภูมิภาคเพื่อการพัฒนา (Regional cooperation in information and communication technologies for development) ซึ่งเสนอโดยไทยนั้น มีสาระสำคัญที่ขอให้เลขาธิการบริหารเอสแคปให้ลำดับความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกและสมาชิกสมทบในภูมิภาคของเอสแคปในการพัฒนากรอบนโยบายและกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) การเสริมสร้างสมรรถนะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข่าวสารเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และการพัฒนา ICT โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบรรเทาความยากจน การพัฒราทรัพยากรมนุษย์และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ตลอดจนดำเนินมาตรการที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้ประโยชน์จาก ICT ในด้านการศึกษา สุขอนามัย การท่องเที่ยว การป้องกันอุบัติภัย การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมสถานภาพสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส และการสร้างรายได้และการจ้างงาน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสำคัญที่ขอให้เลขาธิการบริหารสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสมาชิกเอสแคป โดยให้มีการรับภาระค่าต่อเชื่อมอย่างเท่าเทียมกัน (symmetrically financed digital connections) และส่งเสริมการพัฒนา software โดยใช้แนวทางของ open-source software development concept
สำหรับข้อมติเอสแคป ที่ 57/4 เรื่องปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ ในเอเชียและแปซิฟิก (Regional call for action to fight the human immunodeficiency virus/acquired immunodeficiency syndrome in Asia and the Pacific) ซึ่งเสนอโดยไทยนั้น มีสาระสำคัญที่เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกสนับสนุนให้สือมวลชนมีบทบาทสำคัญในการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์ นอกจากนี้ เรียกร้องให้ประเทศผู้ให้สถาบันการเงินทั้งระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศองค์การระหว่างประเทศ สหประชาชาติ NGOs และภาคเอกชนสนับสนุน Global Access to Drug Programme เพื่อส่งเสริมให้ประเทศภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเข้าถึงยา antirctroviral ในราคาถูก และจัดตั้งกลไกเพื่อระดมทุนเพื่อจัดตั้ง Global AIDS Fund เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับโรคเอดส์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ทั้งนี้ ข้อมตินี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยพิเศษ ที่ 26 เกี่ยวกับโรคเอดส์ ซึ่งจะมีระหว่างวันที่ 25 ถึง 27 มิถุนายน 2544 ณ นครนิวยอร์ก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-นห-