กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 ธันวาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในวันที่ 19 ธันวาคม 2543 เป็นวันครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา การติดต่อระหว่างสองราชอาณาจักร เป็นไปด้วยความใกล้ชิดสนิทสนม เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึง กัน ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงปีที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายได้แสดงความปรารถนาและความมุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่น โดยจะเห็นได้จากการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา การขยายตัวของปริมาณการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนั้น ในปัจจุบันสองฝ่ายได้มีการหารือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันอีกด้วย
1. ความสำคัญของกรอบความร่วมมือ
กัมพูชามีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจและความมั่นคงต่อไทย เนื่องจากเป็นประเทศ เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกัน ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลกัมพูชาเมื่อปี 2536 จนถึงปี 2540 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีการส่งเสริมความสัมพันธ์และแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งการจัดตั้งกลไกความร่วมมือใน 2 กรอบ คือ
(1) กรอบของพลเรือน ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ซึ่งมีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง (ครั้งหลังสุดที่เมืองเสียมราฐ ระหว่าง 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2543)
(2) กรอบของฝ่ายทหาร ได้แก่
- คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) ซึ่งมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม
- คณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน (Border Peace- Keeping Committee - BPKC) โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม
- คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee - RBC) โดยมีแม่ทัพภาคของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ซึ่งกลไกเหล่านี้ส่งผลต่อการขยายความร่วมมือและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างไทยและกัมพูชาขยายตัวมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2537 และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าทุกปี โดยในปี 2542 การค้าทวิภาคีมีมูลค่ารวม 13,939.1 ล้านบาท (369.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ สัดส่วนมูลค่าการค้าชายแดนคิดเป็น 3 ใน 4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ซึ่งเท่ากับ 10,495.8 ล้านบาท (262.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
สำหรับสินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร ยานพาหนะและอุปกรณ์ เครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เซรามิก
ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญจากกัมพูชา ได้แก่ ไม้แปรรูปประเภทต่างๆ ผลิตภัณฑ์ไม้ ปลาและปลาสำเร็จรูป หนังโคกระบือหมักเกลือ หนังดิบ หนังฟอก และเศษเหล็ก เป็นต้น
นอกจากนั้น ไทยและกัมพูชาอยู่ระหว่างการจัดทำกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นเสมือนแผนแม่บทในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อให้ความร่วมมือดำเนินไปอย่างมีทิศทางและสอดคล้องกับเป้าหมายในการสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจร่วมกัน ทั้งนี้ แนวความคิดในการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้อาศัยการเชื่อมโยงด้านคมนาคมระหว่างทั้งสองประเทศ และการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ชายแดนที่ติดต่อกันของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ในชั้นนี้ การจัดทำกรอบความร่วมมือฯ อยู่ในขั้นตอนการศึกษาศักยภาพการพัฒนา โครงการด้านด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำกรอบความร่วมมือฯ ซึ่งคาดว่า กระบวนการทั้งสิ้นจะแล้วเสร็จภายใน 1 ปี
3. แรงงานไทย-กัมพูชา
ตามสถิติล่าสุดมีคนไทยในกัมพูชาจำนวน 500 คน ส่วนใหญ่ไปประกอบธุรกิจการค้าตาม เมืองใหญ่ ๆ ของกัมพูชา อาทิ กรุงพนมเปญ เสียมราฐ พระตะบอง นอกจากนั้นเป็นบุคลากรและผู้บริหารกิจการต่าง ๆ ของบริษัทเอกชนไทยที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ NGO ที่เข้าไปให้ความ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในกัมพูชา
4. การท่องเที่ยวไทย-กัมพูชา
ไทยและกัมพูชามีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีความ ตกลงร่วมมือในสาขาดังกล่าวซึ่งสามารถลงนามเมื่อปี 2538 อีกทั้งมีแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกันในลักษณะ package tour ในหลาย ๆ รูปแบบด้วย สำหรับสถิตินักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้าไปในกัมพูชาเมื่อปี 2542 มีจำนวน 16,985 คน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (15 ธันวาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในวันที่ 19 ธันวาคม 2543 เป็นวันครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา การติดต่อระหว่างสองราชอาณาจักร เป็นไปด้วยความใกล้ชิดสนิทสนม เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึง กัน ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงปีที่ผ่านมาทั้งสองฝ่ายได้แสดงความปรารถนาและความมุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่น โดยจะเห็นได้จากการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา การขยายตัวของปริมาณการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนั้น ในปัจจุบันสองฝ่ายได้มีการหารือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันอีกด้วย
1. ความสำคัญของกรอบความร่วมมือ
กัมพูชามีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจและความมั่นคงต่อไทย เนื่องจากเป็นประเทศ เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกัน ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลกัมพูชาเมื่อปี 2536 จนถึงปี 2540 ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีการส่งเสริมความสัมพันธ์และแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งการจัดตั้งกลไกความร่วมมือใน 2 กรอบ คือ
(1) กรอบของพลเรือน ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ซึ่งมีการประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง (ครั้งหลังสุดที่เมืองเสียมราฐ ระหว่าง 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2543)
(2) กรอบของฝ่ายทหาร ได้แก่
- คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee - GBC) ซึ่งมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม
- คณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน (Border Peace- Keeping Committee - BPKC) โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม
- คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee - RBC) โดยมีแม่ทัพภาคของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ซึ่งกลไกเหล่านี้ส่งผลต่อการขยายความร่วมมือและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
การค้าระหว่างไทยและกัมพูชาขยายตัวมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 2537 และไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าทุกปี โดยในปี 2542 การค้าทวิภาคีมีมูลค่ารวม 13,939.1 ล้านบาท (369.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ สัดส่วนมูลค่าการค้าชายแดนคิดเป็น 3 ใน 4 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ซึ่งเท่ากับ 10,495.8 ล้านบาท (262.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
สำหรับสินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร ยานพาหนะและอุปกรณ์ เครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เซรามิก
ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญจากกัมพูชา ได้แก่ ไม้แปรรูปประเภทต่างๆ ผลิตภัณฑ์ไม้ ปลาและปลาสำเร็จรูป หนังโคกระบือหมักเกลือ หนังดิบ หนังฟอก และเศษเหล็ก เป็นต้น
นอกจากนั้น ไทยและกัมพูชาอยู่ระหว่างการจัดทำกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นเสมือนแผนแม่บทในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อให้ความร่วมมือดำเนินไปอย่างมีทิศทางและสอดคล้องกับเป้าหมายในการสร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจร่วมกัน ทั้งนี้ แนวความคิดในการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้อาศัยการเชื่อมโยงด้านคมนาคมระหว่างทั้งสองประเทศ และการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ชายแดนที่ติดต่อกันของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ในชั้นนี้ การจัดทำกรอบความร่วมมือฯ อยู่ในขั้นตอนการศึกษาศักยภาพการพัฒนา โครงการด้านด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำกรอบความร่วมมือฯ ซึ่งคาดว่า กระบวนการทั้งสิ้นจะแล้วเสร็จภายใน 1 ปี
3. แรงงานไทย-กัมพูชา
ตามสถิติล่าสุดมีคนไทยในกัมพูชาจำนวน 500 คน ส่วนใหญ่ไปประกอบธุรกิจการค้าตาม เมืองใหญ่ ๆ ของกัมพูชา อาทิ กรุงพนมเปญ เสียมราฐ พระตะบอง นอกจากนั้นเป็นบุคลากรและผู้บริหารกิจการต่าง ๆ ของบริษัทเอกชนไทยที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชา และเจ้าหน้าที่ NGO ที่เข้าไปให้ความ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในกัมพูชา
4. การท่องเที่ยวไทย-กัมพูชา
ไทยและกัมพูชามีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีความ ตกลงร่วมมือในสาขาดังกล่าวซึ่งสามารถลงนามเมื่อปี 2538 อีกทั้งมีแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกันในลักษณะ package tour ในหลาย ๆ รูปแบบด้วย สำหรับสถิตินักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้าไปในกัมพูชาเมื่อปี 2542 มีจำนวน 16,985 คน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-