การเงินและการธนาคาร
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินฝากคงค้าง 276,218.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2,463.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากการจำหน่ายสินค้าทางเกษตร และเงินบำรุงไร่อ้อยที่ฝากพักไว้ เงินฝากเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์ และแม่ฮ่องสอน
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 180,944.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 541.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 ส่วนหนึ่งจากการให้สินเชื่อแก่กลุ่มพ่อค้าสินค้าทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนสินเชื่อยังคงลดลงร้อยละ 7.0 โดยลดลงมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ ลำปาง และพะเยา
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.50 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 และร้อยละ 3.50 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.50-8.25 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนมกราคม 2544 มีปริมาณ 377,897 ฉบับ มูลค่า 24,282.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 13.5 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดน่าน กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และตาก ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คคืนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9 และร้อยละ 17.6 เหลือ 6,747 ฉบับ มูลค่า 358.2 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.8 และร้อยละ 1.5 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บลดลงจากร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.9 เมื่อเดือนก่อน แต่ยังคงสูงกว่าร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.4 ของระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนมกราคม 2544 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 8,619.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 8,088.2 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน จากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น
รายได้รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.8 เหลือ 838.8 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 6.6 เหลือ 308.3 ล้านบาท โดยลดลงมากในส่วนของการจัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยถึงร้อยละ 31.7 เหลือ 121.0 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนการจัดเก็บรายได้อื่นลดลงร้อยละ 41.3 เหลือ 133.8 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.1 และร้อยละ 4.2 เป็น 299.7 ล้านบาท และ 97.0 ล้านบาท ตามลำดับ จากการใช้จ่าย ของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
รายจ่ายรัฐบาลที่ผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 เป็น 9,458.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในส่วนของรายจ่ายลงทุนร้อยละ 22.5 เป็น 3,756.7 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินอุดหนุนที่รัฐจ่ายให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ขณะที่รายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 3.7 เหลือ 5,701.6 ล้านบาท โดยลดลงในเกือบทุกหมวดรายจ่าย
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 มีวงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,453.1 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 8,198.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.0 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราเบิกจ่ายสูงสุด 3 ลำดับคือ จังหวัดลำปาง แม่ฮ่องสอน และเพชรบูรณ์ ร้อยละ 99.3 ร้อยละ 99.2 และร้อยละ 98.9 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือเดือนมกราคม 2544 มีมูลค่า 92.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,976.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวลงและการ ส่งออกผ่านชายแดนประสบปัญหารัฐบาลพม่าเข้มงวดการนำสินค้าเข้า
การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 84.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 3.5 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,611.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.4) ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยการส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 77.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5
ส่วนการส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 7.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 308.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 15.4)
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 8.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนถึงร้อยละ 51.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 364.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 41.2) จากการลดลงของการส่งออกไปพม่าเป็นสำคัญ
การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 5.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.1 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 252.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 52.5) เนื่องจากพม่าเข้มงวดกับการนำสินค้าเข้า ส่วน การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) และ ลาว มีมูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 1.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 62.6 ล้านบาท และ 49.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 28.4 และร้อยละ 25.3 ตามลำดับ)
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้ามีมูลค่า 112.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 45.0 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,809.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 77.0) จากการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 107.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,602.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 78.5) จากการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรของโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ โดยการนำเข้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 106.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.2 ส่วนการนำเข้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (ผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่) มีมูลค่า 0.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 33.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 82.8)
การนำเข้าผ่านชายแดน มีมูลค่า 4.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.7 จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 206.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.7)
การนำเข้าจากพม่าและลาว มีมูลค่า 2.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 1.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.9 และร้อยละ 9.6 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 119.4 ล้านบาท และ 57.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 67.1 และร้อยละ 33.7 ตามลำดับ) จากการนำเข้าโค-กระบือ ส่วน การนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 29.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.3) จากการนำเข้าผลไม้เป็นสำคัญ
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 จากราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ขณะที่ราคาสินค้าใน หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงในกลุ่มผักร้อยละ 6.7 รองลงมาได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ ลดลงร้อยละ 5.8 กลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงร้อยละ 5.0 ขณะที่ราคาสินค้าในกลุ่มผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดู ส่วนราคาสินค้าในกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เนื่องจากต่างประเทศมีความต้องการข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้น ส่วนราคาสินค้าในกลุ่มอื่นๆ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นมากในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารถึงร้อยละ 6.8 จากการเพิ่มขึ้นของราคายานพาหนะ และการขนส่งสาธารณะร้อยละ 7.5 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนหมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนของภาคเหนือเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล โดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ใช้ฐานภาษีร้อยละ 7) ที่จัดเก็บได้ในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.1 เป็น 299.7 ล้านบาท จากการใช้จ่ายของประชาชน โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
สำหรับ การจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม 2543 ปริมาณ รถยนต์จดทะเบียนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.8 เหลือ 816 คัน จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ซื้อระมัดระวังการใช้จ่าย ส่วนปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 28.0 เป็น 9,776 คัน โดยขยายตัวมากในจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยเป็นผลต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมส่งออกในจังหวัดดังกล่าวจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น
ทางด้านการให้ สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในเขตภาคเหนือ ยังคงหดตัว โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 มียอดคงค้าง 37,673.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังการให้สินเชื่อและบางส่วนจากการโอนสินเชื่อไปบริหารที่สำนักงานใหญ่
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดเงินฝากคงค้าง 276,218.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2,463.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากการจำหน่ายสินค้าทางเกษตร และเงินบำรุงไร่อ้อยที่ฝากพักไว้ เงินฝากเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดกำแพงเพชร พิษณุโลก นครสวรรค์ และแม่ฮ่องสอน
ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 180,944.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 541.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 ส่วนหนึ่งจากการให้สินเชื่อแก่กลุ่มพ่อค้าสินค้าทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนสินเชื่อยังคงลดลงร้อยละ 7.0 โดยลดลงมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ ลำปาง และพะเยา
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 ธนาคาร ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.50 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และ 12 เดือน อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 และร้อยละ 3.50 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.50-8.25 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็คในเดือนมกราคม 2544 มีปริมาณ 377,897 ฉบับ มูลค่า 24,282.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 13.5 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดน่าน กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และตาก ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คคืนลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.9 และร้อยละ 17.6 เหลือ 6,747 ฉบับ มูลค่า 358.2 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.8 และร้อยละ 1.5 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บลดลงจากร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.9 เมื่อเดือนก่อน แต่ยังคงสูงกว่าร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.4 ของระยะเดียวกันปีก่อน
ฐานะการคลัง
ฐานะการคลังรัฐบาลในภาคเหนือเดือนมกราคม 2544 มีเงินในงบประมาณขาดดุล 8,619.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 8,088.2 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน จากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น
รายได้รัฐบาลนำส่งคลังจังหวัดทั้ง 20 แห่งในภาคเหนือ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.8 เหลือ 838.8 ล้านบาท จากการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงร้อยละ 6.6 เหลือ 308.3 ล้านบาท โดยลดลงมากในส่วนของการจัดเก็บจากเงินได้ดอกเบี้ยถึงร้อยละ 31.7 เหลือ 121.0 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่วนการจัดเก็บรายได้อื่นลดลงร้อยละ 41.3 เหลือ 133.8 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.1 และร้อยละ 4.2 เป็น 299.7 ล้านบาท และ 97.0 ล้านบาท ตามลำดับ จากการใช้จ่าย ของประชาชนโดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
รายจ่ายรัฐบาลที่ผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 เป็น 9,458.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นในส่วนของรายจ่ายลงทุนร้อยละ 22.5 เป็น 3,756.7 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินอุดหนุนที่รัฐจ่ายให้แก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ขณะที่รายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 3.7 เหลือ 5,701.6 ล้านบาท โดยลดลงในเกือบทุกหมวดรายจ่าย
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ณ สิ้นเดือนมกราคม 2544 มีวงเงินที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 8,453.1 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 8,198.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.0 ของวงเงินอนุมัติ จังหวัดที่มีอัตราเบิกจ่ายสูงสุด 3 ลำดับคือ จังหวัดลำปาง แม่ฮ่องสอน และเพชรบูรณ์ ร้อยละ 99.3 ร้อยละ 99.2 และร้อยละ 98.9 ของวงเงินอนุมัติ ตามลำดับ
การค้าต่างประเทศ
การส่งออก ของภาคเหนือเดือนมกราคม 2544 มีมูลค่า 92.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,976.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3) เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอตัวลงและการ ส่งออกผ่านชายแดนประสบปัญหารัฐบาลพม่าเข้มงวดการนำสินค้าเข้า
การส่งออกผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 84.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 3.5 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 3,611.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.4) ทั้งนี้ เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยการส่งออกจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 77.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5
ส่วนการส่งออกนอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 7.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.5 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 308.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 15.4)
การส่งออกผ่านชายแดน มีมูลค่า 8.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนถึงร้อยละ 51.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 364.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 41.2) จากการลดลงของการส่งออกไปพม่าเป็นสำคัญ
การส่งออกไปพม่า มีมูลค่า 5.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.1 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 252.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 52.5) เนื่องจากพม่าเข้มงวดกับการนำสินค้าเข้า ส่วน การส่งออกไปจีน (ตอนใต้) และ ลาว มีมูลค่า 1.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 1.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.2 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 62.6 ล้านบาท และ 49.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 28.4 และร้อยละ 25.3 ตามลำดับ)
การนำเข้า มูลค่าสินค้านำเข้ามีมูลค่า 112.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 45.0 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,809.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 77.0) จากการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เป็นสำคัญ
การนำเข้าผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีมูลค่า 107.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.2 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 4,602.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 78.5) จากการนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรของโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ โดยการนำเข้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีมูลค่า 106.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 46.2 ส่วนการนำเข้านอกนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (ผ่านท่าอากาศยานเชียงใหม่) มีมูลค่า 0.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.8 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 33.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 82.8)
การนำเข้าผ่านชายแดน มีมูลค่า 4.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.7 จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 206.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.7)
การนำเข้าจากพม่าและลาว มีมูลค่า 2.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 1.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.9 และร้อยละ 9.6 ตามลำดับ (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 119.4 ล้านบาท และ 57.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 67.1 และร้อยละ 33.7 ตามลำดับ) จากการนำเข้าโค-กระบือ ส่วน การนำเข้าจากจีน (ตอนใต้) มีมูลค่า 0.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 29.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.3) จากการนำเข้าผลไม้เป็นสำคัญ
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมกราคม 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 จากราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ขณะที่ราคาสินค้าใน หมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.4
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงในกลุ่มผักร้อยละ 6.7 รองลงมาได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ ลดลงร้อยละ 5.8 กลุ่มอาหารที่ซื้อจากตลาดลดลงร้อยละ 5.0 ขณะที่ราคาสินค้าในกลุ่มผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดู ส่วนราคาสินค้าในกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เนื่องจากต่างประเทศมีความต้องการข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้น ส่วนราคาสินค้าในกลุ่มอื่นๆ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร เพิ่มขึ้นมากในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารถึงร้อยละ 6.8 จากการเพิ่มขึ้นของราคายานพาหนะ และการขนส่งสาธารณะร้อยละ 7.5 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนหมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
การใช้จ่ายภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาคเอกชนของภาคเหนือเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล โดยเฉพาะในจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ใช้ฐานภาษีร้อยละ 7) ที่จัดเก็บได้ในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.1 เป็น 299.7 ล้านบาท จากการใช้จ่ายของประชาชน โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และการเร่งรัดจัดเก็บภาษี
สำหรับ การจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ในเดือนธันวาคม 2543 ปริมาณ รถยนต์จดทะเบียนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.8 เหลือ 816 คัน จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ซื้อระมัดระวังการใช้จ่าย ส่วนปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ยังขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 28.0 เป็น 9,776 คัน โดยขยายตัวมากในจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยเป็นผลต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมส่งออกในจังหวัดดังกล่าวจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น
ทางด้านการให้ สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในเขตภาคเหนือ ยังคงหดตัว โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 มียอดคงค้าง 37,673.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 จากการที่ธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังการให้สินเชื่อและบางส่วนจากการโอนสินเชื่อไปบริหารที่สำนักงานใหญ่
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ