ข้อมูลประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง “นโยบายและทิศทางของการส่งออกอาหารไทยและมาตรการการกีดกันทางการค้าที่มีผล
ต่อประเทศไทย” โดย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายเกริกไกร จีระแพทย์) วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2544 ณ ห้อง 220 อาคารแถบ นีละนิธิ
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. อาหาร : สินค้าที่มีศักยภาพสูงของไทย
- สินค้าอาหาร เป็นสินค้าส่งออกที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเนื่องจากการผลิตสินค้าอาหารจะเป็นการสร้างมูลค่า
เพิ่มให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์รากฐานที่เกี่ยวข้องกับคนไทยเป็นจำนวนมาก ในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมา นำรายได้เข้าสู่ประเทศ
ปีละกว่าสองแสนล้านบาท ทำให้เกิดการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารกว่า 6 แสนคน การที่ประเทศไทยสามารถเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้า
อาหารที่มีคุณภาพดี และมีชื่อเสียงประเทศหนึ่งของโลก เนื่องจากความพร้อมด้านวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีผลผลิตหลากหลายและต่อเนื่องตลอดทั้งปี
รวมทั้งศักยภาพของผู้ประกอบการไทยที่สามารถพัฒนาคุณภาพและรูปแบบของสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ทำให้สินค้าอาหารส่งออกของไทย
หลายชนิดเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในอันดับต้น ๆ อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งแช่แข็ง ไก่แช่แข็ง ผัก-ผลไม้กระป๋อง และผลิตภัณฑ์ข้าว
เป็นต้น
1.1 สถานการณ์การส่งออกสินค้าอาหาร
- สินค้าอาหารส่งออกสำคัญของไทย ประกอบด้วยสินค้า 4 กลุ่ม คือ
1) สินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป
2) สินค้าปศุสัตว์ (ไก่ เป็ด)
3) ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป
4) อาหารอื่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ สิ่งปรุงรสอาหาร เครื่องดื่ม และอื่น ๆ
- ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ( ปี 2539-2543 ) การส่งออกสินค้าอาหารของไทยขยายตัวไม่มากนัก โดยส่งออกลดลงในช่วง
3 ปีแรก และเริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2542-2543 โดยในปี 2543 มีมูลค่า 6,471 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ
3.9 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9.3 ของมูลค่าการส่งออกรวม สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (มูลค่า 1,512ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7) อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป (มูลค่า 2,024 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4) ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป
(มูลค่า 614 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8) ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป (มูลค่า 836 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.6)
ผลิตภัณฑ์ข้าว (มูลค่า 121 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ (มูลค่า 205 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9)
มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารของไทย ปี 2539-2543
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ 2539 2540 2541 2542 2543
สินค้าอาหาร 6,343 6,205 5,863 6,226 6,471
อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป 4,114 4,135 4,036 4,078 4,359
ปศุสัตว์ (ไก่ เป็ด) 505 523 626 590 641
ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป 1,048 910 704 968 836
ผลิตภัณฑ์ข้าว 131 120 101 113 121
ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี อาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ 208 188 160 199 205
สินค้าอาหารอื่น ๆ 337 329 236 278 309
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
1.2 ตลาดส่งออกสินค้าอาหารของไทย ปี 2539-2543
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ 2539 2540 2541 2542 2543
รวมทั้งสิ้น 6,343 6,205 5,863 6,226 6,471
สหรัฐอเมริกา 1,314 1,365 1,484 1,695 1,911
ญี่ปุ่น 1,967 1,788 1,566 1,625 1,706
สหภาพยุโรป (15) 919 874 947 929 868
อาเซียน (9) 575 577 460 548 616
อื่น ๆ 1,567 1,601 1,405 1,428 1,370
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
- สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารสำคัญอันดับหนึ่งของไทย ปี 2543 ส่งออกไปมูลค่า 1,911 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 มีสัดส่วนร้อยละ 29.5 ของการส่งออกอาหารรวม สินค้าอาหารสำคัญที่ส่งไปสหรัฐอเมริกา ได้แก่
* อาหารทะเลแปรรูป ซึ่งสหรัฐฯ นำเข้าจากไทยมากเป็นอันหนึ่ง มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 52.1
* กุ้ง ปูสดแช่เย็น นำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่งเช่นกัน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 21.9
- ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารสำคัญอันดับ 2 ของไทย ปี 2543 ส่งออกมูลค่า 1,706 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
5 มีสัดส่วนร้อยละ 26.4 ของการส่งออกอาหารรวม สินค้าอาหารสำคัญที่ส่งไปญี่ปุ่น ได้แก่
* กุ้ง ปูสดแช่เย็น ญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับ 6 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.7
* เนื้อปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐฯ และจีน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.6
* อาหารทะเลแปรรูป นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 รองจากจีน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 31.8
* ไก่สดแช่เย็น นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 รองจากจีน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.4
- สหภาพยุโรป เป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 ปี 2543 ส่งออกมูลค่า 868 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.6 มีสัดส่วนร้อยละ
13.4 ของการส่งออกอาหารรวม สินค้าส่งออกไปสหภาพยุโรป ได้แก่ ผลไม้แปรรูป (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.7) ปลาปรุงแต่ง
(ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.8)
- ตลาดอื่น ๆ ที่สำคัญรองลงไป ได้แก่ ตลาดอาเซียน ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เป็นต้น
1.3 ประเทศคู่แข่งสำคัญของสินค้าอาหารไทย
- ฟิลิปปินส์ คู่แข่งขันการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง ปลาหมึกสดแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด สับปะรดแช่แข็ง ผลไม้อบแห้ง
วุ้นมะพร้าว ผักสดแช่แข็ง ซึ่งมีความได้เปรียบกว่าไทย ทั้งทางด้านวัตถุดิบและค่าแรงถูกกว่า
- อินโดนีเซีย คู่แข่งขันการส่งออกสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด ผัก ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องเทศและสมุนไพร
อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋อง(กุ้งกระป๋องและปูกระป๋อง) แต่สินค้ายังมีคุณภาพต่ำและมีสิ่งเจือปนตกค้างเป็นจำนวนมาก
แต่ที่สำคัญเวลานี้ได้มีนักลงทุนจากไต้หวัน และสาธารณรัฐเกาหลีไปร่วมลงทุนเลี้ยงกุ้งเพื่อส่งออกเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นคู่แข่งขันสำคัญในการ
ส่งออกกุ้งสดแช่แข็งในตลาดสหรัฐอเมริกาอีกประเทศหนึ่ง
- สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมเกือบทุกชนิดเนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่ำ
เช่น สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด หน่อไม้กระป๋อง เส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยว พืชผักดองต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารทะเลแช่แข็ง
ปูกระป๋อง นอกจากนี้ ยังเป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออกไก่สดแช่แข็ง และผักสดแช่แข็งในตลาดญี่ปุ่น กุ้งสดแช่แข็งในตลาดสหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีราคาถูกกว่าแต่คุณภาพยังด้อยกว่าของไทย
- อินเดียและบังคลาเทศ เป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง เนื่องจากราคาถูกกว่าไทยแต่คุณภาพด้อยกว่า นอกจากนี้
การที่ไทยยังคงต้องพึ่งพาการซื้อวัตถุดิบ (ปลาหมึก) จากสองประเทศนี้อยู่ จึงมักจะเกิดปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนเมื่อสองประเทศงดการจำหน่วย
วัตถุดิบให้แก่ไทย
- มาเลเซีย เป็นคู่แข่งขันในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง ผัก ผลไม้สด และแช่แข็งผลไม้กระป๋องและแปรรูปในตลาดสหภาพยุโรป
และเอเชีย เนื้อปลาบดซิริมิ ในตลาดญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
- ไต้หวัน เป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมเกือบทุกชนิด อีกประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะผัก ผลไม้สดแช่เย็น
แช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด หน่อไม้กระป๋อง ผักดองด้วยน้ำส้ม ทั้งในตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
- สเปน เป็นคู่แข่งขันในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง เนื้อปลาสดแช่แข็ง ผักกระป๋องและแปรรูปในตลาดสหภาพยุโรป
- สหรัฐอเมริกา เป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกไก่สดแช่แข็งในตลาดญี่ปุ่น
- ฟิจิ มอริเชียส มัลดีฟ และโซโลมอน เป็นคู่แข่งส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง ในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งมีความได้เปรียบกว่าไทย
เนื่องจากสหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรโดยการยกเว้นภาษีนำเข้า
- กลุ่มประเทศละตินอเมริกา ได้แก่ เอกวาดอร์ เม็กซิโก คอสตาริกา กัวเตมาลา เปรู เป็นคู่แข่งขันการส่งออกปลาซาร์ดีนกระป๋อง
กุ้งสดแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลอื่น ๆ ผัก ผลไม้สดแช่แข็งและแปรรูป ในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งได้เปรียบกว่าไทยในด้านค่า
ขนส่งถูกกว่าเพราะอยู่ใกล้ตลาด
2. นโยบายและกลยุทธ์ส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2544-2548
- วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำของโลกในการส่งออกสินค้าอาหารมูลค่าเพิ่มสูง”
- กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้ส่งออกสินค้าอาหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดเป้าหมายการส่งออกสินค้า
อาหาร ในปี 2544 ไว้มูลค่า 6,421 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 0.8 (กำหนดเป้าหมายโดยประมาณจากตัวเลขฐาน
10 เดือนแรก ของปี 2543)
- กลยุทธ์ส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหาร
* การเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพและคำสั่งซื้อเพิ่ม โดยผู้แทนการค้าระดับสูงของภาครัฐจะเป็นผู้นำในการเข้าไปเจาะตลาด
นอกจากนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกในการขยายตลาดใหม่ ๆ เช่น
** ด้านการเงิน ธสน. จะชดเชยภาระดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราร้อยละ 5
** ผู้ส่งออกสามารถนำค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมขยายตลาดใหม่มาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ 2 เท่า
** กรมส่งเสริมการส่งออก สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางและอื่น ๆ ให้ผู้ส่งออกที่ไปเปิดตลาดใหม่
* การสร้างเครือข่ายกระจายสินค้าในต่างประเทศ
* ส่งเสริมให้มีการจัดการคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่ประเทศต่าง ๆ ใช้บังคับ
* การแสวงหาวัตถุดิบจากต่างประเทศมาแปรรูปในประเทศ
* ส่งเสริมการสร้างภาพพจน์สินค้า (Thailand Brand Image)
* ส่งเสริมและขยายตลาดภายใต้ยี่ห้อของตน (Brand Name)
* การจัดระบบการผลิตให้เกษตรกรและโรงงานสามารถผลิตวัตถุดิบให้สอดคล้อง
กับความต้องการทั้งด้านราคา คุณภาพ และปริมาณ
* ส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์
* ส่งเสริมพัฒนาการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic Food)
* ติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค กฎระเบียบการนำเข้าทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษีของประเทศผู้นำเข้า และนำมาเผยแพร่
ให้ภาคเอกชนได้ทราบเพื่อการเตรียมพร้อมและปรับการผลิตให้สอดคล้องกับตลาด
- นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินโครงการจัดตั้ง Global Thai Restaurant (GTR) ขึ้น โดยจะขยายจำนวนภัตตาคาร
/ร้านอาหารไทยทั่วโลก จากเดิมประมาณ 5,000 แห่ง เป็น 8,000 แห่ง ภายในปี 2548 เพื่อจะใช้ภัตตาคาร/ร้านอาหารไทยทั่วโลก
เป็นช่องทางในการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าในธุรกิจเชื่อมโยงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เฟอร์นิเจอร์ สินค้าหัตถกรรม
เป็นต้น ซึ่งจะทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น
การดำเนินการของโครงการ GTR จะทำในระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ใน 3 รูปแบบ คือ
* Golden Leaf เป็นภัตตาคารไทยแบบหรู (Classical Thai Restaurant) ที่เสนอรายการอาหารแบบต้นตำรับชาววัง
ที่คงรสชาติแบบไทยแท้ พนักงานแต่งกายแบบไทย และเสริมบรรยากาศด้วยดนตรีไทย รวมทั้งการจำหน่ายของที่ระลึกที่เป็นสินค้าหัตถกรรมไทย
* Cool Basil เป็นภัตตาคารร่วมสมัย (Contemporary Thai Restaurant) รูปแบบของร้านเรียบง่ายแฝงด้วยสไตล์ไทย
อาหารปรับรสชาติตามท้องถิ่น พร้อมจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทย
* Elephant Jump เป็นร้านอาหารไทยแบบจานด่วน (Thai Fast Food) ตกแต่งร้านแบบทันสมัยแต่คงเอกลักษณ์ไทย
3. มาตรการกีดกันทางการค้าที่ส่งผลต่อการส่งออกอาหารไทย
สาเหตุที่เกิดการกีดกันทางการค้ารุนแรงขึ้น
- ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ผู้บริโภคทั่วโลกมีความตื่นตระหนกต่อความไม่ปลอดภัยในเรื่องอาหารมาโดยตลอด เช่น
* การตรวจพบเชื้อ Samonella ในประเทศสเปน ของสินค้าเนื้อไก่แช่แข็ง ในปี 2537
* การระบาดของโรควัวบ้า (BSE) ในสหราชอาณาจักร เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และมีการระบาดของโรคดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
* การตรวจพบสาร Dioxin ในอาหารสัตว์ที่ผลิตจากโรงงานทางตอนใต้ของเบลเยี่ยม ในเดือนพฤษภาคม 2542
* การตรวจพบสารก่อมะเร็ง 3-MCPD ในซอสปรุงรสที่ทำจากถั่วเหลือง ในปริมาณสูงกว่ามาตรฐานของสหภาพยุโรป
* ความวิตกกังวลในเรื่องการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs) ของส่วนประกอบอาหาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
หรือมีผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม
- ความวิตกกังวลของผู้บริโภคในด้านความปลอดภัยของอาหารดังกล่าว เป็นช่องทางให้ประเทศพัฒนาแล้วใช้เป็นข้ออ้างในการนำ
มาตรการใหม่ ๆ มาใช้กีดกันทางการค้าทางอ้อมเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศตน เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าที่มีมากขึ้น การให้การอุดหนุน
คุ้มครอง และปกป้องทางการค้าโดยตรงต้องลดน้อยลงตามพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยของ
อาหารมากขึ้น
3.2 มาตรการกีดกันทางการค้าที่สำคัญ
- มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ( SPS ) ที่ผ่านมาประเทศต่าง ๆ มีการนำมาตรการ SPS มาใช้ควบคุมมาตรฐาน
คุณภาพ และความปลอดภัยของอาหารอย่างเข้มงวดหรือนำมาใช้เป็นเครื่องมือกีดกันการค้าทางอ้อมมากที่สุดโดยอ้างความจำเป็นในการคุ้มครองผู้บริโภค
- มาตรการที่เป็นอุสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) ที่ผ่านมามีการนำมาตรการนี้มาเป็นข้อจำกัดในการกีดกันทางการค้ารองจาก
SPS มาตรการ TBT มีรูปแบบหลากหลาย เช่น การกำหนดระเบียบวิธีการปิดฉลากและหีบห่อ การดำเนินการตรวจสอบสินค้าก่อนนำเข้าอย่างเข้ม
งวดการกำหนดด่านนำเข้า การกำหนดมาตรฐานของสินค้า หรือการกักตรวจสินค้าที่เน่าเสียง่ายเป็นเวลานาน
- ทั้งนี้ ในระยะที่ผ่านมาการใช้มาตรการ SPS และ TBT ในการควบคุมคุณภาพอาหารมีกฎเกณฑ์ไม่มาก การตรวจสอบคุณภาพอาหาร
มักเน้นที่ผลิตภัณฑ์สุดท้ายให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด แต่ในระยะเวลาอันใกล้นี้ จะมีการใช้กฎเกณฑ์ มาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่เข้มข้นมาก
โดยเฉพาะ นโยบายสมุดปกขาวความปลอดภัยอาหารยุโรป (The European White Paper on Food Safety) ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรป
ได้มีมติรับรองสมุดปกขาว ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 และหลังจากที่นโยบายสมุดปกขาวได้รับการสนับสนุนจากคณะมนตรียุโรป ประเทศสมาชิก
สหภาพยุโรปก็จะนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยอาหาร ซึ่งหลักเกณฑ์ของสมุดปกขาวมี ดังนี้
* การควบคุมระบบผลิตแบบครบวงจร (Farm to Table) จะครอบคลุมตั้งแต่
การผลิตวัตถุดิบ (การเลี้ยง การเพาะ การจัดหา) จนถึงการผลิตอาหารและการจัดจำหน่ายเพื่อการบริโภค โดยประเทศสมาชิกฯ
และประเทศที่สาม จะต้องยึดเป็นหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตอาหารที่จะนำมาจำหน่ายในสหภาพยุโรป
* การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เป็นการสืบหาแหล่งที่มาของสาเหตุการปนเปื้อนในสินค้าอาหาร จึงมีความจำเป็นที่ผู้ผลิต
จะต้องผ่านการรับรองตามระบบขจัดความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (Hazard Analysis Critical Control Point
:HACCP) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม เพื่อป้องกันปัญหาอันตรายจากสาเหตุโดยผู้ผลิตอาหารควรระบุได้ว่าปัญหาด้านสุขอนามัยที่
เกิดจากการบริโภคอาหารชนิดนั้นจะเกิดขึ้นได้ที่ขั้นตอนใด เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีการป้องกันอย่างไร ซึ่ง HACCP นี้ นอกจากสหภาพยุโรปแล้ว
ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ก็มีมาตรการในการใช้ระบบนี้เช่นเดียวกัน
* มาตรการฉุกเฉิน ( Emergency Measure ) สหภาพยุโรปจะใช้เพื่อการจำกัดขอบเขตของผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหารใน
กรณีที่วิกฤตการณ์ส่งผลต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้บริโภค รวมทั้งพืชและสัตว์โดยการห้ามนำเข้า หรือดำเนินการอื่นใดเมื่อมีหลักฐานทาง
ทยาศาสตร์สนับสนุน แต่ในบางกรณี เช่น สินค้า GMOs แม้ว่าสหภาพยุโรปจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนมาใช้อ้างอิงจำกัดการนำเข้า
แต่นโยบายสมุดปกขาว ระบุว่าสหภาพยุโรปจะดำเนินการโดยใช้หลักการ Precautionary Principle : PP ซึ่งจะห้ามนำเข้าได้ทันทีเมื่อ
เกิดข้อสงสัยว่าสินค้าอาหารอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และสุขภาพของผู้บริโภค
* นโยบายด้านอื่น ๆ ที่ยังไม่มีการระบุรายละเอียดชัดเจน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระต้นทุนและความยุ่งยากในการผลิตมากขึ้น เช่น
นโยบายเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและอาหารสัตว์นโยบายด้านสารตกค้างและสารปนเปื้อน นโยบายเกี่ยวกับนวัตกรรมอาหาร (Novel Food/Feed)
นโยบายด้านฉลาก เป็นต้น
- นอกจากนี้ ยังมีมาตรการในการควบคุมการนำเข้าที่เข้มงวดขึ้นของประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น ๆ เช่น
* ญี่ปุ่นกำหนดให้สินค้าอาหารที่ได้จากผลผลิต GMOs รวม 28 ชนิด เช่น เต้าหู้ ซีอิ๊ว น้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ เป็นสินค้าต้องติดฉลาก GMOs
หรือปลอด GMOs ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป
* สหรัฐฯ ยังคงการห้ามนำเข้าปลาทูน่าครีบเหลืองจากประเทศคอสตาริกา ญี่ปุ่น อิตาลี และไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่สามารถให้การ
รับรองได้ว่า ไม่ได้มีการนำเข้าปลาทูน่าจากประเทศที่ถูกห้ามนำเข้าครั้งแรก คือ เม็กซิโก ปานามา โคลอมเบีย วาเนตู และเวเนซูเอลา ทั้งนี้
ในปัจจุบัน สินค้าปลาทูน่าที่นำเข้าสหรัฐฯ ต้องปิดฉลาก dolphin safe
แนวทางการปรับตัว
- กระทรวงพาณิชย์จะติดตามมาตรการทางการค้าของประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ภาคเอกชนทราบ
อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ปรับตัวรองรับกับมาตรการที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในการตรวจสอบสินค้าที่เข้มงวด โดยมีการตรวจย้อนทุกขั้นตอนการผลิตตั้ง
แต่ไร่นาจนถึงโรงงาน
- ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวโดยพัฒนากระบวนการผลิตทุกขั้นตอน และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยมีคุณภาพ ความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งการดำเนินโครงการวิจัยด้าน Food Safety and Quality
Assurance และการดำเนินการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหารเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการของไทยเป็นอย่างยิ่ง
- ผู้ประกอบการ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรประสานความร่วมมือในการพิจารณาหาข้อมูลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
เพื่อโต้แย้งกับประเทศที่มีการกำหนดมาตรฐานที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติ เช่น กรณีของการกำหนดสาร Bazaic Acid ในกุ้งไม่เกินร้อยละ
0.2 ในขณะที่กุ้งจากสหภาพยุโรปกำหนดให้มีได้ไม่เกินร้อยละ 0.6 รวมทั้งสินค้าที่ยังไม่มีมาตรฐานนานาชาติกำหนด เช่น กรณีของสารก่อมะเร็ง
3-MCPD ในซอสปรุงรสที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งยังไม่มีมาตรฐานนานาชาติกำหนดไว้ และสหภาพยุโรป มีการกำหนดมาตรฐานไว้ค่อนข้างสูง
ผู้บริโภคจะต้องมีความตื่นตัว และมีความรู้ที่จะพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเอง ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อบริโภค ซึ่งจะช่วยผลักดัน
ให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารของไทยต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานได้อีกทางหนึ่ง
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
ต่อประเทศไทย” โดย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (นายเกริกไกร จีระแพทย์) วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม 2544 ณ ห้อง 220 อาคารแถบ นีละนิธิ
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1. อาหาร : สินค้าที่มีศักยภาพสูงของไทย
- สินค้าอาหาร เป็นสินค้าส่งออกที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเนื่องจากการผลิตสินค้าอาหารจะเป็นการสร้างมูลค่า
เพิ่มให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์รากฐานที่เกี่ยวข้องกับคนไทยเป็นจำนวนมาก ในช่วงระยะ 3 ปีที่ผ่านมา นำรายได้เข้าสู่ประเทศ
ปีละกว่าสองแสนล้านบาท ทำให้เกิดการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารกว่า 6 แสนคน การที่ประเทศไทยสามารถเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้า
อาหารที่มีคุณภาพดี และมีชื่อเสียงประเทศหนึ่งของโลก เนื่องจากความพร้อมด้านวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีผลผลิตหลากหลายและต่อเนื่องตลอดทั้งปี
รวมทั้งศักยภาพของผู้ประกอบการไทยที่สามารถพัฒนาคุณภาพและรูปแบบของสินค้าให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ทำให้สินค้าอาหารส่งออกของไทย
หลายชนิดเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในอันดับต้น ๆ อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งแช่แข็ง ไก่แช่แข็ง ผัก-ผลไม้กระป๋อง และผลิตภัณฑ์ข้าว
เป็นต้น
1.1 สถานการณ์การส่งออกสินค้าอาหาร
- สินค้าอาหารส่งออกสำคัญของไทย ประกอบด้วยสินค้า 4 กลุ่ม คือ
1) สินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป
2) สินค้าปศุสัตว์ (ไก่ เป็ด)
3) ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป
4) อาหารอื่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ สิ่งปรุงรสอาหาร เครื่องดื่ม และอื่น ๆ
- ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ( ปี 2539-2543 ) การส่งออกสินค้าอาหารของไทยขยายตัวไม่มากนัก โดยส่งออกลดลงในช่วง
3 ปีแรก และเริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2542-2543 โดยในปี 2543 มีมูลค่า 6,471 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ
3.9 มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9.3 ของมูลค่าการส่งออกรวม สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (มูลค่า 1,512ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7) อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป (มูลค่า 2,024 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4) ไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป
(มูลค่า 614 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8) ผัก ผลไม้สดแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป (มูลค่า 836 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.6)
ผลิตภัณฑ์ข้าว (มูลค่า 121 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ (มูลค่า 205 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9)
มูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารของไทย ปี 2539-2543
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ 2539 2540 2541 2542 2543
สินค้าอาหาร 6,343 6,205 5,863 6,226 6,471
อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป 4,114 4,135 4,036 4,078 4,359
ปศุสัตว์ (ไก่ เป็ด) 505 523 626 590 641
ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป 1,048 910 704 968 836
ผลิตภัณฑ์ข้าว 131 120 101 113 121
ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี อาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ 208 188 160 199 205
สินค้าอาหารอื่น ๆ 337 329 236 278 309
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
1.2 ตลาดส่งออกสินค้าอาหารของไทย ปี 2539-2543
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
รายการ 2539 2540 2541 2542 2543
รวมทั้งสิ้น 6,343 6,205 5,863 6,226 6,471
สหรัฐอเมริกา 1,314 1,365 1,484 1,695 1,911
ญี่ปุ่น 1,967 1,788 1,566 1,625 1,706
สหภาพยุโรป (15) 919 874 947 929 868
อาเซียน (9) 575 577 460 548 616
อื่น ๆ 1,567 1,601 1,405 1,428 1,370
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
- สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารสำคัญอันดับหนึ่งของไทย ปี 2543 ส่งออกไปมูลค่า 1,911 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 มีสัดส่วนร้อยละ 29.5 ของการส่งออกอาหารรวม สินค้าอาหารสำคัญที่ส่งไปสหรัฐอเมริกา ได้แก่
* อาหารทะเลแปรรูป ซึ่งสหรัฐฯ นำเข้าจากไทยมากเป็นอันหนึ่ง มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 52.1
* กุ้ง ปูสดแช่เย็น นำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่งเช่นกัน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 21.9
- ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารสำคัญอันดับ 2 ของไทย ปี 2543 ส่งออกมูลค่า 1,706 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
5 มีสัดส่วนร้อยละ 26.4 ของการส่งออกอาหารรวม สินค้าอาหารสำคัญที่ส่งไปญี่ปุ่น ได้แก่
* กุ้ง ปูสดแช่เย็น ญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับ 6 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.7
* เนื้อปลาสด แช่เย็นแช่แข็ง นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐฯ และจีน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.6
* อาหารทะเลแปรรูป นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 รองจากจีน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 31.8
* ไก่สดแช่เย็น นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 รองจากจีน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.4
- สหภาพยุโรป เป็นตลาดส่งออกอันดับ 3 ปี 2543 ส่งออกมูลค่า 868 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.6 มีสัดส่วนร้อยละ
13.4 ของการส่งออกอาหารรวม สินค้าส่งออกไปสหภาพยุโรป ได้แก่ ผลไม้แปรรูป (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.7) ปลาปรุงแต่ง
(ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.8)
- ตลาดอื่น ๆ ที่สำคัญรองลงไป ได้แก่ ตลาดอาเซียน ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เป็นต้น
1.3 ประเทศคู่แข่งสำคัญของสินค้าอาหารไทย
- ฟิลิปปินส์ คู่แข่งขันการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง ปลาหมึกสดแช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด สับปะรดแช่แข็ง ผลไม้อบแห้ง
วุ้นมะพร้าว ผักสดแช่แข็ง ซึ่งมีความได้เปรียบกว่าไทย ทั้งทางด้านวัตถุดิบและค่าแรงถูกกว่า
- อินโดนีเซีย คู่แข่งขันการส่งออกสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด ผัก ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องเทศและสมุนไพร
อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋อง(กุ้งกระป๋องและปูกระป๋อง) แต่สินค้ายังมีคุณภาพต่ำและมีสิ่งเจือปนตกค้างเป็นจำนวนมาก
แต่ที่สำคัญเวลานี้ได้มีนักลงทุนจากไต้หวัน และสาธารณรัฐเกาหลีไปร่วมลงทุนเลี้ยงกุ้งเพื่อส่งออกเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นคู่แข่งขันสำคัญในการ
ส่งออกกุ้งสดแช่แข็งในตลาดสหรัฐอเมริกาอีกประเทศหนึ่ง
- สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมเกือบทุกชนิดเนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่ำ
เช่น สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด หน่อไม้กระป๋อง เส้นหมี่ก๋วยเตี๋ยว พืชผักดองต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารทะเลแช่แข็ง
ปูกระป๋อง นอกจากนี้ ยังเป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออกไก่สดแช่แข็ง และผักสดแช่แข็งในตลาดญี่ปุ่น กุ้งสดแช่แข็งในตลาดสหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีราคาถูกกว่าแต่คุณภาพยังด้อยกว่าของไทย
- อินเดียและบังคลาเทศ เป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง เนื่องจากราคาถูกกว่าไทยแต่คุณภาพด้อยกว่า นอกจากนี้
การที่ไทยยังคงต้องพึ่งพาการซื้อวัตถุดิบ (ปลาหมึก) จากสองประเทศนี้อยู่ จึงมักจะเกิดปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนเมื่อสองประเทศงดการจำหน่วย
วัตถุดิบให้แก่ไทย
- มาเลเซีย เป็นคู่แข่งขันในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง ผัก ผลไม้สด และแช่แข็งผลไม้กระป๋องและแปรรูปในตลาดสหภาพยุโรป
และเอเชีย เนื้อปลาบดซิริมิ ในตลาดญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
- ไต้หวัน เป็นคู่แข่งขันสำคัญของไทยในการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมเกือบทุกชนิด อีกประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะผัก ผลไม้สดแช่เย็น
แช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด หน่อไม้กระป๋อง ผักดองด้วยน้ำส้ม ทั้งในตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
- สเปน เป็นคู่แข่งขันในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง เนื้อปลาสดแช่แข็ง ผักกระป๋องและแปรรูปในตลาดสหภาพยุโรป
- สหรัฐอเมริกา เป็นคู่แข่งขันสำคัญในการส่งออกไก่สดแช่แข็งในตลาดญี่ปุ่น
- ฟิจิ มอริเชียส มัลดีฟ และโซโลมอน เป็นคู่แข่งส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง ในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งมีความได้เปรียบกว่าไทย
เนื่องจากสหภาพยุโรปให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรโดยการยกเว้นภาษีนำเข้า
- กลุ่มประเทศละตินอเมริกา ได้แก่ เอกวาดอร์ เม็กซิโก คอสตาริกา กัวเตมาลา เปรู เป็นคู่แข่งขันการส่งออกปลาซาร์ดีนกระป๋อง
กุ้งสดแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลอื่น ๆ ผัก ผลไม้สดแช่แข็งและแปรรูป ในตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งได้เปรียบกว่าไทยในด้านค่า
ขนส่งถูกกว่าเพราะอยู่ใกล้ตลาด
2. นโยบายและกลยุทธ์ส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหาร ปี 2544-2548
- วิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำของโลกในการส่งออกสินค้าอาหารมูลค่าเพิ่มสูง”
- กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้ส่งออกสินค้าอาหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดเป้าหมายการส่งออกสินค้า
อาหาร ในปี 2544 ไว้มูลค่า 6,421 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 0.8 (กำหนดเป้าหมายโดยประมาณจากตัวเลขฐาน
10 เดือนแรก ของปี 2543)
- กลยุทธ์ส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหาร
* การเจาะตลาดใหม่ที่มีศักยภาพและคำสั่งซื้อเพิ่ม โดยผู้แทนการค้าระดับสูงของภาครัฐจะเป็นผู้นำในการเข้าไปเจาะตลาด
นอกจากนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ส่งออกในการขยายตลาดใหม่ ๆ เช่น
** ด้านการเงิน ธสน. จะชดเชยภาระดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราร้อยละ 5
** ผู้ส่งออกสามารถนำค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมขยายตลาดใหม่มาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ 2 เท่า
** กรมส่งเสริมการส่งออก สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางและอื่น ๆ ให้ผู้ส่งออกที่ไปเปิดตลาดใหม่
* การสร้างเครือข่ายกระจายสินค้าในต่างประเทศ
* ส่งเสริมให้มีการจัดการคุณภาพตามมาตรฐานสากลที่ประเทศต่าง ๆ ใช้บังคับ
* การแสวงหาวัตถุดิบจากต่างประเทศมาแปรรูปในประเทศ
* ส่งเสริมการสร้างภาพพจน์สินค้า (Thailand Brand Image)
* ส่งเสริมและขยายตลาดภายใต้ยี่ห้อของตน (Brand Name)
* การจัดระบบการผลิตให้เกษตรกรและโรงงานสามารถผลิตวัตถุดิบให้สอดคล้อง
กับความต้องการทั้งด้านราคา คุณภาพ และปริมาณ
* ส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์
* ส่งเสริมพัฒนาการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic Food)
* ติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค กฎระเบียบการนำเข้าทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษีของประเทศผู้นำเข้า และนำมาเผยแพร่
ให้ภาคเอกชนได้ทราบเพื่อการเตรียมพร้อมและปรับการผลิตให้สอดคล้องกับตลาด
- นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินโครงการจัดตั้ง Global Thai Restaurant (GTR) ขึ้น โดยจะขยายจำนวนภัตตาคาร
/ร้านอาหารไทยทั่วโลก จากเดิมประมาณ 5,000 แห่ง เป็น 8,000 แห่ง ภายในปี 2548 เพื่อจะใช้ภัตตาคาร/ร้านอาหารไทยทั่วโลก
เป็นช่องทางในการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าในธุรกิจเชื่อมโยงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เฟอร์นิเจอร์ สินค้าหัตถกรรม
เป็นต้น ซึ่งจะทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น
การดำเนินการของโครงการ GTR จะทำในระบบแฟรนไชส์ (Franchise) ใน 3 รูปแบบ คือ
* Golden Leaf เป็นภัตตาคารไทยแบบหรู (Classical Thai Restaurant) ที่เสนอรายการอาหารแบบต้นตำรับชาววัง
ที่คงรสชาติแบบไทยแท้ พนักงานแต่งกายแบบไทย และเสริมบรรยากาศด้วยดนตรีไทย รวมทั้งการจำหน่ายของที่ระลึกที่เป็นสินค้าหัตถกรรมไทย
* Cool Basil เป็นภัตตาคารร่วมสมัย (Contemporary Thai Restaurant) รูปแบบของร้านเรียบง่ายแฝงด้วยสไตล์ไทย
อาหารปรับรสชาติตามท้องถิ่น พร้อมจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมไทย
* Elephant Jump เป็นร้านอาหารไทยแบบจานด่วน (Thai Fast Food) ตกแต่งร้านแบบทันสมัยแต่คงเอกลักษณ์ไทย
3. มาตรการกีดกันทางการค้าที่ส่งผลต่อการส่งออกอาหารไทย
สาเหตุที่เกิดการกีดกันทางการค้ารุนแรงขึ้น
- ในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ผู้บริโภคทั่วโลกมีความตื่นตระหนกต่อความไม่ปลอดภัยในเรื่องอาหารมาโดยตลอด เช่น
* การตรวจพบเชื้อ Samonella ในประเทศสเปน ของสินค้าเนื้อไก่แช่แข็ง ในปี 2537
* การระบาดของโรควัวบ้า (BSE) ในสหราชอาณาจักร เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และมีการระบาดของโรคดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
* การตรวจพบสาร Dioxin ในอาหารสัตว์ที่ผลิตจากโรงงานทางตอนใต้ของเบลเยี่ยม ในเดือนพฤษภาคม 2542
* การตรวจพบสารก่อมะเร็ง 3-MCPD ในซอสปรุงรสที่ทำจากถั่วเหลือง ในปริมาณสูงกว่ามาตรฐานของสหภาพยุโรป
* ความวิตกกังวลในเรื่องการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs) ของส่วนประกอบอาหาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
หรือมีผลกระทบในเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม
- ความวิตกกังวลของผู้บริโภคในด้านความปลอดภัยของอาหารดังกล่าว เป็นช่องทางให้ประเทศพัฒนาแล้วใช้เป็นข้ออ้างในการนำ
มาตรการใหม่ ๆ มาใช้กีดกันทางการค้าทางอ้อมเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศตน เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าที่มีมากขึ้น การให้การอุดหนุน
คุ้มครอง และปกป้องทางการค้าโดยตรงต้องลดน้อยลงตามพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในด้านความปลอดภัยของ
อาหารมากขึ้น
3.2 มาตรการกีดกันทางการค้าที่สำคัญ
- มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ( SPS ) ที่ผ่านมาประเทศต่าง ๆ มีการนำมาตรการ SPS มาใช้ควบคุมมาตรฐาน
คุณภาพ และความปลอดภัยของอาหารอย่างเข้มงวดหรือนำมาใช้เป็นเครื่องมือกีดกันการค้าทางอ้อมมากที่สุดโดยอ้างความจำเป็นในการคุ้มครองผู้บริโภค
- มาตรการที่เป็นอุสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) ที่ผ่านมามีการนำมาตรการนี้มาเป็นข้อจำกัดในการกีดกันทางการค้ารองจาก
SPS มาตรการ TBT มีรูปแบบหลากหลาย เช่น การกำหนดระเบียบวิธีการปิดฉลากและหีบห่อ การดำเนินการตรวจสอบสินค้าก่อนนำเข้าอย่างเข้ม
งวดการกำหนดด่านนำเข้า การกำหนดมาตรฐานของสินค้า หรือการกักตรวจสินค้าที่เน่าเสียง่ายเป็นเวลานาน
- ทั้งนี้ ในระยะที่ผ่านมาการใช้มาตรการ SPS และ TBT ในการควบคุมคุณภาพอาหารมีกฎเกณฑ์ไม่มาก การตรวจสอบคุณภาพอาหาร
มักเน้นที่ผลิตภัณฑ์สุดท้ายให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด แต่ในระยะเวลาอันใกล้นี้ จะมีการใช้กฎเกณฑ์ มาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารที่เข้มข้นมาก
โดยเฉพาะ นโยบายสมุดปกขาวความปลอดภัยอาหารยุโรป (The European White Paper on Food Safety) ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรป
ได้มีมติรับรองสมุดปกขาว ตั้งแต่เดือนมกราคม 2543 และหลังจากที่นโยบายสมุดปกขาวได้รับการสนับสนุนจากคณะมนตรียุโรป ประเทศสมาชิก
สหภาพยุโรปก็จะนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยอาหาร ซึ่งหลักเกณฑ์ของสมุดปกขาวมี ดังนี้
* การควบคุมระบบผลิตแบบครบวงจร (Farm to Table) จะครอบคลุมตั้งแต่
การผลิตวัตถุดิบ (การเลี้ยง การเพาะ การจัดหา) จนถึงการผลิตอาหารและการจัดจำหน่ายเพื่อการบริโภค โดยประเทศสมาชิกฯ
และประเทศที่สาม จะต้องยึดเป็นหลักปฏิบัติสำหรับการผลิตอาหารที่จะนำมาจำหน่ายในสหภาพยุโรป
* การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เป็นการสืบหาแหล่งที่มาของสาเหตุการปนเปื้อนในสินค้าอาหาร จึงมีความจำเป็นที่ผู้ผลิต
จะต้องผ่านการรับรองตามระบบขจัดความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (Hazard Analysis Critical Control Point
:HACCP) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม เพื่อป้องกันปัญหาอันตรายจากสาเหตุโดยผู้ผลิตอาหารควรระบุได้ว่าปัญหาด้านสุขอนามัยที่
เกิดจากการบริโภคอาหารชนิดนั้นจะเกิดขึ้นได้ที่ขั้นตอนใด เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีการป้องกันอย่างไร ซึ่ง HACCP นี้ นอกจากสหภาพยุโรปแล้ว
ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ก็มีมาตรการในการใช้ระบบนี้เช่นเดียวกัน
* มาตรการฉุกเฉิน ( Emergency Measure ) สหภาพยุโรปจะใช้เพื่อการจำกัดขอบเขตของผลกระทบจากวิกฤตการณ์อาหารใน
กรณีที่วิกฤตการณ์ส่งผลต่อสุขภาพ และชีวิตของผู้บริโภค รวมทั้งพืชและสัตว์โดยการห้ามนำเข้า หรือดำเนินการอื่นใดเมื่อมีหลักฐานทาง
ทยาศาสตร์สนับสนุน แต่ในบางกรณี เช่น สินค้า GMOs แม้ว่าสหภาพยุโรปจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนมาใช้อ้างอิงจำกัดการนำเข้า
แต่นโยบายสมุดปกขาว ระบุว่าสหภาพยุโรปจะดำเนินการโดยใช้หลักการ Precautionary Principle : PP ซึ่งจะห้ามนำเข้าได้ทันทีเมื่อ
เกิดข้อสงสัยว่าสินค้าอาหารอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และสุขภาพของผู้บริโภค
* นโยบายด้านอื่น ๆ ที่ยังไม่มีการระบุรายละเอียดชัดเจน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระต้นทุนและความยุ่งยากในการผลิตมากขึ้น เช่น
นโยบายเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและอาหารสัตว์นโยบายด้านสารตกค้างและสารปนเปื้อน นโยบายเกี่ยวกับนวัตกรรมอาหาร (Novel Food/Feed)
นโยบายด้านฉลาก เป็นต้น
- นอกจากนี้ ยังมีมาตรการในการควบคุมการนำเข้าที่เข้มงวดขึ้นของประเทศคู่ค้าสำคัญอื่น ๆ เช่น
* ญี่ปุ่นกำหนดให้สินค้าอาหารที่ได้จากผลผลิต GMOs รวม 28 ชนิด เช่น เต้าหู้ ซีอิ๊ว น้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ เป็นสินค้าต้องติดฉลาก GMOs
หรือปลอด GMOs ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป
* สหรัฐฯ ยังคงการห้ามนำเข้าปลาทูน่าครีบเหลืองจากประเทศคอสตาริกา ญี่ปุ่น อิตาลี และไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ไม่สามารถให้การ
รับรองได้ว่า ไม่ได้มีการนำเข้าปลาทูน่าจากประเทศที่ถูกห้ามนำเข้าครั้งแรก คือ เม็กซิโก ปานามา โคลอมเบีย วาเนตู และเวเนซูเอลา ทั้งนี้
ในปัจจุบัน สินค้าปลาทูน่าที่นำเข้าสหรัฐฯ ต้องปิดฉลาก dolphin safe
แนวทางการปรับตัว
- กระทรวงพาณิชย์จะติดตามมาตรการทางการค้าของประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ภาคเอกชนทราบ
อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ปรับตัวรองรับกับมาตรการที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในการตรวจสอบสินค้าที่เข้มงวด โดยมีการตรวจย้อนทุกขั้นตอนการผลิตตั้ง
แต่ไร่นาจนถึงโรงงาน
- ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวโดยพัฒนากระบวนการผลิตทุกขั้นตอน และนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ มีระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยมีคุณภาพ ความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งการดำเนินโครงการวิจัยด้าน Food Safety and Quality
Assurance และการดำเนินการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหารเพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการของไทยเป็นอย่างยิ่ง
- ผู้ประกอบการ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรประสานความร่วมมือในการพิจารณาหาข้อมูลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
เพื่อโต้แย้งกับประเทศที่มีการกำหนดมาตรฐานที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติ เช่น กรณีของการกำหนดสาร Bazaic Acid ในกุ้งไม่เกินร้อยละ
0.2 ในขณะที่กุ้งจากสหภาพยุโรปกำหนดให้มีได้ไม่เกินร้อยละ 0.6 รวมทั้งสินค้าที่ยังไม่มีมาตรฐานนานาชาติกำหนด เช่น กรณีของสารก่อมะเร็ง
3-MCPD ในซอสปรุงรสที่ทำจากถั่วเหลือง ซึ่งยังไม่มีมาตรฐานนานาชาติกำหนดไว้ และสหภาพยุโรป มีการกำหนดมาตรฐานไว้ค่อนข้างสูง
ผู้บริโภคจะต้องมีความตื่นตัว และมีความรู้ที่จะพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเอง ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อบริโภค ซึ่งจะช่วยผลักดัน
ให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าอาหารของไทยต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานได้อีกทางหนึ่ง
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-