บทสรุปนักลงทุน
ยางโอริงมีลักษณะเป็นยางที่มีลักษณะเป็นวงแหวนเล็กๆ ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับกันซึมกันรั่วใน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และสุขภัณฑ์ เป็นต้น ยางโอริงจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ในหลายๆอุตสาหกรรมและยังใช้เป็นอะไหล่สำหรับเปลี่ยนทดแทนยางโอริงอันเก่าที่ชำรุด
อุตสาหกรรมขั้นต่อเนื่องสำหรับยางโอริงที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2542 คือ รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าการผลิตรถยนต์มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากการจัดหาตลาดส่งออกของบริษัทแม่ในต่างประเทศ เพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ลดลงจากภาวะการหดตัวทางเศรษฐกิจในประเทศทำให้ต้องลดการผลิตลงในช่วงปี 2540 --2541 การเพิ่มปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2542 นั้นทำให้ยางโอริงซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับผลดีจากการขยายการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตให้แก่ผู้ประกอบรถยนต์โดยตรงซึ่งมักจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่
อย่างไรก็ตามหากนักลงทุนสนใจในการผลิตยางโอริง ก็สามารถเริ่มจากการลงทุนผลิตให้แก่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งมีข้อจำกัดในการเลือกซัพพลายเอออร์น้อยกว่าผู้ผลิตรถยนต์ หรืออาจจะผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดอะไหล่ก็ได้ การผลิตยางโอริงไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนทางด้านเครื่องจักรมากและใช้เทคโนโลยีในการผลิตไม่สูงนัก และเทคโนโลยีในการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงช้า
การลงทุนผลิตยางโอริงนั้นสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินทุนราว 4 ล้านบาท ซึ่งต้นทุนการผลิตยางโอริงนั้นพบว่าค่าใช้จ่ายสำคัญคือค่าวัตถุดิบคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 ของราคาขาย รองลงมาคือค่าแรงงานประมาณร้อยละ 24 และค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรตามลำดับ
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ยางโอริง เป็นยางที่มีลักษณะเป็นวงแหวนเล็กใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับกับซึมรั่วในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และสุขภัณฑ์ เป็นต้น ส่วนมากจะใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นหลัก
ตลาดยางโอริง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
1.!การจำหน่ายให้แก่โรงงานประกอบรถยนต์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าตลาด OEM ตลาดประเภทนี้ขึ้นกับปริมาณการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ในแต่ละปี
2.!การจำหน่ายให้แก่ตลาดอะไหล่เพื่อใช้ในการซ่อมแซม หรือที่เรียกว่าตลาด REM ตลาดประเภทนี้ขึ้นกับปริมาณรถยนต์ที่แล่นอยู่บนท้องถนนเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์คือ
2.1! อะไหล่แท้ เป็นชิ้นส่วนรถยนต์ที่บริษัทผู้ประกอบรถยนต์ผลิตเอง หรือจ้างให้ผู้อื่นผลิตภายใต้มาตรฐานและคุณภาพที่กำหนด ซึ่งสามารถใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ อะไหล่ประเภทนี้ส่วนหนึ่งอาจจะนำไปใช้ในการประกอบรถยนต์ และอีกส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการเปลี่ยนและซ่อมแซมในศูนย์บริการต่างๆ
2.2! อะไหล่ทดแทน หรืออะไหล่เทียม เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตโดยไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้ประกอบรถยนต์โดยอาจเป็นการผลิตจากโรงงานเดียวกับที่ผลิตชิ้นส่วนส่งให้ผู้ประกอบรถยนต์ หรือผลิตจากโรงงานทั่วไป แล้วใช้เครื่องหมายการค้าของตนเองซึ่งคุณภาพและมาตรฐานอาจจะใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอะไหล่แท้
2.3! อะไหล่ปลอม เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นมาโดยปลอมเครื่องหมายการค้าของอะไหล่แท้หรืออะไหล่ทดแทน รวมไปถึงชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้แล้วมาปรับปรุงและนำมาขายอีกครั้งชิ้นส่วนเหล่านี้จะมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งโรงงานที่ผลิตจะเป็นโรงงานขนาดเล็ก ใช้ความชำนาญของตนเอง โดยต้องการผลิตให้ได้ปริมาณมากและใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด ดังนั้นอะไหล่ประเภทนี้จึงมีราคาค่อนข้างต่ำ
สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมยางโอริง หากมีเงินลงทุนไม่มากนักควรจะเริ่มจากการผลิตอะไหล่เทียมเนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีมากนัก และคุณภาพของสินค้าก็อาจจะใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอะไหล่แท้ ส่วนการผลิตสำหรับตลาด OEM หรือสำหรับเป็นอะไหล่แท้นั้นค่อนข้างจะเป็นไปได้ยากสำหรับผู้ผลิตรายเล็ก เนื่องจากต้องผลิตเป็นจำนวนมากและต้องได้มาตรฐานตามที่บริษัทรถยนต์ต้องการ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีเป็นจำนวนมาก
อุตสาหกรรมยางโอริงเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีในระยะยาวจากการที่บริษัทรถยนต์ในต่างประเทศมีโครงการที่จะเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งออกก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้สภาพเศรษฐกิจชะลอตัวตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา โดยพิจารณาได้จากปริมาณการผลิตรถยนต์รวมในช่วงปี 2539 -- 2541 ที่ลดลงประมาณร้อยละ 40 ต่อปี จาก 547,321 คันในปี 2539 เหลือเพียง 158,130 คันในปี 2541ทำให้ความต้องการยางโอริงในกลุ่มตลาด OEM ชะลอตัวลงอย่างมากจากการลดการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ แต่ตลาด REM ก็ยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามความจำเป็นของผู้ที่ใช้รถที่ต้องซ่อมแซมรถยนต์ โดยจากสถิติของรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพบว่าในปี 2541 มีปริมาณรถยนต์ทั้งสิ้น 741,358 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.83 ส่วนการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าพบว่าในช่วงปี 2539 -- 2541 มีการขยายตัวประมาณร้อยละ 17 ต่อปี จาก 106,569 ล้านบาทในปี 2539 เป็น 161,821 ล้านบาท ในปี 2541
อย่างไรก็ตามในปี 2542 ความต้องการยางโอริงสำหรับรถยนต์มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นจากการที่ผู้ประกอบรถยนต์ได้แก้ไขปัญหายอดจำหน่ายในประเทศลดลงด้วยการขยายการส่งออก ทำให้การผลิตรถยนต์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่ได้หยุดหรือชะลอการผลิตไปประมาณ 2 ปีประกอบกับนโยบายทางภาครัฐที่ต้องการกระตุ้นสภาวะเศรษฐกิจในประเทศด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ช่วยให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศปี 2542 ขยายตัวขึ้นเล็กน้อยดังจะเห็นได้จากในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2542 การผลิตรถยนต์มีปริมาณเท่ากับ 229,281 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 109.8 และปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวมทั้งปี 2542 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 103.5 เป็น 321,781 ตัน การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15 เป็น 74,801 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังและมูลค่าส่งออกทั้งปี 2542 คาดว่าจะเท่ากับ 162,000 ล้านบาททรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน
แนวโน้มในปี 2543 การผลิตชิ้นส่วนยางโอริงสำหรับรถยนต์ในปี 2543 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากปี 2542 เนื่องจากการผลิตรถยนต์ในประเทศยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการที่บริษัทแม่มีนโยบายในการผลักดันการส่งออกรถยนต์นั่ง ในขณะที่ตลาดรถยนต์ในประเทศจะขยาย
ตัวดีขึ้นอีกทั้งในปี 2543 นี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกคือ บริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ (GM) และ BMW จะเริ่มดำเนินการผลิตในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ความต้องการชิ้นส่วนยางโอริงขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2543 คาดว่าจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 40 เป็น 450,000 คัน นอกจากนี้ปริมาณการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะขยายตัวอีกประมาณร้อยละ 12 ในปี 2543 คิดเป็นมูลค่า 190,120 ล้านบาท
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท ไทย. เอ็น. โอ. เค. จำกัด 320,000,000
บริษัท อิโนแว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 100,000,000
บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รับเบอร์พาทส์ จำกัด 60,000,000
บริษัท นาเซโค จำกัด 60,000,000
บริษัท นากาชิมารับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 44,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท ไทยไดนิฮอน จำกัด 15,000,000
บริษัท ไทยไดนิฮอน รับเบอร์ จำกัด 15,000,000
บริษัท รับเบอร์เทค จำกัด 10,000,000
บริษัท เอส ดับเบิลยู รับเบอร์ จำกัด 10,000,000
บริษัท พงศ์พารา โคดาน รับเบอร์ จำกัด 8,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนช่องทางการจำหน่ายยางโอริงนั้นสามารถจำหน่ายได้โดย
1.!การจำหน่ายโดยตรงให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยจำหน่ายในรูปแบบของตลาด OEM และตลาดอะไหล่แท้
2.! การรับจ้างผลิต ส่วนใหญ่เป็นตลาด OEM และตลาดอะไหล่แท้
3.!จัดจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือยี่ปั๊ว ส่วนใหญ่เป็นอะไหล่เทียม
4.!จำหน่ายให้แก่ร้านซ่อมรถยนต์โดยตรง ในรูปแบบของอะไหล่เทียม
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบในการผลิตส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้ในประเทศ วัตถุดิบสำคัญ อาทิ
1.!ยางธรรมชาติ มีมากในภาคใต้ รองลงมาคือภาคตะวันออก
2.!เขม่าดำ สามารถซื้อได้จากบริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ก
3.!แคลเซียมคาร์บอเนต สามารถซื้อได้จากบริษัทศิลาทิพย์ และอุทิศอุตสาหกรรม
ส่วนวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศได้แก่
1.!ยางสังเคราะห์ ซื้อจากตัวแทนจำหน่าย เช่น บริษัทChemloop Intertrade อีสต์เอเชียติก และไบเออร์
2.!เคมีภัณฑ์ ซื้อจากตัวแทนจำหน่าย เช่น บริษัทChemloop Intertrade อีสต์เอเชียติก และไบเออร์
โครงสร้างต้นทุนการผลิต ในการผลิตยางโอริงนั้นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวัตถุดิบ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 ของต้นทุนการผลิตรวม รองลงมาคือค่าแรงงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 12 และค่าโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 5
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 59
2. ค่าแรงงาน 24
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 12
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 5
รวม 100
ที่มา: สอบถามจากผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 นำวัตถุดิบที่เป็นยางและสารเติมเช่น เคมีภัณฑ์ แป้ง เขม่าดำ ผสมในเครื่องผสมยาง
ขั้นที่ 2 นพยางที่ผสมเข้าเครื่องอัดยางเพื่อขึ้นรูป
ขั้นที่ 3 ตัดแต่ง
ขั้นที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพ
ผสมยาง
ขึ้นรูป
ตัดแต่ง
ตรวจสอบคุณภาพ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ส่วนเครื่องจักรในการทำแม่พิมพ์สามารถซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศ เครื่องจักรหลักๆที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางได้แก่
1.!เครื่องผสมยาง ใช้ในขั้นตอนการผสมยาง
2.!เครื่องอัดยาง ใช้ในขั้นตอนการขึ้นรูปยาง
3.!เครื่องกลึง ใช้ในการทำแม่พิมพ์
4.!เครื่องสปาร์ค (EDM Machine) ใช้ในการทำแม่พิมพ์
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมยางโอริงโรงงานควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับโรงงานผลิตรถยนต์ ซึ่งโรงงานผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยตั้งอยู่ในแถบภาคตะวันออก เช่น ระยอง ชลบุรี แหลมฉบัง ในการลงทุนผลิตยางโอริง 5 ล้านชิ้นต่อปี ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 4 ล้านบาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง 2 ล้านบาท ในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่าห้องแถว 2 ห้อง ราคาประมาณห้องละ 5,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
3. ค่าเครื่องจักร เครื่องผสมยาง เครื่องกดยาง เครื่องกลึง เครื่องสปาร์ค ราคา 3 ล้านบาท
4. ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง 1 คัน) ราคา 75,000 -- 125,000 บาท
5. เงินทุนหมุนเวียน 200,000 -- 300,000 บาทต่อเดือน
บุคลากร ธุรกิจการประกอบยางโอริงขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 10 คน ประกอบด้วย
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 ช่างทำแม่พิมพ์ จำนวน 1 คน
1.2 ช่างผสมยาง ขึ้นรูปยาง จำนวน 2-3 คน
1.3 พนักงานตัดเศษยาง และพนักงานบรรจุ จำนวน 1-2 คน
1.4 พนักงานขับรถส่งของ จำนวน 1 คน
1.!พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร
1.1! พนักงานขาย จำนวน 1-2 คน
1.2! พนักงานบัญชี จำนวน 1 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.!ต้นทุนวัตถุดิบ 1,336,800 บาทต่อปี
-! ยางธรรมชาติ 450,000 บาทต่อปี
-! ยางสังเคราะห์ 436,800 บาทต่อปี
- เขม่าดำ 150,000 บาทต่อปี
- แคลเซียมคาร์บอเนต 150,000 บาทต่อปี
- เคมีภัณฑ์ 150,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 600,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 144,000 บาทต่อปี
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต
4.1! สาธารณูปโภค 276,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 48,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 96,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 72,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 60,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้ประมาณ 2.6 ล้านบาทต่อปี
แหล่งขายเครื่องจักร
ตารางที่ 5: รายชื่อตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
1. เครื่องผสมยาง และ เครื่องอัดยาง บริษัท ประสิทธิ์วิวัฒน์ รับเบอร์แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด
121/8 หมู่ 7 เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ กรุงเทพ
โทร 811 -- 1435
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหพานิช 342/78 จุฬาซอย 24 ถนน
บรรทัดทอง กรุงเทพ โทร 214-0539
2. เครื่องกลึง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธงชัยจักรกล 22/7 หมู่ 7 สุขสวัสดิ์ 78
โทร 463-6132, 463-9890
บริษัท วีทีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 42/66-71 ซอยวัดกำแพง
พระราม 2 โทร 416-1056
ที่มา: สอบถามจากผู้ประกอบการ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. อัตราภาษีนำเข้า อัตราภาษีนำเข้าปะเก็น แหวนรอง และซีลอื่นๆของไทยได้ลดลงจากอัตราร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 30 ในปี 2542 ส่วนอัตราภาษีนำเข้ายางสังเคราะห์ซึ่งเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งในการผลิตยางโอริงได้ลดลงจากอัตราร้อยละ 30 -- 50 เหลือร้อยละ 20 ในปี 2542
2. มาตรฐาน QS 9000 ในปัจจุบันลูกค้าเริ่มแนะนำให้ผู้ผลิตยางสำหรับรถยนต์ได้รับมาตรฐานQS 9000 ในอนาคตผู้ผลิตยางที่ไม่ได้รับ QS 9000 จะมีความลำบากในการทำตลาด มาตรฐาน QS 9000 เป็นระบบมาตรฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ผู้ผลิตในกลุ่มบิ๊กทรี ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แก่ ฟอร์ด ไครสเลอร์ และจีเอ็ม ได้กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับ supplier ที่จะส่งสินค้าให้กับกลุ่มของตน ผู้ประกอบการที่ผ่านข้อกำหนดของระบบ QS 9000 มีน้อยมาก สำหรับบริษัทใดที่ต้องการขอคำปรึกษาและตรวจสอบรายละเอียดในการออกใบรับรอง สามารถติดต่อบริษัทต่างชาติที่เข้ามาดำเนินธุรกิจการทางด้านรับรองมาตรฐานในไทย อาทิ บริษัท UL, TUV, BVQI, และ SQS เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค
1. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ในการวางแผนควบคุม บริหาร และดำเนินการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนากิจการยางในทุกสาขาและครบวงจร ทั้งด้านการผลิตยาง การแปรรูปยาง การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง และการตลาดยาง ประสานงานกับหน่วยงานภายใน ภายนอกกรมวิชาการเกษตร และต่างประเทศในทุกระดับทั้งระดับเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการแปรรูปยาง ผู้ประกอบการค้ายางผู้ส่งออก ผู้นำเข้ายาง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง องค์การยางระหว่างประเทศ และสถาบันวิจัยยางประเทศต่างๆ การควบคุมยางตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยียางสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรชาวสวนยาง นักลงทุนที่ต้องการคำแนะนำจากสถาบันวิจัยยาง ติดต่อได้ที่ สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร จตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900 โทร (02) 5797557-8 โทรสาร 5614744
สถาบันวิจัยยาง กรม--จบ--
-ชต-
ยางโอริงมีลักษณะเป็นยางที่มีลักษณะเป็นวงแหวนเล็กๆ ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับกันซึมกันรั่วใน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และสุขภัณฑ์ เป็นต้น ยางโอริงจัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ในหลายๆอุตสาหกรรมและยังใช้เป็นอะไหล่สำหรับเปลี่ยนทดแทนยางโอริงอันเก่าที่ชำรุด
อุตสาหกรรมขั้นต่อเนื่องสำหรับยางโอริงที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปี 2542 คือ รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าการผลิตรถยนต์มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากการจัดหาตลาดส่งออกของบริษัทแม่ในต่างประเทศ เพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ลดลงจากภาวะการหดตัวทางเศรษฐกิจในประเทศทำให้ต้องลดการผลิตลงในช่วงปี 2540 --2541 การเพิ่มปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2542 นั้นทำให้ยางโอริงซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับผลดีจากการขยายการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการที่ผลิตให้แก่ผู้ประกอบรถยนต์โดยตรงซึ่งมักจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่
อย่างไรก็ตามหากนักลงทุนสนใจในการผลิตยางโอริง ก็สามารถเริ่มจากการลงทุนผลิตให้แก่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งมีข้อจำกัดในการเลือกซัพพลายเอออร์น้อยกว่าผู้ผลิตรถยนต์ หรืออาจจะผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดอะไหล่ก็ได้ การผลิตยางโอริงไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนทางด้านเครื่องจักรมากและใช้เทคโนโลยีในการผลิตไม่สูงนัก และเทคโนโลยีในการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงช้า
การลงทุนผลิตยางโอริงนั้นสามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยเงินทุนราว 4 ล้านบาท ซึ่งต้นทุนการผลิตยางโอริงนั้นพบว่าค่าใช้จ่ายสำคัญคือค่าวัตถุดิบคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 ของราคาขาย รองลงมาคือค่าแรงงานประมาณร้อยละ 24 และค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรตามลำดับ
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ยางโอริง เป็นยางที่มีลักษณะเป็นวงแหวนเล็กใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับกับซึมรั่วในเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และสุขภัณฑ์ เป็นต้น ส่วนมากจะใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นหลัก
ตลาดยางโอริง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
1.!การจำหน่ายให้แก่โรงงานประกอบรถยนต์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าตลาด OEM ตลาดประเภทนี้ขึ้นกับปริมาณการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์ในแต่ละปี
2.!การจำหน่ายให้แก่ตลาดอะไหล่เพื่อใช้ในการซ่อมแซม หรือที่เรียกว่าตลาด REM ตลาดประเภทนี้ขึ้นกับปริมาณรถยนต์ที่แล่นอยู่บนท้องถนนเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์คือ
2.1! อะไหล่แท้ เป็นชิ้นส่วนรถยนต์ที่บริษัทผู้ประกอบรถยนต์ผลิตเอง หรือจ้างให้ผู้อื่นผลิตภายใต้มาตรฐานและคุณภาพที่กำหนด ซึ่งสามารถใช้เครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ อะไหล่ประเภทนี้ส่วนหนึ่งอาจจะนำไปใช้ในการประกอบรถยนต์ และอีกส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการเปลี่ยนและซ่อมแซมในศูนย์บริการต่างๆ
2.2! อะไหล่ทดแทน หรืออะไหล่เทียม เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตโดยไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้ประกอบรถยนต์โดยอาจเป็นการผลิตจากโรงงานเดียวกับที่ผลิตชิ้นส่วนส่งให้ผู้ประกอบรถยนต์ หรือผลิตจากโรงงานทั่วไป แล้วใช้เครื่องหมายการค้าของตนเองซึ่งคุณภาพและมาตรฐานอาจจะใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอะไหล่แท้
2.3! อะไหล่ปลอม เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นมาโดยปลอมเครื่องหมายการค้าของอะไหล่แท้หรืออะไหล่ทดแทน รวมไปถึงชิ้นส่วนอะไหล่ที่ใช้แล้วมาปรับปรุงและนำมาขายอีกครั้งชิ้นส่วนเหล่านี้จะมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งโรงงานที่ผลิตจะเป็นโรงงานขนาดเล็ก ใช้ความชำนาญของตนเอง โดยต้องการผลิตให้ได้ปริมาณมากและใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด ดังนั้นอะไหล่ประเภทนี้จึงมีราคาค่อนข้างต่ำ
สำหรับผู้ที่ต้องการที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมยางโอริง หากมีเงินลงทุนไม่มากนักควรจะเริ่มจากการผลิตอะไหล่เทียมเนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีมากนัก และคุณภาพของสินค้าก็อาจจะใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอะไหล่แท้ ส่วนการผลิตสำหรับตลาด OEM หรือสำหรับเป็นอะไหล่แท้นั้นค่อนข้างจะเป็นไปได้ยากสำหรับผู้ผลิตรายเล็ก เนื่องจากต้องผลิตเป็นจำนวนมากและต้องได้มาตรฐานตามที่บริษัทรถยนต์ต้องการ ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีเป็นจำนวนมาก
อุตสาหกรรมยางโอริงเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีในระยะยาวจากการที่บริษัทรถยนต์ในต่างประเทศมีโครงการที่จะเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งออกก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แม้สภาพเศรษฐกิจชะลอตัวตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา โดยพิจารณาได้จากปริมาณการผลิตรถยนต์รวมในช่วงปี 2539 -- 2541 ที่ลดลงประมาณร้อยละ 40 ต่อปี จาก 547,321 คันในปี 2539 เหลือเพียง 158,130 คันในปี 2541ทำให้ความต้องการยางโอริงในกลุ่มตลาด OEM ชะลอตัวลงอย่างมากจากการลดการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ แต่ตลาด REM ก็ยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามความจำเป็นของผู้ที่ใช้รถที่ต้องซ่อมแซมรถยนต์ โดยจากสถิติของรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพบว่าในปี 2541 มีปริมาณรถยนต์ทั้งสิ้น 741,358 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.83 ส่วนการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าพบว่าในช่วงปี 2539 -- 2541 มีการขยายตัวประมาณร้อยละ 17 ต่อปี จาก 106,569 ล้านบาทในปี 2539 เป็น 161,821 ล้านบาท ในปี 2541
อย่างไรก็ตามในปี 2542 ความต้องการยางโอริงสำหรับรถยนต์มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นจากการที่ผู้ประกอบรถยนต์ได้แก้ไขปัญหายอดจำหน่ายในประเทศลดลงด้วยการขยายการส่งออก ทำให้การผลิตรถยนต์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่ได้หยุดหรือชะลอการผลิตไปประมาณ 2 ปีประกอบกับนโยบายทางภาครัฐที่ต้องการกระตุ้นสภาวะเศรษฐกิจในประเทศด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ช่วยให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศปี 2542 ขยายตัวขึ้นเล็กน้อยดังจะเห็นได้จากในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2542 การผลิตรถยนต์มีปริมาณเท่ากับ 229,281 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 109.8 และปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวมทั้งปี 2542 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 103.5 เป็น 321,781 ตัน การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15 เป็น 74,801 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังและมูลค่าส่งออกทั้งปี 2542 คาดว่าจะเท่ากับ 162,000 ล้านบาททรงตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน
แนวโน้มในปี 2543 การผลิตชิ้นส่วนยางโอริงสำหรับรถยนต์ในปี 2543 คาดว่าจะยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากปี 2542 เนื่องจากการผลิตรถยนต์ในประเทศยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการที่บริษัทแม่มีนโยบายในการผลักดันการส่งออกรถยนต์นั่ง ในขณะที่ตลาดรถยนต์ในประเทศจะขยาย
ตัวดีขึ้นอีกทั้งในปี 2543 นี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกคือ บริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ (GM) และ BMW จะเริ่มดำเนินการผลิตในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ความต้องการชิ้นส่วนยางโอริงขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2543 คาดว่าจะขยายตัวขึ้นจากปีก่อนประมาณร้อยละ 40 เป็น 450,000 คัน นอกจากนี้ปริมาณการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะขยายตัวอีกประมาณร้อยละ 12 ในปี 2543 คิดเป็นมูลค่า 190,120 ล้านบาท
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท ไทย. เอ็น. โอ. เค. จำกัด 320,000,000
บริษัท อิโนแว รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 100,000,000
บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รับเบอร์พาทส์ จำกัด 60,000,000
บริษัท นาเซโค จำกัด 60,000,000
บริษัท นากาชิมารับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 44,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท ไทยไดนิฮอน จำกัด 15,000,000
บริษัท ไทยไดนิฮอน รับเบอร์ จำกัด 15,000,000
บริษัท รับเบอร์เทค จำกัด 10,000,000
บริษัท เอส ดับเบิลยู รับเบอร์ จำกัด 10,000,000
บริษัท พงศ์พารา โคดาน รับเบอร์ จำกัด 8,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนช่องทางการจำหน่ายยางโอริงนั้นสามารถจำหน่ายได้โดย
1.!การจำหน่ายโดยตรงให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยจำหน่ายในรูปแบบของตลาด OEM และตลาดอะไหล่แท้
2.! การรับจ้างผลิต ส่วนใหญ่เป็นตลาด OEM และตลาดอะไหล่แท้
3.!จัดจำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือยี่ปั๊ว ส่วนใหญ่เป็นอะไหล่เทียม
4.!จำหน่ายให้แก่ร้านซ่อมรถยนต์โดยตรง ในรูปแบบของอะไหล่เทียม
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ วัตถุดิบในการผลิตส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้ในประเทศ วัตถุดิบสำคัญ อาทิ
1.!ยางธรรมชาติ มีมากในภาคใต้ รองลงมาคือภาคตะวันออก
2.!เขม่าดำ สามารถซื้อได้จากบริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ก
3.!แคลเซียมคาร์บอเนต สามารถซื้อได้จากบริษัทศิลาทิพย์ และอุทิศอุตสาหกรรม
ส่วนวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศได้แก่
1.!ยางสังเคราะห์ ซื้อจากตัวแทนจำหน่าย เช่น บริษัทChemloop Intertrade อีสต์เอเชียติก และไบเออร์
2.!เคมีภัณฑ์ ซื้อจากตัวแทนจำหน่าย เช่น บริษัทChemloop Intertrade อีสต์เอเชียติก และไบเออร์
โครงสร้างต้นทุนการผลิต ในการผลิตยางโอริงนั้นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวัตถุดิบ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 ของต้นทุนการผลิตรวม รองลงมาคือค่าแรงงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 12 และค่าโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 5
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 59
2. ค่าแรงงาน 24
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 12
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 5
รวม 100
ที่มา: สอบถามจากผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 นำวัตถุดิบที่เป็นยางและสารเติมเช่น เคมีภัณฑ์ แป้ง เขม่าดำ ผสมในเครื่องผสมยาง
ขั้นที่ 2 นพยางที่ผสมเข้าเครื่องอัดยางเพื่อขึ้นรูป
ขั้นที่ 3 ตัดแต่ง
ขั้นที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพ
ผสมยาง
ขึ้นรูป
ตัดแต่ง
ตรวจสอบคุณภาพ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ส่วนเครื่องจักรในการทำแม่พิมพ์สามารถซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายในประเทศ เครื่องจักรหลักๆที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางได้แก่
1.!เครื่องผสมยาง ใช้ในขั้นตอนการผสมยาง
2.!เครื่องอัดยาง ใช้ในขั้นตอนการขึ้นรูปยาง
3.!เครื่องกลึง ใช้ในการทำแม่พิมพ์
4.!เครื่องสปาร์ค (EDM Machine) ใช้ในการทำแม่พิมพ์
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมยางโอริงโรงงานควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับโรงงานผลิตรถยนต์ ซึ่งโรงงานผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยตั้งอยู่ในแถบภาคตะวันออก เช่น ระยอง ชลบุรี แหลมฉบัง ในการลงทุนผลิตยางโอริง 5 ล้านชิ้นต่อปี ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 4 ล้านบาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง 2 ล้านบาท ในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่าห้องแถว 2 ห้อง ราคาประมาณห้องละ 5,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
3. ค่าเครื่องจักร เครื่องผสมยาง เครื่องกดยาง เครื่องกลึง เครื่องสปาร์ค ราคา 3 ล้านบาท
4. ค่ายานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง 1 คัน) ราคา 75,000 -- 125,000 บาท
5. เงินทุนหมุนเวียน 200,000 -- 300,000 บาทต่อเดือน
บุคลากร ธุรกิจการประกอบยางโอริงขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 10 คน ประกอบด้วย
1. พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1 ช่างทำแม่พิมพ์ จำนวน 1 คน
1.2 ช่างผสมยาง ขึ้นรูปยาง จำนวน 2-3 คน
1.3 พนักงานตัดเศษยาง และพนักงานบรรจุ จำนวน 1-2 คน
1.4 พนักงานขับรถส่งของ จำนวน 1 คน
1.!พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร
1.1! พนักงานขาย จำนวน 1-2 คน
1.2! พนักงานบัญชี จำนวน 1 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.!ต้นทุนวัตถุดิบ 1,336,800 บาทต่อปี
-! ยางธรรมชาติ 450,000 บาทต่อปี
-! ยางสังเคราะห์ 436,800 บาทต่อปี
- เขม่าดำ 150,000 บาทต่อปี
- แคลเซียมคาร์บอเนต 150,000 บาทต่อปี
- เคมีภัณฑ์ 150,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 600,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 144,000 บาทต่อปี
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต
4.1! สาธารณูปโภค 276,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 48,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 96,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 72,000 บาทต่อปี
4.2! ค่าขนส่ง
- ค่าน้ำมัน 60,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 15 ของยอดขาย
หมายเหตุ: รายได้ประมาณ 2.6 ล้านบาทต่อปี
แหล่งขายเครื่องจักร
ตารางที่ 5: รายชื่อตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
1. เครื่องผสมยาง และ เครื่องอัดยาง บริษัท ประสิทธิ์วิวัฒน์ รับเบอร์แมชชีนเนอร์รี่ จำกัด
121/8 หมู่ 7 เลียบคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ กรุงเทพ
โทร 811 -- 1435
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหพานิช 342/78 จุฬาซอย 24 ถนน
บรรทัดทอง กรุงเทพ โทร 214-0539
2. เครื่องกลึง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ธงชัยจักรกล 22/7 หมู่ 7 สุขสวัสดิ์ 78
โทร 463-6132, 463-9890
บริษัท วีทีซี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 42/66-71 ซอยวัดกำแพง
พระราม 2 โทร 416-1056
ที่มา: สอบถามจากผู้ประกอบการ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. อัตราภาษีนำเข้า อัตราภาษีนำเข้าปะเก็น แหวนรอง และซีลอื่นๆของไทยได้ลดลงจากอัตราร้อยละ 50 เหลือร้อยละ 30 ในปี 2542 ส่วนอัตราภาษีนำเข้ายางสังเคราะห์ซึ่งเป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งในการผลิตยางโอริงได้ลดลงจากอัตราร้อยละ 30 -- 50 เหลือร้อยละ 20 ในปี 2542
2. มาตรฐาน QS 9000 ในปัจจุบันลูกค้าเริ่มแนะนำให้ผู้ผลิตยางสำหรับรถยนต์ได้รับมาตรฐานQS 9000 ในอนาคตผู้ผลิตยางที่ไม่ได้รับ QS 9000 จะมีความลำบากในการทำตลาด มาตรฐาน QS 9000 เป็นระบบมาตรฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ผู้ผลิตในกลุ่มบิ๊กทรี ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แก่ ฟอร์ด ไครสเลอร์ และจีเอ็ม ได้กำหนดขึ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับ supplier ที่จะส่งสินค้าให้กับกลุ่มของตน ผู้ประกอบการที่ผ่านข้อกำหนดของระบบ QS 9000 มีน้อยมาก สำหรับบริษัทใดที่ต้องการขอคำปรึกษาและตรวจสอบรายละเอียดในการออกใบรับรอง สามารถติดต่อบริษัทต่างชาติที่เข้ามาดำเนินธุรกิจการทางด้านรับรองมาตรฐานในไทย อาทิ บริษัท UL, TUV, BVQI, และ SQS เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค
1. สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ในการวางแผนควบคุม บริหาร และดำเนินการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนากิจการยางในทุกสาขาและครบวงจร ทั้งด้านการผลิตยาง การแปรรูปยาง การผลิตผลิตภัณฑ์ยาง และการตลาดยาง ประสานงานกับหน่วยงานภายใน ภายนอกกรมวิชาการเกษตร และต่างประเทศในทุกระดับทั้งระดับเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการแปรรูปยาง ผู้ประกอบการค้ายางผู้ส่งออก ผู้นำเข้ายาง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง องค์การยางระหว่างประเทศ และสถาบันวิจัยยางประเทศต่างๆ การควบคุมยางตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยียางสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรชาวสวนยาง นักลงทุนที่ต้องการคำแนะนำจากสถาบันวิจัยยาง ติดต่อได้ที่ สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตร จตุจักร กรุงเทพ ฯ 10900 โทร (02) 5797557-8 โทรสาร 5614744
สถาบันวิจัยยาง กรม--จบ--
-ชต-