เศรษฐกิจโดยรวมยังคงขยายตัว โดยมีปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญ คือ การขยายตัวของผลผลิตพืชผลหลัก ซึ่งได้แก่ ยางพาราและปาล์มน้ำมัน ประกอบกับการขยายตัวของภาคการค้า การก่อสร้าง การเบิกจ่ายงบประมาณและการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกในเดือนนี้ขยายตัวถึงร้อยละ 26.0 ทั้งนี้เนื่องจากมูลค่าการส่งออกยาง อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋องเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ทางด้านการประมงและการท่องเที่ยวอยู่ในภาวะที่หดตัว สำหรับอัตราเงินเฟ้อขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.8 ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ผลผลิตพืชผลเกษตรยังเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องและในปริมาณที่สูงขึ้น ทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมัน
ทางด้านราคานั้น ยางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.91 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 เนื่องจากมีการแข่งขันรับซื้อวัตถุดิบ เพื่อส่งไปมาเลเซีย โดยเฉพาะผลผลิตน้ำยาง จึงผลักดันให้ราคายางขยับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนผลปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.59 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 เพราะผลผลิตเข้าสู่ตลาดมาก โดยปริมาณผลปาล์มสดที่เข้าสู่โรงงานมีจำนวนถึง 381,120.8 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 103.9 สำหรับข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์พื้นเมือง 25% เฉลี่ยเมตริกตันละ 3,656.40 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.3 ตามราคาข้าวในประเทศ เพราะผลจากผู้ส่งออกรับซื้อผลผลิตมากขึ้น
ส่วนสาขาการประมง ปริมาณผลผลิตกุ้งกุลาดำออกสู่ตลาดลดลง โดยในเดือนนี้กุ้งกุลาดำที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 1,188.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.7 ในขณะที่ราคาปรับตัวลดลง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 304.00 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.4 เพราะมีการนำกุ้งจากอินเดีย บังคลาเทศและเวียดนามมาผลิตแข่งขัน ในตลาดแปรรูปส่งออก สำหรับสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการในเดือนนี้มีมูลค่า 1,190.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.6
ทางด้านปศุสัตว์ราคายังคงสูงขึ้น เพราะความต้องการจากตลาดต่างประเทศมีมากขึ้น จากผลของโรควัวบ้า ไข้หวัดนก และโรคปากและเท้าเปื่อยระบาด โดยราคาสุกรเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.92 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 ขณะเดียวกันไก่เนื้อราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.72 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
เหมืองแร่
ผลผลิตสินแร่ดีบุกในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 186.9 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 38.5 ขณะเดียวกันผลผลิตแร่ยิปซัมจากแหล่งผลิตหลักคือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช มีจำนวน 360,000 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.8
ส่วนก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 5,636.6 เมตริกตัน มูลค่า 58.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 136.1 และ 120.9 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกน้ำมันดิบจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 130,171.6 เมตริกตัน มูลค่า 1,221.7 ล้านบาท เทียบกับเดือนก่อน ลดลง ร้อยละ 8.9 และ 16.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ น้ำมันดิบที่ขุดได้ในอ่าวไทย ส่วนใหญ่ส่งออกไปขายต่างประเทศ เนื่องจากมีต้นทุนในการขุดเจาะสูง โรงกลั่นภายในประเทศไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาได้
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในบางประเภท โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมยางพารา โดยในเดือนนี้ผลผลิตยางส่งออกมีจำนวนรวม 187,210 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.9 เป็นผลผลิตยางแผ่นรมควัน 71,145 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 เพราะมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพื่อผลิตยางล้อรถยนต์ ผลผลิตยางแท่ง 57,966.1 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 11.1 เพราะมีการแข่งขันตัดราคาขายยางจากอินโดนีเซีย ซึ่งขายในราคาต่ำมากและดึงให้ราคายางแท่งลดต่ำลงด้วย และผลผลิตน้ำยางสดและน้ำยางข้นจำนวน 56,368.1 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.3 เกือบทั้งหมดส่งออกผ่านไปยังมาเลเซีย
ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางนั้น ในเดือนนี้การส่งออกถุงมือยางของภาคใต้ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับภาพรวมของทั้งประเทศ ขณะที่ไม้ยางแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์มีข้อจำกัดด้านปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ประกอบกับตลาดชะลอตัว ทำให้การส่งออกลดลง
สำหรับถุงมือยางที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 4,881.0 เมตริกตัน มูลค่า 621.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.6 และ 38.8 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออก ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ในเดือนนี้มีจำนวน 19,680.0 เมตริกตัน มูลค่า 201.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.3 และ 28.6 ตามลำดับ เนื่องจากในภาคการผลิตขาดแคลนวัตถุดิบ ขณะที่ในภาคการค้า ตลาดญี่ปุ่น (กว่าร้อยละ 60.0 เป็นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น) ชะลอการบริโภค
ทางด้านอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ ในเดือนนี้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในภาคใต้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ 65,653.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 93.8 ทำให้ราคา น้ำมันปาล์มยังต่ำเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยน้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพมหานครเฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.51 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1
ส่วนภาวะการผลิตและการตลาดอุตสาหกรรมอาหารทะเลยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจาก ผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศได้รับผลกระทบจากโรควัวบ้า จึงหันมาบริโภคอาหารทะเลแทน ซึ่งส่งผลในทางที่ดีต่อการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในเดือนนี้มีจำนวน 23,427.3 เมตริกตัน มูลค่า 2,139.6 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณลดลงถึงร้อยละ 55.9 เนื่องจากในปีก่อนมีการส่งออกปลาเบญจพรรณ ซึ่งมีราคาต่ำเป็นจำนวนมากที่ด่านกันตัง ในขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ทั้งนี้ เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลกระป๋องในเดือนเดียวกันนี้มีจำนวน 8,736.8 เมตริกตัน มูลค่า 899.3 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณลดลงร้อยละ 14.6 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 เนื่องจากปัจจัยทางด้านค่าเงินที่อ่อนตัวลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่นำเข้ามาแปรรูปมีราคาสูง
ทางด้านปลาป่น ปริมาณการผลิตยังคงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะโรงงานผลิตอาหารกุ้ง มีความต้องการปลาป่นโปรตีนสูงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการผลิตอาหารกุ้งส่งออกและใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาขยับตัวเพิ่มขึ้น โดยปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไปเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.88 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.7
สำหรับการส่งออกโลหะดีบุกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ ในเดือนนี้มีจำนวน 1,927.6 เมตริกตัน มูลค่า 404.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 84.2 และ 83.5 ตามลำดับ
การท่องเที่ยว
ในเดือนนี้ภาวะการท่องเที่ยวชะลอตัว มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่าน ตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 161,925 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวจากตลาดหลัก คือ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ แยกพิจารณาได้ดังนี้
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้ฝั่งตะวันตกทรงตัว โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองระนองและท่าอากาศยานภูเก็ตทั้งสิ้น 71,965 คน ใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีสัดส่วนร้อยละ 51.1 ลดลงจากร้อยละ 55.5 ในปีก่อน ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวจากประเทศไต้หวันและญี่ปุ่น ซึ่งลดลงร้อยละ 32.6 และ 18.4 ตามลำดับ ส่วนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.2 ในปีก่อนเป็นร้อยละ 34.4 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากประเทศสวีเดนเป็นสำคัญ
ส่วนภาวะการท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ชะลอตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงในทุกจังหวัด โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมือง 89,960 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.3 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งลดลงร้อยละ 5.0 และ 27.2 ตามลำดับ
สำหรับชาวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ ในเดือนนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 51,418 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3
การลงทุน
ในเดือนนี้ไม่มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 228 ราย เงินทุนจดทะเบียนรวม 574.7 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เงินทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.1 ส่วนใหญ่เป็นกิจการรับเหมา ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและภัตตาคาร
สำหรับพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลมีจำนวน 100,699 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 โดยเฉพาะประเภทการพาณิชย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.6 และที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4
การจ้างงานและการจัดหางานของรัฐ
ในเดือนนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้ ทั้งสิ้น 5,045 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และต้องการแรงงานที่ไม่มีความรู้มากนัก
ขณะที่มีผู้สมัครงานแจ้งความต้องการทำงานทั้งสิ้น 2,687 คน ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 26.6 ส่วนใหญ่ผู้สมัครงานมีวุฒิการศึกษาระดับกลางขึ้นไป ทำให้คุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ จึงได้รับการบรรจุงานเพียง 966 อัตรา หรือร้อยละ 19.1 ของตำแหน่งงานว่าง
ภาคการค้า
ภาคการค้าโดยรวมในเดือนนี้ยังคงขยายตัวทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและยานพาหนะ เพราะผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ โครงการพักชำระหนี้และธนาคารประชาชน ช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อ เพื่อมาใช้จ่ายซื้อสินค้าได้มากขึ้น ดังเห็นได้จากสถิติการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้รวม 370.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงเวลานี้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จูงใจให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้น โดยยอดการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนเพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 70.3 ยอดจำหน่าย รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.3 และยอดการจำหน่ายรถบรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนกรกฎาคมนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 ทั้งนี้ มีสาเหตุจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 โดยเฉพาะผักและผลไม้ และราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 โดยเฉพาะหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและขนส่งสาธารณะ เพราะมีการปรับราคาจำหน่ายก๊าซเพิ่มขึ้น
การค้าระหว่างประเทศ
ตลอดเดือนกรกฎาคม สินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรภาคใต้มีมูลค่า 13,677.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.0 สินค้าส่งออกสำคัญมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะยางแผ่นรมควัน น้ำยางสด น้ำยางข้น อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋อง สำหรับสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าลดลงได้แก่ ไม้ยางพาราแปรรูป โดยมีมูลค่าลดลงร้อยละ 29.3 เนื่องจากมีปัญหาต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่งคือ จีน เวียดนามและมาเลเซีย ประกอบกับตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาชะลอการนำเข้าเป็นสำคัญ
ส่วนสินค้านำเข้ามีมูลค่า 4,259.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ อุปกรณ์ก่อสร้างเพิ่มขึ้น และการนำเข้าสัตว์น้ำยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพราะผลจากการที่ราคาปลาทูน่า (วัตถุดิบผลิตอาหารทะเลกระป๋อง) ปรับเพิ่มขึ้นและค่าเงินอ่อนตัวเป็นสำคัญ
ภาคการคลัง
ในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวม 6,939.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 อัตราเพิ่มของการเบิกจ่ายชะลอลง เนื่องจากใกล้สิ้นปีงบประมาณ และความล่าช้าของการดำเนินงานในแต่ละส่วนงานที่ยังขาดความพร้อม
ทางด้านการจัดเก็บภาษีอากร เดือนนี้จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 975.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 เนื่องจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้น โดยเก็บได้จำนวน 784.0 และ 123.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1 และ 37.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการจัดเก็บภาษีสรรพากร ปรากฏว่ารายได้จากภาษีบุคคลธรรมดาและภาษี มูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้จากภาษีนิติบุคคลลดลง เนื่องจากในเดือนกรกฎาคม 2543 ได้ขยายฐานการจัดเก็บภาษีและการเร่งรัดภาษีอากรคงค้างเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังได้รับภาษีเพิ่มขึ้นจากการส่งกำไรกลับต่างประเทศของนักธุรกิจชาวต่างชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจในภาคใต้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ผลผลิตพืชผลเกษตรยังเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องและในปริมาณที่สูงขึ้น ทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมัน
ทางด้านราคานั้น ยางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.91 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 เนื่องจากมีการแข่งขันรับซื้อวัตถุดิบ เพื่อส่งไปมาเลเซีย โดยเฉพาะผลผลิตน้ำยาง จึงผลักดันให้ราคายางขยับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนผลปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.59 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 เพราะผลผลิตเข้าสู่ตลาดมาก โดยปริมาณผลปาล์มสดที่เข้าสู่โรงงานมีจำนวนถึง 381,120.8 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 103.9 สำหรับข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์พื้นเมือง 25% เฉลี่ยเมตริกตันละ 3,656.40 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.3 ตามราคาข้าวในประเทศ เพราะผลจากผู้ส่งออกรับซื้อผลผลิตมากขึ้น
ส่วนสาขาการประมง ปริมาณผลผลิตกุ้งกุลาดำออกสู่ตลาดลดลง โดยในเดือนนี้กุ้งกุลาดำที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 1,188.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 8.7 ในขณะที่ราคาปรับตัวลดลง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 304.00 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.4 เพราะมีการนำกุ้งจากอินเดีย บังคลาเทศและเวียดนามมาผลิตแข่งขัน ในตลาดแปรรูปส่งออก สำหรับสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือของทางการในเดือนนี้มีมูลค่า 1,190.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.6
ทางด้านปศุสัตว์ราคายังคงสูงขึ้น เพราะความต้องการจากตลาดต่างประเทศมีมากขึ้น จากผลของโรควัวบ้า ไข้หวัดนก และโรคปากและเท้าเปื่อยระบาด โดยราคาสุกรเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.92 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 ขณะเดียวกันไก่เนื้อราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.72 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3
เหมืองแร่
ผลผลิตสินแร่ดีบุกในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 186.9 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 38.5 ขณะเดียวกันผลผลิตแร่ยิปซัมจากแหล่งผลิตหลักคือ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช มีจำนวน 360,000 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.8
ส่วนก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 5,636.6 เมตริกตัน มูลค่า 58.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 136.1 และ 120.9 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกน้ำมันดิบจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ในเดือนนี้มีจำนวน 130,171.6 เมตริกตัน มูลค่า 1,221.7 ล้านบาท เทียบกับเดือนก่อน ลดลง ร้อยละ 8.9 และ 16.3 ตามลำดับ ทั้งนี้ น้ำมันดิบที่ขุดได้ในอ่าวไทย ส่วนใหญ่ส่งออกไปขายต่างประเทศ เนื่องจากมีต้นทุนในการขุดเจาะสูง โรงกลั่นภายในประเทศไม่สามารถแข่งขันในด้านราคาได้
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในบางประเภท โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมยางพารา โดยในเดือนนี้ผลผลิตยางส่งออกมีจำนวนรวม 187,210 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.9 เป็นผลผลิตยางแผ่นรมควัน 71,145 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 เพราะมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพื่อผลิตยางล้อรถยนต์ ผลผลิตยางแท่ง 57,966.1 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 11.1 เพราะมีการแข่งขันตัดราคาขายยางจากอินโดนีเซีย ซึ่งขายในราคาต่ำมากและดึงให้ราคายางแท่งลดต่ำลงด้วย และผลผลิตน้ำยางสดและน้ำยางข้นจำนวน 56,368.1 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.3 เกือบทั้งหมดส่งออกผ่านไปยังมาเลเซีย
ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางนั้น ในเดือนนี้การส่งออกถุงมือยางของภาคใต้ยังขยายตัวในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับภาพรวมของทั้งประเทศ ขณะที่ไม้ยางแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์มีข้อจำกัดด้านปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ประกอบกับตลาดชะลอตัว ทำให้การส่งออกลดลง
สำหรับถุงมือยางที่ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน 4,881.0 เมตริกตัน มูลค่า 621.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.6 และ 38.8 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออก ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ในเดือนนี้มีจำนวน 19,680.0 เมตริกตัน มูลค่า 201.6 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.3 และ 28.6 ตามลำดับ เนื่องจากในภาคการผลิตขาดแคลนวัตถุดิบ ขณะที่ในภาคการค้า ตลาดญี่ปุ่น (กว่าร้อยละ 60.0 เป็นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น) ชะลอการบริโภค
ทางด้านอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบ ในเดือนนี้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบในภาคใต้ผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ 65,653.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 93.8 ทำให้ราคา น้ำมันปาล์มยังต่ำเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยน้ำมันปาล์มดิบ ณ ตลาดกรุงเทพมหานครเฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.51 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1
ส่วนภาวะการผลิตและการตลาดอุตสาหกรรมอาหารทะเลยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจาก ผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศได้รับผลกระทบจากโรควัวบ้า จึงหันมาบริโภคอาหารทะเลแทน ซึ่งส่งผลในทางที่ดีต่อการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋อง
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งในเดือนนี้มีจำนวน 23,427.3 เมตริกตัน มูลค่า 2,139.6 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณลดลงถึงร้อยละ 55.9 เนื่องจากในปีก่อนมีการส่งออกปลาเบญจพรรณ ซึ่งมีราคาต่ำเป็นจำนวนมากที่ด่านกันตัง ในขณะที่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ทั้งนี้ เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง และการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออก
ปริมาณส่งออกอาหารทะเลกระป๋องในเดือนเดียวกันนี้มีจำนวน 8,736.8 เมตริกตัน มูลค่า 899.3 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณลดลงร้อยละ 14.6 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.3 เนื่องจากปัจจัยทางด้านค่าเงินที่อ่อนตัวลง ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่นำเข้ามาแปรรูปมีราคาสูง
ทางด้านปลาป่น ปริมาณการผลิตยังคงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะโรงงานผลิตอาหารกุ้ง มีความต้องการปลาป่นโปรตีนสูงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการผลิตอาหารกุ้งส่งออกและใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาขยับตัวเพิ่มขึ้น โดยปลาป่นโปรตีน 60% ขึ้นไปเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.88 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.7
สำหรับการส่งออกโลหะดีบุกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ ในเดือนนี้มีจำนวน 1,927.6 เมตริกตัน มูลค่า 404.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 84.2 และ 83.5 ตามลำดับ
การท่องเที่ยว
ในเดือนนี้ภาวะการท่องเที่ยวชะลอตัว มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่าน ตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 161,925 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวจากตลาดหลัก คือ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ แยกพิจารณาได้ดังนี้
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้ฝั่งตะวันตกทรงตัว โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองระนองและท่าอากาศยานภูเก็ตทั้งสิ้น 71,965 คน ใกล้เคียงกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีสัดส่วนร้อยละ 51.1 ลดลงจากร้อยละ 55.5 ในปีก่อน ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวจากประเทศไต้หวันและญี่ปุ่น ซึ่งลดลงร้อยละ 32.6 และ 18.4 ตามลำดับ ส่วนนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.2 ในปีก่อนเป็นร้อยละ 34.4 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจากประเทศสวีเดนเป็นสำคัญ
ส่วนภาวะการท่องเที่ยวใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ชะลอตัว นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงในทุกจังหวัด โดยมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมือง 89,960 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.3 ตามการลดลงของนักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งลดลงร้อยละ 5.0 และ 27.2 ตามลำดับ
สำหรับชาวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ ในเดือนนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 51,418 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3
การลงทุน
ในเดือนนี้ไม่มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 228 ราย เงินทุนจดทะเบียนรวม 574.7 ล้านบาท เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน เงินทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.1 ส่วนใหญ่เป็นกิจการรับเหมา ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและภัตตาคาร
สำหรับพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลมีจำนวน 100,699 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 โดยเฉพาะประเภทการพาณิชย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.6 และที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4
การจ้างงานและการจัดหางานของรัฐ
ในเดือนนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานในภาคใต้ ทั้งสิ้น 5,045 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และต้องการแรงงานที่ไม่มีความรู้มากนัก
ขณะที่มีผู้สมัครงานแจ้งความต้องการทำงานทั้งสิ้น 2,687 คน ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 26.6 ส่วนใหญ่ผู้สมัครงานมีวุฒิการศึกษาระดับกลางขึ้นไป ทำให้คุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ จึงได้รับการบรรจุงานเพียง 966 อัตรา หรือร้อยละ 19.1 ของตำแหน่งงานว่าง
ภาคการค้า
ภาคการค้าโดยรวมในเดือนนี้ยังคงขยายตัวทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและยานพาหนะ เพราะผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ โครงการพักชำระหนี้และธนาคารประชาชน ช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อ เพื่อมาใช้จ่ายซื้อสินค้าได้มากขึ้น ดังเห็นได้จากสถิติการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้รวม 370.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงเวลานี้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จูงใจให้มีการซื้อขายเพิ่มขึ้น โดยยอดการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนเพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 70.3 ยอดจำหน่าย รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.3 และยอดการจำหน่ายรถบรรทุกส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนกรกฎาคมนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 ทั้งนี้ มีสาเหตุจากราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 โดยเฉพาะผักและผลไม้ และราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 โดยเฉพาะหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปาและขนส่งสาธารณะ เพราะมีการปรับราคาจำหน่ายก๊าซเพิ่มขึ้น
การค้าระหว่างประเทศ
ตลอดเดือนกรกฎาคม สินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรภาคใต้มีมูลค่า 13,677.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.0 สินค้าส่งออกสำคัญมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะยางแผ่นรมควัน น้ำยางสด น้ำยางข้น อาหารทะเลแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋อง สำหรับสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าลดลงได้แก่ ไม้ยางพาราแปรรูป โดยมีมูลค่าลดลงร้อยละ 29.3 เนื่องจากมีปัญหาต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่งคือ จีน เวียดนามและมาเลเซีย ประกอบกับตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาชะลอการนำเข้าเป็นสำคัญ
ส่วนสินค้านำเข้ามีมูลค่า 4,259.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 เนื่องจากการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ อุปกรณ์ก่อสร้างเพิ่มขึ้น และการนำเข้าสัตว์น้ำยังคงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพราะผลจากการที่ราคาปลาทูน่า (วัตถุดิบผลิตอาหารทะเลกระป๋อง) ปรับเพิ่มขึ้นและค่าเงินอ่อนตัวเป็นสำคัญ
ภาคการคลัง
ในเดือนกรกฎาคมนี้ ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวม 6,939.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 อัตราเพิ่มของการเบิกจ่ายชะลอลง เนื่องจากใกล้สิ้นปีงบประมาณ และความล่าช้าของการดำเนินงานในแต่ละส่วนงานที่ยังขาดความพร้อม
ทางด้านการจัดเก็บภาษีอากร เดือนนี้จัดเก็บได้ทั้งสิ้น 975.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 เนื่องจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้น โดยเก็บได้จำนวน 784.0 และ 123.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1 และ 37.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการจัดเก็บภาษีสรรพากร ปรากฏว่ารายได้จากภาษีบุคคลธรรมดาและภาษี มูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้จากภาษีนิติบุคคลลดลง เนื่องจากในเดือนกรกฎาคม 2543 ได้ขยายฐานการจัดเก็บภาษีและการเร่งรัดภาษีอากรคงค้างเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังได้รับภาษีเพิ่มขึ้นจากการส่งกำไรกลับต่างประเทศของนักธุรกิจชาวต่างชาติที่เข้ามาประกอบธุรกิจในภาคใต้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-