จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเดือนเมษายน 2544 คาดว่าเศรษฐกิจโลก จะชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.8 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 3.2 ในปี 2544 เป็นผลจากการชะลอตัวของประเทศพัฒนาแล้วเป็นสำคัญ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาซึ่งเริ่มชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2543 ส่วนสหภาพยุโรปชะลอตัวลงน้อยกว่าเนื่องจากปัจจัยภายในของประเทศในกลุ่มยังคงดีอยู่ เช่นการใช้จ่ายของครัวเรือน และการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับสูง ทางด้านประเทศกำลังพัฒนาโดยรวมชะลอตัวเล็กน้อย ยกเว้นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ประเทศในกลุ่มอาเซียนและเม็กซิโกได้รับผลกระทบมากจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯและญี่ปุ่น เนื่องจากมีความใกล้ชิดกันทางด้านการค้าและการลงทุน
ปริมาณการค้าโลก คาดว่าจะขยายตัวลดลงจากปีก่อนมาก โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.7 ในปี 2544 เทียบกับร้อยละ 12.4 ในปี 2543 เป็นผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปในทุกภูมิภาค
อัตราเงินเฟ้อ ในกลุ่มประเทศ ที่พัฒนาแล้วคาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำโดยขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 2544 โดยญี่ปุ่นยังคงมีอัตราเงินเฟ้อติดลบในไตรมาสแรก ส่วนอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะลดลงจากร้อยละ 6.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 5.7 ราคาสินค้า ขั้นปฐมในตลาดโลกมีการแข่งขันมากขึ้นจะลดลงร้อยละ 0.5 ส่วนราคาน้ำมันปรับตัวลดลงร้อยละ 9.6 หลังจากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 56.9 ในปีก่อน เนื่องจากระดับสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อน และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจส่วนรวม
อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับลดลง ในปี 2544 โดยในช่วงไตรมาสแรกนี้ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ลดอัตราดอกเบี้ยรวม 3 ครั้งในเดือนมกราคม 2 ครั้ง และมีนาคม เป็น ร้อยละ 6.0, 5.5 และ 5.0 ตามลำดับ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2544 ลดลงเหลือร้อยละ 4.5 เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับสหภาพยุโรปที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินร่วมกันคาดว่าอัตราดอกเบี้ย เงินฝากในรูปสกุลเงินยูโรจะอยู่ในระดับร้อยละ 4.4 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินเยนคาดว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ปริมาณการค้าโลก คาดว่าจะขยายตัวลดลงจากปีก่อนมาก โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.7 ในปี 2544 เทียบกับร้อยละ 12.4 ในปี 2543 เป็นผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปในทุกภูมิภาค
อัตราเงินเฟ้อ ในกลุ่มประเทศ ที่พัฒนาแล้วคาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำโดยขยายตัวร้อยละ 2.1 ในปี 2544 โดยญี่ปุ่นยังคงมีอัตราเงินเฟ้อติดลบในไตรมาสแรก ส่วนอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะลดลงจากร้อยละ 6.1 ในปี 2543 เหลือร้อยละ 5.7 ราคาสินค้า ขั้นปฐมในตลาดโลกมีการแข่งขันมากขึ้นจะลดลงร้อยละ 0.5 ส่วนราคาน้ำมันปรับตัวลดลงร้อยละ 9.6 หลังจากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 56.9 ในปีก่อน เนื่องจากระดับสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อน และความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจส่วนรวม
อัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับลดลง ในปี 2544 โดยในช่วงไตรมาสแรกนี้ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ลดอัตราดอกเบี้ยรวม 3 ครั้งในเดือนมกราคม 2 ครั้ง และมีนาคม เป็น ร้อยละ 6.0, 5.5 และ 5.0 ตามลำดับ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2544 ลดลงเหลือร้อยละ 4.5 เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สำหรับสหภาพยุโรปที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนและนโยบายการเงินร่วมกันคาดว่าอัตราดอกเบี้ย เงินฝากในรูปสกุลเงินยูโรจะอยู่ในระดับร้อยละ 4.4 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในรูปสกุลเงินเยนคาดว่ายังอยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-