ข้อมูลประกอบการบรรยายพิเศษ เรื่อง “ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือยังกับการเปิดการค้าเสรี” โดย รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
(น.ส. ชุติมา บุณยประภัศร) วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2544 ณ ห้อง 5401 ตึก 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
1. การค้าระหว่างประเทศ : ตัวจักรในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้นมาโดยการพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
เนื่องจากเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน การขยายการลงทุนเพื่อขยายการผลิตในสาขาต่างๆ เพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ เกิดการพัฒนา
และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปริมาณการค้าที่เพิ่มมากขึ้นทำให้รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศเพิ่มขึ้น และสร้างความมั่นคงให้แก่
ประเทศและประชาชน
การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยเพียงใดนั้น พิจารณาได้จากสถิติการขยายตัวของการค้าที่ได้เพิ่มสัดส่วน
สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2533-2542) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากจาก
ร้อยละ 66.0 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 88.8 ในปี 2542 โดยเฉพาะการส่งออกมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด
ความสัมพันธ์ระหว่าง GDP กับการค้าไทย
2533 2536 2539 2542
GDP 85,426 125,210 185,497 121,979
การค้ารวม 56,336 83,488 128,189 103,378
(% ของ GDP) -66 -66.7 -69.1 -88.8
การส่งออก 23,054 37,325 55,941 58,463
(% ของ GDP) -27 -29.8 -30.2 -47.9
การนำเข้า 33,282 46,163 72,248 49,915
(% ของ GDP) -39 -36.9 -38.6 -40.9
ฉะนั้น หากจะถามว่าไทยพร้อมหรือยังกับการเปิดการค้าเสรี ดูจะเป็นคำถามที่สายไปเพราะประเทศไทยต้องพึ่งพาการค้า
ระหว่างประเทศในสัดส่วนที่สูงและเป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนาประเทศ หากปิดประเทศโดยไม่มีการค้าระหว่างประเทศ เราจะพัฒนา
เศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างไร
2. ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย
ไทยพึ่งพาตลาดส่งออก 4 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อาเซียน
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีสัดส่วนรวมกันสูงถึงร้อยละ 71.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ขณะเดียวกันแหล่งนำเข้าก็ยังคงเป็น
4 ตลาดหลักข้างต้นเช่นกัน มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 63.1 ของมูลค่าการนำเข้ารวม
ตลาดส่งออก แหล่งนำเข้า
ปี 2543 (ม.ค.-ต.ค) ปี 2543(ม.ค.-ต.ค)
ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน (%) ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน(%)
รวมทั้งสิ้น 57,704 100 51,280 100
สหรัฐอเมริกา 12,350 21.4 5,952 11.6
อาเซียน 11,030 19.1 8,463 16.5
สหภาพยุโรป 9,089 15.7 5,128 10
ญี่ปุ่น 8,515 14.7 12,823 25
ตลาดอื่นๆ 16,720 29.1 18,914 36.9
สหรัฐอเมริกา ตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 และแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 3 ของไทย สินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋อง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องบิน เรือ เป็นต้น
อาเซียน ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 2 ของไทย สินค้าที่ไทยส่งออกไปอาเซียน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก วงจรพิมพ์ เป็นต้น
ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากอาเซียน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ หลอดภาพโทรทัศน์ เป็นต้น
สหภาพยุโรป ตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 และแหล่งนำเข้าอันดับ 4 ของไทย สินค้าที่ไทยส่งออกไปสหภาพยุโรป ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจร ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหภาพยุโรป ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า
และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องเพชรพลอย อัญมณี ผลิตภัณฑ์เวชกรรม ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ตลาดส่งออกอันดับ 4 แต่เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของไทย สินค้าที่ไทยส่งไปญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
และ ส่วนประกอบ ไดโอดทรานซิสเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ยางพารา กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น สำหรับสินค้าที่ไทย
นำเข้าจากญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น
แม้ว่าการค้าของไทยจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2544 กระทรวงพาณิชย์ประมาณการไว้ว่าจะส่งออกได้ประมาณ
77,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 11.3 แต่ในโลกแห่งการค้าเสรีที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง และมีการนำมาตรฐานใหม่ๆ
เช่น มาตรฐานสุขอนามัย มาตรฐานสิ่งแวดล้อม มาตรฐานแรงงาน มาใช้ในการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น ไทยซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ เมื่อเทียบ
กับประเทศอื่นๆ ในโลกการค้าใบนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO) เป็นเกราะคุ้มกันเพื่อให้มีสิทธิค้าขาย
ในตลาดโลกได้อย่างเท่าเทียมกับประเทศใหญ่ๆ
3. องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงและมีความซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องมีหน่วยงานหรือองค์กรหนึ่งที่มีกลไกที่จะสามารถจัดระเบียบของความ
ซับซ้อนเหล่านั้นให้เป็นระบบได้ ซึ่ง WTO คือ คำตอบได้อย่างหนึ่ง
1) หน้าที่ของ WTO
- บริหารความตกลงการค้าหลายฝ่ายและพหุภาคีภายใต้ WTO โดยผ่านคณะมนตรี (Council) และคณะกรรมการ (Committee)
ต่าง ๆ ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี
- เป็นเวทีเพื่อการเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในรูปของมาตรการภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่
ภาษีศุลกากร
- เป็นเวทีเพื่อให้สมาชิกหันหน้าเข้าหารือเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้า และหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะจัดตั้งคณะผู้พิจารณา
(Panel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ
- เป็นองค์กรที่ติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ และจัดให้มีการทบทวนนโยบายการค้าของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
- ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอ ตลอดจน
ทำการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญ ๆ
- ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น
2) หลักการสำคัญของ WTO
(1) กำหนดให้ใช้มาตรการการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination)
หลักการไม่เลือกปฏิบัตินี้ มีข้อกำหนดที่สำคัญ 2 ประการ คือ การปฏิบัติต่อสินค้าจากทุกประเทศเท่าเทียมกัน (Most-favoured
Nation Treatment : MFN) กล่าวคือ ประเทศใดๆ จะต้องเรียกเก็บภาษีศุลกากร หรือค่าธรรมเนียม หรือใช้มาตรการใด ๆ กับสินค้า
ที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ เท่าเทียมกันทุกประเทศ และการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าเท่าเทียมกับสินค้าภายในประเทศ (National
Treatment) ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีภายใน หรือการกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ
(2) การกำหนดและบังคับใช้มาตรการทางการค้าจะต้องมีความโปร่งใส (Transparency)
กำหนดให้ประเทศสมาชิกพิมพ์เผยแพร่กฎระเบียบเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าแก่สาธารณชน และให้แจ้งประเทศอื่นเมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการค้า รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือกับประเทศอื่น เมื่อได้รับข้อเรียกร้องให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎระเบียบเกี่ยว
กับมาตรการทางการค้า
(3) คุ้มครองผู้ผลิตภายในด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น (Tariff-only Protection)
ห้ามใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าทุกชนิด ยกเว้นบางกรณีที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของแกตต์ และให้ใช้ภาษีศุลกากรเป็นมาตรการ
เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตภายในได้ถ้าต้องการ แต่ต้องพร้อมที่จะเจรจาเพื่อลดอัตราภาษีลงในแต่ละรอบการเจรจา
(4) ร่วมกันทำให้การค้าระหว่างประเทศมีเสถียรภาพและความมั่นคง (Stability and Predictability in Trading
Conditions)
ประเทศสมาชิกต้องไม่เพิ่มภาษีศุลกากรเกินกว่าอัตราที่ผูกพันไว้ (bound rate) หากจำเป็นต้องเพิ่ม ต้องทำการชดเชย
ผลประโยชน์ให้แก่ประเทศที่เสียหาย
(5) ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม (Fair Competition)
ประเทศสมาชิกสามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน
สินค้าเข้าได้ หากไต่สวนตามระเบียบของแกตต์แล้วพบว่ามีการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนจริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่
อุตสาหกรรมภายใน นอกจากนี้ ห้ามไม่ให้ประเทศสมาชิกอุดหนุนการผลิตและการส่งออกจนบิดเบือนกลไกตลาด
(6) มีสิทธิใช้ข้อยกเว้นในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น (Necessary Exceptions and
Emergency Action)
ประเทศสมาชิกสามารถใช้มาตรการคุ้มกันชั่วคราวในกรณีที่มีการนำเข้ามากผิดปกติ และสามารถจำกัดการนำเข้าเพื่อจุดประสงค์
ในการแก้ไขการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หรือในกรณีที่เป็นข้อยกเว้นทั่วไป เช่น เพื่อรักษาสุขภาพของประชาชน สัตว์ และพืช
เพื่อศีลธรรมอันดี และเพื่อความมั่นคงภายใน เป็นต้น
(7) ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกันได้ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้า (No Trade Blocs)
ประเทศสมาชิกสามารถตกลงรวมกลุ่มเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะขยายการค้าระหว่างกัน แต่มีเงื่อนไขว่า การรวมกลุ่มต้องไม่มีจุดประสงค์
เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้าจากประเทศนอกกลุ่ม และเมื่อรวมแล้วต้องไม่กระทบผลประโยชน์เดิมของประเทศนอกกลุ่ม
(8) มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าให้คู่กรณี (Trade Dispute Settlement Mechanism)
เมื่อมีกรณีขัดแย้งทางการค้า มีกระบวนการหารือเพื่อหาข้อยุติ หากแก้ไขไม่ได้ให้ยื่นเรื่องต่อองค์กรระงับข้อพิพาท (Dispute
Settlement Body: DSB) ของ WTO เพื่อจัดตั้งคณะผู้พิจารณาขึ้นพิจารณากรณีดังกล่าว และส่งรายงานผลการพิจารณาให้ประเทศสมาชิกอื่น
ร่วมกันพิจารณาบังคับให้เป็นไปตามผลการพิจารณาของคณะผู้พิจารณา หากไม่ทำตามผลการตัดสิน ให้ประเทศผู้เสียหายทำการตอบโต้ทางการค้าได้
(9) ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี (Special and Differential Treatment for LDCs)
ผ่อนผันให้ประเทศกำลังพัฒนาจำกัดการนำเข้าได้ หากมีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพดุลการชำระเงิน
และให้โอกาสประเทศพัฒนาแล้วให้สิทธิพิเศษศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาได้ แม้จะขัดกับหลัก MFN ก็ตาม นอกจากนี้ ประเทศพัฒนา
แล้วจะต้องไม่หวังการตอบแทนเมื่อลดหย่อนภาษีให้
การเปิดการค้าเสรี : ผลดี | ผลเสีย ต่อประเทศไทย
ต้องเข้าใจกันก่อนว่าการเปิดเสรีเป็นเรื่องของการเปิดโอกาส คือ สร้างโอกาสให้สามารถเข้าไปทำการค้าหรือมีช่องทางทำมาหา
กินกว้างขวางขึ้น การที่ตลาดเปิดกว้างทำให้ทุกคนมีสิทธิ์เข้าไปค้าขายได้เหมือนกัน จึงมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบถ้าไม่มีกฎกติกากำกับ
การเปิดเสรีการค้าตามความตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ก่อให้เกิดผลดี | ผลเสียต่อประเทศไทยดังนี้
ผลดี
1. ตลาดส่งออกขยายตัว การที่ประเทศสมาชิก WTO ต้องเปิดตลาดตามข้อตกลงฯ ทำให้ไทยสามารถผลักดันการส่งออกให้
ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากรายได้จากการส่งออก ปี 2543 ที่สูงเกือบถึง 3 ล้านล้านบาท เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
จากวิกฤต เนื่องจากการขยายการค้าก่อให้เกิดการจ้างงาน เกิดการแข่งขัน ทำให้ภาคเอกชนต้องมีการปรับตัว มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและหลากหลาย สุดท้ายประชาชนจะมีการกินดีอยู่ดีและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2. ไทยสามารถเปิดตลาดทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ที่เห็นชัดเจนคือ สินค้าเกษตรขยายการส่งออกได้กว้างขึ้น เช่น ส่งข้าว
ไปขายตลาดญี่ปุ่น และ เกาหลี ส่งน้ำตาลทรายไปสหภาพยุโรป จากที่ไม่เคยส่งได้มาก่อนหรือส่งไปได้น้อยมาก ยกเว้นบางปีที่ผลผลิตภายในประ
เทศไม่เพียงพอ
3. ไทยได้ประโยชน์จากการให้โอกาสของความแตกต่างและเป็นพิเศษ (S&D) ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาจึงได้ประโยชน์
ในเรื่องของการลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าและใช้เวลายาวนานกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สินค้าเกษตร ไทยลดภาษีลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี
ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ลดภาษีลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
4. เมื่อการดำเนินการตามข้อตกลงแล้วมีปัญหา ไทยมีสิทธิเจรจาต่อรองใหม่ได้ แต่ต้องมีเหตุมีผล เช่น กรณีนมผง ที่ไทยไม่สามารถ
ยกเลิก local content ภายในปี 2543 ได้ เพราะภาคเกษตรมีปัญหา จึงขอยืดเวลาออกไปอีก 5 ปี ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ยึดเวลาออกไปได้
2 ปี และจะพิจารณากันใหม่ โดยที่ไม่มีการลงโทษหรือต้องชดเชยความเสียหายแต่อย่างใด
5. มีเวทีในการร้องเรียนข้อพิพาท ซึ่งประเทศใหญ่หรือเล็กก็มีสิทธิเท่าเทียมกัน เช่น ไทย-อินเดีย-บราซิล ร่วมกันฟ้องสหรัฐฯ ใน
เรื่องกีดกันการนำเข้ากุ้งโดยอ้างว่าการจับกุ้งเป็นการทำร้ายเต่าทะเล ซึ่งผลที่สุดก็เป็นฝ่ายชนะ และมีแนวร่วมในการต่อสู้กับประเทศใหญ่ เช่น
ไทยจะรวมกลุ่มกับประเทศต่าง ๆ ที่เสียเปรียบเรื่อง Anti | Dumping เพื่อขอให้แก้ไขกฎหมายนี้
6. ใช้กฎของ WTO เป็นบันทัดฐานในการเจรจาใน AFTA เช่น มาเลเซีย ขอยกเว้นเรื่องรถยนต์ ไทยซึ่งเป็นผู้เสียหายอาจขอให้
มาเลเซียชดเชยด้วยการรับซื้อสินค้า เช่น ข้าว น้ำตาล จากไทย และหากมาเลเซียไม่ตกลง ไทยสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือตอบโต้ได้
7. ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าล่วงหน้าได้ เนื่องจากมีความโปร่งใสและกำหนดเวลาที่ชัดเจน โดย
เฉพาะเรื่องภาษีมีแผนการลดอัตราภาษีที่แน่นอน
8. ประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคมากขึ้น สามารถซื้อสินค้าได้หลากหลายและมีราคาถูก
ผลเสีย/ภาระที่ไทยต้องดำเนินการ
1. ต้องเปิดตลาดภายในประเทศ เมื่อประเทศอื่นเปิดตลาดให้เรา เราก็ต้องเปิดเป็นการแลกเปลี่ยนด้วย แต่ภาระภาษีที่ไทยผูกพัน
ไว้นั้นสูงกว่าอัตราเรียกเก็บจริง จึงเกิดผลกระทบไม่มากนัก ส่วนสินค้าเกษตรที่ต้องเปิดตลาด 23 รายการ ก็มีผลกระทบน้อยมาก เช่น
กากถั่วเหลือง (ผลผลิตภายในประเทศขาดแคลน) นมผง (ได้ขอผ่อนผันยืดเวลาออกไป) สินค้า IT ต้องปรับโครงสร้างภาษีภายในกำหนด
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศมาก เพราะการจะเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี สารสนเทศ สินค้า IT ต้องมีราคาถูกลง
สำหรับการค้าบริการที่ต้องเปิดเสรี 10 สาขา ก็เปิดเท่าที่กฎหมายเปิดให้อยู่แล้ว ไม่มีการเปิดเพิ่มแต่อย่างใด
2. ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับความตกลง เช่น การแก้กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายเครื่องหมายการค้า และการออกกฎหมายใหม่
เช่น กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช กฎหมายคุ้มครองการออกแบบวงจรรวม กฎหมายคุ้มครองความลับทางการค้า เป็นต้น
3. เตรียมความพร้อมในการแข่งขันโดยการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและผลิตสินค้าให้สอดคล้อง
กับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามากขึ้น เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ และมาตรฐานแรงงาน เป็นต้น
ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO อย่างเคร่งครัด เพราะหากละเมิดและก่อ
ให้เกิดความเสียหายต่อประเทศอื่น ๆ ก็จะถูกฟ้องร้องได้
5. ประเทศไทยพร้อมหรือไม่ต่อการเปิดเสรี
การที่จะตอบว่าไทยพร้อมหรือไม่ต่อการเปิดเสรีทางการค้า คงจะต้องพิจารณาจากความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก
สำคัญของไทย โดยใช้หลักเกณฑ์ทางวิชาการในการศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Advantage : RCA)
เป็นตัวชี้วัด ซึ่งหากค่า RCA ของสินค้าใดมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่าสินค้านั้นยังมีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งมีการศึกษาความสามารถในการแข่งขัน
ของสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ไว้ดังนี้
สินค้าเกษตรกรรม จากการศึกษาของสำนักวิจัยเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อเดือนกันยายน 2542
มีผลการศึกษาดังนี้
ข้าว ค่า RCA ในช่วงปี 2534-2539 มีแนวโน้มลดลงจาก 32.2 ในปี 2534 เป็น 23.7 ในปี 2539 เนื่องจากการส่งออกมีการขยาย
ตัวน้อย แต่ก็ยังเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขัน
ยางพารา ค่า RCA ในช่วงปี 2536-2539 มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักอยู่ในระดับ 34-37 โดยที่ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ที่สุด
ของโลกจึงยังเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขัน แต่การส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้ายางแผ่นรมควันซึ่งมีมูลค่าเพิ่มต่ำ
ข้าวโพดหวาน ค่า RCA ในช่วงปี 2536-2540 มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยตลอดจากระดับ 0.23 ในปี 2536 เป็น 1.99 ในปี 2540
แสดงว่ามีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น
กาแฟดิบ ค่า RCA ในช่วงปี 2536-2540 อยู่ในระดับต่ำกว่า 1 โดยปี 2540 มีค่าเท่ากับ 0.47 แสดงว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีศักยภาพ
ในการแข่งขัน แม้ว่ารัฐบาลจะมีการชดเชยการส่งออกในอัตราสูงก็ตาม
น้ำมันปาล์ม ค่า RCA ในช่วงปี 2536-2540 อยู่ในระดับต่ำกว่า 1 มาโดยตลอด ในปี 2540 มีค่าเพียง 0.11 ในขณะที่ค่า RCA
ของมาเลเซียและอินโดนีเซีย มีค่าเท่ากับ 41.7 และ 23.5 ตามลำดับ แสดงว่าน้ำมันปาล์มเป็นสินค้าที่ไม่มีศักยภาพในการแข่งขัน
สินค้าอุตสาหกรรม จากการศึกษาของศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542
สรุปผลการศึกษาในอุตสาหกรรมสำคัญดังนี้
อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสินค้าที่ไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขัน โดยในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์
ในปี 2539 มีค่า RCA เท่ากับ 2.66 สำหรับอุปกรณ์และส่วนประกอบ มีค่า RCA เท่ากับ 3.39
อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยค่า RCA จาก 1.35 ในปี 2535
เพิ่มเป็น 2.07 ในปี 2539
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันแต่เริ่มมีแนวโน้มลดลง โดยค่า RCA จาก 2.33 ในปี 2536
ลดเหลือ 2.02 ในปี 2540
อุตสาหกรรมหนังและเครื่องหนัง ในส่วนของอุตสาหกรรมฟอกหนัง ค่า RCA มีค่ามากกว่า 1 มาโดยตลอด ปี 2539 มีค่าเท่ากับ 1.60
ก็ยังเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันแต่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับฮ่องกง อาร์เจนตินา อิตาลี บราซิล และเกาหลีใต้ สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าหนัง
เป็นสินค้าที่มีศักยภาพส่งออกค่อนข้างสูง ปี 2539 ค่า RCA เท่ากับ 4.47 แต่คู่แข่ง เช่น ฮ่องกง และจีน มีศักยภาพสูงกว่าไทยมาก (ค่า RCA
เท่ากับ 32.18 และ 5.46 ตามลำดับ)
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันแต่เริ่มมีแนวโน้มลดลง โดยค่า RCA จาก 2.26 ในปี 2536
ลดเหลือ 1.61 ในปี 2540 เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง
อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป สินค้าปลาทูนากระป๋อง เป็นสินค้าที่มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกเช่นเดียวกับคู่แข่งอื่นๆ เช่น โกตดิวัวร์
สเปน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แต่เริ่มมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากปัญหาวัตถุดิบ (ค่า RCA เท่ากับ 38.94 ในปี 2536 เหลือ 22.16 ในปี 2539)
สำหรับกุ้งกระป๋องและแปรรูป มีศักยภาพการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นในตลาดโลก โดยมีค่า RCA อยู่ระหว่าง 30.40-33.49 เพราะสามารถผลิตสินค้า
ได้หลากหลายตามความต้องการของผู้บริโภค ในส่วนของสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด ศักยภาพการแข่งขันเริ่มมีแนวโน้มลดลงจากปัญหาการ
ขาดแคลนวัตถุดิบ โดยสับปะรดกระป๋อง ค่า RCA จาก 48.13 ในปี 2536 ลดเหลือ 26.70 ในปี 2540 และน้ำสับปะรด มีค่า RCA ลดลงจาก
44.91 ในปี 2536 ลดเหลือ 27.40 ในปี 2540
จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าสินค้าไทยหลายรายการยังมีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก แต่บางสินค้าศักยภาพก็เริ่มลดลง
ขณะเดียวกันก็มีหลายสินค้าที่ไม่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมด้วยการพัฒนาการผลิตสินค้าตลอดไปถึงการจำหน่าย รวมทั้งการแก้ไข
ปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้า จึงเป็นภาระที่ไทยต้องเร่งแก้ไขด้วยตัวเราเอง เพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากประเทศอื่นๆ
6. ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อม
การเปิดเสรีทางการค้ามิใช่ประเทศไทยจะเปิดฝ่ายเดียว ประเทศอื่น ๆ ก็ต้องเปิดด้วย ดังนั้น ตลาดจะกว้างมากขึ้น การแข่งขัน
ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การที่เราจะเข้าไปต่อสู้ได้จำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมในทุกๆ ด้าน ซึ่งในส่วนของรัฐบาลได้มีการดำเนินการ ดังนี้
(1) การพัฒนาศักยภาพการผลิต
ด้านการเกษตร ดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กู้เงินจำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
มาดำเนินการในโครงการต่าง ๆ ได้แก่
- โครงการจัดรูปที่ดิน ภายใต้แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติ
- โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร มีโครงการย่อยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาการผลิตและ
การตลาดข้าว/พืชไร่ การก่อสร้างโรงงานผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และการก่อสร้างไซโลข้าวโพดหมักสำหรับโคนม เป็นต้น
โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตในเขตปฏิรูปที่ดิน ภายใต้แผนงานเพิ่ม
ศักยภาพการผลิตของชุมชน มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดรูปที่ดินในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน การเพิ่มประสิทธิภาพการมอบหนังสืออนุญาตเข้า
ทำประโยชน์ในที่ดิน และ การพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นต้น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ภายใต้แผนงานวิจัย
และพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร มีโครงการย่อยต่างๆ เช่น การก่อสร้างธนาคารเชื้อพันธุ์พืช การก่อสร้างธนาคารเชื้อพันธุ์ปศุสัตว์ การก่อสร้าง
ห้องปฏิบัติการกลาง และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
โครงการจัดทำแนวเขตและเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้ ภายใต้
แผนงานปรับโครงสร้างองค์กรสถาบันและระบบข้อมูล มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงระวางแผนที่แนวเขตพื้นที่ป่า การปรับปรุงและพัฒนา
ระบบสื่อสาร เป็นต้น
ด้านอุตสาหกรรม ดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (ปี 2541-2545 )
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันครอบคลุมอุตสาหกรรมสำคัญ 13 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
รองเท้าและเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องเรือน ยาและเคมีภัณฑ์ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เซรามิกส์และแก้ว เครื่องใช้ไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็กและเหล็กกล้า และปิโตรเคมี
การปรับโครงสร้างภาษี ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้สินค้าไทยสามารถแข่งขัน
ได้ในตลาดโลก รวมทั้งปรับลดตามข้อตกลงต่างๆ เช่น WTO AFTA ITA เป็นต้น
(2) การพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ คือการจัดงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์
สินค้าไทย
การจัดคณะผู้แทนการค้าออกไปเจรจาขายสินค้าในต่างประเทศและการนำคณะผู้แทนการค้าเข้ามาซื้อสินค้าในประเทศการพัฒนาและ
ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ส่งออกการเจรจาแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศ
- การเร่งรัดการส่งออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเร่งรัดและติดตามการส่งออก เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรค
ต่าง ๆ ให้กับผู้ส่งออก ซึ่งมีการดำเนินการได้สำเร็จเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง เช่นการเร่งรัดคืนภาษี การอำนวยความสะดวกในการส่งออกรถยนต์
การตั้งศูนย์ประสานสินเชื่อเพื่อการส่งออก เป็นต้น
ดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ ตลาดเป้าหมาย ได้แก่ ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน
ตลาดแอฟริกา ตลาดอเมริกาใต้ ตลาดยุโรป ตะวันออก และจีนตอนใต้
(3) การแก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัตของสากลมากขึ้น เช่น การออกกฎหมายเพื่อดึงดูดการลงทุน
จากต่างประเทศ ได้แก่ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยมุ่งเน้นการลดอุปสรรคหรือเครื่องกีดขวางการลงทุนจาก
ต่างชาติที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ไทยอยู่ในฐานะที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงการสงวนธุรกิจ
บางอย่างไว้ให้คนไทยเพื่อให้เกิดความสมดุลด้วย
กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมทางการค้าและป้องกันการเอาเปรียบจากต่างประเทศ ได้แก่ พ.ร.บ. ตอบโต้การทุ่มตลาดและการ
อุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 กฎหมายที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ได้แก่
พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 เพื่อยกระดับมาตรฐานการบัญชี
การออกกฎหมายและจัดเตรียมกลไกต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการและผู้บริโภค เช่น พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. 2542 จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ การปรับปรุงกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
(4) การเตรียมพร้อมสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ส่งเสริมให้มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการค้าและการลงทุนมากขึ้น
โดยอำนวยสะดวกในด้านต่างๆ เช่น การเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคม การออกกฎหมายรองรับการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และจะเร่ง
ดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
กำหนดแผนงานทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจน
กำจัดอุปสรรคทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎระเบียบพิธีการศุลกากร
ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างภูมิภาคเพื่อเสริมสร้าง
ความแข่งแกร่งของระบบเศรษฐกิจโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623
--จบ--
(น.ส. ชุติมา บุณยประภัศร) วันจันทร์ที่ 8 มกราคม 2544 ณ ห้อง 5401 ตึก 5 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
1. การค้าระหว่างประเทศ : ตัวจักรในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้นมาโดยการพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
เนื่องจากเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน การขยายการลงทุนเพื่อขยายการผลิตในสาขาต่างๆ เพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ เกิดการพัฒนา
และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ปริมาณการค้าที่เพิ่มมากขึ้นทำให้รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศเพิ่มขึ้น และสร้างความมั่นคงให้แก่
ประเทศและประชาชน
การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยเพียงใดนั้น พิจารณาได้จากสถิติการขยายตัวของการค้าที่ได้เพิ่มสัดส่วน
สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2533-2542) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากจาก
ร้อยละ 66.0 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 88.8 ในปี 2542 โดยเฉพาะการส่งออกมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด
ความสัมพันธ์ระหว่าง GDP กับการค้าไทย
2533 2536 2539 2542
GDP 85,426 125,210 185,497 121,979
การค้ารวม 56,336 83,488 128,189 103,378
(% ของ GDP) -66 -66.7 -69.1 -88.8
การส่งออก 23,054 37,325 55,941 58,463
(% ของ GDP) -27 -29.8 -30.2 -47.9
การนำเข้า 33,282 46,163 72,248 49,915
(% ของ GDP) -39 -36.9 -38.6 -40.9
ฉะนั้น หากจะถามว่าไทยพร้อมหรือยังกับการเปิดการค้าเสรี ดูจะเป็นคำถามที่สายไปเพราะประเทศไทยต้องพึ่งพาการค้า
ระหว่างประเทศในสัดส่วนที่สูงและเป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนาประเทศ หากปิดประเทศโดยไม่มีการค้าระหว่างประเทศ เราจะพัฒนา
เศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างไร
2. ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย
ไทยพึ่งพาตลาดส่งออก 4 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อาเซียน
สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น มีสัดส่วนรวมกันสูงถึงร้อยละ 71.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ขณะเดียวกันแหล่งนำเข้าก็ยังคงเป็น
4 ตลาดหลักข้างต้นเช่นกัน มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 63.1 ของมูลค่าการนำเข้ารวม
ตลาดส่งออก แหล่งนำเข้า
ปี 2543 (ม.ค.-ต.ค) ปี 2543(ม.ค.-ต.ค)
ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน (%) ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน(%)
รวมทั้งสิ้น 57,704 100 51,280 100
สหรัฐอเมริกา 12,350 21.4 5,952 11.6
อาเซียน 11,030 19.1 8,463 16.5
สหภาพยุโรป 9,089 15.7 5,128 10
ญี่ปุ่น 8,515 14.7 12,823 25
ตลาดอื่นๆ 16,720 29.1 18,914 36.9
สหรัฐอเมริกา ตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 1 และแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 3 ของไทย สินค้าที่ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า อาหารทะเลกระป๋อง กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์
และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหรัฐฯ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องบิน เรือ เป็นต้น
อาเซียน ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 2 ของไทย สินค้าที่ไทยส่งออกไปอาเซียน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก วงจรพิมพ์ เป็นต้น
ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากอาเซียน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า
น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ หลอดภาพโทรทัศน์ เป็นต้น
สหภาพยุโรป ตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 3 และแหล่งนำเข้าอันดับ 4 ของไทย สินค้าที่ไทยส่งออกไปสหภาพยุโรป ได้แก่
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจร ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากสหภาพยุโรป ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า
และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องเพชรพลอย อัญมณี ผลิตภัณฑ์เวชกรรม ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เป็นต้น
ญี่ปุ่น ตลาดส่งออกอันดับ 4 แต่เป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของไทย สินค้าที่ไทยส่งไปญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
และ ส่วนประกอบ ไดโอดทรานซิสเตอร์ แผงวงจรไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ยางพารา กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น สำหรับสินค้าที่ไทย
นำเข้าจากญี่ปุ่น ได้แก่ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เป็นต้น
แม้ว่าการค้าของไทยจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2544 กระทรวงพาณิชย์ประมาณการไว้ว่าจะส่งออกได้ประมาณ
77,900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 11.3 แต่ในโลกแห่งการค้าเสรีที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง และมีการนำมาตรฐานใหม่ๆ
เช่น มาตรฐานสุขอนามัย มาตรฐานสิ่งแวดล้อม มาตรฐานแรงงาน มาใช้ในการกีดกันทางการค้าเพิ่มมากขึ้น ไทยซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ เมื่อเทียบ
กับประเทศอื่นๆ ในโลกการค้าใบนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO) เป็นเกราะคุ้มกันเพื่อให้มีสิทธิค้าขาย
ในตลาดโลกได้อย่างเท่าเทียมกับประเทศใหญ่ๆ
3. องค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO)
การแข่งขันที่ทวีความรุนแรงและมีความซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องมีหน่วยงานหรือองค์กรหนึ่งที่มีกลไกที่จะสามารถจัดระเบียบของความ
ซับซ้อนเหล่านั้นให้เป็นระบบได้ ซึ่ง WTO คือ คำตอบได้อย่างหนึ่ง
1) หน้าที่ของ WTO
- บริหารความตกลงการค้าหลายฝ่ายและพหุภาคีภายใต้ WTO โดยผ่านคณะมนตรี (Council) และคณะกรรมการ (Committee)
ต่าง ๆ ตลอดจนดูแลให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณี
- เป็นเวทีเพื่อการเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในรูปของมาตรการภาษีศุลกากร และมาตรการที่มิใช่
ภาษีศุลกากร
- เป็นเวทีเพื่อให้สมาชิกหันหน้าเข้าหารือเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งทางการค้า และหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็จะจัดตั้งคณะผู้พิจารณา
(Panel) ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ข้อเสนอแนะ
- เป็นองค์กรที่ติดตามสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ และจัดให้มีการทบทวนนโยบายการค้าของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
- ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูล ข้อแนะนำ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีได้อย่างเพียงพอ ตลอดจน
ทำการศึกษาประเด็นการค้าที่สำคัญ ๆ
- ประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกเพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น
2) หลักการสำคัญของ WTO
(1) กำหนดให้ใช้มาตรการการค้าระหว่างประเทศโดยไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination)
หลักการไม่เลือกปฏิบัตินี้ มีข้อกำหนดที่สำคัญ 2 ประการ คือ การปฏิบัติต่อสินค้าจากทุกประเทศเท่าเทียมกัน (Most-favoured
Nation Treatment : MFN) กล่าวคือ ประเทศใดๆ จะต้องเรียกเก็บภาษีศุลกากร หรือค่าธรรมเนียม หรือใช้มาตรการใด ๆ กับสินค้า
ที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ เท่าเทียมกันทุกประเทศ และการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าเท่าเทียมกับสินค้าภายในประเทศ (National
Treatment) ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีภายใน หรือการกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ
(2) การกำหนดและบังคับใช้มาตรการทางการค้าจะต้องมีความโปร่งใส (Transparency)
กำหนดให้ประเทศสมาชิกพิมพ์เผยแพร่กฎระเบียบเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าแก่สาธารณชน และให้แจ้งประเทศอื่นเมื่อมีการ
เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการค้า รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือกับประเทศอื่น เมื่อได้รับข้อเรียกร้องให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกฎระเบียบเกี่ยว
กับมาตรการทางการค้า
(3) คุ้มครองผู้ผลิตภายในด้วยภาษีศุลกากรเท่านั้น (Tariff-only Protection)
ห้ามใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าทุกชนิด ยกเว้นบางกรณีที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของแกตต์ และให้ใช้ภาษีศุลกากรเป็นมาตรการ
เพื่อคุ้มครองผู้ผลิตภายในได้ถ้าต้องการ แต่ต้องพร้อมที่จะเจรจาเพื่อลดอัตราภาษีลงในแต่ละรอบการเจรจา
(4) ร่วมกันทำให้การค้าระหว่างประเทศมีเสถียรภาพและความมั่นคง (Stability and Predictability in Trading
Conditions)
ประเทศสมาชิกต้องไม่เพิ่มภาษีศุลกากรเกินกว่าอัตราที่ผูกพันไว้ (bound rate) หากจำเป็นต้องเพิ่ม ต้องทำการชดเชย
ผลประโยชน์ให้แก่ประเทศที่เสียหาย
(5) ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม (Fair Competition)
ประเทศสมาชิกสามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน
สินค้าเข้าได้ หากไต่สวนตามระเบียบของแกตต์แล้วพบว่ามีการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุนจริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่
อุตสาหกรรมภายใน นอกจากนี้ ห้ามไม่ให้ประเทศสมาชิกอุดหนุนการผลิตและการส่งออกจนบิดเบือนกลไกตลาด
(6) มีสิทธิใช้ข้อยกเว้นในกรณีฉุกเฉินและจำเป็น (Necessary Exceptions and
Emergency Action)
ประเทศสมาชิกสามารถใช้มาตรการคุ้มกันชั่วคราวในกรณีที่มีการนำเข้ามากผิดปกติ และสามารถจำกัดการนำเข้าเพื่อจุดประสงค์
ในการแก้ไขการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ หรือในกรณีที่เป็นข้อยกเว้นทั่วไป เช่น เพื่อรักษาสุขภาพของประชาชน สัตว์ และพืช
เพื่อศีลธรรมอันดี และเพื่อความมั่นคงภายใน เป็นต้น
(7) ให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าเพื่อลดภาษีระหว่างกันได้ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการค้า (No Trade Blocs)
ประเทศสมาชิกสามารถตกลงรวมกลุ่มเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะขยายการค้าระหว่างกัน แต่มีเงื่อนไขว่า การรวมกลุ่มต้องไม่มีจุดประสงค์
เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้าจากประเทศนอกกลุ่ม และเมื่อรวมแล้วต้องไม่กระทบผลประโยชน์เดิมของประเทศนอกกลุ่ม
(8) มีกระบวนการยุติข้อพิพาททางการค้าให้คู่กรณี (Trade Dispute Settlement Mechanism)
เมื่อมีกรณีขัดแย้งทางการค้า มีกระบวนการหารือเพื่อหาข้อยุติ หากแก้ไขไม่ได้ให้ยื่นเรื่องต่อองค์กรระงับข้อพิพาท (Dispute
Settlement Body: DSB) ของ WTO เพื่อจัดตั้งคณะผู้พิจารณาขึ้นพิจารณากรณีดังกล่าว และส่งรายงานผลการพิจารณาให้ประเทศสมาชิกอื่น
ร่วมกันพิจารณาบังคับให้เป็นไปตามผลการพิจารณาของคณะผู้พิจารณา หากไม่ทำตามผลการตัดสิน ให้ประเทศผู้เสียหายทำการตอบโต้ทางการค้าได้
(9) ให้สิทธิพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี (Special and Differential Treatment for LDCs)
ผ่อนผันให้ประเทศกำลังพัฒนาจำกัดการนำเข้าได้ หากมีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพดุลการชำระเงิน
และให้โอกาสประเทศพัฒนาแล้วให้สิทธิพิเศษศุลกากร (GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาได้ แม้จะขัดกับหลัก MFN ก็ตาม นอกจากนี้ ประเทศพัฒนา
แล้วจะต้องไม่หวังการตอบแทนเมื่อลดหย่อนภาษีให้
การเปิดการค้าเสรี : ผลดี | ผลเสีย ต่อประเทศไทย
ต้องเข้าใจกันก่อนว่าการเปิดเสรีเป็นเรื่องของการเปิดโอกาส คือ สร้างโอกาสให้สามารถเข้าไปทำการค้าหรือมีช่องทางทำมาหา
กินกว้างขวางขึ้น การที่ตลาดเปิดกว้างทำให้ทุกคนมีสิทธิ์เข้าไปค้าขายได้เหมือนกัน จึงมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบถ้าไม่มีกฎกติกากำกับ
การเปิดเสรีการค้าตามความตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) ก่อให้เกิดผลดี | ผลเสียต่อประเทศไทยดังนี้
ผลดี
1. ตลาดส่งออกขยายตัว การที่ประเทศสมาชิก WTO ต้องเปิดตลาดตามข้อตกลงฯ ทำให้ไทยสามารถผลักดันการส่งออกให้
ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากรายได้จากการส่งออก ปี 2543 ที่สูงเกือบถึง 3 ล้านล้านบาท เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
จากวิกฤต เนื่องจากการขยายการค้าก่อให้เกิดการจ้างงาน เกิดการแข่งขัน ทำให้ภาคเอกชนต้องมีการปรับตัว มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและหลากหลาย สุดท้ายประชาชนจะมีการกินดีอยู่ดีและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2. ไทยสามารถเปิดตลาดทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ที่เห็นชัดเจนคือ สินค้าเกษตรขยายการส่งออกได้กว้างขึ้น เช่น ส่งข้าว
ไปขายตลาดญี่ปุ่น และ เกาหลี ส่งน้ำตาลทรายไปสหภาพยุโรป จากที่ไม่เคยส่งได้มาก่อนหรือส่งไปได้น้อยมาก ยกเว้นบางปีที่ผลผลิตภายในประ
เทศไม่เพียงพอ
3. ไทยได้ประโยชน์จากการให้โอกาสของความแตกต่างและเป็นพิเศษ (S&D) ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาจึงได้ประโยชน์
ในเรื่องของการลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าและใช้เวลายาวนานกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สินค้าเกษตร ไทยลดภาษีลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี
ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ลดภาษีลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
4. เมื่อการดำเนินการตามข้อตกลงแล้วมีปัญหา ไทยมีสิทธิเจรจาต่อรองใหม่ได้ แต่ต้องมีเหตุมีผล เช่น กรณีนมผง ที่ไทยไม่สามารถ
ยกเลิก local content ภายในปี 2543 ได้ เพราะภาคเกษตรมีปัญหา จึงขอยืดเวลาออกไปอีก 5 ปี ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ยึดเวลาออกไปได้
2 ปี และจะพิจารณากันใหม่ โดยที่ไม่มีการลงโทษหรือต้องชดเชยความเสียหายแต่อย่างใด
5. มีเวทีในการร้องเรียนข้อพิพาท ซึ่งประเทศใหญ่หรือเล็กก็มีสิทธิเท่าเทียมกัน เช่น ไทย-อินเดีย-บราซิล ร่วมกันฟ้องสหรัฐฯ ใน
เรื่องกีดกันการนำเข้ากุ้งโดยอ้างว่าการจับกุ้งเป็นการทำร้ายเต่าทะเล ซึ่งผลที่สุดก็เป็นฝ่ายชนะ และมีแนวร่วมในการต่อสู้กับประเทศใหญ่ เช่น
ไทยจะรวมกลุ่มกับประเทศต่าง ๆ ที่เสียเปรียบเรื่อง Anti | Dumping เพื่อขอให้แก้ไขกฎหมายนี้
6. ใช้กฎของ WTO เป็นบันทัดฐานในการเจรจาใน AFTA เช่น มาเลเซีย ขอยกเว้นเรื่องรถยนต์ ไทยซึ่งเป็นผู้เสียหายอาจขอให้
มาเลเซียชดเชยด้วยการรับซื้อสินค้า เช่น ข้าว น้ำตาล จากไทย และหากมาเลเซียไม่ตกลง ไทยสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือตอบโต้ได้
7. ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าล่วงหน้าได้ เนื่องจากมีความโปร่งใสและกำหนดเวลาที่ชัดเจน โดย
เฉพาะเรื่องภาษีมีแผนการลดอัตราภาษีที่แน่นอน
8. ประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคมากขึ้น สามารถซื้อสินค้าได้หลากหลายและมีราคาถูก
ผลเสีย/ภาระที่ไทยต้องดำเนินการ
1. ต้องเปิดตลาดภายในประเทศ เมื่อประเทศอื่นเปิดตลาดให้เรา เราก็ต้องเปิดเป็นการแลกเปลี่ยนด้วย แต่ภาระภาษีที่ไทยผูกพัน
ไว้นั้นสูงกว่าอัตราเรียกเก็บจริง จึงเกิดผลกระทบไม่มากนัก ส่วนสินค้าเกษตรที่ต้องเปิดตลาด 23 รายการ ก็มีผลกระทบน้อยมาก เช่น
กากถั่วเหลือง (ผลผลิตภายในประเทศขาดแคลน) นมผง (ได้ขอผ่อนผันยืดเวลาออกไป) สินค้า IT ต้องปรับโครงสร้างภาษีภายในกำหนด
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศมาก เพราะการจะเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี สารสนเทศ สินค้า IT ต้องมีราคาถูกลง
สำหรับการค้าบริการที่ต้องเปิดเสรี 10 สาขา ก็เปิดเท่าที่กฎหมายเปิดให้อยู่แล้ว ไม่มีการเปิดเพิ่มแต่อย่างใด
2. ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับความตกลง เช่น การแก้กฎหมายสิทธิบัตร กฎหมายเครื่องหมายการค้า และการออกกฎหมายใหม่
เช่น กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช กฎหมายคุ้มครองการออกแบบวงจรรวม กฎหมายคุ้มครองความลับทางการค้า เป็นต้น
3. เตรียมความพร้อมในการแข่งขันโดยการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและผลิตสินค้าให้สอดคล้อง
กับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามากขึ้น เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ และมาตรฐานแรงงาน เป็นต้น
ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO อย่างเคร่งครัด เพราะหากละเมิดและก่อ
ให้เกิดความเสียหายต่อประเทศอื่น ๆ ก็จะถูกฟ้องร้องได้
5. ประเทศไทยพร้อมหรือไม่ต่อการเปิดเสรี
การที่จะตอบว่าไทยพร้อมหรือไม่ต่อการเปิดเสรีทางการค้า คงจะต้องพิจารณาจากความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก
สำคัญของไทย โดยใช้หลักเกณฑ์ทางวิชาการในการศึกษาความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Advantage : RCA)
เป็นตัวชี้วัด ซึ่งหากค่า RCA ของสินค้าใดมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่าสินค้านั้นยังมีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งมีการศึกษาความสามารถในการแข่งขัน
ของสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ไว้ดังนี้
สินค้าเกษตรกรรม จากการศึกษาของสำนักวิจัยเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมื่อเดือนกันยายน 2542
มีผลการศึกษาดังนี้
ข้าว ค่า RCA ในช่วงปี 2534-2539 มีแนวโน้มลดลงจาก 32.2 ในปี 2534 เป็น 23.7 ในปี 2539 เนื่องจากการส่งออกมีการขยาย
ตัวน้อย แต่ก็ยังเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขัน
ยางพารา ค่า RCA ในช่วงปี 2536-2539 มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักอยู่ในระดับ 34-37 โดยที่ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ที่สุด
ของโลกจึงยังเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขัน แต่การส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้ายางแผ่นรมควันซึ่งมีมูลค่าเพิ่มต่ำ
ข้าวโพดหวาน ค่า RCA ในช่วงปี 2536-2540 มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยตลอดจากระดับ 0.23 ในปี 2536 เป็น 1.99 ในปี 2540
แสดงว่ามีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น
กาแฟดิบ ค่า RCA ในช่วงปี 2536-2540 อยู่ในระดับต่ำกว่า 1 โดยปี 2540 มีค่าเท่ากับ 0.47 แสดงว่าเป็นสินค้าที่ไม่มีศักยภาพ
ในการแข่งขัน แม้ว่ารัฐบาลจะมีการชดเชยการส่งออกในอัตราสูงก็ตาม
น้ำมันปาล์ม ค่า RCA ในช่วงปี 2536-2540 อยู่ในระดับต่ำกว่า 1 มาโดยตลอด ในปี 2540 มีค่าเพียง 0.11 ในขณะที่ค่า RCA
ของมาเลเซียและอินโดนีเซีย มีค่าเท่ากับ 41.7 และ 23.5 ตามลำดับ แสดงว่าน้ำมันปาล์มเป็นสินค้าที่ไม่มีศักยภาพในการแข่งขัน
สินค้าอุตสาหกรรม จากการศึกษาของศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542
สรุปผลการศึกษาในอุตสาหกรรมสำคัญดังนี้
อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นสินค้าที่ไทยยังมีศักยภาพในการแข่งขัน โดยในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์
ในปี 2539 มีค่า RCA เท่ากับ 2.66 สำหรับอุปกรณ์และส่วนประกอบ มีค่า RCA เท่ากับ 3.39
อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยค่า RCA จาก 1.35 ในปี 2535
เพิ่มเป็น 2.07 ในปี 2539
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันแต่เริ่มมีแนวโน้มลดลง โดยค่า RCA จาก 2.33 ในปี 2536
ลดเหลือ 2.02 ในปี 2540
อุตสาหกรรมหนังและเครื่องหนัง ในส่วนของอุตสาหกรรมฟอกหนัง ค่า RCA มีค่ามากกว่า 1 มาโดยตลอด ปี 2539 มีค่าเท่ากับ 1.60
ก็ยังเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันแต่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับฮ่องกง อาร์เจนตินา อิตาลี บราซิล และเกาหลีใต้ สำหรับอุตสาหกรรมรองเท้าหนัง
เป็นสินค้าที่มีศักยภาพส่งออกค่อนข้างสูง ปี 2539 ค่า RCA เท่ากับ 4.47 แต่คู่แข่ง เช่น ฮ่องกง และจีน มีศักยภาพสูงกว่าไทยมาก (ค่า RCA
เท่ากับ 32.18 และ 5.46 ตามลำดับ)
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันแต่เริ่มมีแนวโน้มลดลง โดยค่า RCA จาก 2.26 ในปี 2536
ลดเหลือ 1.61 ในปี 2540 เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง
อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป สินค้าปลาทูนากระป๋อง เป็นสินค้าที่มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกเช่นเดียวกับคู่แข่งอื่นๆ เช่น โกตดิวัวร์
สเปน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย แต่เริ่มมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากปัญหาวัตถุดิบ (ค่า RCA เท่ากับ 38.94 ในปี 2536 เหลือ 22.16 ในปี 2539)
สำหรับกุ้งกระป๋องและแปรรูป มีศักยภาพการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นในตลาดโลก โดยมีค่า RCA อยู่ระหว่าง 30.40-33.49 เพราะสามารถผลิตสินค้า
ได้หลากหลายตามความต้องการของผู้บริโภค ในส่วนของสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรด ศักยภาพการแข่งขันเริ่มมีแนวโน้มลดลงจากปัญหาการ
ขาดแคลนวัตถุดิบ โดยสับปะรดกระป๋อง ค่า RCA จาก 48.13 ในปี 2536 ลดเหลือ 26.70 ในปี 2540 และน้ำสับปะรด มีค่า RCA ลดลงจาก
44.91 ในปี 2536 ลดเหลือ 27.40 ในปี 2540
จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าสินค้าไทยหลายรายการยังมีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก แต่บางสินค้าศักยภาพก็เริ่มลดลง
ขณะเดียวกันก็มีหลายสินค้าที่ไม่สามารถแข่งขันได้ ดังนั้น การเตรียมความพร้อมด้วยการพัฒนาการผลิตสินค้าตลอดไปถึงการจำหน่าย รวมทั้งการแก้ไข
ปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้า จึงเป็นภาระที่ไทยต้องเร่งแก้ไขด้วยตัวเราเอง เพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบจากประเทศอื่นๆ
6. ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อม
การเปิดเสรีทางการค้ามิใช่ประเทศไทยจะเปิดฝ่ายเดียว ประเทศอื่น ๆ ก็ต้องเปิดด้วย ดังนั้น ตลาดจะกว้างมากขึ้น การแข่งขัน
ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การที่เราจะเข้าไปต่อสู้ได้จำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมในทุกๆ ด้าน ซึ่งในส่วนของรัฐบาลได้มีการดำเนินการ ดังนี้
(1) การพัฒนาศักยภาพการผลิต
ด้านการเกษตร ดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กู้เงินจำนวน 600 ล้านเหรียญสหรัฐ
มาดำเนินการในโครงการต่าง ๆ ได้แก่
- โครงการจัดรูปที่ดิน ภายใต้แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในเขตชลประทานและแหล่งน้ำธรรมชาติ
- โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร มีโครงการย่อยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาการผลิตและ
การตลาดข้าว/พืชไร่ การก่อสร้างโรงงานผลิตนมพาสเจอร์ไรส์ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และการก่อสร้างไซโลข้าวโพดหมักสำหรับโคนม เป็นต้น
โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตในเขตปฏิรูปที่ดิน ภายใต้แผนงานเพิ่ม
ศักยภาพการผลิตของชุมชน มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดรูปที่ดินในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน การเพิ่มประสิทธิภาพการมอบหนังสืออนุญาตเข้า
ทำประโยชน์ในที่ดิน และ การพัฒนาแหล่งน้ำ เป็นต้น โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร ภายใต้แผนงานวิจัย
และพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร มีโครงการย่อยต่างๆ เช่น การก่อสร้างธนาคารเชื้อพันธุ์พืช การก่อสร้างธนาคารเชื้อพันธุ์ปศุสัตว์ การก่อสร้าง
ห้องปฏิบัติการกลาง และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เป็นต้น
โครงการจัดทำแนวเขตและเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้ ภายใต้
แผนงานปรับโครงสร้างองค์กรสถาบันและระบบข้อมูล มีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงระวางแผนที่แนวเขตพื้นที่ป่า การปรับปรุงและพัฒนา
ระบบสื่อสาร เป็นต้น
ด้านอุตสาหกรรม ดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (ปี 2541-2545 )
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันครอบคลุมอุตสาหกรรมสำคัญ 13 สาขา ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
รองเท้าและเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องเรือน ยาและเคมีภัณฑ์ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก เซรามิกส์และแก้ว เครื่องใช้ไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็กและเหล็กกล้า และปิโตรเคมี
การปรับโครงสร้างภาษี ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้สินค้าไทยสามารถแข่งขัน
ได้ในตลาดโลก รวมทั้งปรับลดตามข้อตกลงต่างๆ เช่น WTO AFTA ITA เป็นต้น
(2) การพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ คือการจัดงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์
สินค้าไทย
การจัดคณะผู้แทนการค้าออกไปเจรจาขายสินค้าในต่างประเทศและการนำคณะผู้แทนการค้าเข้ามาซื้อสินค้าในประเทศการพัฒนาและ
ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้ส่งออกการเจรจาแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศ
- การเร่งรัดการส่งออกในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเร่งรัดและติดตามการส่งออก เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรค
ต่าง ๆ ให้กับผู้ส่งออก ซึ่งมีการดำเนินการได้สำเร็จเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง เช่นการเร่งรัดคืนภาษี การอำนวยความสะดวกในการส่งออกรถยนต์
การตั้งศูนย์ประสานสินเชื่อเพื่อการส่งออก เป็นต้น
ดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ ตลาดเป้าหมาย ได้แก่ ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน
ตลาดแอฟริกา ตลาดอเมริกาใต้ ตลาดยุโรป ตะวันออก และจีนตอนใต้
(3) การแก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัตของสากลมากขึ้น เช่น การออกกฎหมายเพื่อดึงดูดการลงทุน
จากต่างประเทศ ได้แก่ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยมุ่งเน้นการลดอุปสรรคหรือเครื่องกีดขวางการลงทุนจาก
ต่างชาติที่ไม่จำเป็นให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ไทยอยู่ในฐานะที่จะแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ในขณะเดียวกันก็คำนึงถึงการสงวนธุรกิจ
บางอย่างไว้ให้คนไทยเพื่อให้เกิดความสมดุลด้วย
กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมทางการค้าและป้องกันการเอาเปรียบจากต่างประเทศ ได้แก่ พ.ร.บ. ตอบโต้การทุ่มตลาดและการ
อุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 กฎหมายที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ ได้แก่
พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 เพื่อยกระดับมาตรฐานการบัญชี
การออกกฎหมายและจัดเตรียมกลไกต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการและผู้บริโภค เช่น พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. 2542 จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ การปรับปรุงกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
(4) การเตรียมพร้อมสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ส่งเสริมให้มีการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการค้าและการลงทุนมากขึ้น
โดยอำนวยสะดวกในด้านต่างๆ เช่น การเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคม การออกกฎหมายรองรับการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และจะเร่ง
ดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
กำหนดแผนงานทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจน
กำจัดอุปสรรคทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎระเบียบพิธีการศุลกากร
ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างภูมิภาคเพื่อเสริมสร้าง
ความแข่งแกร่งของระบบเศรษฐกิจโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623
--จบ--