นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2544 เกี่ยวกับการดำเนินการของศุลกากรประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ศุลกากรสหรัฐฯได้เสนอที่จะเปลี่ยนแปลงการจำแนกประเภทของไม้แขวนเสื้อพลาสติกที่นำเข้าพร้อมกับเสื้อผ้า จากเดิมที่จำแนกประเภทของไม้แขวนเสื้อดังกล่าวเป็นสิ่งของอย่างอื่นที่ทำจากพลาสติกในพิกัดศุลกากร 3926.90.98 ซึ่งมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 5.3 เป็นสิ่งของจากพลาสติกเพื่อการขนย้ายภายใต้พิกัดศุลกากร 3923 ซึ่งมีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำลง คือร้อยละ 3 โดยมีเงื่อนไขดังนี้ ไม้แขวนเสื้อที่สามารถแจ้งเสียภาษีแยกจากเสื้อผ้าได้นั้นจะต้องเป็นไม้แขวนเสื้อที่ใช้ในการขนย้ายเสื้อผ้า (Hanger used for Transportation) ผู้นำเข้าสามารถแจ้งการเสียภาษีแยกของสินค้าได้โดยตรง โดยต้องกำกับราคาไม้แขวนเสื้อและเสื้อผ้าแยกจากกันในใบกำกับสินค้า (Invoice) และในการแจ้งแยกประเภทไม้แขวนเสื้อและเสื้อผ้านั้น เสื้อผ้าจะต้องถูกแขวนมาในระหว่างขนส่ง
นายการุณฯ กล่าวต่อไปว่า ศุลกากรสหรัฐฯมีมาตรการที่จะตรวจสอบสินค้าที่ระบุว่าเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปชนิดกันน้ำได้ โดยได้ออกระเบียบให้ผู้นำเข้าเสื้อผ้าดังกล่าวแจ้งพิกัดนำเข้าให้ถูกต้องตามหมวดหมู่สินค้า เนื่องจากปัจจุบันมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไม่ตรงกับข้อกำหนดของสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปป้องกันการเปียกน้ำ (Water Resistant Wearing Apparel) ซึ่งมีอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปชนิดไม่กันน้ำ โดยเสื้อโค้ตผู้ชายประเภทกันน้ำได้มีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 7.2 ในขณะที่เสื้อโค้ตผู้ชายประเภทไม่กันน้ำมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 28.2 ทั้งนี้สินค้าที่ศุลกากรสหรัฐฯมุ่งเน้นที่จะตรวจสอบได้แก่สินค้ากลุ่มเสื้อแจ๊กเก็ตกันหนาว (Anoraks ) พิกัดศุลกากรที่ 6201.92.1500 , 6201.93.3000 และ 6202.93.4500 และสินค้ากางเกง พิกัดศุลกากรที่ 6203.43.3500 และ 6204.63.3000 โดยศุลกากรสหรัฐฯได้เริ่มดำเนินการตรวจสอบตามระเบียบดังกล่าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเสื้อผ้าผู้ชาย ศุลกากรสหรัฐฯจะตรวจสอบ ณ จุด นำเข้าทุกครั้งว่ากันน้ำได้จริงหรือไม่ ส่วนเสื้อผ้าผู้หญิงจะยอมรับหนังสือรับรองคุณสมบัติการกันน้ำจากประเทศต้นทาง หากพบว่ามีการแจ้งหมวดสินค้าไม่ถูกต้อง ผู้นำเข้าจะถูกกำหนดมาตรการการนำเข้าเป็นการลงโทษ เช่น การลงโทษปรับ การเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบการนำเข้าของผู้นำเข้ารายนั้น เป็นต้น--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2544--
-อน-
นายการุณฯ กล่าวต่อไปว่า ศุลกากรสหรัฐฯมีมาตรการที่จะตรวจสอบสินค้าที่ระบุว่าเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปชนิดกันน้ำได้ โดยได้ออกระเบียบให้ผู้นำเข้าเสื้อผ้าดังกล่าวแจ้งพิกัดนำเข้าให้ถูกต้องตามหมวดหมู่สินค้า เนื่องจากปัจจุบันมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปไม่ตรงกับข้อกำหนดของสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูปป้องกันการเปียกน้ำ (Water Resistant Wearing Apparel) ซึ่งมีอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าเสื้อผ้าสำเร็จรูปชนิดไม่กันน้ำ โดยเสื้อโค้ตผู้ชายประเภทกันน้ำได้มีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 7.2 ในขณะที่เสื้อโค้ตผู้ชายประเภทไม่กันน้ำมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 28.2 ทั้งนี้สินค้าที่ศุลกากรสหรัฐฯมุ่งเน้นที่จะตรวจสอบได้แก่สินค้ากลุ่มเสื้อแจ๊กเก็ตกันหนาว (Anoraks ) พิกัดศุลกากรที่ 6201.92.1500 , 6201.93.3000 และ 6202.93.4500 และสินค้ากางเกง พิกัดศุลกากรที่ 6203.43.3500 และ 6204.63.3000 โดยศุลกากรสหรัฐฯได้เริ่มดำเนินการตรวจสอบตามระเบียบดังกล่าวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2544
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับเสื้อผ้าผู้ชาย ศุลกากรสหรัฐฯจะตรวจสอบ ณ จุด นำเข้าทุกครั้งว่ากันน้ำได้จริงหรือไม่ ส่วนเสื้อผ้าผู้หญิงจะยอมรับหนังสือรับรองคุณสมบัติการกันน้ำจากประเทศต้นทาง หากพบว่ามีการแจ้งหมวดสินค้าไม่ถูกต้อง ผู้นำเข้าจะถูกกำหนดมาตรการการนำเข้าเป็นการลงโทษ เช่น การลงโทษปรับ การเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบการนำเข้าของผู้นำเข้ารายนั้น เป็นต้น--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2544--
-อน-