การท่องเที่ยว : ยังขยายตัวต่อเนื่อง
2543 2544
ทั้งปี H1 H2 Q1 Q2P H1P
1. จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ (พันคน) 8,580 4,639 4,870 2,686 2,301 4,987
%D จากระยะเดียวกันปีก่อน 10.5 11.2 10.5 8 6.9 7.5
2. อัตราการเข้าพักโรงแรม (ร้อยละ) 59.3 60 58.7 69.4 57.7 64.1
ที่มา : 1. จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
อัตราการเข้าพัก จากการสำรวจจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ประมาณ 165 แห่ง (เขตกรุงเทพฯ 45 แห่ง ต่าง
จังหวัด 120 แห่ง)
สาขาบริการ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อเทียบกับการผลิตในสาขาอื่น โดยบริการท่องเที่ยวขยายตัวต่อ
เนื่องจากปีก่อน เป็นผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เน้นตลาดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มมากขึ้น กอปรกับมีการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริม
การขายในต่างประเทศ (Road Show) อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
7.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน (เทียบกับร้อยละ 11.2 ของเดียวกันปีก่อน) การลดลงของนักท่องเที่ยว มาเลเซีย และจีน เป็นผลจากปัญหา
ความไม่สงบ ในแหล่งท่องเที่ยวทางภาคใต้ และการหลอกลวง นักท่องเที่ยวของผู้ประกอบการบางราย
การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 64.1 (เทียบกับร้อยละ 60.0 ในช่วงเดียว
กันปีก่อน) อย่างไร ก็ตาม การชะลอตัวของตลาดสำคัญ อาทิ จีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น รวมถึงภาวะการแข่งขันรุนแรงในแถบเอเชีย ทำ
ให้คาดว่าภาพรวมการท่องเที่ยว ในช่วงครึ่งปีหลัง จะขยายตัวไม่สูงนัก ทางการจึงเร่งรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวไทยหันมาท่องเที่ยวใน
ประเทศมากขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากภาค เอกชนในการให้ส่วนลดราคาค่าบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ในช่วงเดือนกรกฏาคม
ถึงเดือนตุลาคมที่เป็นช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว
สำหรับการบริการด้านสาธารณสุข และการศึกษายังคงชะลอตัว
โทรคมนาคม
ในครึ่งแรกของปี 2544 ภาคโทรคมนาคมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามจำนวนผู้เช่าโทรศัพท์ พื้นฐาน และโทรศัพท์เคลื่อนที่
ซึ่งขยายตัวร้อยละ 8.8 และ 56.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้มีผู้ใช้บริการของโทรศัพท์ทั้งสองระบบจำนวน 6 และ 4 ล้าน เลขหมาย
ตามลำดับ อันเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบการเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยเน้นการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาทั้งการลดราคาตัวเครื่องและ
การลดค่าบริการ อาทิ การยกเว้นค่าติดตั้งโทรศัพท์พื้นฐาน การลดอัตราค่าบริการโทรศัพท์พกพาส่วนบุคคล (Personal Communication
Telephone : PCT) เหลือครั้งละ 3 บาท การคิดค่าบริการรายเดือนเพียง 300 บาทต่อเลขหมายของโทรศัพท์เคลื่อนที่ DPC (Digital
GSM 1800) การคิดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นจริงตามวินาที และเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศของ DTAC (โทเทิ่ล แอ็คเซส
คอมมูนิเคชั่น) เป็นต้น ทั้งนี้ ความนิยมในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และ PCT ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ได้สองทาง
ทำให้การใช้โทรศัพท์ติดตามตัวลดลงอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 68.9 เหลือเพียง 3.5 แสน เลขหมาย เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับปริมาณการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศโทรออกมีจำนวน 52.98 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ขณะที่ การโทรเข้ามีจำนวน 47.18
ล้านครั้ง ลดลงร้อยละ 2.4 โดยความนิยมในการติดต่อผ่านอินเตอร์เน็ตยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการลดลงของการใช้บริการโทรศัพท์ระหว่าง
ประเทศ
การให้บริการภาคโทรคมนาคม
(หน่วย : เลขหมาย)
บริการ 2542 2543 2544
ทั้งปี ทั้งปี P H1 H2 H1E Q1 P Q2 E
ผู้เช่าโทรศัพท์พื้นฐาน* 5,197,907 5,677,756 5,512,571 5,677,756 6,000,000 5,854,110 6,000,000
D% 3.7 9.2 7.2 9.2 8.8 8.1 8.8
ผู้เช่าโทรศัพท์เคลื่อนที่* 2,298,443 3,120,196 2,559,935 3,120,196 4,000,000 3,611,098 4,000,000
D% 16.8 35.8 21.5 35.8 56.3 48.1 56.3
ผู้เช่าโทรศัพท์ติดตามตัว* 1,117,314 1,033,825 1,119,979 1,033,825 347,830 486,254 347,830
D% -5.6 -7.5 4.2 -7.5 -68.9 -56.8 -68.9
โทรศัพท์ระหว่างประเทศ
(หน่วย : ล้านครั้ง) 100.24 96.42 48.32 48.1 47.18 23.84 23.34
- การโทรเข้า 5.5 -3.8 -4.3 -3.3 -2.4 -2.5 -2.2
D% 94.62 98.25 48.24 50.01 52.98 26.93 26.05
- การโทรออก 1.3 3.8 1.4 6.3 9.8 9.4 10
D%
หมายเหตุ : * เป็นข้อมูล ณ วันสิ้นงวด
D% คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
2543 2544
ทั้งปี H1 H2 Q1 Q2P H1P
1. จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ (พันคน) 8,580 4,639 4,870 2,686 2,301 4,987
%D จากระยะเดียวกันปีก่อน 10.5 11.2 10.5 8 6.9 7.5
2. อัตราการเข้าพักโรงแรม (ร้อยละ) 59.3 60 58.7 69.4 57.7 64.1
ที่มา : 1. จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
อัตราการเข้าพัก จากการสำรวจจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ประมาณ 165 แห่ง (เขตกรุงเทพฯ 45 แห่ง ต่าง
จังหวัด 120 แห่ง)
สาขาบริการ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อเทียบกับการผลิตในสาขาอื่น โดยบริการท่องเที่ยวขยายตัวต่อ
เนื่องจากปีก่อน เป็นผลจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เน้นตลาดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มมากขึ้น กอปรกับมีการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริม
การขายในต่างประเทศ (Road Show) อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ
7.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน (เทียบกับร้อยละ 11.2 ของเดียวกันปีก่อน) การลดลงของนักท่องเที่ยว มาเลเซีย และจีน เป็นผลจากปัญหา
ความไม่สงบ ในแหล่งท่องเที่ยวทางภาคใต้ และการหลอกลวง นักท่องเที่ยวของผู้ประกอบการบางราย
การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ส่งผลให้อัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 64.1 (เทียบกับร้อยละ 60.0 ในช่วงเดียว
กันปีก่อน) อย่างไร ก็ตาม การชะลอตัวของตลาดสำคัญ อาทิ จีน มาเลเซีย และญี่ปุ่น รวมถึงภาวะการแข่งขันรุนแรงในแถบเอเชีย ทำ
ให้คาดว่าภาพรวมการท่องเที่ยว ในช่วงครึ่งปีหลัง จะขยายตัวไม่สูงนัก ทางการจึงเร่งรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวไทยหันมาท่องเที่ยวใน
ประเทศมากขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากภาค เอกชนในการให้ส่วนลดราคาค่าบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ในช่วงเดือนกรกฏาคม
ถึงเดือนตุลาคมที่เป็นช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว
สำหรับการบริการด้านสาธารณสุข และการศึกษายังคงชะลอตัว
โทรคมนาคม
ในครึ่งแรกของปี 2544 ภาคโทรคมนาคมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามจำนวนผู้เช่าโทรศัพท์ พื้นฐาน และโทรศัพท์เคลื่อนที่
ซึ่งขยายตัวร้อยละ 8.8 และ 56.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้มีผู้ใช้บริการของโทรศัพท์ทั้งสองระบบจำนวน 6 และ 4 ล้าน เลขหมาย
ตามลำดับ อันเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบการเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยเน้นการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาทั้งการลดราคาตัวเครื่องและ
การลดค่าบริการ อาทิ การยกเว้นค่าติดตั้งโทรศัพท์พื้นฐาน การลดอัตราค่าบริการโทรศัพท์พกพาส่วนบุคคล (Personal Communication
Telephone : PCT) เหลือครั้งละ 3 บาท การคิดค่าบริการรายเดือนเพียง 300 บาทต่อเลขหมายของโทรศัพท์เคลื่อนที่ DPC (Digital
GSM 1800) การคิดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นจริงตามวินาที และเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศของ DTAC (โทเทิ่ล แอ็คเซส
คอมมูนิเคชั่น) เป็นต้น ทั้งนี้ ความนิยมในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่และ PCT ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ได้สองทาง
ทำให้การใช้โทรศัพท์ติดตามตัวลดลงอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 68.9 เหลือเพียง 3.5 แสน เลขหมาย เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับปริมาณการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศโทรออกมีจำนวน 52.98 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ขณะที่ การโทรเข้ามีจำนวน 47.18
ล้านครั้ง ลดลงร้อยละ 2.4 โดยความนิยมในการติดต่อผ่านอินเตอร์เน็ตยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการลดลงของการใช้บริการโทรศัพท์ระหว่าง
ประเทศ
การให้บริการภาคโทรคมนาคม
(หน่วย : เลขหมาย)
บริการ 2542 2543 2544
ทั้งปี ทั้งปี P H1 H2 H1E Q1 P Q2 E
ผู้เช่าโทรศัพท์พื้นฐาน* 5,197,907 5,677,756 5,512,571 5,677,756 6,000,000 5,854,110 6,000,000
D% 3.7 9.2 7.2 9.2 8.8 8.1 8.8
ผู้เช่าโทรศัพท์เคลื่อนที่* 2,298,443 3,120,196 2,559,935 3,120,196 4,000,000 3,611,098 4,000,000
D% 16.8 35.8 21.5 35.8 56.3 48.1 56.3
ผู้เช่าโทรศัพท์ติดตามตัว* 1,117,314 1,033,825 1,119,979 1,033,825 347,830 486,254 347,830
D% -5.6 -7.5 4.2 -7.5 -68.9 -56.8 -68.9
โทรศัพท์ระหว่างประเทศ
(หน่วย : ล้านครั้ง) 100.24 96.42 48.32 48.1 47.18 23.84 23.34
- การโทรเข้า 5.5 -3.8 -4.3 -3.3 -2.4 -2.5 -2.2
D% 94.62 98.25 48.24 50.01 52.98 26.93 26.05
- การโทรออก 1.3 3.8 1.4 6.3 9.8 9.4 10
D%
หมายเหตุ : * เป็นข้อมูล ณ วันสิ้นงวด
D% คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
ที่มา : องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และ การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-