กรุงเทพฯ--14 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (11 พฤษภาคม 2544) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียยุโรปครั้งที่ 3 (Third ASEM Foreign Ministers ’ Meeting : FMM3) จะมีขึ้นที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2544 การประชุมครั้งนี้จะมีรัฐมนตรีต่างประเทศจากเอเชีย 10 ประเทศ และจากยุโรป 15 ประเทศพร้อมทั้งกรรมาธิการยุโรปเข้าร่วมการประชุมด้วย หลังจากที่มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ 1 ที่สิงคโปร์ในปี 2540 และครั้งที่ 2 ที่กรุงเบอร์ลิน ในปี 2542
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 3 มีวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจ ร่วมกันโดยการกำหนดหัวข้อกว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางการหารือ ได้แก่
1.1 ด้านการเมือง ซึ่งจะเน้นประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองและความมั่นคงในเอเชียและยุโรป การปฏิรูปสหประชาชาติ การควบคุมและลดอาวุธ ฯลฯ
1.2 ด้านเศรษฐกิจและการคลัง ซึ่งจะเน้นการกระชับความร่วมมือในกรอบ องค์การการค้าโลกและโลกาภิวัตน์ การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายสารสนเทศและลดช่องว่างเทคโนโลยีสารเสนเทศระหว่างสองภูมิภาค และการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน ฯลฯ
1.3 ด้านอื่นๆ ซึ่งจะครอบคลุมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติดและ การฟอกเงิน ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
2. ติดตามความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ภายใต้ ASEM ที่มีอยู่มากกว่า 33 โครงการ โดยมุ่งหวังให้โครงการที่ดำเนินอยู่แล้วและโครงการที่เป็นข้อเสนอใหม่ ก่อให้เกิดประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมต่อสังคมมากที่สุด
3. หารือทิศทางในอนาคตของ ASEM โดยนอกจากจะหารือในเรื่องการนำมติของ การประชุมผู้นำครั้งที่ 3 ที่กรุงโซลในปีที่แล้วมาปฏิบัติในการที่จะพัฒนากระบวนการ ASEM ในปัจจุบัน 2 ประการกล่าวคือ การจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปีและการทำให้ การหารือของผู้นำและรัฐมนตรีเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ เน้นผลลัพธ์ และมีปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเรื่องการมีส่วนร่วมใน ASEM ตลอดจนเรื่องการส่งเสริมการเชื่อมโยงของภาคเอกชนและกลุ่มต่างๆ ของสังคมในกระบวนการ ASEM
4. เตรียมการจัดประชุมผู้นำ ASEM ครั้งที่ 4 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ในปลายปี 2545 รูปแบบของการประชุมครั้งนี้ ประเทศเจ้าภาพจะจัดให้มีการหารือของเจ้าหน้าที่อาวุโส ASEM ก่อนในช่วงวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2544 หลังจากนั้น ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 ในช่วงเย็นจะมีการพบปะและหารือของรัฐมนตรีต่างประเทศฝ่ายเอเชียเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและประสานท่าทีในเรื่องต่างๆ ก่อนที่จะเริ่มการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย — ยุโรปครั้งที่ 3 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 นอกจากนั้น เจ้าภาพจะใช้ช่วงอาหารกลางวันในการหารืออย่างไม่เป็นทางการในประเด็นด้านการเมือง เศรษฐกิจการคลังและด้านอื่นๆ
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ ไทยได้มีบทบาทสำคัญเป็นที่ยอมรับจากสังคมชาวโลกในฐานะประเทศ เจ้าภาพการจัดประชุม ASEM ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ในปี 2539 และเป็นประเทศผู้ประสานงานของ ASEM ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปี 2543 ในการประชุมครั้งนี้ ไทยก็จะมีส่วนร่วมที่สำคัญในการเสนอข้อคิดเห็นทั้งในการหารือด้านการเมือง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงิน และความร่วมมือด้านอื่นๆ รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ จะเป็นผู้กล่าวนำการประชุมในหัวข้อเรื่อง WTO and Globalization ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีบทบาทสำคัญในเวทีองค์การการค้าโลก
นอกจากนี้ ในระหว่างช่วงการประชุมดังกล่าว ดร.สุรเกียรติ์ฯ มีกำหนดการพบปะหารือทวิภาคีกับประเทศเอเชียและยุโรปหลายประเทศ อาทิ กรรมาธิการยุโรป สวีเดน สเปน เดนมาร์ก เยอรมันนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ บรูไน ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ เป็นต้น ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการประชุมครั้งนี้มีดังนี้
1. การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างเอเชีย-ยุโรปในประเด็นทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การคลังและด้านสังคมจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมนโยบายและท่าทีของไทยในเวทีการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในระดับโลก รวมทั้งการสร้างพันธมิตรจากประเทศยุโรปในการเจรจาต่อรองในเรื่องต่างๆ ทั้งในกรอบพหุภาคีและทวิภาคี
2. การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไทย-ยุโรปจะก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ไทยอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินผลและสนับสนุนให้แผนงาน Trade Facilitation Action Plan และ Investment Promotion Action Plan ให้มีผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชนโดยผ่านบริษัทขนาดกลางและเล็ก การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อันจะเอื้อต่อการอำนวยความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุนของไทยและยุโรป การส่งเสริมบทบาทของเอกชนไทยในเวที Asia - Europe Business Forum เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันโดยรวมของภาคเอกชนสองทวีป
3. การที่ ฯพณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับเลือกให้กล่าวนำการหารือในเรื่ององค์การการค้าโลกและโลกาภิวัตน์ เป็นการยอมรับจากหลายประเทศถึงบทบาทสำคัญของไทยในเวทีองค์การการค้าโลก ซึ่งไทยสามารถใช้โอกาสนี้แสดงความเห็นเพื่อผลักดันประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจประกอบด้วย การพัฒนาในกรอบขององค์การการค้าโลก การผลักดันให้มีการจัดประชุม WTO รอบใหม่บนพื้นฐานของความพร้อมของแต่ละประเทศ และประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลกระทบของโลกาภิวัตน์ เป็นต้น
4. การต่ออายุของเงินกองทุน ASEM Trust Fund ในระยะที่หนึ่งซึ่งยุโรปและเอเชียได้ตั้งเงินกองทุนไว้ประมาณ 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากกองทุนนี้โดยได้รับเงินประมาณ 7-8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 17 ของเงินกองทุนในการดำเนินงานด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การบรรเทาความยากจนและเครือข่ายช่วยเหลือทางสังคม และการสนับสนุนกองทุนสำหรับนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ฯลฯ
5. ไทยจะร่วมหารือกับประเทศเอเชียและยุโรปในปัญหาข้ามชาติด้านสังคมที่ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ อาทิ ปัญหาโรคเอดส์ ผู้อพยพ การค้าหญิงและเด็กข้ามชาติ ยาเสพติด และการฟอกเงิน เป็นต้น อันจะส่งผลดีต่อไทยในการขยายความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องทั้งประเทศที่เป็นผู้ผลิตหรือก่อปัญหา และประเทศผู้บริโภคหรือประสบปัญหาดังกล่าว
6. การติดตามความร่วมมือของโครงการต่างๆ ในกรอบ ASEM ซึ่งมีจำนวนประมาณ 30 โครงการ โดยไทยเป็นประเทศแนวหน้ามีจำนวนโครงการที่ร่วมมือกับประเทศอื่นๆ มากที่สุดใน ASEM ประมาณ 10 โครงการ โดยในจำนวนนี้ มี 2 โครงการใหม่ที่ที่ประชุมรัฐมนตรีฯ จะให้ความเห็นชอบได้แก่ การจัดสัมมนาว่าด้วยความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และการจัดสัมมนาการบริหารหนี้สาธารณะ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะทบทวนและประเมินผลงานและแผนงานของ ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เอเชีย-ยุโรป ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี และดำเนินงานมากกว่า 2 ปีแล้วในการนำเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมจากยุโรปมาประยุกต์ให้ก่อประโยชน์แก่สังคมไทย
7. การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสให้รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้พบกับรัฐมนตรีต่าง ประเทศอื่นๆ อีก 25 ประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างเสริมความสัมพันธ์ต่อกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (11 พฤษภาคม 2544) นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชียยุโรปครั้งที่ 3 (Third ASEM Foreign Ministers ’ Meeting : FMM3) จะมีขึ้นที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2544 การประชุมครั้งนี้จะมีรัฐมนตรีต่างประเทศจากเอเชีย 10 ประเทศ และจากยุโรป 15 ประเทศพร้อมทั้งกรรมาธิการยุโรปเข้าร่วมการประชุมด้วย หลังจากที่มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ 1 ที่สิงคโปร์ในปี 2540 และครั้งที่ 2 ที่กรุงเบอร์ลิน ในปี 2542
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรปครั้งที่ 3 มีวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจ ร่วมกันโดยการกำหนดหัวข้อกว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางการหารือ ได้แก่
1.1 ด้านการเมือง ซึ่งจะเน้นประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองและความมั่นคงในเอเชียและยุโรป การปฏิรูปสหประชาชาติ การควบคุมและลดอาวุธ ฯลฯ
1.2 ด้านเศรษฐกิจและการคลัง ซึ่งจะเน้นการกระชับความร่วมมือในกรอบ องค์การการค้าโลกและโลกาภิวัตน์ การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายสารสนเทศและลดช่องว่างเทคโนโลยีสารเสนเทศระหว่างสองภูมิภาค และการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน ฯลฯ
1.3 ด้านอื่นๆ ซึ่งจะครอบคลุมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติดและ การฟอกเงิน ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
2. ติดตามความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ภายใต้ ASEM ที่มีอยู่มากกว่า 33 โครงการ โดยมุ่งหวังให้โครงการที่ดำเนินอยู่แล้วและโครงการที่เป็นข้อเสนอใหม่ ก่อให้เกิดประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมต่อสังคมมากที่สุด
3. หารือทิศทางในอนาคตของ ASEM โดยนอกจากจะหารือในเรื่องการนำมติของ การประชุมผู้นำครั้งที่ 3 ที่กรุงโซลในปีที่แล้วมาปฏิบัติในการที่จะพัฒนากระบวนการ ASEM ในปัจจุบัน 2 ประการกล่าวคือ การจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปีและการทำให้ การหารือของผู้นำและรัฐมนตรีเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการ เน้นผลลัพธ์ และมีปฏิสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเรื่องการมีส่วนร่วมใน ASEM ตลอดจนเรื่องการส่งเสริมการเชื่อมโยงของภาคเอกชนและกลุ่มต่างๆ ของสังคมในกระบวนการ ASEM
4. เตรียมการจัดประชุมผู้นำ ASEM ครั้งที่ 4 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ในปลายปี 2545 รูปแบบของการประชุมครั้งนี้ ประเทศเจ้าภาพจะจัดให้มีการหารือของเจ้าหน้าที่อาวุโส ASEM ก่อนในช่วงวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2544 หลังจากนั้น ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 ในช่วงเย็นจะมีการพบปะและหารือของรัฐมนตรีต่างประเทศฝ่ายเอเชียเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและประสานท่าทีในเรื่องต่างๆ ก่อนที่จะเริ่มการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย — ยุโรปครั้งที่ 3 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 นอกจากนั้น เจ้าภาพจะใช้ช่วงอาหารกลางวันในการหารืออย่างไม่เป็นทางการในประเด็นด้านการเมือง เศรษฐกิจการคลังและด้านอื่นๆ
ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ ไทยได้มีบทบาทสำคัญเป็นที่ยอมรับจากสังคมชาวโลกในฐานะประเทศ เจ้าภาพการจัดประชุม ASEM ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ในปี 2539 และเป็นประเทศผู้ประสานงานของ ASEM ตั้งแต่ปี 2540 ถึงปี 2543 ในการประชุมครั้งนี้ ไทยก็จะมีส่วนร่วมที่สำคัญในการเสนอข้อคิดเห็นทั้งในการหารือด้านการเมือง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงิน และความร่วมมือด้านอื่นๆ รวมทั้งสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.สุรเกียรติ์ฯ จะเป็นผู้กล่าวนำการประชุมในหัวข้อเรื่อง WTO and Globalization ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีบทบาทสำคัญในเวทีองค์การการค้าโลก
นอกจากนี้ ในระหว่างช่วงการประชุมดังกล่าว ดร.สุรเกียรติ์ฯ มีกำหนดการพบปะหารือทวิภาคีกับประเทศเอเชียและยุโรปหลายประเทศ อาทิ กรรมาธิการยุโรป สวีเดน สเปน เดนมาร์ก เยอรมันนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ บรูไน ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ เป็นต้น ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการประชุมครั้งนี้มีดังนี้
1. การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างเอเชีย-ยุโรปในประเด็นทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การคลังและด้านสังคมจะเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมนโยบายและท่าทีของไทยในเวทีการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในระดับโลก รวมทั้งการสร้างพันธมิตรจากประเทศยุโรปในการเจรจาต่อรองในเรื่องต่างๆ ทั้งในกรอบพหุภาคีและทวิภาคี
2. การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไทย-ยุโรปจะก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ไทยอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินผลและสนับสนุนให้แผนงาน Trade Facilitation Action Plan และ Investment Promotion Action Plan ให้มีผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชนโดยผ่านบริษัทขนาดกลางและเล็ก การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อันจะเอื้อต่อการอำนวยความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุนของไทยและยุโรป การส่งเสริมบทบาทของเอกชนไทยในเวที Asia - Europe Business Forum เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันโดยรวมของภาคเอกชนสองทวีป
3. การที่ ฯพณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รับเลือกให้กล่าวนำการหารือในเรื่ององค์การการค้าโลกและโลกาภิวัตน์ เป็นการยอมรับจากหลายประเทศถึงบทบาทสำคัญของไทยในเวทีองค์การการค้าโลก ซึ่งไทยสามารถใช้โอกาสนี้แสดงความเห็นเพื่อผลักดันประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจประกอบด้วย การพัฒนาในกรอบขององค์การการค้าโลก การผลักดันให้มีการจัดประชุม WTO รอบใหม่บนพื้นฐานของความพร้อมของแต่ละประเทศ และประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลกระทบของโลกาภิวัตน์ เป็นต้น
4. การต่ออายุของเงินกองทุน ASEM Trust Fund ในระยะที่หนึ่งซึ่งยุโรปและเอเชียได้ตั้งเงินกองทุนไว้ประมาณ 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากกองทุนนี้โดยได้รับเงินประมาณ 7-8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 17 ของเงินกองทุนในการดำเนินงานด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การบรรเทาความยากจนและเครือข่ายช่วยเหลือทางสังคม และการสนับสนุนกองทุนสำหรับนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ฯลฯ
5. ไทยจะร่วมหารือกับประเทศเอเชียและยุโรปในปัญหาข้ามชาติด้านสังคมที่ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ อาทิ ปัญหาโรคเอดส์ ผู้อพยพ การค้าหญิงและเด็กข้ามชาติ ยาเสพติด และการฟอกเงิน เป็นต้น อันจะส่งผลดีต่อไทยในการขยายความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องทั้งประเทศที่เป็นผู้ผลิตหรือก่อปัญหา และประเทศผู้บริโภคหรือประสบปัญหาดังกล่าว
6. การติดตามความร่วมมือของโครงการต่างๆ ในกรอบ ASEM ซึ่งมีจำนวนประมาณ 30 โครงการ โดยไทยเป็นประเทศแนวหน้ามีจำนวนโครงการที่ร่วมมือกับประเทศอื่นๆ มากที่สุดใน ASEM ประมาณ 10 โครงการ โดยในจำนวนนี้ มี 2 โครงการใหม่ที่ที่ประชุมรัฐมนตรีฯ จะให้ความเห็นชอบได้แก่ การจัดสัมมนาว่าด้วยความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และการจัดสัมมนาการบริหารหนี้สาธารณะ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะทบทวนและประเมินผลงานและแผนงานของ ศูนย์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เอเชีย-ยุโรป ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี และดำเนินงานมากกว่า 2 ปีแล้วในการนำเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมจากยุโรปมาประยุกต์ให้ก่อประโยชน์แก่สังคมไทย
7. การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสให้รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้พบกับรัฐมนตรีต่าง ประเทศอื่นๆ อีก 25 ประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างเสริมความสัมพันธ์ต่อกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-