กรุงเทพฯ--24 ก.ค.---กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ แถลงว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) โดยนาย ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ที่ผ่านมา มีวาระการรายงานให้ที่ประชุมทราบ เรื่องความคืบหน้าการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่
1. การแก้ปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย
ที่ประชุมคณะมนตรีทั่วไปสมัยพิเศษเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2543 ได้มีการพิจารณาเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย (implementation) และมีมติเห็นชอบแผนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย (organization of work) โดยกำหนดให้ผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะมนตรีทั่วไปจัดหารือเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ และรายงานต่อที่ประชุมคณะมนตรีทั่วไปสมัยพิเศษในเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณี ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม วันที่ 18-19 ตุลาคม และ วันที่ 18-19 ธันวาคม 2543 ตามลำดับ ทั้งนี้ให้พิจารณาเรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 4
2. การเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่
- กลุ่มเคร์นส์ สหรัฐฯ แคนาดา สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาประเทศ นำโดยปากีสถานคิวบา และเอลซาวาดอร์ได้ยื่นข้อเสนอในการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ในการประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 ที่ได้มีขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2543 ดังนี้
- กลุ่มเคร์นส์ ได้ยื่นข้อเสนอเรื่องการแข่งขันส่งออก (export competitions) ที่ประชุมส่วนใหญ่ ยกเว้น สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนในหลักการให้ยกเลิกการอุดหนุนส่งออก แต่ยังมีความเห็นแตกต่างในเรื่อง export credit การส่งออกโดยรัฐวิสาหกิจและบทบัญญัติของประเทศกำลังพัฒนา
- แคนาดาได้ยื่นข้อเสนอ เรื่องการเปิดตลาดต่างหากจากกลุ่มเคร์นส์ ที่ประชุมมีข้อสังเกตหลายประเด็น อาทิ zero for zero ในบางสาขา (กลุ่มเคร์นส์ บางประเทศ อาทิ โคลอมเบีย อาเซียน ไม่สนับสนุน) การใช้ TRQ กับรายการที่มีอัตราภาษีสูงมาก จะทำให้เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น เป็นต้น
- กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 11 ประเทศ อาทิ ปากีสถาน เวเนซูเอลลา คิวบา ศรีลังกา ฯลฯ ยื่นข้อเสนอเรื่อง S&D และ Green Box (การอุดหนุนที่เป็นข้อยกเว้น) ที่ประชุมได้ตอบรับในทางสร้างสรรค์ ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นด้วยในบางประเด็นแต่ก็ไม่มีการหยิบยกขึ้น อาทิ ข้อยกเว้นไม่รวมสินค้าที่สำคัญ หรือ staple food ให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่ต้องเปิดเสรีตามความตกลงเกษตรในทุกด้าน เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการพิจารณาในรายละเอียด หรือพัฒนาข้อเสนอในเชิงทางเลือกทดแทนข้อเสนอของกลุ่ม 11 ประเทศในการประชุมครั้งต่อๆ ไป
- สหรัฐฯ เสนอเรื่องการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรระยะยาว และรายละเอียดข้อเสนอเรื่องการอุดหนุนภายใน ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสนใจมาก เนื่องจากครอบคลุมในทุกเรื่อง และเป็นการแสดงท่าทีให้สมาชิกเห็นว่าสหรัฐฯ มีความจริงจังกับการเจรจาเกษตรรอบใหม่ ประเด็นสำคัญในข้อเสนอนี้ คือให้ลดภาษีจากอัตราที่เรียกเก็บจริง ปรับรูปแบบการเจรจาการอุดหนุนภายในใหม่ โดยจัดเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่เป็นข้อยกเว้น (มีหลักเกณฑ์คล้ายของเดิม แต่อาจเพิ่มมาตรการใหม่ๆ เข้าไป) และกลุ่มที่ต้องลดการอุดหนุนลง โดยกำหนดเป้าหมายสุดท้ายให้ลดลงเหลือเป็นสัดส่วนกับมูลค่าการผลิตภายใน (ซึ่งสมาชิกยังไม่มั่นใจว่า จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกันได้ เนื่องจากประเทศที่มีการผลิตมาก อาทิ จีน สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอินเดีย จะได้เปรียบประเทศที่มีการผลิตน้อย) ให้มีกฎเกณฑ์การนำเข้าส่งออกโดยรัฐวิสาหกิจ การเปิดเสรีเร่งด่วนในบางสาขา (sectoral-approach) และสินค้าที่ผลิตโดยเทคโนโลยีใหม่ (new technology)
-สหภาพยุโรป เสนอ 3 เรื่อง คือ Blue Box คุณภาพสินค้า และสวัสดิภาพสัตว์ ที่ประชุมยังไม่ได้พิจารณาข้อเสนอเนื่องจากเวลาจำกัด อย่างไรก็ตาม มีความเห็นที่แตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มหนึ่ง รวมทั้งญี่ปุ่น เกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ จะให้การสนับสนุน ส่วนอีกกลุ่มเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นกลยุทธ์ของสหภาพยุโรปที่เสนอ เพื่อชะลอการเจรจาเกษตรให้มีความยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น
3. การเจรจาการค้าบริการ
ในการประชุมวิสามัญของคณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ประชุมได้ให้การรับรองแผนงานขั้นแรกสำหรับการเจรจาการค้าบริการภายใต้ข้อ XIX ของความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS)
โดยแผนงานขั้นแรก แบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยส่วนที่เป็น chapeau และส่วนที่เป็น work programme สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ในส่วน chapeau นั้น เป็นการอ้างถึงวัตถุประสงค์ของความตกลง GATS ที่ระบุไว้ในข้อ IV และข้อ XIX กล่าวคือ การเจรจาการค้าบริการมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีการค้าบริการเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการลดหรือยกเลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการ ทั้งนี้การเจรจาจะต้องคำนึง ถึงนโยบายภายในและระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศ การให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนา และการกำหนดให้การเจรจาเป็นไปภายใต้โครงสร้างและหลักการปัจจุบันของความตกลง GATS รวมทั้งการกำหนดให้ประเทศสมาชิกดำเนินงานภายใต้ข้อ VI:4 ว่าด้วยกฎระเบียบภายในประเทศ ข้อ XIII ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และข้อ XV ว่าด้วยการอุดหนุนให้เสร็จก่อนสรุปผลการเจรจา แต่ไม่ได้กำหนดวันที่ ควรดำเนินการให้เสร็จสิ้น ยกเว้นเรื่อง safeguards ซึ่งได้มีการกำหนดวันสิ้นสุดการดำเนินงานไว้ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ตามมติของที่ประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2542
2. ส่วนที่ 2 เป็นรายละเอียดของแผนการดำเนินงานขั้นแรกของการเจรจาด้านบริการ อาทิ การประชุมวิสามัญของที่ประชุม Council for Trade in Service (CTS) จะจัด back-to-back กับการประชุมสามัญในเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม ตุลาคม และธันวาคม และกำหนดให้ประเทศสมาชิกยื่นข้อเสนอ (proposals) ต่อที่ประชุมวิสามัญภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2543 ในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาภายใต้ข้อ XIX ของความตกลง GATS เป็นต้น
แผนงานขั้นที่ 2 จะเริ่มต้นด้วยการ stock-taking ในเดือนมีนาคม 2544 โดยที่ประชุมวิสามัญจะพิจารณาความคืบหน้าของการดำเนินงานที่ผ่านมา และผลักดันการดำเนินงานให้คืบหน้าต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-
นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ แถลงว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) โดยนาย ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ที่ผ่านมา มีวาระการรายงานให้ที่ประชุมทราบ เรื่องความคืบหน้าการเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่
1. การแก้ปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย
ที่ประชุมคณะมนตรีทั่วไปสมัยพิเศษเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2543 ได้มีการพิจารณาเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย (implementation) และมีมติเห็นชอบแผนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย (organization of work) โดยกำหนดให้ผู้อำนวยการใหญ่ และประธานคณะมนตรีทั่วไปจัดหารือเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ และรายงานต่อที่ประชุมคณะมนตรีทั่วไปสมัยพิเศษในเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณี ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม วันที่ 18-19 ตุลาคม และ วันที่ 18-19 ธันวาคม 2543 ตามลำดับ ทั้งนี้ให้พิจารณาเรื่องนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 4
2. การเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่
- กลุ่มเคร์นส์ สหรัฐฯ แคนาดา สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาประเทศ นำโดยปากีสถานคิวบา และเอลซาวาดอร์ได้ยื่นข้อเสนอในการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรรอบใหม่ รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ในการประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 ที่ได้มีขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 มิถุนายน 2543 ดังนี้
- กลุ่มเคร์นส์ ได้ยื่นข้อเสนอเรื่องการแข่งขันส่งออก (export competitions) ที่ประชุมส่วนใหญ่ ยกเว้น สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนในหลักการให้ยกเลิกการอุดหนุนส่งออก แต่ยังมีความเห็นแตกต่างในเรื่อง export credit การส่งออกโดยรัฐวิสาหกิจและบทบัญญัติของประเทศกำลังพัฒนา
- แคนาดาได้ยื่นข้อเสนอ เรื่องการเปิดตลาดต่างหากจากกลุ่มเคร์นส์ ที่ประชุมมีข้อสังเกตหลายประเด็น อาทิ zero for zero ในบางสาขา (กลุ่มเคร์นส์ บางประเทศ อาทิ โคลอมเบีย อาเซียน ไม่สนับสนุน) การใช้ TRQ กับรายการที่มีอัตราภาษีสูงมาก จะทำให้เพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น เป็นต้น
- กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 11 ประเทศ อาทิ ปากีสถาน เวเนซูเอลลา คิวบา ศรีลังกา ฯลฯ ยื่นข้อเสนอเรื่อง S&D และ Green Box (การอุดหนุนที่เป็นข้อยกเว้น) ที่ประชุมได้ตอบรับในทางสร้างสรรค์ ถึงแม้ว่าจะไม่เห็นด้วยในบางประเด็นแต่ก็ไม่มีการหยิบยกขึ้น อาทิ ข้อยกเว้นไม่รวมสินค้าที่สำคัญ หรือ staple food ให้กับประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่ต้องเปิดเสรีตามความตกลงเกษตรในทุกด้าน เป็นต้น ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการพิจารณาในรายละเอียด หรือพัฒนาข้อเสนอในเชิงทางเลือกทดแทนข้อเสนอของกลุ่ม 11 ประเทศในการประชุมครั้งต่อๆ ไป
- สหรัฐฯ เสนอเรื่องการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรระยะยาว และรายละเอียดข้อเสนอเรื่องการอุดหนุนภายใน ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความสนใจมาก เนื่องจากครอบคลุมในทุกเรื่อง และเป็นการแสดงท่าทีให้สมาชิกเห็นว่าสหรัฐฯ มีความจริงจังกับการเจรจาเกษตรรอบใหม่ ประเด็นสำคัญในข้อเสนอนี้ คือให้ลดภาษีจากอัตราที่เรียกเก็บจริง ปรับรูปแบบการเจรจาการอุดหนุนภายในใหม่ โดยจัดเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่เป็นข้อยกเว้น (มีหลักเกณฑ์คล้ายของเดิม แต่อาจเพิ่มมาตรการใหม่ๆ เข้าไป) และกลุ่มที่ต้องลดการอุดหนุนลง โดยกำหนดเป้าหมายสุดท้ายให้ลดลงเหลือเป็นสัดส่วนกับมูลค่าการผลิตภายใน (ซึ่งสมาชิกยังไม่มั่นใจว่า จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกันได้ เนื่องจากประเทศที่มีการผลิตมาก อาทิ จีน สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอินเดีย จะได้เปรียบประเทศที่มีการผลิตน้อย) ให้มีกฎเกณฑ์การนำเข้าส่งออกโดยรัฐวิสาหกิจ การเปิดเสรีเร่งด่วนในบางสาขา (sectoral-approach) และสินค้าที่ผลิตโดยเทคโนโลยีใหม่ (new technology)
-สหภาพยุโรป เสนอ 3 เรื่อง คือ Blue Box คุณภาพสินค้า และสวัสดิภาพสัตว์ ที่ประชุมยังไม่ได้พิจารณาข้อเสนอเนื่องจากเวลาจำกัด อย่างไรก็ตาม มีความเห็นที่แตกต่างกัน กล่าวคือ กลุ่มหนึ่ง รวมทั้งญี่ปุ่น เกาหลี สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ จะให้การสนับสนุน ส่วนอีกกลุ่มเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นกลยุทธ์ของสหภาพยุโรปที่เสนอ เพื่อชะลอการเจรจาเกษตรให้มีความยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น
3. การเจรจาการค้าบริการ
ในการประชุมวิสามัญของคณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ประชุมได้ให้การรับรองแผนงานขั้นแรกสำหรับการเจรจาการค้าบริการภายใต้ข้อ XIX ของความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ (GATS)
โดยแผนงานขั้นแรก แบ่งเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยส่วนที่เป็น chapeau และส่วนที่เป็น work programme สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ในส่วน chapeau นั้น เป็นการอ้างถึงวัตถุประสงค์ของความตกลง GATS ที่ระบุไว้ในข้อ IV และข้อ XIX กล่าวคือ การเจรจาการค้าบริการมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีการค้าบริการเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยการลดหรือยกเลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการ ทั้งนี้การเจรจาจะต้องคำนึง ถึงนโยบายภายในและระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศ การให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนา และการกำหนดให้การเจรจาเป็นไปภายใต้โครงสร้างและหลักการปัจจุบันของความตกลง GATS รวมทั้งการกำหนดให้ประเทศสมาชิกดำเนินงานภายใต้ข้อ VI:4 ว่าด้วยกฎระเบียบภายในประเทศ ข้อ XIII ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และข้อ XV ว่าด้วยการอุดหนุนให้เสร็จก่อนสรุปผลการเจรจา แต่ไม่ได้กำหนดวันที่ ควรดำเนินการให้เสร็จสิ้น ยกเว้นเรื่อง safeguards ซึ่งได้มีการกำหนดวันสิ้นสุดการดำเนินงานไว้ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ตามมติของที่ประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2542
2. ส่วนที่ 2 เป็นรายละเอียดของแผนการดำเนินงานขั้นแรกของการเจรจาด้านบริการ อาทิ การประชุมวิสามัญของที่ประชุม Council for Trade in Service (CTS) จะจัด back-to-back กับการประชุมสามัญในเดือนพฤษภาคม กรกฎาคม ตุลาคม และธันวาคม และกำหนดให้ประเทศสมาชิกยื่นข้อเสนอ (proposals) ต่อที่ประชุมวิสามัญภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2543 ในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาภายใต้ข้อ XIX ของความตกลง GATS เป็นต้น
แผนงานขั้นที่ 2 จะเริ่มต้นด้วยการ stock-taking ในเดือนมีนาคม 2544 โดยที่ประชุมวิสามัญจะพิจารณาความคืบหน้าของการดำเนินงานที่ผ่านมา และผลักดันการดำเนินงานให้คืบหน้าต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 282-6623--จบ--
-สส-