ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สรุปผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำเดือนมกราคม 2544 จากแบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 102 ตัวอย่าง ดังนี้ :-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ม.ค. 44 ลดลงจากเดือนก่อน แต่อยู่ในระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ม.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.4 ลดลงจากเดือนก่อน (ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.8) แต่ยังสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ เป็นผลจากปัจจัยลบของความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน การลงทุนโดยรวมและต้นทุนการประกอบการ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการส่งออกกลับดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจคาดว่าจะดีขึ้น โดยจะปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 52.3 ในเดือนหน้า และลดลงเป็นร้อยละ 51.5 ในช่วงมี.ค.-พ.ค. 44 ซึ่งยังสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 48.4 และร้อยละ 46.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเห็นว่าปริมาณสินค้าคงคลังยังคงเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ มีการแข่งขันด้านการตลาดสูงขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 34.4 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 38.8 ลดลงจากเดือนก่อน แสดงว่าภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรงต่อเนื่องจากเดือนก่อน
2.3 ภาวะการเงินเดือน ม.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องในธุรกิจและให้เครดิตแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่มีภาระดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. 44 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง และค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 รัฐบาลใหม่ควรดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสม
3.2 รัฐบาลควรให้ความสำคัญด้านการเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนและการลงทุนภายในประเทศ
3.3 รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาการว่างงาน และภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นของสินค้านำเข้าและสินค้าสาธารณูปโภค
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 29.40 53.90 16.70 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 32.40 52.00 14.70 -
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 23.50 64.70 11.80 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 17.60 69.60 10.80 -
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 27.50 55.80 7.80 5.90
6. แนวโน้มการส่งออก 12.50 37.50 50.00 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 14.70 38.20 18.60 28.40
- สินค้าสำเร็จรูป 21.60 49.00 20.60 8.80
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 42.20 46.10 4.90 6.90
- ต่างประเทศ 42.40 45.50 12.10 -
3. ภาวะการเงินเดือน ม.ค. 44
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 14.70 62.70 7.80 14.70
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 10.80 63.70 15.70 9.80
- สภาพคล่อง 13.70 61.80 15.70 8.80
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน มี.ค.-พ.ค. 44
เทียบกับเดือน ม.ค. 44
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 5.90 62.70 20.60 10.80
- ค่าเงินบาท (เทียบกับดอลลาร์) 26.60 46.10 15.70 11.80
- สภาพคล่อง 18.60 52.00 15.70 13.70
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ม.ค. 44 ลดลงจากเดือนก่อน แต่อยู่ในระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพและมีแนวโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ม.ค. 44 อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.4 ลดลงจากเดือนก่อน (ซึ่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.8) แต่ยังสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจจะมีเสถียรภาพ เป็นผลจากปัจจัยลบของความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ ด้านอำนาจซื้อของประชาชน การลงทุนโดยรวมและต้นทุนการประกอบการ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการส่งออกกลับดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจคาดว่าจะดีขึ้น โดยจะปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 52.3 ในเดือนหน้า และลดลงเป็นร้อยละ 51.5 ในช่วงมี.ค.-พ.ค. 44 ซึ่งยังสูงกว่าระดับที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจแต่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
2.1 ปริมาณสินค้าคงคลัง ในเดือนนี้ปริมาณสินค้าที่เป็นวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ลดลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 48.4 และร้อยละ 46.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเห็นว่าปริมาณสินค้าคงคลังยังคงเท่าเดิม
2.2 การแข่งขันทางธุรกิจ มีการแข่งขันด้านการตลาดสูงขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศอยู่ที่ระดับร้อยละ 34.4 และดัชนีการแข่งขันทางธุรกิจส่งออกอยู่ที่ระดับร้อยละ 38.8 ลดลงจากเดือนก่อน แสดงว่าภาวะการแข่งขันยังคงรุนแรงต่อเนื่องจากเดือนก่อน
2.3 ภาวะการเงินเดือน ม.ค. 44 ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องในธุรกิจและให้เครดิตแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน แต่มีภาระดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น
2.4 ตลาดเงินช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. 44 คาดว่าสภาพคล่องจะเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. 44 ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง และค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
3. ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อภาครัฐ
3.1 รัฐบาลใหม่ควรดำเนินนโยบายอย่างเหมาะสม
3.2 รัฐบาลควรให้ความสำคัญด้านการเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนและการลงทุนภายในประเทศ
3.3 รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาการว่างงาน และภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นของสินค้านำเข้าและสินค้าสาธารณูปโภค
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
องค์ประกอบดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ไม่ตอบ
1. สถานะเศรษฐกิจหรือผลประกอบการธุรกิจ 29.40 53.90 16.70 -
2. อำนาจซื้อของประชาชน 32.40 52.00 14.70 -
3. การลงทุนโดยรวมในธุรกิจ 23.50 64.70 11.80 -
4. การจ้างงานในธุรกิจ 17.60 69.60 10.80 -
เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
5. ต้นทุนการประกอบการโดยรวมในธุรกิจ 27.50 55.80 7.80 5.90
6. แนวโน้มการส่งออก 12.50 37.50 50.00 -
ความเห็นของผู้ประกอบการต่อตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
(ร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม)
ตัวแปรอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เพิ่มขึ้น เท่าเดิม ลดลง ไม่ตอบ
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง
- วัตถุดิบ 14.70 38.20 18.60 28.40
- สินค้าสำเร็จรูป 21.60 49.00 20.60 8.80
2. การแข่งขันธุรกิจด้านการตลาดและหรือด้านราคา
- ในประเทศ 42.20 46.10 4.90 6.90
- ต่างประเทศ 42.40 45.50 12.10 -
3. ภาวะการเงินเดือน ม.ค. 44
- ภาระดอกเบี้ยเงินกู้ 14.70 62.70 7.80 14.70
- การให้เครดิตแก่ลูกค้า 10.80 63.70 15.70 9.80
- สภาพคล่อง 13.70 61.80 15.70 8.80
4. แนวโน้มตลาดเงินที่คาดไว้ในเดือน มี.ค.-พ.ค. 44
เทียบกับเดือน ม.ค. 44
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 5.90 62.70 20.60 10.80
- ค่าเงินบาท (เทียบกับดอลลาร์) 26.60 46.10 15.70 11.80
- สภาพคล่อง 18.60 52.00 15.70 13.70
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-