แท็ก
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราเงินเฟ้อ
ทีดีอาร์ไอ
ข่าวในประเทศ
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินวิเคราะห์ผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน เมื่อ 29 ส.ค.43 ว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนว่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อหรือไม่ เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้มาก โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 5 ก.ย. นี้ จะพิจารณาว่าควรจะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินที่ใช้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วันที่ระดับร้อยละ 1.5 หรือไม่ ซึ่งต้องรอดูปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน และค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงยังไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อมากนัก เพราะสินค้าในกลุ่มที่ไม่ใช้น้ำมันยังไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนการอ่อนตัวลงของค่าเงินเยนและเงินยูโร ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการส่งออก เนื่องจากขณะนี้ไทยยังสามารถแข่งขันในด้านการส่งออกได้ สำหรับอัตราเงินเฟ้อในช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้า จะยังคงอยู่ที่ระดับเป้าหมายร้อยละ 0-3.5 ยกเว้นไตรมาสที่ 4 ปี 44 ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 1-1.5 และปี 44 จะอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 2-3 ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 43 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2 และปี 44 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2.5 ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยอาร์พีระยะ 14 วัน ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5 ต่อปีต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ 30)
2. เอสแอนด์พีแสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของไทย ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ของบริษัทจัดอันดับเครดิตสแตนดาร์ดแอนด์พัวส์ (เอสแอนด์พี) แสดงความเห็นในที่ประชุมนักลงทุนที่นิวยอร์กถึงภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของภาคการเงินการธนาคารไทยหลังเกิดวิกฤตการณ์การเงินว่า ยังไม่ฟื้นตัวมากเท่าที่ควรจะเป็น เพราะเอ็นพีแอลในระบบธนาคารอาจสูงกว่าที่มีรายงานว่าอยู่ในระดับร้อยละ 37 ของยอดสินเชื่อ และเมื่อพิจารณาจากกรณีที่ว่าเอ็นพีแอลที่ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างแล้วจะกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกถึงร้อยละ 20 ขณะที่ทางการไทยยังมิได้ดำเนินการออกกฎหมายบังคับให้ต้องเปิดเผยหนี้ที่มีปัญหา ทำให้เอ็นพีแอลของไทยทั้งระบบอาจไม่ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 7 ภายในสิ้นปี 43 ตามการคาดหมายของทางการ อนึ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.มอร์ริล ลินซ์ ภัทร วิเคราะห์ว่า ณ สิ้นปี 43 เอ็นพีแอลที่จะกลับมาเป็นเอ็นพีแอลรอบใหม่นั้นจะมีเพียงร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลหนี้ 1.5 หมื่น ล.บาท/เดือน (มติชน 30)
3. ก.อุตสาหกรรมเปิดเผยยอดการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจเอสเอ็มอี แหล่งข่าวจาก ก.อุตสาหกรรมเปิดเผยถึงยอดการปล่อยสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ของสถาบันการเงินที่รัฐกำกับในรอบ 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.43) ว่ามีจำนวน 15,996 ล.บาท ให้แก่ผู้ประกอบการ 22,211 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.55 ของวงเงินทั้งหมด โดยการปล่อยสินเชื่อในเดือน ก.ค.43 มีจำนวน 2,199.14 ล.บาท จากวงเงินเป้าหมายในปีนี้ 46,300 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 30)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการขายบ้านใหม่ของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ยอดการขายบ้านใหม่ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 อยู่ที่จำนวน 944,000 หลังต่อปี จากจำนวน 823,000 หลัง ในเดือน มิ.ย. 43 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 7 ปีตั้งแต่เดือน เม.ย. 36 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นจำนวน 833,000 หลัง จากรายงานครั้งนี้ ชี้ว่า ถึงแม้ ธ. กลางได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 6 ครั้งนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 42 เพื่อชะลดเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างร้อนแรง แต่การซื้อบ้านของผู้บริโภคก็ยังคงอยู่ในระดับสูง (รอยเตอร์ 29)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของเยอรมนีเติบโตร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลและปฏิทิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากไตรมาสแรกปี 43 และตัวเลขที่ยังไม่ได้ปรับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นไปตามการคาดหมายของตลาดและประมาณการก่อนหน้านี้ของ ธ. กลางเยอรมนี ทั้งนี้ จากรายงานดังกล่าว ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อนโยบายของ ธ. กลางยุโรป ที่คาดกันอย่างกว้างขวางว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 31 ส.ค. 43 (รอยเตอร์ 29)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 141.1ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 43 Conference Board เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม ลดลงอยู่ที่ระดับ 141.1 จากตัวเลขที่ปรับแล้วในเดือน ก.ค. 43 อยู่ที่ระดับ 143.0 ส่วนดัชนนีภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 183.4 ลดลงจากระดับ 186.8 ในเดือน ก.ค. 43 ขณะเดียวกัน ในเดือน ส.ค. 43 ดัชนีการคาดหวัง อยู่ที่ระดัย 113.0 ลดลงจากระดับ 113.7 ในเดือน ก.ค. 43 จากรายงานครั้งนี้ ชี้ว่า ความเชื่อมั่นของคนอเมริกัน ที่เคยขึ้นสูงสุดทำลายสถิติได้ชะลอตัวลงในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากคนหางานทำได้ยากขึ้น และภาวะธุรกิจมีความไม่แน่นอน (รอยเตอร์ 29)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 43 ก. การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (MITI) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือน มิ.ย. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ซึ่งตรงข้ามกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 0.2 โดยมีช่วงระหว่างลดลงร้อยละ 0.5 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ยังไม่ปรับตัวเลข เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบต่อปี (รอยเตอร์ 30)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 29ส.ค. 43 40.846(40.776)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 29ส.ค.43 ซื้อ 40.6499 (40.5586) ขาย 40.9540 (40.8657)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.28(28.33)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินวิเคราะห์ผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน เมื่อ 29 ส.ค.43 ว่า ที่ประชุมได้วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยนว่าจะส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อหรือไม่ เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้มาก โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 5 ก.ย. นี้ จะพิจารณาว่าควรจะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินที่ใช้อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) 14 วันที่ระดับร้อยละ 1.5 หรือไม่ ซึ่งต้องรอดูปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน และค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงยังไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อมากนัก เพราะสินค้าในกลุ่มที่ไม่ใช้น้ำมันยังไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนการอ่อนตัวลงของค่าเงินเยนและเงินยูโร ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการส่งออก เนื่องจากขณะนี้ไทยยังสามารถแข่งขันในด้านการส่งออกได้ สำหรับอัตราเงินเฟ้อในช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้า จะยังคงอยู่ที่ระดับเป้าหมายร้อยละ 0-3.5 ยกเว้นไตรมาสที่ 4 ปี 44 ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 1-1.5 และปี 44 จะอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 2-3 ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยปี 43 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2 และปี 44 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.5-2.5 ทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงินยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยอาร์พีระยะ 14 วัน ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5 ต่อปีต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ 30)
2. เอสแอนด์พีแสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของไทย ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ของบริษัทจัดอันดับเครดิตสแตนดาร์ดแอนด์พัวส์ (เอสแอนด์พี) แสดงความเห็นในที่ประชุมนักลงทุนที่นิวยอร์กถึงภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของภาคการเงินการธนาคารไทยหลังเกิดวิกฤตการณ์การเงินว่า ยังไม่ฟื้นตัวมากเท่าที่ควรจะเป็น เพราะเอ็นพีแอลในระบบธนาคารอาจสูงกว่าที่มีรายงานว่าอยู่ในระดับร้อยละ 37 ของยอดสินเชื่อ และเมื่อพิจารณาจากกรณีที่ว่าเอ็นพีแอลที่ได้รับการปรับปรุงโครงสร้างแล้วจะกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีกถึงร้อยละ 20 ขณะที่ทางการไทยยังมิได้ดำเนินการออกกฎหมายบังคับให้ต้องเปิดเผยหนี้ที่มีปัญหา ทำให้เอ็นพีแอลของไทยทั้งระบบอาจไม่ลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 7 ภายในสิ้นปี 43 ตามการคาดหมายของทางการ อนึ่ง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.มอร์ริล ลินซ์ ภัทร วิเคราะห์ว่า ณ สิ้นปี 43 เอ็นพีแอลที่จะกลับมาเป็นเอ็นพีแอลรอบใหม่นั้นจะมีเพียงร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลหนี้ 1.5 หมื่น ล.บาท/เดือน (มติชน 30)
3. ก.อุตสาหกรรมเปิดเผยยอดการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจเอสเอ็มอี แหล่งข่าวจาก ก.อุตสาหกรรมเปิดเผยถึงยอดการปล่อยสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ของสถาบันการเงินที่รัฐกำกับในรอบ 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.43) ว่ามีจำนวน 15,996 ล.บาท ให้แก่ผู้ประกอบการ 22,211 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.55 ของวงเงินทั้งหมด โดยการปล่อยสินเชื่อในเดือน ก.ค.43 มีจำนวน 2,199.14 ล.บาท จากวงเงินเป้าหมายในปีนี้ 46,300 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ 30)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการขายบ้านใหม่ของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ยอดการขายบ้านใหม่ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 อยู่ที่จำนวน 944,000 หลังต่อปี จากจำนวน 823,000 หลัง ในเดือน มิ.ย. 43 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 7 ปีตั้งแต่เดือน เม.ย. 36 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นจำนวน 833,000 หลัง จากรายงานครั้งนี้ ชี้ว่า ถึงแม้ ธ. กลางได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 6 ครั้งนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 42 เพื่อชะลดเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างร้อนแรง แต่การซื้อบ้านของผู้บริโภคก็ยังคงอยู่ในระดับสูง (รอยเตอร์ 29)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของเยอรมนีเติบโตร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลและปฏิทิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากไตรมาสแรกปี 43 และตัวเลขที่ยังไม่ได้ปรับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งเป็นไปตามการคาดหมายของตลาดและประมาณการก่อนหน้านี้ของ ธ. กลางเยอรมนี ทั้งนี้ จากรายงานดังกล่าว ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อนโยบายของ ธ. กลางยุโรป ที่คาดกันอย่างกว้างขวางว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 31 ส.ค. 43 (รอยเตอร์ 29)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 141.1ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 43 Conference Board เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม ลดลงอยู่ที่ระดับ 141.1 จากตัวเลขที่ปรับแล้วในเดือน ก.ค. 43 อยู่ที่ระดับ 143.0 ส่วนดัชนนีภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 183.4 ลดลงจากระดับ 186.8 ในเดือน ก.ค. 43 ขณะเดียวกัน ในเดือน ส.ค. 43 ดัชนีการคาดหวัง อยู่ที่ระดัย 113.0 ลดลงจากระดับ 113.7 ในเดือน ก.ค. 43 จากรายงานครั้งนี้ ชี้ว่า ความเชื่อมั่นของคนอเมริกัน ที่เคยขึ้นสูงสุดทำลายสถิติได้ชะลอตัวลงในเดือน ส.ค. 43 เนื่องจากคนหางานทำได้ยากขึ้น และภาวะธุรกิจมีความไม่แน่นอน (รอยเตอร์ 29)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 43 ก. การค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (MITI) เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 0.7 จากเดือน มิ.ย. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ซึ่งตรงข้ามกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 0.2 โดยมีช่วงระหว่างลดลงร้อยละ 0.5 ถึงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ค. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ยังไม่ปรับตัวเลข เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบต่อปี (รอยเตอร์ 30)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 29ส.ค. 43 40.846(40.776)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 29ส.ค.43 ซื้อ 40.6499 (40.5586) ขาย 40.9540 (40.8657)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.28(28.33)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-