ในการประชุมรัฐมนตรีการค้าไทย-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 รัฐมนตรีทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตกลงร่วมมือกันศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี โดยมอบหมายให้หน่วยงานของแต่ละฝ่ายเป็นผู้ทำการศึกษาวิจัยและพบปะหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวนโยบายข้อตกลงการค้าเสรี (ภายใต้ กนศ.) ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ (กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์) ดำเนินการในเรื่องการศึกษาวิจัยในส่วนของไทย
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ จึงได้ตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสำนักต่างๆ ภายในกรมฯ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลดี/ผลเสีย ปัญหาอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการเจรจา ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี โดยกรมฯ ได้แต่งตั้งที่ปรึกษาโครงการซึ่งประกอบด้วย นักวิชาการ ส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวม 7 ท่าน เพื่อพิจารณาและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยดังกล่าวด้วย
สรุปผลการศึกษา ดังนี้
(1) ภาคเกษตรยังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของทั้งไทยและเกาหลี เนื่องจากสาขาเกษตรของไทยมีสัดส่วน 11.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (ปี 1997) และแรงงานในภาคเกษตรของไทยมีประมาณ 49.9% ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ขณะที่ภาคเกษตรของเกาหลีมีสัดส่วน 5.7% ของของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (ปี 1997) และแรงงานในภาคเกษตรมีประมาณ 10.8% ของจำนวนแรงงานทั้งหมด
ดังนั้น การทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันจะต้องพิจารณาผลของการเปิดเสรีภาคเกษตรอย่างรอบคอบ โดยคาดว่าไทยจะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรมากกว่าเกาหลี
(2) โครงสร้างการผลิตของทั้งสองประเทศไม่แข่งขันกัน ในภาคเกษตร ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรเขตร้อน เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย ในขณะที่เกาหลีปลูกพืชผักผลไม้เขตอบอุ่นและผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ สำหรับสินค้าเกษตรที่ทั้งสองประเทศผลิตเหมือนกัน คือ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง สุกร ไก่ ไข่ไก่ โค และผลิตภัณฑ์นม
ในส่วนของสินค้าอุตสาหกรรม ไทยผลิตและส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงมาก ในขณะที่เกาหลีผลิตและส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ากว่าไทย
(3) ขนาดตลาดทั้งสองประเทศใหญ่พอสมควร ถึงแม้เกาหลีมีประชากรน้อยกว่าไทย แต่มีอำนาจซื้อสูงกว่าไทยประมาณ 3 เท่า ขณะที่ไทยเป็นสมาชิกอาเซียนซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน ดังนั้น คาดว่าเกาหลีจะได้ประโยชน์จากการทำเขตการค้าเสรีมากกว่าไทย ในด้านการขยายตลาดสินค้าไปยังอาเซียน
(4) การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศของไทยและเกาหลีคิดเป็น 87.3% และ 70.3% ของ GDP ในปี 1999 ตามลำดับ การทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันเพื่อขยายการส่งออก จึงน่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ
(5) ไทยและเกาหลีไม่ได้เป็นคู่ค้าสำคัญต่อกัน เนื่องจากการค้าของไทยและเกาหลีคิดเป็นร้อยละ 2.46 ของการค้ารวมของไทย (ปี 1999) ขณะที่การค้าของเกาหลีกับไทยคิดเป็นร้อยละ 1.06 ของการค้ารวมของเกาหลี
(6) สินค้าเกษตรมีความสำคัญต่อการส่งออกของไทยไปยังเกาหลี เนื่องจากไทยส่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไปยังเกาหลีร้อยละ 24.5 ของการส่งออกรวมของไทย แต่สินค้าเกษตรมีความสำคัญต่อการส่งออกของเกาหลีน้อยมาก เพราะเกาหลีส่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมายังไทยเพียงร้อยละ 4.0 นอกนั้นเป็นสินค้าอุตสาหกรรม จึงมีความเป็นไปได้สูงที่เกาหลีจะไม่ให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดสินค้าเกษตร
(7) อัตราภาษีสินค้าโดยเฉลี่ยของไทยต่ำกว่าเกาหลี ในปี 2542 อัตราภาษีเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของไทยและเกาหลีเท่ากับร้อยละ 3.94 และ 4.79 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราภาษีสินค้า อุตสาหกรรมที่ผูกพันเฉลี่ยของไทยร้อยละ 35.9 (ปี 2004) ของเกาหลีร้อยละ 8.2 (ปี 2000) ในขณะที่อัตราภาษีสินค้าเกษตรที่ผูกพันเฉลี่ยของไทยร้อยละ 32.0 (ปี 2004) ของเกาหลีร้อยละ 62.8 (ปี 2000) หากการทำเขตการค้าเสรีไม่รวมเรื่องสินค้าเกษตร ไทยจะได้ประโยชน์น้อยมาก
(8) มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นมาตรการที่ใช้กับสินค้าเกษตรและประมง หากมีการทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับเกาหลี การแก้ปัญหามาตรการสุขอนามัยอาจทำได้ง่ายขึ้น แม้ว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวอาจทำในเวทีอื่นๆ เช่น ทวิภาคี เอเปค ได้เช่นกัน สำหรับมาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตร (ข้าว แป้งข้าวเจ้า เป็นต้น) และมาตรการที่อนุญาตให้นำเข้าไปใช้ในอุตสาหกรรมเพียงบางประเภท (แป้งมันสำปะหลัง มันเส้น ลำใยอบแห้ง เป็นต้น) คาดว่าคงต้องแก้ไขในภาพรวม โดยเจรจาภายใต้ WTO เพราะเกาหลีคงไม่สามารถให้สิทธิพิเศษกับไทยมากกว่าประเทศอื่นๆ
(9) สภาวะแวดล้อมทางการค้าโลก WTO จะต้องเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรต่อในปี 2000 แม้ว่าไทยจะไม่ได้ทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับเกาหลี ไทยก็จะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของเกาหลีภายใต้ WTO ในระดับหนึ่ง
การดำเนินการภายใต้ APEC เกาหลีจะเปิดเสรีในปี 2020 เช่นเดียวกับไทยตามกำหนดการเดิม ซึ่งไทยจะไม่ได้รับประโยชน์มากเท่ากับที่เกาหลีควรจะต้องเปิดเสรีภายใต้ APEC ในปี 2010 ตามระดับการพัฒนาของเกาหลีในปัจจุบัน หากการดำเนินการภายใต้ APEC เป็นผลสำเร็จ ถึงแม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีผลคืบหน้ามากนัก
การดำเนินการภายใต้อาเซียน ไม่เป็นอุปสรรคกับไทยในการทำเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่น เนื่องจากไทยต้องลดภาษีลงเหลือ 0-5% ในปี 2003
(10) ความเห็น
(ก) มีความเป็นไปได้ที่ไทยจะทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับเกาหลี เนื่องจากโครงสร้างการผลิตและการค้าของทั้งสองประเทศไม่แข่งขันกัน
ไทยควรทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับเกาหลี หากเกาหลีมีนโยบายเปิดตลาดสินค้าเกษตรด้วย
(ค) ไทยควรให้ความสำคัญกับการยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังสาธารณรัฐเกาหลี
(ง) หากไทยทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับเกาหลี ควรเริ่มจากการเจรจาเปิดตลาดสินค้าก่อน แล้วจึงขยายไปสู่การเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ซึ่งไทยมีความพร้อมน้อยกว่าเกาหลี
(จ) เขตการค้าเสรีระหว่างไทย-เกาหลี ควรดำเนินการภายหลัง ปี 2003 ซึ่งไทยต้องลดภาษีภายใต้อาฟตาลงเหลือ 0-5% (เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงของอาฟตา ซึ่งต้องลดภาษีให้กับประเทศสมาชิกด้วยกันมากกว่าลดภาษีให้กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวนโยบายข้อตกลงการค้าเสรี (ภายใต้ กนศ.) ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ (กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์) ดำเนินการในเรื่องการศึกษาวิจัยในส่วนของไทย
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ จึงได้ตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนสำนักต่างๆ ภายในกรมฯ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลดี/ผลเสีย ปัญหาอุปสรรค รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการเจรจา ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี โดยกรมฯ ได้แต่งตั้งที่ปรึกษาโครงการซึ่งประกอบด้วย นักวิชาการ ส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวม 7 ท่าน เพื่อพิจารณาและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยดังกล่าวด้วย
สรุปผลการศึกษา ดังนี้
(1) ภาคเกษตรยังมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของทั้งไทยและเกาหลี เนื่องจากสาขาเกษตรของไทยมีสัดส่วน 11.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (ปี 1997) และแรงงานในภาคเกษตรของไทยมีประมาณ 49.9% ของจำนวนแรงงานทั้งหมด ขณะที่ภาคเกษตรของเกาหลีมีสัดส่วน 5.7% ของของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (ปี 1997) และแรงงานในภาคเกษตรมีประมาณ 10.8% ของจำนวนแรงงานทั้งหมด
ดังนั้น การทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันจะต้องพิจารณาผลของการเปิดเสรีภาคเกษตรอย่างรอบคอบ โดยคาดว่าไทยจะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรมากกว่าเกาหลี
(2) โครงสร้างการผลิตของทั้งสองประเทศไม่แข่งขันกัน ในภาคเกษตร ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรเขตร้อน เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย ในขณะที่เกาหลีปลูกพืชผักผลไม้เขตอบอุ่นและผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ สำหรับสินค้าเกษตรที่ทั้งสองประเทศผลิตเหมือนกัน คือ ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง สุกร ไก่ ไข่ไก่ โค และผลิตภัณฑ์นม
ในส่วนของสินค้าอุตสาหกรรม ไทยผลิตและส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงมาก ในขณะที่เกาหลีผลิตและส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีก้าวหน้ากว่าไทย
(3) ขนาดตลาดทั้งสองประเทศใหญ่พอสมควร ถึงแม้เกาหลีมีประชากรน้อยกว่าไทย แต่มีอำนาจซื้อสูงกว่าไทยประมาณ 3 เท่า ขณะที่ไทยเป็นสมาชิกอาเซียนซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน ดังนั้น คาดว่าเกาหลีจะได้ประโยชน์จากการทำเขตการค้าเสรีมากกว่าไทย ในด้านการขยายตลาดสินค้าไปยังอาเซียน
(4) การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศของไทยและเกาหลีคิดเป็น 87.3% และ 70.3% ของ GDP ในปี 1999 ตามลำดับ การทำเขตการค้าเสรีระหว่างกันเพื่อขยายการส่งออก จึงน่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ
(5) ไทยและเกาหลีไม่ได้เป็นคู่ค้าสำคัญต่อกัน เนื่องจากการค้าของไทยและเกาหลีคิดเป็นร้อยละ 2.46 ของการค้ารวมของไทย (ปี 1999) ขณะที่การค้าของเกาหลีกับไทยคิดเป็นร้อยละ 1.06 ของการค้ารวมของเกาหลี
(6) สินค้าเกษตรมีความสำคัญต่อการส่งออกของไทยไปยังเกาหลี เนื่องจากไทยส่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไปยังเกาหลีร้อยละ 24.5 ของการส่งออกรวมของไทย แต่สินค้าเกษตรมีความสำคัญต่อการส่งออกของเกาหลีน้อยมาก เพราะเกาหลีส่งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมายังไทยเพียงร้อยละ 4.0 นอกนั้นเป็นสินค้าอุตสาหกรรม จึงมีความเป็นไปได้สูงที่เกาหลีจะไม่ให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดสินค้าเกษตร
(7) อัตราภาษีสินค้าโดยเฉลี่ยของไทยต่ำกว่าเกาหลี ในปี 2542 อัตราภาษีเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของไทยและเกาหลีเท่ากับร้อยละ 3.94 และ 4.79 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราภาษีสินค้า อุตสาหกรรมที่ผูกพันเฉลี่ยของไทยร้อยละ 35.9 (ปี 2004) ของเกาหลีร้อยละ 8.2 (ปี 2000) ในขณะที่อัตราภาษีสินค้าเกษตรที่ผูกพันเฉลี่ยของไทยร้อยละ 32.0 (ปี 2004) ของเกาหลีร้อยละ 62.8 (ปี 2000) หากการทำเขตการค้าเสรีไม่รวมเรื่องสินค้าเกษตร ไทยจะได้ประโยชน์น้อยมาก
(8) มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของไทยส่วนใหญ่เป็นมาตรการที่ใช้กับสินค้าเกษตรและประมง หากมีการทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับเกาหลี การแก้ปัญหามาตรการสุขอนามัยอาจทำได้ง่ายขึ้น แม้ว่าการแก้ปัญหาดังกล่าวอาจทำในเวทีอื่นๆ เช่น ทวิภาคี เอเปค ได้เช่นกัน สำหรับมาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตร (ข้าว แป้งข้าวเจ้า เป็นต้น) และมาตรการที่อนุญาตให้นำเข้าไปใช้ในอุตสาหกรรมเพียงบางประเภท (แป้งมันสำปะหลัง มันเส้น ลำใยอบแห้ง เป็นต้น) คาดว่าคงต้องแก้ไขในภาพรวม โดยเจรจาภายใต้ WTO เพราะเกาหลีคงไม่สามารถให้สิทธิพิเศษกับไทยมากกว่าประเทศอื่นๆ
(9) สภาวะแวดล้อมทางการค้าโลก WTO จะต้องเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรต่อในปี 2000 แม้ว่าไทยจะไม่ได้ทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับเกาหลี ไทยก็จะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของเกาหลีภายใต้ WTO ในระดับหนึ่ง
การดำเนินการภายใต้ APEC เกาหลีจะเปิดเสรีในปี 2020 เช่นเดียวกับไทยตามกำหนดการเดิม ซึ่งไทยจะไม่ได้รับประโยชน์มากเท่ากับที่เกาหลีควรจะต้องเปิดเสรีภายใต้ APEC ในปี 2010 ตามระดับการพัฒนาของเกาหลีในปัจจุบัน หากการดำเนินการภายใต้ APEC เป็นผลสำเร็จ ถึงแม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีผลคืบหน้ามากนัก
การดำเนินการภายใต้อาเซียน ไม่เป็นอุปสรรคกับไทยในการทำเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่น เนื่องจากไทยต้องลดภาษีลงเหลือ 0-5% ในปี 2003
(10) ความเห็น
(ก) มีความเป็นไปได้ที่ไทยจะทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับเกาหลี เนื่องจากโครงสร้างการผลิตและการค้าของทั้งสองประเทศไม่แข่งขันกัน
ไทยควรทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับเกาหลี หากเกาหลีมีนโยบายเปิดตลาดสินค้าเกษตรด้วย
(ค) ไทยควรให้ความสำคัญกับการยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังสาธารณรัฐเกาหลี
(ง) หากไทยทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับเกาหลี ควรเริ่มจากการเจรจาเปิดตลาดสินค้าก่อน แล้วจึงขยายไปสู่การเปิดเสรีภาคบริการและการลงทุน ซึ่งไทยมีความพร้อมน้อยกว่าเกาหลี
(จ) เขตการค้าเสรีระหว่างไทย-เกาหลี ควรดำเนินการภายหลัง ปี 2003 ซึ่งไทยต้องลดภาษีภายใต้อาฟตาลงเหลือ 0-5% (เพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงของอาฟตา ซึ่งต้องลดภาษีให้กับประเทศสมาชิกด้วยกันมากกว่าลดภาษีให้กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-