เศรษฐกิจจังหวัด ผู้จัดการบริการ :อุษณี(074-245712) ตรัง
เศรษฐกิจของจังหวัดตรังในปี 2543 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปลายปีก่อน ปริมาณ เงินสดหมุนเวียนผ่านสถาบันการเงินในจังหวัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากยางพืชเศรษฐกิจที่สำคัญราคาปรับ สูงขึ้น ประกอบกับกุ้งกุลาดำราคาอยู่ในระดับสูง ทำให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันทางด้านการท่องเที่ยวดีขึ้น ทำให้การใช้จ่ายในจังหวัดคึกคักขึ้นจากปีก่อน นอกจากนี้ทางด้านการลงทุนของภาคเอกชนก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ทางด้านการคลังการใช้จ่ายกลับลดลง จากการลดการใช้จ่ายของรัฐบาล สำหรับสถาบันการเงินยังไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเข้าระบบมากนัก และราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวได้ไม่ดีนัก
ภาคการเกษตร
ยางพารา ผลผลิตยางพาราของจังหวัดตรังเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แม้ว่าในช่วงต้นปีจะมีฝนตกชุกทำให้กรีดยางได้น้อย แต่นับตั้งแต่กลางปีเป็นต้นมาสภาพอากาศเอื้ออำนวย ทำให้สามารถกรีดยางได้มากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดจึงมีมากกว่าปีก่อน ขณะเดียวกันทางด้านราคาก็ขยับตัวสูงขึ้น โดยในปีนี้ยางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.88 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.8
ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตในปีนี้ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย นอกจากนี้ทางด้านราคาก็ปรับตัวลดลง โดยราคาปาล์มทั้งทะลายที่เกษตรกรขายได้ในปีนี้เฉลี่ยเพียงกิโลกรัมละ 1.93 บาท ลดลงจากปีก่อนถึงร้อยละ 21.9
การประมง ในปีนี้ภาวะการจับสัตว์น้ำชะลอตัวลง เนื่องจากราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้น ประกอบกับราคาสัตว์น้ำลดลง ส่งผลให้เรือประมงออกจับสัตว์น้ำลดลง
แต่การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำกลับคึกคักขึ้น เนื่องจากผลผลิตกุ้งของประเทศเอควาดอร์ ผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ลดลง ทำให้ราคากุ้งกุลาดำในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพิ่มขึ้น โดยในปีนี้ราคากุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัมราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 382.94 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.1
นอกภาคการเกษตร
การค้า ในปีนี้การใช้จ่ายของเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากราคายางพาราและราคากุ้งกุลาดำที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะการท่องเที่ยวที่คึกคักขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ประกอบกับในปีนี้ผู้ประกอบการได้มีการจัดการส่งเสริมการขาย โดยการจูงใจผู้บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะเวลาผ่อนชำระนาน ทำให้ยอดการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในปีนี้การจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 401 คัน 793 คัน และ 15,483 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 51.3 23.7 และ 98.7 ตามลำดับ
การส่งออก-นำเข้า ในปีนี้การส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดตรังคึกคักขึ้น สินค้าส่งออกมีมูลค่ารวม 1,901.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.4 สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ยางพารา จำนวน 28,825.1 เมตริตัน มูลค่า 734.5 ล้านบาท แร่ยิปซั่มจำนวน 894,858 เมตริกตัน มูลค่า 449.6 ล้านบาท และสัตว์น้ำจำนวน 35,975 เมตริตัน มูลค่า 515.3 ล้านบาท ส่วนทางด้าน สินค้านำเข้ามีมูลค่า 350.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 62.3 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์และถ่านหิน
การลงทุน ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยในปีนี้มีกิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวน 8 ราย เงินลงทุน 457.6 ล้านบาท และว่าจ้างแรงงาน 1,939 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 33.3 16.0 และ113.8 ตามลำดับ กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีนี้ ได้แก่กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ยางจำนวน 4 ราย กิจการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งจำนวน 2 ราย และกิจการผลิตน้ำมันปาล์มจำนวน 2 ราย
ทางด้านการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลในปีนี้มีจำนวน 77 ราย ทุนจดทะเบียน 101.3 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนจำนวนรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ขณะที่ทุนจดทะเบียนลดลงร้อยละ 26.7 กิจการที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนในปีนี้ เช่น กิจการค้ายางพารา กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง กิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และกิจการร้านอาหาร
สำหรับการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขต เทศบาลในปีนี้มีจำนวน 62,570 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 51.1 ทั้งนี้เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 40,464 ตารางเมตร พื้นที่เพื่อการพาณิชย์ 3,978 ตารางเมตร พื้นที่เพื่อการบริการ 10,302 ตารางเมตร และพื้นที่ก่อสร้างเพื่อวัตถุประสงค์อื่น 7,826 ตารางเมตร
การจ้างงาน ในปีนี้สถานการณ์การจ้างงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัด มี ตำแหน่งงานว่าง 2,462 อัตรา ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 30.1 ผู้สมัครงานจำนวน 3,880 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 และการบรรจุงานมีจำนวน 1,262 คน ลดลงร้อยละ18.7
การคลัง ในปีนี้ส่วนราชการในจังหวัดตรังเบิกเงินงบประมาณจากสำนักงานคลังจังหวัดจำนวน 4,679.0 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.8 เนื่องจากรัฐบาลลดงบประมาณรายจ่ายลง ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณตามมาตราการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มาตราการมิยาซาว่า) มีจำนวน 25.5 ล้านบาท ลดลงจาก 266.5 ล้านบาทในปีก่อน สำหรับรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่สำคัญมีจำนวนรวม 491.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.8 เป็นภาษีสรรพากร 488.0 ล้านบาท สรรพสามิต 1.0 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 2.9 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 13.0 และ 16.7 ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 สำหรับสาเหตุที่จัดเก็บภาษีสรรพากรได้ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากลดลงด้วย
การเงินการธนาคาร ในปีนี้ปริมาณการเบิกจ่ายและนำฝากเงินสดที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินสดที่ผู้แทน ฯ รับจากสถาบันการเงินมีจำนวน 5,963.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.0 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเงินสดที่สถาบันการเงินเบิกเพื่อนำไปสำรองปัญหา Y2K ในช่วงปลายปีก่อน ส่วนปริมาณเงินสดที่ผู้แทนฯ จ่ายให้กับสถาบันการเงินมีจำนวน 7,162.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ0.1
ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 282,410 ฉบับ มูลค่า 19,856.3 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนทั้งจำนวนฉบับและมูลค่ามีจำนวนใกล้เคียงกัน
สำหรับการดำเนินงานของสาขาธนาคารพาณิชย์ ในปีนี้สาขาธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับที่ต่ำมาก โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 | 6 เดือน ณ สิ้นเดือนธันวาคมเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 ต่อปี ลดลงจากปลายปีก่อนร้อยละ 0.75 แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากประชาชนไม่มีทางเลือกในการออมประกอบกับยังไม่มั่นใจในความมั่นคงของรายได้ ทำให้เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ยังคง ปรับตัวสูงขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคมสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตรังมีเงินฝากคงค้างจำนวน 17,662.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเวลาเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 7.7
ทางด้านสินเชื่อปัญหาเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในช่วงต้นปี ได้มีการเร่งแก้ไขโดยการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปเป็นจำนวนมาก โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคมสถาบันการเงินในจังหวัดตรังได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 2,678 ราย เป็นเงิน 3,901.3 ล้านบาท และมีหนี้ที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเหลือเพียง 554 ราย จำนวนเงิน 926.6 ล้านบาท สำหรับการให้สินเชื่อโดยทั่วไปของสาขาธนาคารพาณิชย์การทำได้ไม่มากนัก แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะอยู่ในระดับต่ำ ก็ตาม เนื่องจากอำนาจการอนุมัติสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำกัด และบางสาขาธนาคารพาณิชย์อำนาจในการอนุมัติสินเชื่อยังคงอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ประกอบกับได้มีการโอนสินเชื่อที่มีปัญหากลับไปบริหารที่สำนักงานใหญ่และให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้น ส่งผลให้สินเชื่อโดยรวมลดลง โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม มีสินเชื่อคงค้างจำนวน 8,888.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2
สินเชื่อแยกวัตถุประสงค์ที่สำคัญของจังหวัดตรัง ได้แก่ สินเชื่อค้าปลีกค้าส่งมียอด คงค้างจำนวน 2,741.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30.1 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 รองลงมาเป็นสินเชื่อบริโภคส่วนบุคคลจำนวน 1,720.8 ล้านบาท หรือสัดส่วนร้อยละ 19.1 ของสินเชื่อทั้งหมด ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.0 นอกจากนี้เป็นสินเชื่ออุตสาหกรรม สินเชื่อเกษตรและสินเชื่อบริการ ซึ่งมียอดคงค้าง 1,513.3 ล้านบาท 1,147.3 ล้านบาท และ 1,048.8 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.9 18.2 และ 4.2 ตามลำดับ
ทางด้านธนาคารออมสิน มีเงินฝากจำนวน 1,647.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 13.7
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้สินเชื่อกับเกษตรกรจำนวน 1,422.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.8
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดตรัง ในปี 2544
ในปี 2544 คาดว่าเศรษฐกิจของจังหวัดตรังยังคงมีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากราคายางพารา ราคากุ้งกุลาดำ และการท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะเดียวกันการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัว ประกอบกับสถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะปล่อยสินเชื่อเข้าระบบมากขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้ภาคการประมงอยู่ในภาวะที่ไม่ดีนัก และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
เศรษฐกิจของจังหวัดตรังในปี 2543 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปลายปีก่อน ปริมาณ เงินสดหมุนเวียนผ่านสถาบันการเงินในจังหวัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากยางพืชเศรษฐกิจที่สำคัญราคาปรับ สูงขึ้น ประกอบกับกุ้งกุลาดำราคาอยู่ในระดับสูง ทำให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันทางด้านการท่องเที่ยวดีขึ้น ทำให้การใช้จ่ายในจังหวัดคึกคักขึ้นจากปีก่อน นอกจากนี้ทางด้านการลงทุนของภาคเอกชนก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ทางด้านการคลังการใช้จ่ายกลับลดลง จากการลดการใช้จ่ายของรัฐบาล สำหรับสถาบันการเงินยังไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเข้าระบบมากนัก และราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้นเป็นปัจจัยทำให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวได้ไม่ดีนัก
ภาคการเกษตร
ยางพารา ผลผลิตยางพาราของจังหวัดตรังเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แม้ว่าในช่วงต้นปีจะมีฝนตกชุกทำให้กรีดยางได้น้อย แต่นับตั้งแต่กลางปีเป็นต้นมาสภาพอากาศเอื้ออำนวย ทำให้สามารถกรีดยางได้มากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดจึงมีมากกว่าปีก่อน ขณะเดียวกันทางด้านราคาก็ขยับตัวสูงขึ้น โดยในปีนี้ยางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.88 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.8
ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตในปีนี้ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย นอกจากนี้ทางด้านราคาก็ปรับตัวลดลง โดยราคาปาล์มทั้งทะลายที่เกษตรกรขายได้ในปีนี้เฉลี่ยเพียงกิโลกรัมละ 1.93 บาท ลดลงจากปีก่อนถึงร้อยละ 21.9
การประมง ในปีนี้ภาวะการจับสัตว์น้ำชะลอตัวลง เนื่องจากราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้น ประกอบกับราคาสัตว์น้ำลดลง ส่งผลให้เรือประมงออกจับสัตว์น้ำลดลง
แต่การเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำกลับคึกคักขึ้น เนื่องจากผลผลิตกุ้งของประเทศเอควาดอร์ ผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ลดลง ทำให้ราคากุ้งกุลาดำในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพิ่มขึ้น โดยในปีนี้ราคากุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัมราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 382.94 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.1
นอกภาคการเกษตร
การค้า ในปีนี้การใช้จ่ายของเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากราคายางพาราและราคากุ้งกุลาดำที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะการท่องเที่ยวที่คึกคักขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายของภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน ประกอบกับในปีนี้ผู้ประกอบการได้มีการจัดการส่งเสริมการขาย โดยการจูงใจผู้บริโภคด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงินดาวน์ต่ำ และระยะเวลาผ่อนชำระนาน ทำให้ยอดการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในปีนี้การจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ มีจำนวน 401 คัน 793 คัน และ 15,483 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 51.3 23.7 และ 98.7 ตามลำดับ
การส่งออก-นำเข้า ในปีนี้การส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดตรังคึกคักขึ้น สินค้าส่งออกมีมูลค่ารวม 1,901.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 30.4 สินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ยางพารา จำนวน 28,825.1 เมตริตัน มูลค่า 734.5 ล้านบาท แร่ยิปซั่มจำนวน 894,858 เมตริกตัน มูลค่า 449.6 ล้านบาท และสัตว์น้ำจำนวน 35,975 เมตริตัน มูลค่า 515.3 ล้านบาท ส่วนทางด้าน สินค้านำเข้ามีมูลค่า 350.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 62.3 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์และถ่านหิน
การลงทุน ปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยในปีนี้มีกิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวน 8 ราย เงินลงทุน 457.6 ล้านบาท และว่าจ้างแรงงาน 1,939 คน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 33.3 16.0 และ113.8 ตามลำดับ กิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในปีนี้ ได้แก่กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ยางจำนวน 4 ราย กิจการผลิตอาหารทะเลแช่แข็งจำนวน 2 ราย และกิจการผลิตน้ำมันปาล์มจำนวน 2 ราย
ทางด้านการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลในปีนี้มีจำนวน 77 ราย ทุนจดทะเบียน 101.3 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนจำนวนรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ขณะที่ทุนจดทะเบียนลดลงร้อยละ 26.7 กิจการที่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนในปีนี้ เช่น กิจการค้ายางพารา กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง กิจการรับเหมาก่อสร้าง กิจการค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และกิจการร้านอาหาร
สำหรับการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขต เทศบาลในปีนี้มีจำนวน 62,570 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 51.1 ทั้งนี้เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยจำนวน 40,464 ตารางเมตร พื้นที่เพื่อการพาณิชย์ 3,978 ตารางเมตร พื้นที่เพื่อการบริการ 10,302 ตารางเมตร และพื้นที่ก่อสร้างเพื่อวัตถุประสงค์อื่น 7,826 ตารางเมตร
การจ้างงาน ในปีนี้สถานการณ์การจ้างงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัด มี ตำแหน่งงานว่าง 2,462 อัตรา ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 30.1 ผู้สมัครงานจำนวน 3,880 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 และการบรรจุงานมีจำนวน 1,262 คน ลดลงร้อยละ18.7
การคลัง ในปีนี้ส่วนราชการในจังหวัดตรังเบิกเงินงบประมาณจากสำนักงานคลังจังหวัดจำนวน 4,679.0 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.8 เนื่องจากรัฐบาลลดงบประมาณรายจ่ายลง ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณตามมาตราการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มาตราการมิยาซาว่า) มีจำนวน 25.5 ล้านบาท ลดลงจาก 266.5 ล้านบาทในปีก่อน สำหรับรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่สำคัญมีจำนวนรวม 491.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.8 เป็นภาษีสรรพากร 488.0 ล้านบาท สรรพสามิต 1.0 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 2.9 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนการจัดเก็บภาษีสรรพากรและภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 13.0 และ 16.7 ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 สำหรับสาเหตุที่จัดเก็บภาษีสรรพากรได้ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากลดลงด้วย
การเงินการธนาคาร ในปีนี้ปริมาณการเบิกจ่ายและนำฝากเงินสดที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินสดที่ผู้แทน ฯ รับจากสถาบันการเงินมีจำนวน 5,963.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 18.0 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเงินสดที่สถาบันการเงินเบิกเพื่อนำไปสำรองปัญหา Y2K ในช่วงปลายปีก่อน ส่วนปริมาณเงินสดที่ผู้แทนฯ จ่ายให้กับสถาบันการเงินมีจำนวน 7,162.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ0.1
ทางด้านปริมาณและมูลค่าเช็คผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 282,410 ฉบับ มูลค่า 19,856.3 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนทั้งจำนวนฉบับและมูลค่ามีจำนวนใกล้เคียงกัน
สำหรับการดำเนินงานของสาขาธนาคารพาณิชย์ ในปีนี้สาขาธนาคารพาณิชย์ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับที่ต่ำมาก โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 | 6 เดือน ณ สิ้นเดือนธันวาคมเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 ต่อปี ลดลงจากปลายปีก่อนร้อยละ 0.75 แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากประชาชนไม่มีทางเลือกในการออมประกอบกับยังไม่มั่นใจในความมั่นคงของรายได้ ทำให้เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ยังคง ปรับตัวสูงขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคมสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดตรังมีเงินฝากคงค้างจำนวน 17,662.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นระยะเวลาเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 7.7
ทางด้านสินเชื่อปัญหาเริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในช่วงต้นปี ได้มีการเร่งแก้ไขโดยการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปเป็นจำนวนมาก โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคมสถาบันการเงินในจังหวัดตรังได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 2,678 ราย เป็นเงิน 3,901.3 ล้านบาท และมีหนี้ที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงเหลือเพียง 554 ราย จำนวนเงิน 926.6 ล้านบาท สำหรับการให้สินเชื่อโดยทั่วไปของสาขาธนาคารพาณิชย์การทำได้ไม่มากนัก แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะอยู่ในระดับต่ำ ก็ตาม เนื่องจากอำนาจการอนุมัติสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำกัด และบางสาขาธนาคารพาณิชย์อำนาจในการอนุมัติสินเชื่อยังคงอยู่ที่สำนักงานใหญ่ ประกอบกับได้มีการโอนสินเชื่อที่มีปัญหากลับไปบริหารที่สำนักงานใหญ่และให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้น ส่งผลให้สินเชื่อโดยรวมลดลง โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม มีสินเชื่อคงค้างจำนวน 8,888.0 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2
สินเชื่อแยกวัตถุประสงค์ที่สำคัญของจังหวัดตรัง ได้แก่ สินเชื่อค้าปลีกค้าส่งมียอด คงค้างจำนวน 2,741.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30.1 ของสินเชื่อคงค้างทั้งหมด ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 รองลงมาเป็นสินเชื่อบริโภคส่วนบุคคลจำนวน 1,720.8 ล้านบาท หรือสัดส่วนร้อยละ 19.1 ของสินเชื่อทั้งหมด ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.0 นอกจากนี้เป็นสินเชื่ออุตสาหกรรม สินเชื่อเกษตรและสินเชื่อบริการ ซึ่งมียอดคงค้าง 1,513.3 ล้านบาท 1,147.3 ล้านบาท และ 1,048.8 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.9 18.2 และ 4.2 ตามลำดับ
ทางด้านธนาคารออมสิน มีเงินฝากจำนวน 1,647.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 13.7
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้สินเชื่อกับเกษตรกรจำนวน 1,422.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.8
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดตรัง ในปี 2544
ในปี 2544 คาดว่าเศรษฐกิจของจังหวัดตรังยังคงมีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากราคายางพารา ราคากุ้งกุลาดำ และการท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้น ขณะเดียวกันการใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชนยังคงมีแนวโน้มขยายตัว ประกอบกับสถาบันการเงินมีแนวโน้มที่จะปล่อยสินเชื่อเข้าระบบมากขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้ภาคการประมงอยู่ในภาวะที่ไม่ดีนัก และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-