การปรับลดงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อใช้จ่ายตามนโยบายเร่งด่วน
- ค.ร.ม. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2544 ให้ปรับลดงบประมาณรายจ่าย ปี 2544 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ เป็นจำนวน 1,177.5 ล้านบาท โดยปรับลดครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่จำเป็นจำนวน 715.6 ล้านบาท ปรับลดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของการเคหะแห่งชาติ และการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 144.0 ล้านบาท และลดงบประมาณของส่วนราชการต่างๆ ลงจำนวน 317.9 ล้านบาท โดยมีแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรคืนงบประมาณดังกล่าว ดังนี้
1) แนวทางดำเนินการ ใช้ในนโยบายเร่งด่วน นโยบายสำคัญ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่มีข้อผูกพันหรือมีความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
วิเคราะห์ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
การดำเนินนโยบายปรับลดงบประมาณรายจ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศและรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของภาครัฐบาล จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดการนำเข้าและทำให้รัฐบาลมีเงินงบประมาณเหลือที่จะนำไปใช้ในแนวทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศได้มากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล
2) หลักเกณฑ์การพิจารณา นำเงินไปใช้ในส่วนราชการตามแนวทางที่กำหนด ส่งเสริมให้มีการคิดแผนงาน โครงการเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วนและนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยมีรูปแบบการดำเนินงาน เน้นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน มีหน่วยงานที่มีความคล่องตัวในการเบิกจ่ายเงิน และต้องไม่เป็นงบที่ผูกพันข้ามปี และสร้างภาระให้ประเทศ
ทั้งนี้ให้สำนักงบประมาณนำเงินที่จัดสรรคืนไปใช้กับนโยบายเร่งด่วนและสำคัญเป็นอันดับแรก คือ การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย การชำระค่าดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนหมู่บ้าน ค่าใช้จ่ายกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เงินชดเชยค่าก่อสร้างแบบปรับราคาได้(ค่า K) ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ประสบอุทกภัย เป็นต้น
3) ขั้นตอนในการจัดสรรคืนเงินงบประมาณให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ จัดทำคำขอเสนอรัฐมนตรีต้นสังกัด ให้ความเห็นชอบและส่งสำนักงบประมาณภายในวันที่ 13 เมษายน 2544 เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้เห็นชอบในวันที่ 24 เมษายน 2544
การแก้ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน
ค.ร.ม. มีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินในระหว่างรอตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย โดยมีนายทนง พิทยะเป็นประธานและกรรมการโดยมีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทบริหาร/จัดการสินทรัพย์ทุกบริษัทที่ทำหน้าที่บริหาร NPL ของสถาบันการเงินของรัฐ และองค์กรปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ติดตามความคืบหน้าการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเอกชน กำกับดูแลการเตรียมการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความเหมาะสม เชิญบุคลที่เกี่ยวข้องมาหารือชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
วิเคราะห์ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
จะทำให้เกิดความชัดเจนแก่ประชาชนและนักธุรกิจในการบริหารหนี้ NPL ของระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินกลับมามีบทบาทในการปล่อยสินเชื่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น และจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ดีขึ้น
มาตรการเร่งด่วนด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ครม. มีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2544 ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณปี 2544 เพิ่มเติมเพื่อใช้ในมาตรการเร่งด่วนด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพ และพัฒนาบริการในท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญของมาตรการ ดังนี้
1) ให้นักท่องเที่ยวมีการใช้จ่าย/คน/วัน เพิ่มขึ้น กระตุ้นให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศ และพัฒนาคุณภาพองค์ประกอบ ภาพลักษณ์การเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวยั่งยืนต่อไปในอนาคต
2) มาตรการเร่งด่วนในการพัฒนาการท่องเที่ยวและด้านการตลาด เช่น แก้ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวชนบท พัฒนาบุคลากร การบริการ จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวโฆษณาประชาสัมพันธ์การจัด Road show ในตลาดที่มีศักยภาพ ส่งเสริมให้ซื้อสินค้าในไทย ให้บริการข้อมูลทางสื่อสารสนเทศสำหรับตลาดต่างประเทศ
- หลักการและเหตุผลในการเสนอมาตรการ โดยให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 4 กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนในการสร้างรายได้ของประเทศ และกำหนดให้การท่องเที่ยวมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 5 หมื่นล้านบาท (ประมาณร้อยละ 1 ของ GDP)
- แนวโน้มการเพิ่มรายได้การท่องเที่ยว คาดว่าจะกระตุ้นให้เกิดรายได้ไม่น้อยกว่า 22,000 ล้านบาท และกระจายรายได้ 5 หมื่นล้านบาทให้เกิดไม่น้อยกว่า 3 จังหวัด (จากเดิมมีอยู่ 13 จังหวัด) ภายในปี 2545
วิเคราะห์ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
หากนโยบายรัฐบาลได้ผลก็จะทำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขยายตัว ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ ให้กับประชาชนในท้องถิ่น และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ
ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าไทย ให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ เช่น ของที่ระลึก ผ้าและเครื่องใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งเป็นโอกาสที่ไทยจะเสนอขายสินค้าได้เพิ่มขึ้นด้วย
การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบ และนมพร้อมดื่มภายใต้ WTO ปี 2544
- ครม. มีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2544 ให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบ และนมพร้อมดื่มตามข้อผูกพันภายใต้ WTO ปี 2544ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ คือ นมผงขาดมันเนยปริมาณโควตาจำนวน 55,000 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 5 และนอกโควตาร้อยละ 223.2 น้ำนมดิบ ปริมาณโควตาจำนวน 2,335.16 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20 และนอกโควตาร้อยละ 42.5 นมพร้อมดื่ม ปริมาณโควตา26.84 ตัน อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 20 นอกโควตา ร้อยละ 86.7 การเปิดตลาดนมและน้ำนมดิบดังกล่าวเป็นจำนวนที่เหมาะสมแต่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อมิให้กระทบต่อการผลิตและการจำหน่ายน้ำนมดิบในประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลยังสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และเพื่อให้มีการพิจารณาอุตสาหกรรมทั้งระบบ ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เรื่องนี้อย่างจริงจัง
นอกจากนี้ การนำหางนมมาเป็นส่วนผสมเพื่อใช้ผลิตนมในการบริโภค ต้องมีมาตรการแก้ไขควบคุม โดยมีการติดฉลากแสดงส่วนผสม เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้ และควรมีการทบทวนโควตาการนำเข้านมให้เพียงพอตามความจำเป็น
วิเคราะห์ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
- การเปิดตลาดนำเข้านมดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ WTO อย่างไรก็ดี ภาครัฐควรจัดกระบวนการบริหารภายในประเทศอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ของ WTO เพื่อมิให้อุตสาหกรรมการผลิตนมในประเทศประสบปัญหาราคาตกต่ำอย่างมากดังเช่นที่ผ่านมา
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
- ค.ร.ม. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2544 ให้ปรับลดงบประมาณรายจ่าย ปี 2544 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ เป็นจำนวน 1,177.5 ล้านบาท โดยปรับลดครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่จำเป็นจำนวน 715.6 ล้านบาท ปรับลดโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของการเคหะแห่งชาติ และการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 144.0 ล้านบาท และลดงบประมาณของส่วนราชการต่างๆ ลงจำนวน 317.9 ล้านบาท โดยมีแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรคืนงบประมาณดังกล่าว ดังนี้
1) แนวทางดำเนินการ ใช้ในนโยบายเร่งด่วน นโยบายสำคัญ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่มีข้อผูกพันหรือมีความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
วิเคราะห์ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
การดำเนินนโยบายปรับลดงบประมาณรายจ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศและรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของภาครัฐบาล จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดการนำเข้าและทำให้รัฐบาลมีเงินงบประมาณเหลือที่จะนำไปใช้ในแนวทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศได้มากขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล
2) หลักเกณฑ์การพิจารณา นำเงินไปใช้ในส่วนราชการตามแนวทางที่กำหนด ส่งเสริมให้มีการคิดแผนงาน โครงการเพื่อตอบสนองนโยบายเร่งด่วนและนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยมีรูปแบบการดำเนินงาน เน้นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน มีหน่วยงานที่มีความคล่องตัวในการเบิกจ่ายเงิน และต้องไม่เป็นงบที่ผูกพันข้ามปี และสร้างภาระให้ประเทศ
ทั้งนี้ให้สำนักงบประมาณนำเงินที่จัดสรรคืนไปใช้กับนโยบายเร่งด่วนและสำคัญเป็นอันดับแรก คือ การพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย การชำระค่าดอกเบี้ยและเงินต้นของกองทุนหมู่บ้าน ค่าใช้จ่ายกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เงินชดเชยค่าก่อสร้างแบบปรับราคาได้(ค่า K) ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ประสบอุทกภัย เป็นต้น
3) ขั้นตอนในการจัดสรรคืนเงินงบประมาณให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ จัดทำคำขอเสนอรัฐมนตรีต้นสังกัด ให้ความเห็นชอบและส่งสำนักงบประมาณภายในวันที่ 13 เมษายน 2544 เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้เห็นชอบในวันที่ 24 เมษายน 2544
การแก้ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน
ค.ร.ม. มีมติเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2544 อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินในระหว่างรอตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย โดยมีนายทนง พิทยะเป็นประธานและกรรมการโดยมีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทบริหาร/จัดการสินทรัพย์ทุกบริษัทที่ทำหน้าที่บริหาร NPL ของสถาบันการเงินของรัฐ และองค์กรปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ติดตามความคืบหน้าการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินเอกชน กำกับดูแลการเตรียมการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความเหมาะสม เชิญบุคลที่เกี่ยวข้องมาหารือชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาแก้ไขปัญหาให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
วิเคราะห์ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
จะทำให้เกิดความชัดเจนแก่ประชาชนและนักธุรกิจในการบริหารหนี้ NPL ของระบบสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินกลับมามีบทบาทในการปล่อยสินเชื่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น และจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ดีขึ้น
มาตรการเร่งด่วนด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
- ครม. มีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2544 ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณปี 2544 เพิ่มเติมเพื่อใช้ในมาตรการเร่งด่วนด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีศักยภาพ และพัฒนาบริการในท่าอากาศยานให้มีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญของมาตรการ ดังนี้
1) ให้นักท่องเที่ยวมีการใช้จ่าย/คน/วัน เพิ่มขึ้น กระตุ้นให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศ และพัฒนาคุณภาพองค์ประกอบ ภาพลักษณ์การเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวยั่งยืนต่อไปในอนาคต
2) มาตรการเร่งด่วนในการพัฒนาการท่องเที่ยวและด้านการตลาด เช่น แก้ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวชนบท พัฒนาบุคลากร การบริการ จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวโฆษณาประชาสัมพันธ์การจัด Road show ในตลาดที่มีศักยภาพ ส่งเสริมให้ซื้อสินค้าในไทย ให้บริการข้อมูลทางสื่อสารสนเทศสำหรับตลาดต่างประเทศ
- หลักการและเหตุผลในการเสนอมาตรการ โดยให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 4 กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนในการสร้างรายได้ของประเทศ และกำหนดให้การท่องเที่ยวมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 5 หมื่นล้านบาท (ประมาณร้อยละ 1 ของ GDP)
- แนวโน้มการเพิ่มรายได้การท่องเที่ยว คาดว่าจะกระตุ้นให้เกิดรายได้ไม่น้อยกว่า 22,000 ล้านบาท และกระจายรายได้ 5 หมื่นล้านบาทให้เกิดไม่น้อยกว่า 3 จังหวัด (จากเดิมมีอยู่ 13 จังหวัด) ภายในปี 2545
วิเคราะห์ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
หากนโยบายรัฐบาลได้ผลก็จะทำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวขยายตัว ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ ให้กับประชาชนในท้องถิ่น และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ
ควรส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้าไทย ให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ เช่น ของที่ระลึก ผ้าและเครื่องใช้ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ซึ่งเป็นโอกาสที่ไทยจะเสนอขายสินค้าได้เพิ่มขึ้นด้วย
การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบ และนมพร้อมดื่มภายใต้ WTO ปี 2544
- ครม. มีมติเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2544 ให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย น้ำนมดิบ และนมพร้อมดื่มตามข้อผูกพันภายใต้ WTO ปี 2544ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ คือ นมผงขาดมันเนยปริมาณโควตาจำนวน 55,000 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 5 และนอกโควตาร้อยละ 223.2 น้ำนมดิบ ปริมาณโควตาจำนวน 2,335.16 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20 และนอกโควตาร้อยละ 42.5 นมพร้อมดื่ม ปริมาณโควตา26.84 ตัน อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 20 นอกโควตา ร้อยละ 86.7 การเปิดตลาดนมและน้ำนมดิบดังกล่าวเป็นจำนวนที่เหมาะสมแต่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อมิให้กระทบต่อการผลิตและการจำหน่ายน้ำนมดิบในประเทศ ทั้งนี้รัฐบาลยังสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ และเพื่อให้มีการพิจารณาอุตสาหกรรมทั้งระบบ ควรจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เรื่องนี้อย่างจริงจัง
นอกจากนี้ การนำหางนมมาเป็นส่วนผสมเพื่อใช้ผลิตนมในการบริโภค ต้องมีมาตรการแก้ไขควบคุม โดยมีการติดฉลากแสดงส่วนผสม เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้ และควรมีการทบทวนโควตาการนำเข้านมให้เพียงพอตามความจำเป็น
วิเคราะห์ภาพรวมนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
- การเปิดตลาดนำเข้านมดังกล่าว เป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ WTO อย่างไรก็ดี ภาครัฐควรจัดกระบวนการบริหารภายในประเทศอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ โดยไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ของ WTO เพื่อมิให้อุตสาหกรรมการผลิตนมในประเทศประสบปัญหาราคาตกต่ำอย่างมากดังเช่นที่ผ่านมา
--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-