ภาวะการเงิน
1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องของระบบการเงินในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย ตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับต่ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 1.14 และ 1.23 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ มีฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาส ที่ 3 สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับการลงทุนของบริษัท เงินทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรมีแนวโน้มลดลงในช่วงไตรมาส ที่ 3 ส่วนการลงทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจค่อนข้าง ทรงตัวในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 แต่ลดลงเล็กน้อย ในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ทั้งนี้ สถาบันการเงิน เฉพาะกิจมีฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน เพราะสถาบันการเงินแห่งหนึ่งได้รับชำระคืนเงินกู้ที่ให้กับรัฐบาล
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.50 และ 8.125 ต่อปีตามลำดับ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 โดยธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เริ่มปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนลงร้อยละ 0.25 ต่อปี ในเดือนกรกฎาคม และได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลงร้อยละ 0.25 และ 0.25-0.50 ต่อปีตามลำดับ ในเดือนกันยายน ทำให้อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 1.14 และ 1.23 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก สภาพคล่องตึงตัวขึ้นจากปลายปี 2542 จากการที่เงินสดในมือ ที่ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนเบิกถอนเพื่อสำรองไว้ในช่วง Y2K ยังไม่ไหลกลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ เพราะยังคง มีความต้องการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับมี การนำเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในตราสารประเภทอื่นๆ ที่ให้ ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นอกจากนี้ สถาบัน การเงินมีความต้องการเงินบาท เพื่อส่งมอบให้แก่ธปท.ตาม ภาระ Swap ที่ครบกำหนด และเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเติมและเตรียมสภาพคล่องสำรองสำหรับระบบการชำระเงินแบบ Real Time Gross Settlement (RTGS) ส่วนในช่วงปลายไตรมาส แรก ภาคธุรกิจเอกชนญี่ปุ่นได้นำส่งกำไรให้แก่บริษัทแม่ เนื่องจากเป็นช่วงปิดบัญชีประจำปี
สำหรับในไตรมาสที่ 2 เม็ดเงินได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ ระบบหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลให้สภาพคล่องปรับ เพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นระยะ สั้นๆ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จากการที่ธุรกิจเอกชนนำส่ง เงินภาษีรายได้นิติบุคคลประมาณ 38 พันล้านบาทให้กับ ภาครัฐและช่วงปลายเดือนมิถุนายน เนื่องจากสถาบันการเงิน นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ในไตรมาสที่ 3 สภาพคล่องเงินบาทโดยรวมอยู่ใน เกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสภาพคล่องจะตึงตัวขึ้นบ้าง เล็กน้อยในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ติดต่อกัน และในบางช่วง ของการสิ้นปักษ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง และการ ประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลัง
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำตลอดช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 โดยอัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.07 1.98 และ 1.95 ต่อปีในช่วงไตรมาส แรก ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ตามลำดับ ขณะที่อัตรา ดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.86
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2543 เนื่องจาก การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ และการปรับลด อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริง ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 0.70 และ 5.45 ต่อปีตามลำดับ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เมื่อคำนวณจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ และรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไทย รวมทั้ง บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่อยู่ในเครือ พบว่า มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เท่ากับร้อยละ 1.23 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.02 ต่อปี ในไตรมาสแรก โดยเป็นผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดกลางและขนาดเล็กบางแห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ทำให้อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายเงินฝากต่อ เงินฝากเฉลี่ยลดลง
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในช่วง 9 เดือนแรก เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ลดลง เนื่องจาก การตัดหนี้สูญในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 2 และการโอนสินเชื่อไป AMC ในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 3
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปี 2542 โดยในช่วง ไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น จากการที่เงินสดในมือที่ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชน เบิกถอนเพื่อสำรองไว้ในช่วง Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบ แม้ว่าจะมีการเบิกถอนเงินฝาก เพื่อนำไปลงทุนใน ตราสารหนี้ที่มีการออกจำหน่ายเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งผู้ออกตราสารหนี้ได้นำเงินไปชำระคืนเงินกู้ ในประเทศและต่างประเทศ ส่วนในช่วงไตรมาสที่ 3 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้ถือตั๋วสัญญา ใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่มีตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มการระดมทุนระยะยาวมากขึ้นโดยเสนออัตราผลตอบแทนจูงใจ เช่น ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่งออกจำหน่ายบัตรเงินฝากที่ให้อัตราผลตอบแทนร้อยละ 5.25 ต่อปี อายุ 3 ปีจำนวนหนึ่ง ทำให้เงินฝากธนาคารพาณิชย์ (ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543) เพิ่มขึ้น 158 พันล้านบาท เมื่อเทียบสิ้นปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ยังคงมีแนวโน้มลดลง โดยเป็นผลจากการลดลงของทั้งสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศ ธนกิจ (Non-BIBF) และสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ทั้งนี้ การลดลงของสินเชื่อ Non-BIBF มีสาเหตุมาจากการที่ ภาคเอกชนระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้เพิ่มขึ้น และ นำเงินมาชำระคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์บางส่วน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยตัดหนี้สูญเพิ่มเติม ในช่วงสิ้นไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 ธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญ จำนวนประมาณ 240 พันล้านบาท นอกจากนี้ ในไตรมาสที่ 3 ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ จำนวนประมาณ 550 พันล้านบาท ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 สินเชื่อ Non-BIBF มียอดคงค้าง ลดลง 428.1 พันล้านบาท เมื่อเทียบสิ้นปี 2542 หรือคิดเป็นร้อยละ 9.0 สำหรับการลดลงของสินเชื่อ BIBF เป็นผลจากการที่ภาคเอกชนชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน สินเชื่อ BIBF (คำนวณเป็นเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ 30 มิถุนายน 2540) ลดลง 80.7 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 24.1
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 มียอดคงค้างลดลงจากสิ้นปีก่อนหน้าปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ การลดลงของสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน และสินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 มียอดคงค้างลดลง 143.1 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 หรือคิดเป็นร้อยละ 23.0 โดยปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ 1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2543 เนื่องจาก ธปท.ทยอยส่งมอบเงินตรา ต่างประเทศตามสัญญา Swap ที่ครบกำหนด ซึ่งธปท.ได้ใช้ ธุรกรรม Swap เป็นช่องทางในการเสริมสภาพคล่องให้กับ ระบบการเงินในช่วง Y2K 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบัน การเงินลดลง จากการที่ธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืน พันธบัตร หลังจากที่ได้ปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมากในช่วง Y2K และ 3) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐลดลง ตามปริมาณพันธบัตรภาครัฐที่ครบกำหนดไถ่ถอน และตามปริมาณเงินฝากรัฐบาลที่ธปท. ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการจัดเก็บ ภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมและสิงหาคม และจากการที่รัฐบาลได้รับเงินจากการประมูลขายพันธบัตรและ ตั๋วเงินคลัง
อนึ่ง เมื่อพิจารณาฐานเงินเฉพาะในช่วง 9 เดือนแรกของปีแล้ว พบว่า ยอดคงค้างฐานเงินมีแนวโน้มลดลงในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน
ปริมาณเงิน M2A เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 มีแนวโน้มลดลงในช่วง 7 เดือนแรก เพราะเงินสดในมือประชาชนโน้มลงภายหลังช่วง Y2K และเงินฝากสถาบันการเงินในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคมและกันยายน ปริมาณเงิน M2A ปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 24.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างลดลงในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2542 แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 85.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องของระบบการเงินในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย ตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับต่ำอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 1.14 และ 1.23 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ มีฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาส ที่ 3 สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับการลงทุนของบริษัท เงินทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรมีแนวโน้มลดลงในช่วงไตรมาส ที่ 3 ส่วนการลงทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจค่อนข้าง ทรงตัวในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 แต่ลดลงเล็กน้อย ในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ทั้งนี้ สถาบันการเงิน เฉพาะกิจมีฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายน เพราะสถาบันการเงินแห่งหนึ่งได้รับชำระคืนเงินกู้ที่ให้กับรัฐบาล
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.50 และ 8.125 ต่อปีตามลำดับ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 โดยธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เริ่มปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนลงร้อยละ 0.25 ต่อปี ในเดือนกรกฎาคม และได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลงร้อยละ 0.25 และ 0.25-0.50 ต่อปีตามลำดับ ในเดือนกันยายน ทำให้อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 1.14 และ 1.23 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก สภาพคล่องตึงตัวขึ้นจากปลายปี 2542 จากการที่เงินสดในมือ ที่ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนเบิกถอนเพื่อสำรองไว้ในช่วง Y2K ยังไม่ไหลกลับเข้าสู่ระบบธนาคารพาณิชย์ เพราะยังคง มีความต้องการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลตรุษจีน ประกอบกับมี การนำเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในตราสารประเภทอื่นๆ ที่ให้ ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นอกจากนี้ สถาบัน การเงินมีความต้องการเงินบาท เพื่อส่งมอบให้แก่ธปท.ตาม ภาระ Swap ที่ครบกำหนด และเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเติมและเตรียมสภาพคล่องสำรองสำหรับระบบการชำระเงินแบบ Real Time Gross Settlement (RTGS) ส่วนในช่วงปลายไตรมาส แรก ภาคธุรกิจเอกชนญี่ปุ่นได้นำส่งกำไรให้แก่บริษัทแม่ เนื่องจากเป็นช่วงปิดบัญชีประจำปี
สำหรับในไตรมาสที่ 2 เม็ดเงินได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ ระบบหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลให้สภาพคล่องปรับ เพิ่มขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นระยะ สั้นๆ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จากการที่ธุรกิจเอกชนนำส่ง เงินภาษีรายได้นิติบุคคลประมาณ 38 พันล้านบาทให้กับ ภาครัฐและช่วงปลายเดือนมิถุนายน เนื่องจากสถาบันการเงิน นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ในไตรมาสที่ 3 สภาพคล่องเงินบาทโดยรวมอยู่ใน เกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสภาพคล่องจะตึงตัวขึ้นบ้าง เล็กน้อยในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ติดต่อกัน และในบางช่วง ของการสิ้นปักษ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง และการ ประมูลขายพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลัง
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำตลอดช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 โดยอัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.07 1.98 และ 1.95 ต่อปีในช่วงไตรมาส แรก ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ตามลำดับ ขณะที่อัตรา ดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.86
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2543 เนื่องจาก การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ และการปรับลด อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริง ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่อยู่ที่ร้อยละ 0.70 และ 5.45 ต่อปีตามลำดับ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เมื่อคำนวณจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ และรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไทย รวมทั้ง บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่อยู่ในเครือ พบว่า มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 2 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เท่ากับร้อยละ 1.23 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.02 ต่อปี ในไตรมาสแรก โดยเป็นผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดกลางและขนาดเล็กบางแห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ทำให้อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายเงินฝากต่อ เงินฝากเฉลี่ยลดลง
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในช่วง 9 เดือนแรก เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ลดลง เนื่องจาก การตัดหนี้สูญในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 2 และการโอนสินเชื่อไป AMC ในช่วงสิ้นไตรมาสที่ 3
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปี 2542 โดยในช่วง ไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น จากการที่เงินสดในมือที่ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชน เบิกถอนเพื่อสำรองไว้ในช่วง Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบ แม้ว่าจะมีการเบิกถอนเงินฝาก เพื่อนำไปลงทุนใน ตราสารหนี้ที่มีการออกจำหน่ายเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งผู้ออกตราสารหนี้ได้นำเงินไปชำระคืนเงินกู้ ในประเทศและต่างประเทศ ส่วนในช่วงไตรมาสที่ 3 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้ถือตั๋วสัญญา ใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่มีตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มการระดมทุนระยะยาวมากขึ้นโดยเสนออัตราผลตอบแทนจูงใจ เช่น ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่งออกจำหน่ายบัตรเงินฝากที่ให้อัตราผลตอบแทนร้อยละ 5.25 ต่อปี อายุ 3 ปีจำนวนหนึ่ง ทำให้เงินฝากธนาคารพาณิชย์ (ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543) เพิ่มขึ้น 158 พันล้านบาท เมื่อเทียบสิ้นปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 3.5
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ยังคงมีแนวโน้มลดลง โดยเป็นผลจากการลดลงของทั้งสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศ ธนกิจ (Non-BIBF) และสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ทั้งนี้ การลดลงของสินเชื่อ Non-BIBF มีสาเหตุมาจากการที่ ภาคเอกชนระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้เพิ่มขึ้น และ นำเงินมาชำระคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์บางส่วน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยตัดหนี้สูญเพิ่มเติม ในช่วงสิ้นไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 ธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญ จำนวนประมาณ 240 พันล้านบาท นอกจากนี้ ในไตรมาสที่ 3 ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีการโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ จำนวนประมาณ 550 พันล้านบาท ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 สินเชื่อ Non-BIBF มียอดคงค้าง ลดลง 428.1 พันล้านบาท เมื่อเทียบสิ้นปี 2542 หรือคิดเป็นร้อยละ 9.0 สำหรับการลดลงของสินเชื่อ BIBF เป็นผลจากการที่ภาคเอกชนชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน สินเชื่อ BIBF (คำนวณเป็นเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ 30 มิถุนายน 2540) ลดลง 80.7 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน หรือคิดเป็นร้อยละ 24.1
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 มียอดคงค้างลดลงจากสิ้นปีก่อนหน้าปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ การลดลงของสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน และสินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 มียอดคงค้างลดลง 143.1 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 หรือคิดเป็นร้อยละ 23.0 โดยปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ 1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2543 เนื่องจาก ธปท.ทยอยส่งมอบเงินตรา ต่างประเทศตามสัญญา Swap ที่ครบกำหนด ซึ่งธปท.ได้ใช้ ธุรกรรม Swap เป็นช่องทางในการเสริมสภาพคล่องให้กับ ระบบการเงินในช่วง Y2K 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบัน การเงินลดลง จากการที่ธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืน พันธบัตร หลังจากที่ได้ปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมากในช่วง Y2K และ 3) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐลดลง ตามปริมาณพันธบัตรภาครัฐที่ครบกำหนดไถ่ถอน และตามปริมาณเงินฝากรัฐบาลที่ธปท. ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการจัดเก็บ ภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมและสิงหาคม และจากการที่รัฐบาลได้รับเงินจากการประมูลขายพันธบัตรและ ตั๋วเงินคลัง
อนึ่ง เมื่อพิจารณาฐานเงินเฉพาะในช่วง 9 เดือนแรกของปีแล้ว พบว่า ยอดคงค้างฐานเงินมีแนวโน้มลดลงในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน
ปริมาณเงิน M2A เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 มีแนวโน้มลดลงในช่วง 7 เดือนแรก เพราะเงินสดในมือประชาชนโน้มลงภายหลังช่วง Y2K และเงินฝากสถาบันการเงินในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคมและกันยายน ปริมาณเงิน M2A ปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 24.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างลดลงในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2542 แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 85.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อนหน้า
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-