แท็ก
คณะกรรมการนโยบายการเงิน
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
ธนาคารแห่งประเทศไทย
อัตราเงินเฟ้อ
ภาวะเศรษฐกิจ
เลขานุการ
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบาย การเงินมีการประชุมในวันนี้ เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ โดยประเมินว่า การเจริญเติบโตของภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่เคยประมาณไว้ในเดือนเมษายน โดยยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายนอก
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าต่างๆ น่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ อาทิ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงอีกเป็นครั้งที่ 5 นับแต่ต้นปี 2544 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง refinancing rate ของกลุ่มธนาคารกลางยุโรป และมาตรการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ญี่ปุ่น
ด้านภาวะเงินเฟ้อ ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนจะสูงขึ้นค่อนข้างมากเนื่องจาก การปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตของรัฐบาล ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทที่อ่อนตัว แต่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้ายังอยู่ในเป้าหมายที่ร้อยละ 0-3.5
คณะกรรมการฯ เห็นว่า ถ้าหากภาครัฐบาลสามารถใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้ตามที่รัฐบาลคาดไว้ ภายในระยะเวลาที่เหลือของปี 2544 จะทำให้มีการใช้เงินทุนในประเทศมากขึ้น และจะทำให้มีการใช้กำลังการผลิตภายในประเทศดีขึ้น รวมทั้งการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ที่คาดว่าจะเริ่มโอนหนี้ได้ในอีก 2 — 3 เดือนข้างหน้า น่าจะทำให้ระบบสถาบันการเงินสามารถทำงานได้ดีขึ้น อันจะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะใกล้
ส่วนในเรื่องการไหลออกของทุนนั้น การไหลออกของเงินทุนทำให้หนี้ต่างประเทศลดลงจากกลางปี 2540 ที่ 112 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 76 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะนี้ ซึ่งมีผลทำให้ภาระการชำระหนี้ในแต่ละปีลดลงเหลือ 2 ใน 3 ของเดิม ทำให้การดูแลค่าเงินบาทสามารถกระทำ ได้ดีขึ้น
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปีก่อน แต่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงในภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าต่างๆ น่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ อาทิ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงอีกเป็นครั้งที่ 5 นับแต่ต้นปี 2544 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง refinancing rate ของกลุ่มธนาคารกลางยุโรป และมาตรการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ญี่ปุ่น
ด้านภาวะเงินเฟ้อ ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อในเดือนเมษายนจะสูงขึ้นค่อนข้างมากเนื่องจาก การปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตของรัฐบาล ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทที่อ่อนตัว แต่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้ายังอยู่ในเป้าหมายที่ร้อยละ 0-3.5
คณะกรรมการฯ เห็นว่า ถ้าหากภาครัฐบาลสามารถใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้ตามที่รัฐบาลคาดไว้ ภายในระยะเวลาที่เหลือของปี 2544 จะทำให้มีการใช้เงินทุนในประเทศมากขึ้น และจะทำให้มีการใช้กำลังการผลิตภายในประเทศดีขึ้น รวมทั้งการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ที่คาดว่าจะเริ่มโอนหนี้ได้ในอีก 2 — 3 เดือนข้างหน้า น่าจะทำให้ระบบสถาบันการเงินสามารถทำงานได้ดีขึ้น อันจะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะใกล้
ส่วนในเรื่องการไหลออกของทุนนั้น การไหลออกของเงินทุนทำให้หนี้ต่างประเทศลดลงจากกลางปี 2540 ที่ 112 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 76 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะนี้ ซึ่งมีผลทำให้ภาระการชำระหนี้ในแต่ละปีลดลงเหลือ 2 ใน 3 ของเดิม ทำให้การดูแลค่าเงินบาทสามารถกระทำ ได้ดีขึ้น
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อปีก่อน แต่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงในภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-