ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของโลกขยายตัวในอัตราสูงมากอย่างต่อเนื่อง และการขยายตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศผู้ผลิตแต่ละประเทศมักสูงกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ เอง อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2543 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศต่างๆ เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดและมีแนวโน้มว่าจะยังคงชะลอตัวลงต่อไปในปี 2544
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดรองรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของโลกชะลอการขยายตัวลง ทำให้ธุรกิจต่างๆ ในสหรัฐฯ เริ่มตัดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะการลงทุนด้านเทคโนโลยีซึ่งใช้เงินเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี นอกจากนี้ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าตลาดเกินกว่าครึ่งของมูลค่าตลาดอิเล็กทรอนิกส์รวมในสหรัฐฯ เริ่มถึงจุดอิ่มตัว หลังจากที่บริษัทต่างๆ ในสหรัฐฯ ลงทุนพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีต่างๆ เป็นจำนวนมากมาตั้งแต่ช่วงปี 2542-2543 ทำให้การสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนในสหรัฐฯ ในปัจจุบันเป็นเพียงการสั่งซื้อเพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่มีอยู่เท่านั้น
ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเอเชียซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญป้อนสู่ตลาดสหรัฐฯ ทั้งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เช่น แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์กึ่งตัวนำ เป็นต้น ทำให้อุตสาหกรรมเหล่านี้มีรายได้จากการขายลดลง นอกจากนั้นยังมีต้นทุนในการสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้นมากอีกด้วย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้ปรับปรุงระบบการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นสต็อกสินค้าให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้นเพื่อลดต้นทุนจากการสต็อกสินค้า ขณะที่ผู้ประกอบการในเอเชียยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบการจัดการสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ได้ ดังนั้นจึงต้องแบกรับภาระต้นทุนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
เป็นที่คาดว่าในปี 2544 อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และเซมิคอนดักเตอร์ของโลกซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาก ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ของทั้งโลกขยายตัวเพียงร้อยละ 3.5 เทียบกับทั้งปี 2543 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.6 นอกจากนี้ สัญญาณที่น่าวิตกที่สุดก็คือ ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2544 หดตัวลงถึงร้อยละ 3.5 ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น เทียบกับในปี 2543 ที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 สูงถึงร้อยละ 75, 70, 60 และ 25 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกจะกระเตื้องขึ้นได้อีกครั้งหลังจากปี 2544 เมื่อสินค้าคงคลังที่เหลือจากปี 2543 เริ่มลดลง นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 จะมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีแผงวงจรไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ซึ่งจะทำให้ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อยู่เดิมเพื่อรักษาระดับเทคโนโลยีที่ใช้ไม่ให้ด้อยไปกว่าคู่แข่ง ประกอบกับตลาดผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมที่ต้องมีการปรับปรุงสินค้า ตลอดจนมีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยเหล่านี้ล้วนช่วยกระตุ้นให้ตลาดอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวดีขึ้นในไม่ช้านี้
สำหรับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเดียวกับผู้ผลิตอื่นๆ ในเอเชีย เนื่องจากผู้ผลิตของไทยส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างผลิตทำให้ต้องพึ่งพาการสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าเป็นหลัก เมื่อคู่ค้ารายใหญ่ลดการสั่งซื้อลง บริษัทผู้ผลิตของไทยก็ต้องลดการผลิตลงตาม ทางออกที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับผู้ผลิตไทยในขณะนี้คือ มุ่งเน้นผลิตสินค้าที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงนัก แต่มุ่งผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งให้มีความชำนาญและมีคุณภาพดี เนื่องจากสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงนั้นต้องทุ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล ดังนั้น ไทยจึงไม่สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงได้ การหันไปผลิตสินค้าประเภทชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยังจำเป็นต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งขายให้กับญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฯลฯ ซึ่งหันไปผลิตสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นเรื่อยๆ น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมสำหรับไทย เพราะในตลาดผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงนักแต่เป็นสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานนั้นยังมีผู้ผลิตไม่มากรายนัก จึงเป็นโอกาสดีของไทยที่จะเข้าไปเจาะตลาดสินค้านี้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดรองรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดของโลกชะลอการขยายตัวลง ทำให้ธุรกิจต่างๆ ในสหรัฐฯ เริ่มตัดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะการลงทุนด้านเทคโนโลยีซึ่งใช้เงินเป็นจำนวนมหาศาลในแต่ละปี นอกจากนี้ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ซึ่งมีมูลค่าตลาดเกินกว่าครึ่งของมูลค่าตลาดอิเล็กทรอนิกส์รวมในสหรัฐฯ เริ่มถึงจุดอิ่มตัว หลังจากที่บริษัทต่างๆ ในสหรัฐฯ ลงทุนพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีต่างๆ เป็นจำนวนมากมาตั้งแต่ช่วงปี 2542-2543 ทำให้การสั่งซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนในสหรัฐฯ ในปัจจุบันเป็นเพียงการสั่งซื้อเพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่มีอยู่เท่านั้น
ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเอเชียซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญป้อนสู่ตลาดสหรัฐฯ ทั้งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เช่น แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์กึ่งตัวนำ เป็นต้น ทำให้อุตสาหกรรมเหล่านี้มีรายได้จากการขายลดลง นอกจากนั้นยังมีต้นทุนในการสต็อกสินค้าเพิ่มขึ้นมากอีกด้วย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้ปรับปรุงระบบการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นสต็อกสินค้าให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้นเพื่อลดต้นทุนจากการสต็อกสินค้า ขณะที่ผู้ประกอบการในเอเชียยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนระบบการจัดการสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ได้ ดังนั้นจึงต้องแบกรับภาระต้นทุนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
เป็นที่คาดว่าในปี 2544 อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และเซมิคอนดักเตอร์ของโลกซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาก ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ของทั้งโลกขยายตัวเพียงร้อยละ 3.5 เทียบกับทั้งปี 2543 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 13.6 นอกจากนี้ สัญญาณที่น่าวิตกที่สุดก็คือ ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2544 หดตัวลงถึงร้อยละ 3.5 ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมในสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวเพียงประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น เทียบกับในปี 2543 ที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดสหรัฐฯ มีอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ถึงไตรมาสที่ 4 สูงถึงร้อยละ 75, 70, 60 และ 25 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกจะกระเตื้องขึ้นได้อีกครั้งหลังจากปี 2544 เมื่อสินค้าคงคลังที่เหลือจากปี 2543 เริ่มลดลง นอกจากนี้มีการคาดการณ์ว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 จะมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีแผงวงจรไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ซึ่งจะทำให้ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้อยู่เดิมเพื่อรักษาระดับเทคโนโลยีที่ใช้ไม่ให้ด้อยไปกว่าคู่แข่ง ประกอบกับตลาดผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมที่ต้องมีการปรับปรุงสินค้า ตลอดจนมีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยเหล่านี้ล้วนช่วยกระตุ้นให้ตลาดอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของโลกมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวดีขึ้นในไม่ช้านี้
สำหรับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นเดียวกับผู้ผลิตอื่นๆ ในเอเชีย เนื่องจากผู้ผลิตของไทยส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างผลิตทำให้ต้องพึ่งพาการสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าเป็นหลัก เมื่อคู่ค้ารายใหญ่ลดการสั่งซื้อลง บริษัทผู้ผลิตของไทยก็ต้องลดการผลิตลงตาม ทางออกที่น่าจะเป็นไปได้สำหรับผู้ผลิตไทยในขณะนี้คือ มุ่งเน้นผลิตสินค้าที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงนัก แต่มุ่งผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งให้มีความชำนาญและมีคุณภาพดี เนื่องจากสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงนั้นต้องทุ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาล ดังนั้น ไทยจึงไม่สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงได้ การหันไปผลิตสินค้าประเภทชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ยังจำเป็นต้องใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งขายให้กับญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฯลฯ ซึ่งหันไปผลิตสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นเรื่อยๆ น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมสำหรับไทย เพราะในตลาดผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีไม่สูงนักแต่เป็นสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานนั้นยังมีผู้ผลิตไม่มากรายนัก จึงเป็นโอกาสดีของไทยที่จะเข้าไปเจาะตลาดสินค้านี้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-