สินค้าอุตสาหกรรม : การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 6.1 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตขยายตัวร้อยละ 15.1) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.6 หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+37.2%) ซึ่ง เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ประกอบกับมีการเปิดดำเนินการประกอบรถยนต์ของบริษัท General Motors หมวด ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (+34.2%) ขยายตัวในเกณฑ์สูง ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์ ยางแท่ง แผงวงจรไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า เยื่อกระดาษ อัญมณีและ เครื่องประดับ และคอมเพรสเซอร์ หมวดอาหาร (+23.7%) เป็นการผลิตเพิ่มขึ้นตามการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง และ การผลิตน้ำตาล เนื่องจากโรงงานปิดหีบล่าช้ากว่าปีก่อน หมวดเหล็กและ ผลิตภัณฑ์เหล็ก (+22.4%) ขยายตัวตามความต้องการผลิตภัณฑ์ แผ่นเหล็กรีดร้อนและรีดเย็น ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และท่อเหล็ก ที่การส่งออกขยายตัวดี ส่วนหมวดวัสดุก่อสร้าง (+11.1%) ขยายตัวตามการส่งออกปูนซิเมนต์เป็นสำคัญ
สำหรับ หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (-42.7%) ซึ่งลดลงอย่าง ต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (-5.3%) ผลิตลดลงเนื่องจากความต้องการใช้ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชะลอตัวลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 6.1 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา การผลิตขยายตัวร้อยละ 15.1) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.6 หมวดที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+37.2%) ซึ่ง เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ประกอบกับมีการเปิดดำเนินการประกอบรถยนต์ของบริษัท General Motors หมวด ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (+34.2%) ขยายตัวในเกณฑ์สูง ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์ ยางแท่ง แผงวงจรไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า เยื่อกระดาษ อัญมณีและ เครื่องประดับ และคอมเพรสเซอร์ หมวดอาหาร (+23.7%) เป็นการผลิตเพิ่มขึ้นตามการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง และ การผลิตน้ำตาล เนื่องจากโรงงานปิดหีบล่าช้ากว่าปีก่อน หมวดเหล็กและ ผลิตภัณฑ์เหล็ก (+22.4%) ขยายตัวตามความต้องการผลิตภัณฑ์ แผ่นเหล็กรีดร้อนและรีดเย็น ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และท่อเหล็ก ที่การส่งออกขยายตัวดี ส่วนหมวดวัสดุก่อสร้าง (+11.1%) ขยายตัวตามการส่งออกปูนซิเมนต์เป็นสำคัญ
สำหรับ หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (-42.7%) ซึ่งลดลงอย่าง ต่อเนื่องตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทานเป็นสำคัญ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (-5.3%) ผลิตลดลงเนื่องจากความต้องการใช้ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมชะลอตัวลง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-