กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเชิงวิชาการเรื่อง China and her Neighbours ระหว่างวันที่ 20-24 พฤศจิกายน 2543 ณ เมือง Sussex สหราชอาณาจักร การประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมการประชุมประมาณ 75 คน ประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้แทนจากหน่วยงานและภาคเอกชนจากประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศ ซึ่งมีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. จีนจะเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคเอเซียในศตวรรษที่ 21
ปัจจุบันจีนมีประชากร 1.3 พันล้านคน และในปี 1998 จีนมี GDP ประมาณ 991 พันล้านเหรียญสหรัฐ มากเป็นอันดับ 7 ของโลก ในช่วงปี 1978-1998 เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมี GDP ขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 10% ต่อปี และในช่วงครึ่งแรกของปี 2000 GDP ของจีนจะขยายตัวในอัตรา 8.2% (เทียบกับปี 1999 ขยายตัว 7.1%)
รายได้เฉลี่ยของจีนในปี 1999 ประมาณ 782 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี (ปี 1980 จีนมีรายได้เฉลี่ยเพียง 205 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี) ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้ประมาณการว่าในช่วงกลางศตวรรษที่ 21 จีนจะมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่กว่าสหรัฐอเมริกา
ในด้านการค้าระหว่างประเทศของจีนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากเดิมซึ่งเคยมีสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศ เพียง 5% ของ GDP ในปี 1994 เพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 1998 และเริ่มเกินดุลการค้าตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เพราะจีนเริ่มมีการส่งออกเครื่องจักรต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และในปี 1999 จีนมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 360.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ มาเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยมีมูลค่านำเข้า 165.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18.2%) ในขณะที่มีมูลค่าการส่งออก 194.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6.1%)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2000 การค้าระหว่างประเทศของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 37.3% โดยการส่งออกเพิ่มขึ้น 38.3% เป็น 114.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าเพิ่มขึ้น 36.2% เป็น 102.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่ส่งออกและนำเข้าประมาณกว่าครึ่งหนึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรม
การขยายตัวทางการค้าของจีน เกิดขึ้นควบคู่กับการเปิดเสรีทางการค้าและการนำเข้าในปี 1998 จีนมีอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ย 17% เทียบกับในทศวรรษที่ 1980 จีนมีอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยสูงถึง 50 % รวมทั้งมีการปรับลดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี
2. การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของจีนกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเซีย
จีนค้าขายกับประเทศในเอเซียประมาณ 57-61% ของการค้าระหว่างประเทศของจีน โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญอันดับแรกของจีน และมีอาเซียนเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของจีนตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เกาหลีใต้ และเยอรมนี ในขณะที่แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และฮ่องกง ซึ่งแม้ว่าฮ่องกงจะรวมเป็นส่วนหนึ่งของจีนแต่มีระบบศุลกากรแยกจากกันและมีบทบาทสำคัญเป็นประตูการค้าของจีนสำหรับการส่งออกและนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม
ในด้านการลงทุนจีนเป็นประเทศเป้าหมายของการลงทุนโดยตรงจากประเทศต่างๆ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในจีนขยายตัวเป็น 40 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 1999 เทียบกับปี 1985 ซึ่งมีการลงทุนจากต่างประเทศเพียง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฮ่องกงมีการลงทุนในจีนมากที่สุด (รองลงไปได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน สิงคโปร์ และเกาหลีใต้) ในขณะเดียวกันจีนก็มีการลงทุนในกิจการต่าง ๆ ในฮ่องกงถึง 1,800 ราย (สถิติปี 1998) และจีนยังเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในคาซัคสถาน มงโกเลีย เนปาล กัมพูชา เมียนมาร์ และเกาหลีเหนือ โดยในอนาคตอันใกล้การพัฒนาเศรษฐกิจไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้จีนเป็นผู้ลงทุนรายสำคัญในเอเซีย
นอกจากนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจและการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้นของจีน ได้ส่งผลให้โครงสร้างการผลิตและการค้าในทวีปเอเซียเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนกลายเป็นแหล่งผลิตสำคัญและขยายการส่งออกสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น (สิ่งทอ รองเท้า ฯลฯ) ไปยังตลาดสำคัญ (สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฯลฯ) โดยนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากประเทศอื่น ๆ ในเอเซีย (ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ฯลฯ) ทั้งนี้จากสถิติของ JETRO พบว่า 73% ของโรงงานของญี่ปุ่นที่ลงทุนในจีนจะส่งออกสินค้าเกินกว่าครึ่งหนึ่งกลับไปยังญี่ปุ่น และธุรกิจรายใหญ่บางราย เช่น ผู้ผลิตนาฬิกา Citizen ปัจจุบันมีการ ผลิตในจีน 78% และในปี 2002 จะย้ายฐานการผลิตสินค้าทั้งหมดของตนไปในจีน
3. จีนและวิกฤตเศรษฐกิจในเอเซีย
วิกฤตเศรษฐกิจในเอเซียแสดงให้เห็นว่า จีนมีเศรษฐกิจที่เป็นอิสระจากประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากจีนไม่เปิดตลาดทุนให้กับนักลงทุนที่เก็งกำไรระยะสั้น และการมีตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ ทำให้จีนไม่ได้พึ่งพาการส่งออกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจมากนัก การหดตัวของตลาดในเอเซีย จึงส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนลดลงเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะทำให้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของไทยลดลง แต่ก็ยังคงสูงเป็น 2 เท่าของค่าจ้างแรงงานของจีน ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานของอินโดนีเซียแม้ว่าจะต่ำเป็น 1 ใน 3 ของค่าจ้างแรงงานของจีน แต่ประสิทธิภาพการทำงานต่ำกว่าแรงงานของจีนมาก ดังนั้น จีนจึงยังคงมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง โดยไม่ต้องมีการลดค่าเงินลง
4. จีนและผลของการเข้าเป็นสมาชิก WTO
เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว และเปิดเสรีมากขึ้น จีนจะเป็นตลาดใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้านในเอเซีย แต่ในขณะเดียวกันจีนก็จะเป็นประเทศคู่แข่งขันของประเทศเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์จากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ปรากฏว่าจีนมีความสามารถในการแข่งขันสูงในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น (SITC 6 และ 8) ในขณะที่จีนมีความเสียเปรียบในกลุ่มสินค้าที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียที่จะได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดสินค้าและการลงทุนในจีนมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไต้หวัน ซึ่งจะส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงและสินค้าอุตสาหกรรมหนัก รวมทั้งขยายการลงทุนไปยังจีนได้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน จีนก็จะขยายการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปยังประเทศในกลุ่มเอเซียกลาง เอเซียใต้และรัสเซีย ได้เพิ่มขึ้น และจะนำเข้าสินค้าเกษตรพื้นฐานและสินค้าเกษตรแปรรูปจากประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้น
สำหรับประเทศไทย มีความได้เปรียบและจะขยายตลาดในจีนได้มากขึ้น 3 กลุ่มสินค้า คือ สินค้าอาหาร วัตถุดิบ (เช่น ยางพารา ฯลฯ) รวมทั้งยานยนต์และชิ้นส่วน (SITC 0, 2 และ 7) ส่วนสินค้าในกลุ่มอื่น ๆ ไทยยังมีความเสียเปรียบจีนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น รองเท้า ฯลฯ (SITC 6 และ 8)
5. บทบาททางเศรษฐกิจของจีนในอนาคต
จีนจะเป็นตลาดสินค้าเกษตรที่สำคัญ และจะเป็นแหล่งลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในสาขาบริการด้านโทรคมนาคมและบริการการเงิน/ธนาคาร ซึ่งฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป จะเป็นผู้ลงทุนหลักในสาขาดังกล่าว นอกจากนั้นแล้วจีนยังจะเป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าบริการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคและพลังงาน ซึ่งจีนยังขาดแคลนอยู่มาก และจะขาดแคลนเพิ่มขึ้นในอนาคต
การเปิดตลาดของจีนมากขึ้นจะทำให้ญี่ปุ่นได้รับประโยชน์มากกว่าประเทศอื่น ๆ เนื่องจากมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกับจีน ในขณะที่เกาหลีแม้ว่าในระยะสั้นจะได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดในจีน แต่จีนจะกลายเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของเกาหลี ในอนาคตหากจีนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นทัดเทียมกับเกาหลีใต้ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของจีนยังคงอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับอาเซียนจะสามารถขยายตลาดสินค้าเกษตรและวัตถุดิบในจีนได้มากขึ้นโดยเฉพาะไทย ในขณะที่สิงคโปร์จะได้รับประโยชน์สูงสุดในการขยายตลาดบริการและโทรคมนาคมในจีน และอินโดนีเซียจะขยายตลาดน้ำมันและทรัพยากรธรรมชาติในจีนได้มากขึ้น โดยสำหรับมาเลเซียจะได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในจีนในระยะสั้น แต่ในระยะต่อไปจีนจะกลายเป็นประเทศคู่แข่งของมาเลเซียในอุตสาหกรรมนี้เช่นเดียวกับที่จีนจะเป็นคู่แข่งสำคัญของฟิลิปปินส์และไทยในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอิเล็กทรอนิกส์
ในส่วนของเวียดนาม ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์นั้น การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกของ WTO จะสร้างความกดดันกับประเทศดังกล่าว ทั้งในการแข่งขันด้านการส่งออกและการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
6. ความเห็น/ข้อสังเกต
6.1 ผู้เข้าร่วมการประชุมที่เป็นผู้แทนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ให้ความสำคัญอย่างมากกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าอย่างรวดเร็วของจีนและเกรงว่าจีนจะใช้ความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจในการพัฒนาอาวุธและการใช้พลังงานปรมณูเพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองและการทหารระหว่างประเทศ รวมทั้งมีท่าทีไม่ไว้วางใจว่าหลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว จีนจะเปิดตลาดสินค้าและบริการตามพันธกรณีที่ตกลงไว้
6.2 การเข้าร่วมประชุมสัมมนาดังกล่าวทำให้นักวิชาการของกรม มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อมูลกับนักวิชาการจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุม โดยในส่วนของการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีนั้น ผู้แทนของประเทศต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจทั้งในการหารือในการประชุมกลุ่มย่อย และการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นนอกห้องประชุม ซึ่งนักวิชาการเกาหลีใต้ได้ให้ความเห็นว่าการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับเกาหลีนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะจุดยืนที่ต่างกันในเรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งมีความอ่อนไหวทางการเมืองของเกาหลี ดังนั้น เกาหลีใต้จึงให้ความสนใจที่จะทำความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับสิงคโปร์ ที่มีความเป็นไปได้มากกว่า
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
1. จีนจะเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคเอเซียในศตวรรษที่ 21
ปัจจุบันจีนมีประชากร 1.3 พันล้านคน และในปี 1998 จีนมี GDP ประมาณ 991 พันล้านเหรียญสหรัฐ มากเป็นอันดับ 7 ของโลก ในช่วงปี 1978-1998 เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมี GDP ขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 10% ต่อปี และในช่วงครึ่งแรกของปี 2000 GDP ของจีนจะขยายตัวในอัตรา 8.2% (เทียบกับปี 1999 ขยายตัว 7.1%)
รายได้เฉลี่ยของจีนในปี 1999 ประมาณ 782 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี (ปี 1980 จีนมีรายได้เฉลี่ยเพียง 205 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี) ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้ประมาณการว่าในช่วงกลางศตวรรษที่ 21 จีนจะมีขนาดของเศรษฐกิจใหญ่กว่าสหรัฐอเมริกา
ในด้านการค้าระหว่างประเทศของจีนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากเดิมซึ่งเคยมีสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศ เพียง 5% ของ GDP ในปี 1994 เพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 1998 และเริ่มเกินดุลการค้าตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เพราะจีนเริ่มมีการส่งออกเครื่องจักรต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และในปี 1999 จีนมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 360.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ มาเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยมีมูลค่านำเข้า 165.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18.2%) ในขณะที่มีมูลค่าการส่งออก 194.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6.1%)
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2000 การค้าระหว่างประเทศของจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 37.3% โดยการส่งออกเพิ่มขึ้น 38.3% เป็น 114.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าเพิ่มขึ้น 36.2% เป็น 102.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่ส่งออกและนำเข้าประมาณกว่าครึ่งหนึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรม
การขยายตัวทางการค้าของจีน เกิดขึ้นควบคู่กับการเปิดเสรีทางการค้าและการนำเข้าในปี 1998 จีนมีอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ย 17% เทียบกับในทศวรรษที่ 1980 จีนมีอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยสูงถึง 50 % รวมทั้งมีการปรับลดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี
2. การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของจีนกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเซีย
จีนค้าขายกับประเทศในเอเซียประมาณ 57-61% ของการค้าระหว่างประเทศของจีน โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่มีความสำคัญอันดับแรกของจีน และมีอาเซียนเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของจีนตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เกาหลีใต้ และเยอรมนี ในขณะที่แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และฮ่องกง ซึ่งแม้ว่าฮ่องกงจะรวมเป็นส่วนหนึ่งของจีนแต่มีระบบศุลกากรแยกจากกันและมีบทบาทสำคัญเป็นประตูการค้าของจีนสำหรับการส่งออกและนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม
ในด้านการลงทุนจีนเป็นประเทศเป้าหมายของการลงทุนโดยตรงจากประเทศต่างๆ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในจีนขยายตัวเป็น 40 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 1999 เทียบกับปี 1985 ซึ่งมีการลงทุนจากต่างประเทศเพียง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฮ่องกงมีการลงทุนในจีนมากที่สุด (รองลงไปได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน สิงคโปร์ และเกาหลีใต้) ในขณะเดียวกันจีนก็มีการลงทุนในกิจการต่าง ๆ ในฮ่องกงถึง 1,800 ราย (สถิติปี 1998) และจีนยังเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในคาซัคสถาน มงโกเลีย เนปาล กัมพูชา เมียนมาร์ และเกาหลีเหนือ โดยในอนาคตอันใกล้การพัฒนาเศรษฐกิจไปอย่างรวดเร็ว จะทำให้จีนเป็นผู้ลงทุนรายสำคัญในเอเซีย
นอกจากนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจและการเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้นของจีน ได้ส่งผลให้โครงสร้างการผลิตและการค้าในทวีปเอเซียเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนกลายเป็นแหล่งผลิตสำคัญและขยายการส่งออกสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น (สิ่งทอ รองเท้า ฯลฯ) ไปยังตลาดสำคัญ (สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ฯลฯ) โดยนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบจากประเทศอื่น ๆ ในเอเซีย (ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ฯลฯ) ทั้งนี้จากสถิติของ JETRO พบว่า 73% ของโรงงานของญี่ปุ่นที่ลงทุนในจีนจะส่งออกสินค้าเกินกว่าครึ่งหนึ่งกลับไปยังญี่ปุ่น และธุรกิจรายใหญ่บางราย เช่น ผู้ผลิตนาฬิกา Citizen ปัจจุบันมีการ ผลิตในจีน 78% และในปี 2002 จะย้ายฐานการผลิตสินค้าทั้งหมดของตนไปในจีน
3. จีนและวิกฤตเศรษฐกิจในเอเซีย
วิกฤตเศรษฐกิจในเอเซียแสดงให้เห็นว่า จีนมีเศรษฐกิจที่เป็นอิสระจากประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากจีนไม่เปิดตลาดทุนให้กับนักลงทุนที่เก็งกำไรระยะสั้น และการมีตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ ทำให้จีนไม่ได้พึ่งพาการส่งออกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจมากนัก การหดตัวของตลาดในเอเซีย จึงส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนลดลงเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะทำให้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยของไทยลดลง แต่ก็ยังคงสูงเป็น 2 เท่าของค่าจ้างแรงงานของจีน ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานของอินโดนีเซียแม้ว่าจะต่ำเป็น 1 ใน 3 ของค่าจ้างแรงงานของจีน แต่ประสิทธิภาพการทำงานต่ำกว่าแรงงานของจีนมาก ดังนั้น จีนจึงยังคงมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง โดยไม่ต้องมีการลดค่าเงินลง
4. จีนและผลของการเข้าเป็นสมาชิก WTO
เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว และเปิดเสรีมากขึ้น จีนจะเป็นตลาดใหญ่ของประเทศเพื่อนบ้านในเอเซีย แต่ในขณะเดียวกันจีนก็จะเป็นประเทศคู่แข่งขันของประเทศเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์จากความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ปรากฏว่าจีนมีความสามารถในการแข่งขันสูงในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น (SITC 6 และ 8) ในขณะที่จีนมีความเสียเปรียบในกลุ่มสินค้าที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียที่จะได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดสินค้าและการลงทุนในจีนมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไต้หวัน ซึ่งจะส่งออกสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงและสินค้าอุตสาหกรรมหนัก รวมทั้งขยายการลงทุนไปยังจีนได้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน จีนก็จะขยายการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปยังประเทศในกลุ่มเอเซียกลาง เอเซียใต้และรัสเซีย ได้เพิ่มขึ้น และจะนำเข้าสินค้าเกษตรพื้นฐานและสินค้าเกษตรแปรรูปจากประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้น
สำหรับประเทศไทย มีความได้เปรียบและจะขยายตลาดในจีนได้มากขึ้น 3 กลุ่มสินค้า คือ สินค้าอาหาร วัตถุดิบ (เช่น ยางพารา ฯลฯ) รวมทั้งยานยนต์และชิ้นส่วน (SITC 0, 2 และ 7) ส่วนสินค้าในกลุ่มอื่น ๆ ไทยยังมีความเสียเปรียบจีนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น รองเท้า ฯลฯ (SITC 6 และ 8)
5. บทบาททางเศรษฐกิจของจีนในอนาคต
จีนจะเป็นตลาดสินค้าเกษตรที่สำคัญ และจะเป็นแหล่งลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในสาขาบริการด้านโทรคมนาคมและบริการการเงิน/ธนาคาร ซึ่งฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป จะเป็นผู้ลงทุนหลักในสาขาดังกล่าว นอกจากนั้นแล้วจีนยังจะเป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าบริการที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคและพลังงาน ซึ่งจีนยังขาดแคลนอยู่มาก และจะขาดแคลนเพิ่มขึ้นในอนาคต
การเปิดตลาดของจีนมากขึ้นจะทำให้ญี่ปุ่นได้รับประโยชน์มากกว่าประเทศอื่น ๆ เนื่องจากมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกับจีน ในขณะที่เกาหลีแม้ว่าในระยะสั้นจะได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดในจีน แต่จีนจะกลายเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของเกาหลี ในอนาคตหากจีนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นทัดเทียมกับเกาหลีใต้ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของจีนยังคงอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับอาเซียนจะสามารถขยายตลาดสินค้าเกษตรและวัตถุดิบในจีนได้มากขึ้นโดยเฉพาะไทย ในขณะที่สิงคโปร์จะได้รับประโยชน์สูงสุดในการขยายตลาดบริการและโทรคมนาคมในจีน และอินโดนีเซียจะขยายตลาดน้ำมันและทรัพยากรธรรมชาติในจีนได้มากขึ้น โดยสำหรับมาเลเซียจะได้รับประโยชน์จากการขยายตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในจีนในระยะสั้น แต่ในระยะต่อไปจีนจะกลายเป็นประเทศคู่แข่งของมาเลเซียในอุตสาหกรรมนี้เช่นเดียวกับที่จีนจะเป็นคู่แข่งสำคัญของฟิลิปปินส์และไทยในอุตสาหกรรมสิ่งทอและอิเล็กทรอนิกส์
ในส่วนของเวียดนาม ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์นั้น การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกของ WTO จะสร้างความกดดันกับประเทศดังกล่าว ทั้งในการแข่งขันด้านการส่งออกและการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
6. ความเห็น/ข้อสังเกต
6.1 ผู้เข้าร่วมการประชุมที่เป็นผู้แทนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ให้ความสำคัญอย่างมากกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าอย่างรวดเร็วของจีนและเกรงว่าจีนจะใช้ความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจในการพัฒนาอาวุธและการใช้พลังงานปรมณูเพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองและการทหารระหว่างประเทศ รวมทั้งมีท่าทีไม่ไว้วางใจว่าหลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว จีนจะเปิดตลาดสินค้าและบริการตามพันธกรณีที่ตกลงไว้
6.2 การเข้าร่วมประชุมสัมมนาดังกล่าวทำให้นักวิชาการของกรม มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อมูลกับนักวิชาการจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุม โดยในส่วนของการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีนั้น ผู้แทนของประเทศต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจทั้งในการหารือในการประชุมกลุ่มย่อย และการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นนอกห้องประชุม ซึ่งนักวิชาการเกาหลีใต้ได้ให้ความเห็นว่าการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับเกาหลีนั้น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะจุดยืนที่ต่างกันในเรื่องสินค้าเกษตร ซึ่งมีความอ่อนไหวทางการเมืองของเกาหลี ดังนั้น เกาหลีใต้จึงให้ความสนใจที่จะทำความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับสิงคโปร์ ที่มีความเป็นไปได้มากกว่า
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-