แท็ก
บาเรล
ปี 2542 ประเทศไทยมีปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปลดลงจากปี 2541 อัตราร้อยละ 0.2 หรือลดลงจากวันละ 638,677 บาเรล เป็นวันละ 637,700 บาเรล สำหรับรายละเอียดด้านต่าง ๆ มีดังนี้
1. การจัดหา
การจัดหาปิโตรเลียมปี 2542 มีทั้งจากแหล่งภายในประเทศและแหล่งต่างประเทศ ดังนี้
1.1 แหล่งภายในประเทศ ปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากแหล่งภายในประเทศ ประกอบด้วย
น้ำมันดิบ
ปี 2542 มีการผลิตน้ำมันดิบรวมทั้งสิ้น 1,970 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 33,953 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 12.1 โดยผลิตจากแหล่งบนบก คือ แหล่งสิริกิติ์เป็นสัดส่วนร้อยละ 68.9 หรือ 23,378 บาเรลต่อวัน จากแหล่งฝางสัดส่วนร้อยละ 3.0 หรือ 1,030 บาเรลต่อวัน และจากแหล่งกำแพงแสน แหล่งอู่ทอง แหล่งวิเชียรบุรี แหล่งศรีเทพ แหล่งบึงหญ้าและบึงม่วงรวมกัน เป็นสัดส่วนร้อยละ 3.7 หรือ 1,266 บาเรลต่อวัน และยังผลิตจากบริเวณอ่าวไทยอีกคือ แหล่งทานตะวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.9 หรือ 5,056 บาเรลต่อวัน และมีแหล่งเพิ่มขึ้นใหม่อีก 1 แหล่ง คือ แหล่งเบญจมาศ เป็นสัดส่วนร้อยละ 9.5 หรือ 3,223 บาเรลต่อวัน
ก๊าซธรรมชาติ
ปี 2542 มีการผลิตก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 677,866 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเฉลี่ย 1,857 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 9.0 โดยเป็นการผลิตจากบริเวณอ่าวไทย เป็นสัดส่วนร้อยละ 92.0 หรือ 1,709 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากแหล่งบนบกคือ แหล่งสิริกิติ์และแหล่งน้ำพองอีกร้อยละ 8.0 หรือ 148 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
คอนเดนเสท
ปี 2542 มีการผลิตคอนเดนเสทในบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งสิ้น 2,843 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 48,982 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 5.7 ทั้งนี้เป็นการผลิตจากแหล่งบงกชมากที่สุดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.7 แหล่งเอราวัณสัดส่วนร้อยละ 19.8 แหล่งสตูลสัดส่วนร้อยละ 12.8 แหล่งฟูนานสัดส่วนร้อยละ 8.8 และแหล่งปลาทอง โกมินทร์ จักรวาลตะวันตก สตูลใต้ บรรพต สุราษฎร์ กะพง ปลาแดง ปลาหมึก จักรวาล ไพลิน และตราด รวมอีกร้อยละ 30.9
1.2 แหล่งต่างประเทศ
น้ำมันดิบ
การนำเข้าน้ำมันดิบในประเทศปี 2542 รวมทั้งสิ้น 40,535 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 698,496 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 2.8 คิดเป็นมูลค่า 168,984 ล้านบาทต่อปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 23.3 แหล่งนำเข้าน้ำมันดิบที่สำคัญยังคงมาจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางสัดส่วนร้อยละ 79.7 รองลงมาจากกลุ่มประเทศอาเซียนสัดส่วนร้อยละ 15.7 จากกลุ่มประเทศอาฟริกา กลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิค (ไม่รวมกลุ่มประเทศอาเซียน) และกลุ่มประเทศอเมริกาเหนืออีกสัดส่วน ร้อยละ 2.3, 1.8 และ 0.5 ตามลำดับ
น้ำมันสำเร็จรูป
ปี 2542 การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 2,069 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 35,660 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 46.6 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 9,752 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 86.8
การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนดังนี้ น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 และน้ำมันครื่องบิน เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว น้ำมันดีเซลหมุนเร็วอัตราร้อยละ 51.5 น้ำมันเตาอัตราร้อยละ 40.5 น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 อัตราร้อยละ 1.1 สำหรับน้ำมันก๊าดและก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่มีการนำเข้าในปีนี้
การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศอาเซียนสัดส่วนร้อยละ 78.1 กลุ่มเอเชียแปซิฟิค (ไม่รวมกลุ่มประเทศอาเซียน) สัดส่วนร้อยละ 19.4 และกลุ่มตะวันออกกลางสัดส่วนร้อยละ 2.5
ก๊าซธรรมชาติ
ปี 2542 มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่ารวมทั้งสิ้น 1,076 ล้านลูกบาศก์ฟุตหรือเฉลี่ย 2.9 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 1.4 คิดเป็นมูลค่า 84.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 28.5
1.3 การส่งออก
ปี 2542 ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรวมทั้งสิ้น 7,434 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 14.6 โดยเป็นการส่งออกคอนเดนเสทสัดส่วนร้อยละ 9.8 ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 30.5 ก๊าซโซลีนธรรมชาติสัดส่วนร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 15.0 และน้ำมันสำเร็จรูปสัดส่วนร้อยละ 87.6 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 23.5
2. การกลั่น
ปี 2542 ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันรวม 7 โรง มีกำลังการกลั่นรวมกัน 862,500 บาเรลต่อวัน นอกจากนี้ยังมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 4 โรง มีขนาดรวม 1,180 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และโรงแยกก๊าซพลังเพชรซึ่งทำการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นหลักอีก 1 โรง มีขนาด 44 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ปี 2542 โรงกลั่นน้ำมันทั้ง 7 โรง รับน้ำมันดิบ คอนเดนเสท และก๊าซโซลีนธรรมชาติเข้ากลั่นรวมทั้งสิ้น 43,713 ล้านลิตร หรือ 753,265 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 3.6 โดยเป็นการใช้ปิโตรเลียมภายในประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.4 เป็นน้ำมันดิบจากแหล่งต่างประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 95.6 ซึ่งสามารถผลิตน้ำมันสำเร็จรูปได้ รวมทั้งสิ้น 38,935 ล้านลิตร ประกอบด้วย น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และ น้ำมันก๊าด เป็นสัดส่วนร้อยละ 40.9, 22.2, 20.2, 10.5, 5.3 และ 0.9 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว มีการกลั่นของน้ำมันดังนี้ น้ำมันก๊าดมีการกลั่นเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันเตาเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 18.6, 15.7, และ 1.1 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันที่มีการกลั่นลดลงคือ น้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซินลดลงในอัตราร้อยละ 3.1 และ 0.6 ตามลำดับ
สำหรับการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว และก๊าซโซลีนธรรมชาติจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติจำนวน 2,449 ล้านลิตร และ 391 ล้านลิตรตามลำดับ โดยก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 10.2 และก๊าซโซลีนธรรมชาติผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 5.6
3. ความต้องการ
3.1 น้ำมันสำเร็จรูป
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 37,007 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 637,700 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 0.2 ดังรายละเอียดคือ
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ปี 2542 มีการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวรวมทั้งสิ้น 3,370 ล้านลิตร (1,786 พันตัน) หรือเฉลี่ย 58,074 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 3.1 โดยเป็นการใช้สูงสุดในสาขาการค้าและบ้านอยู่อาศัย เป็นสัดส่วนร้อยละ 67.4 รองลงมาคือสาขาอุตสาหกรรม คมนาคมขนส่ง และการเกษตร เป็นสัดส่วนร้อยละ 27.4, 5.1, และ 0.1 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นการใช้ใน เขตกรุงเทพมหานคร เป็นสัดส่วนร้อยละ 31.9 และเป็นการใช้ในส่วนภูมิภาคเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.1
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 รวมทั้งสิ้น 4,684 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 80,717 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 5.7 เป็นการใช้ในสาขาคมนาคมขนส่ง สัดส่วนร้อยละ 99.2 และสาขาอื่น ๆ รวมกันอีกร้อยละ 0.8 โดยเป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.0 และส่วนภูมิภาคเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.0
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 87 และ 91
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 87 และ 91 รวมทั้งสิ้น 2,339 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 40,311 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 6.4 เป็นการใช้ในสาขาคมนาคมขนส่งสัดส่วนร้อยละ 96.6 และสาขาอื่นๆ รวมกันอีกร้อยละ 3.4 โดยเป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นสัดส่วนร้อยละ 30.8 และส่วนภูมิภาคเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.2
น้ำมันเครื่องบิน
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันเครื่องบินรวมทั้งสิ้น 3,298 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 56,826 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 0.5 เป็นการใช้สำหรับการบินภายในประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.7
น้ำมันก๊าด
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันก๊าดรวมทั้งสิ้น 52 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 894 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.0 เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมสัดส่วนร้อยละ 60.3 รองลงมาใช้ในสาขาการค้าและบ้านอยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ 38.0 และ สาขาอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.7 โดยใช้ในเขตกรุงเทพมหานครสัดส่วนร้อยละ 53.9 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ 46.1
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วรวมทั้งสิ้น 15,168 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 261,367 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 0.1 มีการใช้ในสาขาคมนาคมขนส่งมากที่สุดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.9 ส่วนที่เหลือใช้ในสาขาการเกษตร สาขาอุตสาหกรรม สาขาก่อสร้าง สาขาไฟฟ้า และสาขาอื่น ๆ เป็นสัดส่วนร้อยละ 15.7, 3.8, 1.2, 1.0 และ 0.4, ตามลำดับ การใช้ในเขตกรุงเทพมหานครสัดส่วนร้อยละ 28.8 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ 71.2
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนช้ารวมทั้งสิ้น 135 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 2,333 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 14.9 เป็นการใช้ในสาขาคมนาคมขนส่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.1 สาขาอุตสาหกรรมสัดส่วนร้อยละ 20.6 และ สาขาอื่นๆ อีกร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.0 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ 34.0
น้ำมันเตา
การใช้น้ำมันเตาในปี 2542 รวมทั้งสิ้น 7,961 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 137,178 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงเล็กน้อยอัตราร้อยละ 0.04 การใช้น้ำมันเตายังคงใช้ในสาขาไฟฟ้าสูงสุดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.6 รองลงมาใช้ในสาขาอุตสาหกรรมสัดส่วนร้อยละ 40.3 สาขาคมนาคมขนส่งสัดส่วนร้อยละ 10.1 และสาขาอื่น ๆ สัดส่วนร้อยละ 2.0 เป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.3 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ 47.7
3.2 ก๊าซธรรมชาติ
ปี 2542 มีการใช้ก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 545,492 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเฉลี่ย 1,494 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มจากปีก่อนอัตราร้อยละ 8.2 โดยใช้ในการผลิตไฟฟ้า 1,368 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มจากปีก่อนอัตราร้อยละ 6.8 ใช้ในอุตสาหกรรม 126 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 26.8 ใช้ในสาขาคมนาคมขนส่ง 0.570 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ลดลงจากปีที่แล้วอัตราร้อยละ 8.0 สำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติในสาขาอุตสาหกรรมมีการใช้ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.1 และอุตสาหกรรมเซรามิค แก้ว และอื่น ๆ สัดส่วนร้อยละ 84.9 ของอุตสาหกรรมทั้งหมด
--Oil and Thailand 1999 Department of Energy Development and Promotion,
Ministry of Science, Technology and Environment--
1. การจัดหา
การจัดหาปิโตรเลียมปี 2542 มีทั้งจากแหล่งภายในประเทศและแหล่งต่างประเทศ ดังนี้
1.1 แหล่งภายในประเทศ ปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากแหล่งภายในประเทศ ประกอบด้วย
น้ำมันดิบ
ปี 2542 มีการผลิตน้ำมันดิบรวมทั้งสิ้น 1,970 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 33,953 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 12.1 โดยผลิตจากแหล่งบนบก คือ แหล่งสิริกิติ์เป็นสัดส่วนร้อยละ 68.9 หรือ 23,378 บาเรลต่อวัน จากแหล่งฝางสัดส่วนร้อยละ 3.0 หรือ 1,030 บาเรลต่อวัน และจากแหล่งกำแพงแสน แหล่งอู่ทอง แหล่งวิเชียรบุรี แหล่งศรีเทพ แหล่งบึงหญ้าและบึงม่วงรวมกัน เป็นสัดส่วนร้อยละ 3.7 หรือ 1,266 บาเรลต่อวัน และยังผลิตจากบริเวณอ่าวไทยอีกคือ แหล่งทานตะวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.9 หรือ 5,056 บาเรลต่อวัน และมีแหล่งเพิ่มขึ้นใหม่อีก 1 แหล่ง คือ แหล่งเบญจมาศ เป็นสัดส่วนร้อยละ 9.5 หรือ 3,223 บาเรลต่อวัน
ก๊าซธรรมชาติ
ปี 2542 มีการผลิตก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 677,866 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเฉลี่ย 1,857 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 9.0 โดยเป็นการผลิตจากบริเวณอ่าวไทย เป็นสัดส่วนร้อยละ 92.0 หรือ 1,709 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากแหล่งบนบกคือ แหล่งสิริกิติ์และแหล่งน้ำพองอีกร้อยละ 8.0 หรือ 148 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
คอนเดนเสท
ปี 2542 มีการผลิตคอนเดนเสทในบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งสิ้น 2,843 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 48,982 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 5.7 ทั้งนี้เป็นการผลิตจากแหล่งบงกชมากที่สุดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.7 แหล่งเอราวัณสัดส่วนร้อยละ 19.8 แหล่งสตูลสัดส่วนร้อยละ 12.8 แหล่งฟูนานสัดส่วนร้อยละ 8.8 และแหล่งปลาทอง โกมินทร์ จักรวาลตะวันตก สตูลใต้ บรรพต สุราษฎร์ กะพง ปลาแดง ปลาหมึก จักรวาล ไพลิน และตราด รวมอีกร้อยละ 30.9
1.2 แหล่งต่างประเทศ
น้ำมันดิบ
การนำเข้าน้ำมันดิบในประเทศปี 2542 รวมทั้งสิ้น 40,535 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 698,496 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 2.8 คิดเป็นมูลค่า 168,984 ล้านบาทต่อปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 23.3 แหล่งนำเข้าน้ำมันดิบที่สำคัญยังคงมาจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางสัดส่วนร้อยละ 79.7 รองลงมาจากกลุ่มประเทศอาเซียนสัดส่วนร้อยละ 15.7 จากกลุ่มประเทศอาฟริกา กลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิค (ไม่รวมกลุ่มประเทศอาเซียน) และกลุ่มประเทศอเมริกาเหนืออีกสัดส่วน ร้อยละ 2.3, 1.8 และ 0.5 ตามลำดับ
น้ำมันสำเร็จรูป
ปี 2542 การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 2,069 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 35,660 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 46.6 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 9,752 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 86.8
การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดเพิ่มขึ้นจากปีก่อนดังนี้ น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 และน้ำมันครื่องบิน เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว น้ำมันดีเซลหมุนเร็วอัตราร้อยละ 51.5 น้ำมันเตาอัตราร้อยละ 40.5 น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 อัตราร้อยละ 1.1 สำหรับน้ำมันก๊าดและก๊าซปิโตรเลียมเหลวไม่มีการนำเข้าในปีนี้
การนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศอาเซียนสัดส่วนร้อยละ 78.1 กลุ่มเอเชียแปซิฟิค (ไม่รวมกลุ่มประเทศอาเซียน) สัดส่วนร้อยละ 19.4 และกลุ่มตะวันออกกลางสัดส่วนร้อยละ 2.5
ก๊าซธรรมชาติ
ปี 2542 มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่ารวมทั้งสิ้น 1,076 ล้านลูกบาศก์ฟุตหรือเฉลี่ย 2.9 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 1.4 คิดเป็นมูลค่า 84.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 28.5
1.3 การส่งออก
ปี 2542 ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรวมทั้งสิ้น 7,434 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 14.6 โดยเป็นการส่งออกคอนเดนเสทสัดส่วนร้อยละ 9.8 ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 30.5 ก๊าซโซลีนธรรมชาติสัดส่วนร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 15.0 และน้ำมันสำเร็จรูปสัดส่วนร้อยละ 87.6 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 23.5
2. การกลั่น
ปี 2542 ประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันรวม 7 โรง มีกำลังการกลั่นรวมกัน 862,500 บาเรลต่อวัน นอกจากนี้ยังมีโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 4 โรง มีขนาดรวม 1,180 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และโรงแยกก๊าซพลังเพชรซึ่งทำการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นหลักอีก 1 โรง มีขนาด 44 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ปี 2542 โรงกลั่นน้ำมันทั้ง 7 โรง รับน้ำมันดิบ คอนเดนเสท และก๊าซโซลีนธรรมชาติเข้ากลั่นรวมทั้งสิ้น 43,713 ล้านลิตร หรือ 753,265 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 3.6 โดยเป็นการใช้ปิโตรเลียมภายในประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.4 เป็นน้ำมันดิบจากแหล่งต่างประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 95.6 ซึ่งสามารถผลิตน้ำมันสำเร็จรูปได้ รวมทั้งสิ้น 38,935 ล้านลิตร ประกอบด้วย น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และ น้ำมันก๊าด เป็นสัดส่วนร้อยละ 40.9, 22.2, 20.2, 10.5, 5.3 และ 0.9 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว มีการกลั่นของน้ำมันดังนี้ น้ำมันก๊าดมีการกลั่นเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว สำหรับก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันเตาเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 18.6, 15.7, และ 1.1 ตามลำดับ ส่วนน้ำมันที่มีการกลั่นลดลงคือ น้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซินลดลงในอัตราร้อยละ 3.1 และ 0.6 ตามลำดับ
สำหรับการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว และก๊าซโซลีนธรรมชาติจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติจำนวน 2,449 ล้านลิตร และ 391 ล้านลิตรตามลำดับ โดยก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 10.2 และก๊าซโซลีนธรรมชาติผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 5.6
3. ความต้องการ
3.1 น้ำมันสำเร็จรูป
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันสำเร็จรูปรวมทั้งสิ้น 37,007 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 637,700 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 0.2 ดังรายละเอียดคือ
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ปี 2542 มีการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวรวมทั้งสิ้น 3,370 ล้านลิตร (1,786 พันตัน) หรือเฉลี่ย 58,074 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 3.1 โดยเป็นการใช้สูงสุดในสาขาการค้าและบ้านอยู่อาศัย เป็นสัดส่วนร้อยละ 67.4 รองลงมาคือสาขาอุตสาหกรรม คมนาคมขนส่ง และการเกษตร เป็นสัดส่วนร้อยละ 27.4, 5.1, และ 0.1 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นการใช้ใน เขตกรุงเทพมหานคร เป็นสัดส่วนร้อยละ 31.9 และเป็นการใช้ในส่วนภูมิภาคเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.1
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 รวมทั้งสิ้น 4,684 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 80,717 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 5.7 เป็นการใช้ในสาขาคมนาคมขนส่ง สัดส่วนร้อยละ 99.2 และสาขาอื่น ๆ รวมกันอีกร้อยละ 0.8 โดยเป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.0 และส่วนภูมิภาคเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.0
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 87 และ 91
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 87 และ 91 รวมทั้งสิ้น 2,339 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 40,311 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 6.4 เป็นการใช้ในสาขาคมนาคมขนส่งสัดส่วนร้อยละ 96.6 และสาขาอื่นๆ รวมกันอีกร้อยละ 3.4 โดยเป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นสัดส่วนร้อยละ 30.8 และส่วนภูมิภาคเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.2
น้ำมันเครื่องบิน
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันเครื่องบินรวมทั้งสิ้น 3,298 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 56,826 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 0.5 เป็นการใช้สำหรับการบินภายในประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.7
น้ำมันก๊าด
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันก๊าดรวมทั้งสิ้น 52 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 894 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.0 เป็นการใช้ในสาขาอุตสาหกรรมสัดส่วนร้อยละ 60.3 รองลงมาใช้ในสาขาการค้าและบ้านอยู่อาศัยสัดส่วนร้อยละ 38.0 และ สาขาอื่น ๆ อีกร้อยละ 1.7 โดยใช้ในเขตกรุงเทพมหานครสัดส่วนร้อยละ 53.9 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ 46.1
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วรวมทั้งสิ้น 15,168 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 261,367 บาเรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อนอัตราร้อยละ 0.1 มีการใช้ในสาขาคมนาคมขนส่งมากที่สุดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.9 ส่วนที่เหลือใช้ในสาขาการเกษตร สาขาอุตสาหกรรม สาขาก่อสร้าง สาขาไฟฟ้า และสาขาอื่น ๆ เป็นสัดส่วนร้อยละ 15.7, 3.8, 1.2, 1.0 และ 0.4, ตามลำดับ การใช้ในเขตกรุงเทพมหานครสัดส่วนร้อยละ 28.8 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ 71.2
น้ำมันดีเซลหมุนช้า
ปี 2542 มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนช้ารวมทั้งสิ้น 135 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 2,333 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 14.9 เป็นการใช้ในสาขาคมนาคมขนส่งเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.1 สาขาอุตสาหกรรมสัดส่วนร้อยละ 20.6 และ สาขาอื่นๆ อีกร้อยละ 2.3 ซึ่งเป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 66.0 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ 34.0
น้ำมันเตา
การใช้น้ำมันเตาในปี 2542 รวมทั้งสิ้น 7,961 ล้านลิตร หรือเฉลี่ย 137,178 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงเล็กน้อยอัตราร้อยละ 0.04 การใช้น้ำมันเตายังคงใช้ในสาขาไฟฟ้าสูงสุดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.6 รองลงมาใช้ในสาขาอุตสาหกรรมสัดส่วนร้อยละ 40.3 สาขาคมนาคมขนส่งสัดส่วนร้อยละ 10.1 และสาขาอื่น ๆ สัดส่วนร้อยละ 2.0 เป็นการใช้ในเขตกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.3 และส่วนภูมิภาคสัดส่วนร้อยละ 47.7
3.2 ก๊าซธรรมชาติ
ปี 2542 มีการใช้ก๊าซธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 545,492 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเฉลี่ย 1,494 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มจากปีก่อนอัตราร้อยละ 8.2 โดยใช้ในการผลิตไฟฟ้า 1,368 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มจากปีก่อนอัตราร้อยละ 6.8 ใช้ในอุตสาหกรรม 126 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนอัตราร้อยละ 26.8 ใช้ในสาขาคมนาคมขนส่ง 0.570 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ลดลงจากปีที่แล้วอัตราร้อยละ 8.0 สำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติในสาขาอุตสาหกรรมมีการใช้ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.1 และอุตสาหกรรมเซรามิค แก้ว และอื่น ๆ สัดส่วนร้อยละ 84.9 ของอุตสาหกรรมทั้งหมด
--Oil and Thailand 1999 Department of Energy Development and Promotion,
Ministry of Science, Technology and Environment--