กรุงเทพฯ--27 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
สถาบันการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้นำคณะเจ้าหน้าที่การทูตแรกเข้ากระทรวงการต่างประเทศ และนักเรียนทุนกระทรวงฯ ที่เพิ่งกลับมารับราชการในช่วง 1-2 ปี จำนวน 44 คน เดินทางไปศึกษาวิถีชุมชนและปัญหาบริเวณแนวชายแดน รวมทั้งเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การวิจัยปัญหาชายแดนกับการกำหนดนโยบายต่างประเทศแบบมีส่วนร่วม” ด้านไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2544 และด้านไทย-กัมพูชา ที่บริเวณแนวชายแดน 4 จังหวัด คือ สระแก้ว-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 9-12 พฤศจิกายน 2544 การเดินทางไปศึกษาปัญหาบริเวณแนวชายแดนนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เดินทางโดยรถไฟไปยัง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส และเดินทางต่อโดยรถตู้เพื่อเยี่ยมชมและศึกษาการปฏิบัติงานของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย โดยคณะฯ ได้มีโอกาสศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนตลอดเส้นทางการเดินทางด้วย สำหรับการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ และร่วมในกิจกรรมกลุ่มกับผู้แทนชุมชนต่าง ๆ จากบริเวณชายแดน ทำให้ข้าราชการแรกเข้าฯ ได้เข้าใจสภาพ/ปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง และได้มีโอกาสร่วมวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งอีกด้วย กลุ่มที่สอง เดินทางโดยรถบัสไปยัง 4 จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา (สระแก้ว-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ) โดยได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วและบุรีรัมย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังสภาพการณ์ปัจจุบันและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดนด้านดังกล่าว รวมทั้งเข้าศึกษาสภาพพื้นที่ ทั้งที่ด่านชายแดนอรัญประเทศ-ปอยเปต จ.สระแก้ว และด่านช่องจอม จ.สุรินทร์ รวมทั้งเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ พูดคุยและรับทราบปัญหาจากกลุ่มชุมชนต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาสถานการณ์สาธารณสุขชายแดนและความร่วมมือไทย-กัมพูชา ที่โรงพยาบาลอำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์ อีกด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการและกิจกรรมเสริมต่าง ๆ ข้างต้น ล้วนเป็นประโยชน์โดยตรงต่อคณะข้าราชการแรกเข้าฯ และรองรับนโยบาย "การทูตเพื่อประชาชน" ของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนอกจากข้าราชการแรกเข้าฯ จะได้มีโอกาสไปสัมผัสกับสภาพความเป็นอยู่และรับทราบปัญหาที่ แท้จริงของประชาชนบริเวณแนวชายแดนทั้งสองด้านดังกล่าว อันมีส่วนเชื่อมโยงในเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านของไทยแล้ว ยังจะได้เรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานในระดับท้องถิ่น และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ในโอกาสต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
สถาบันการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้นำคณะเจ้าหน้าที่การทูตแรกเข้ากระทรวงการต่างประเทศ และนักเรียนทุนกระทรวงฯ ที่เพิ่งกลับมารับราชการในช่วง 1-2 ปี จำนวน 44 คน เดินทางไปศึกษาวิถีชุมชนและปัญหาบริเวณแนวชายแดน รวมทั้งเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การวิจัยปัญหาชายแดนกับการกำหนดนโยบายต่างประเทศแบบมีส่วนร่วม” ด้านไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 4-8 ตุลาคม 2544 และด้านไทย-กัมพูชา ที่บริเวณแนวชายแดน 4 จังหวัด คือ สระแก้ว-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 9-12 พฤศจิกายน 2544 การเดินทางไปศึกษาปัญหาบริเวณแนวชายแดนนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เดินทางโดยรถไฟไปยัง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส และเดินทางต่อโดยรถตู้เพื่อเยี่ยมชมและศึกษาการปฏิบัติงานของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย โดยคณะฯ ได้มีโอกาสศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนตลอดเส้นทางการเดินทางด้วย สำหรับการเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ และร่วมในกิจกรรมกลุ่มกับผู้แทนชุมชนต่าง ๆ จากบริเวณชายแดน ทำให้ข้าราชการแรกเข้าฯ ได้เข้าใจสภาพ/ปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง และได้มีโอกาสร่วมวิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งอีกด้วย กลุ่มที่สอง เดินทางโดยรถบัสไปยัง 4 จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา (สระแก้ว-บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ) โดยได้เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้วและบุรีรัมย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังสภาพการณ์ปัจจุบันและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามแนวชายแดนด้านดังกล่าว รวมทั้งเข้าศึกษาสภาพพื้นที่ ทั้งที่ด่านชายแดนอรัญประเทศ-ปอยเปต จ.สระแก้ว และด่านช่องจอม จ.สุรินทร์ รวมทั้งเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ พูดคุยและรับทราบปัญหาจากกลุ่มชุมชนต่าง ๆ
นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาสถานการณ์สาธารณสุขชายแดนและความร่วมมือไทย-กัมพูชา ที่โรงพยาบาลอำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์ อีกด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการและกิจกรรมเสริมต่าง ๆ ข้างต้น ล้วนเป็นประโยชน์โดยตรงต่อคณะข้าราชการแรกเข้าฯ และรองรับนโยบาย "การทูตเพื่อประชาชน" ของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนอกจากข้าราชการแรกเข้าฯ จะได้มีโอกาสไปสัมผัสกับสภาพความเป็นอยู่และรับทราบปัญหาที่ แท้จริงของประชาชนบริเวณแนวชายแดนทั้งสองด้านดังกล่าว อันมีส่วนเชื่อมโยงในเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านของไทยแล้ว ยังจะได้เรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการการทำงานในระดับท้องถิ่น และการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ในโอกาสต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-