นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรม ในการสัมมนาร่วมกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง ในหัวข้อเรื่อง “รวมพลังฝ่าวิกฤตเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมไทย” ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ในวันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคมนี้ว่าภาคเอกชนและภาครัฐนั้นจะต้องร่วมมือกันในลักษณะของหุ้นส่วน โดยภาคเอกชนจะเป็นผู้ปฏิบัติ ในขณะที่บทบาทของรัฐบาลจะเป็นฝ่ายสนับสนุนในด้านการเจรจาการค้า และปกป้องผลประโยชน์ให้กับเอกชน ซึ่งการที่จะทำงานให้สอดคล้องประสานกันได้ดีนั้น จะต้องสร้างความมั่นใจให้เป็นหนึ่งเดียว
ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์นั้นจะทำงานโดยลงลึกในรายละเอียดของแต่ละรายสินค้า และรายตลาด เพื่อรวบรวมข้อมูลมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมทั้งวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายการส่งออกของแต่ละรายสินค้าด้วย โดยกรมส่งเสริมการส่งออก และกรมการค้าต่างประเทศจะร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อดำเนินการดังกล่าว
สำหรับรายสินค้าที่มีศักยภาพและจะพยายามผลักดันให้มีการส่งออกมากขึ้นนั่นคือ อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกจาก 8 % เป็น 12% โดยใช้วิธีการเพิ่มความหลากหลายผลิตสินค้ารูปแบบใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า รวมทั้งหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มเติม ซึ่งในส่วนของการหาตลาดใหม่นั้นภาครัฐได้ใช้วิธีเจรจาการค้าในลักษณะทวิภาคี รวมทั้งใช้วิธีการค้ารูปแบบใหม่ คือ Account Trade ซึ่งขณะนี้ได้มีการตกลงและลงมือปฏิบัติกับหลายประเทศแล้ว วิธีนี้เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มยอดตัวเลขการส่งออกให้กับประเทศได้
และสิ่งสำคัญในการส่งออกสินค้าทุกประเทศก็คือ การสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าที่ส่งออก ซึ่งขณะนี้ตลาดต่างประเทศได้มีการเข้มงวดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ภาครัฐเองก็ได้พยายามเจรจาต่อรองเพื่อช่วยเหลืออยู่ ส่วนภาคเอกชนก็จำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อสร้างมาตรฐานให้แก่สินค้าของตนเองด้วย
ส่วนปัญหาด้านการส่งออกในเรื่องของโครงสร้างภาษีที่ไม่สอดคล้องกับการลงทุน รวมทั้งปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ทั้ง 3 กระทรวงได้ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกมีความคล่องตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังมีนโยบายเกี่ยวกับการ Re —Export โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการนำเข้า ซึ่งเห็นว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศได้อีกทางด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-
ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์นั้นจะทำงานโดยลงลึกในรายละเอียดของแต่ละรายสินค้า และรายตลาด เพื่อรวบรวมข้อมูลมาใช้ในการปรับกลยุทธ์ส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว รวมทั้งวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายการส่งออกของแต่ละรายสินค้าด้วย โดยกรมส่งเสริมการส่งออก และกรมการค้าต่างประเทศจะร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อดำเนินการดังกล่าว
สำหรับรายสินค้าที่มีศักยภาพและจะพยายามผลักดันให้มีการส่งออกมากขึ้นนั่นคือ อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกจาก 8 % เป็น 12% โดยใช้วิธีการเพิ่มความหลากหลายผลิตสินค้ารูปแบบใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า รวมทั้งหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มเติม ซึ่งในส่วนของการหาตลาดใหม่นั้นภาครัฐได้ใช้วิธีเจรจาการค้าในลักษณะทวิภาคี รวมทั้งใช้วิธีการค้ารูปแบบใหม่ คือ Account Trade ซึ่งขณะนี้ได้มีการตกลงและลงมือปฏิบัติกับหลายประเทศแล้ว วิธีนี้เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มยอดตัวเลขการส่งออกให้กับประเทศได้
และสิ่งสำคัญในการส่งออกสินค้าทุกประเทศก็คือ การสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าที่ส่งออก ซึ่งขณะนี้ตลาดต่างประเทศได้มีการเข้มงวดในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ภาครัฐเองก็ได้พยายามเจรจาต่อรองเพื่อช่วยเหลืออยู่ ส่วนภาคเอกชนก็จำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อสร้างมาตรฐานให้แก่สินค้าของตนเองด้วย
ส่วนปัญหาด้านการส่งออกในเรื่องของโครงสร้างภาษีที่ไม่สอดคล้องกับการลงทุน รวมทั้งปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ทั้ง 3 กระทรวงได้ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งจะช่วยให้การส่งออกมีความคล่องตัวมากขึ้น ขณะเดียวกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ยังมีนโยบายเกี่ยวกับการ Re —Export โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานการนำเข้า ซึ่งเห็นว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศได้อีกทางด้วย
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-