บทสรุปสำหรับนักลงทุน
เต้นท์สำหรับการเดินทางที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาโดยตลอดจากความต้องการสั่งชื้อและรูปแบบการออกแบบจากผู้จ้างผลิตในประเทศทำให้การส่งออกเต้นท์สำหรับเดินทางของไทยมีการเติบโตมาโดยตลอด ในขณะเดียวกันความต้องการใช้เต้นท์เดินทางในประเทศก็มีการเติบโตด้วยเช่นกัน จากกระแสความนิยมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยหันมาให้ความสนใจกับการใช้เต้นท์เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น
รูปแบบของเต้นท์เดินทางในปัจจุบันซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยโดยเต้นท์เดินทางสามารถมีระบบการถ่ายเทอากาศได้ดี ป้องกันการรั่วซึมบริเวณตะเข็บซึ่งมีคุณภาพทัดเทียมกับการผลิตในต่างประเทศ ดังนั้นการที่ผู้ผลิตภายในประเทศสามารถผลิตเต้นท์เดินทางคุณภาพสูงได้จึงเป็นการลดการนำเข้าอุปกรณ์เต้นท์เดินทางได้ และยังช่วยส่งเสริมให้มีความต้องการการใช้ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเต้นท์สำหรับเดินทางในประเทศ 8 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กมีเงินลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท จำนวน 6 ราย และเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางมีเงินทุนตั้งแต่ 25 ล้านบาท ขึ้นไป 2 ราย ซึ่งทั้งสองรายเป็นผู้รับจ้างผลิตเต้นท์เดินทางเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหลักคือผ้าที่ใช้ทำเต้นท์เป็นผ้าพิเศษชนิดเคลือบ PU ซึ่งสามารถหาได้ภายในประเทศ และบางส่วนมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนโครงไฟเบอร์กลาสของเต้นท์นั้น ส่วนใหญ่ยังนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น จีน ด้านเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตคือ จักรเย็บผ้า ซึ่งหาได้ภายในประเทศ
ส่วนเครื่องจักรสำหรับการ Seal ตะเข็บยังต้องมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ สิ่งสำคัญในการผลิตเต้นท์เดินทางคือ ต้องสามารถสร้างความแตกต่างของสินค้าจากรูปแบบของดีไชน์ที่ทันสมัยและสะดวกแก่การใช้งานทั้งนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักทำการผลิตในลักษณะของการจ้างงานต่อช่วง (Sub-Contract) ของชิ้นงานบางส่วนออกไปให้ผู้ตัดเย็บรายเล็กๆ แล้วนำมาประกอบเป็นเต้นท์ เพื่อลดบุคลากรซึ่งเป็นการประหยัดต้นทุนในการดำเนินกิจการ
ด้านการจำหน่ายนั้นมีช่องทางในการจำหน่ายค่อนข้างกว้างโดยสามารถผ่านช่องทางได้ทั้งในห้างสรรพสินค้าแผนกกีฬา ศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์การเดินทาง และการออกงานแสดงสินค้า ซึ่งสามารถทำตลาดได้ทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก
ด้านการลงทุนควรมีเงินลงทุน ประมาณ 2 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินตลาดด้วยตนเอง (หากไม่ต้องการลงทุนแบบครบวงจรอาจใช้เงินลงทุนเพียง 1 ล้านบาท) ทั้งนี้การลงทุนประมาณ 50 % เป็นค่าสินทรัพย์ถาวร และอีก 50 % เป็นเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ ซึ่งประมาณ 40 % ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิต และอีก 60 % ของค่าดำเนินการเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาดซึ่งต้องใช้เงินดำเนินการค่อนข้างมากกว่าสินค้าอื่นๆเนื่องจากต้องเน้นภาพลักษณ์และช่องทางการตลาดที่ต้องเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด
รวมทั้งต้องศึกษารูปแบบการดีไซน์จากต่างประเทศเพื่อให้สินค้าทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งนี้จากเงินลงทุนขั้นต้น 2 ล้านบาท หากทำการผลิตและจำหน่ายเต้นท์สำหรับการเดินทาง 100 หลัง/เดือน ในราคา 2,000 บาท/หลัง โดยมีกำไรสุทธิประมาณ 20 % ของยอดขาย จะมีระยะเวลาคืนทุน 4-5 ปี และได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 6.4% ตลอดระยะเวลาโครงการ 5 ปี ที่ได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
เต้นท์สำหรับการเดินทางที่มีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาโดยตลอดจากความต้องการสั่งชื้อและรูปแบบการออกแบบจากผู้จ้างผลิตในประเทศทำให้การส่งออกเต้นท์สำหรับเดินทางของไทยมีการเติบโตมาโดยตลอด ในขณะเดียวกันความต้องการใช้เต้นท์เดินทางในประเทศก็มีการเติบโตด้วยเช่นกัน จากกระแสความนิยมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยหันมาให้ความสนใจกับการใช้เต้นท์เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น
รูปแบบของเต้นท์เดินทางในปัจจุบันซึ่งมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยโดยเต้นท์เดินทางสามารถมีระบบการถ่ายเทอากาศได้ดี ป้องกันการรั่วซึมบริเวณตะเข็บซึ่งมีคุณภาพทัดเทียมกับการผลิตในต่างประเทศ ดังนั้นการที่ผู้ผลิตภายในประเทศสามารถผลิตเต้นท์เดินทางคุณภาพสูงได้จึงเป็นการลดการนำเข้าอุปกรณ์เต้นท์เดินทางได้ และยังช่วยส่งเสริมให้มีความต้องการการใช้ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเต้นท์สำหรับเดินทางในประเทศ 8 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กมีเงินลงทุนไม่เกิน 10 ล้านบาท จำนวน 6 ราย และเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางมีเงินทุนตั้งแต่ 25 ล้านบาท ขึ้นไป 2 ราย ซึ่งทั้งสองรายเป็นผู้รับจ้างผลิตเต้นท์เดินทางเพื่อการส่งออกเป็นหลัก โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหลักคือผ้าที่ใช้ทำเต้นท์เป็นผ้าพิเศษชนิดเคลือบ PU ซึ่งสามารถหาได้ภายในประเทศ และบางส่วนมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนโครงไฟเบอร์กลาสของเต้นท์นั้น ส่วนใหญ่ยังนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น จีน ด้านเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตคือ จักรเย็บผ้า ซึ่งหาได้ภายในประเทศ
ส่วนเครื่องจักรสำหรับการ Seal ตะเข็บยังต้องมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ สิ่งสำคัญในการผลิตเต้นท์เดินทางคือ ต้องสามารถสร้างความแตกต่างของสินค้าจากรูปแบบของดีไชน์ที่ทันสมัยและสะดวกแก่การใช้งานทั้งนี้ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักทำการผลิตในลักษณะของการจ้างงานต่อช่วง (Sub-Contract) ของชิ้นงานบางส่วนออกไปให้ผู้ตัดเย็บรายเล็กๆ แล้วนำมาประกอบเป็นเต้นท์ เพื่อลดบุคลากรซึ่งเป็นการประหยัดต้นทุนในการดำเนินกิจการ
ด้านการจำหน่ายนั้นมีช่องทางในการจำหน่ายค่อนข้างกว้างโดยสามารถผ่านช่องทางได้ทั้งในห้างสรรพสินค้าแผนกกีฬา ศูนย์จำหน่ายอุปกรณ์การเดินทาง และการออกงานแสดงสินค้า ซึ่งสามารถทำตลาดได้ทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก
ด้านการลงทุนควรมีเงินลงทุน ประมาณ 2 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินตลาดด้วยตนเอง (หากไม่ต้องการลงทุนแบบครบวงจรอาจใช้เงินลงทุนเพียง 1 ล้านบาท) ทั้งนี้การลงทุนประมาณ 50 % เป็นค่าสินทรัพย์ถาวร และอีก 50 % เป็นเงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ ซึ่งประมาณ 40 % ค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนการผลิต และอีก 60 % ของค่าดำเนินการเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาดซึ่งต้องใช้เงินดำเนินการค่อนข้างมากกว่าสินค้าอื่นๆเนื่องจากต้องเน้นภาพลักษณ์และช่องทางการตลาดที่ต้องเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด
รวมทั้งต้องศึกษารูปแบบการดีไซน์จากต่างประเทศเพื่อให้สินค้าทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งนี้จากเงินลงทุนขั้นต้น 2 ล้านบาท หากทำการผลิตและจำหน่ายเต้นท์สำหรับการเดินทาง 100 หลัง/เดือน ในราคา 2,000 บาท/หลัง โดยมีกำไรสุทธิประมาณ 20 % ของยอดขาย จะมีระยะเวลาคืนทุน 4-5 ปี และได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 6.4% ตลอดระยะเวลาโครงการ 5 ปี ที่ได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--