ข่าวในประเทศ
1. นรม. ให้ ธปท. ทบทวนนโยบายอัตราดอกเบี้ย รมว.คลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจว่า นรม. ได้มอบหมายให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ศึกษานโยบายอัตราดอกเบี้ยอย่างละเอียดอีกครั้งว่า นโยบายในปัจจุบันมีความเหมาะสมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดูแลการไหลเข้าออกของเงินทุน ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อผู้ออมเงินและตลาดทุนแล้วหรือไม่ โดยรัฐบาลต้องการให้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นนโยบายที่ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ในระดับที่สร้างเสถียรภาพในระยะยาว และทำให้เงินทุนไหลเข้าออกเป็นปกติ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ 22)
2. ธปท. ออกหนังสือเวียนให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานการบัญชี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีฉบับที่ 40 หรือฉบับล่าสุดของ ธปท. โดยตราสารหนี้ในความหมายของ ธปท. คือ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตราสารอื่นที่ออกโดยรัฐบาลไทย องค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและออกในลักษณะการระดมทุน รวมทั้งตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้ขาย หรือตราสารที่ ธปท. อนุญาตเพิ่มเติมภายหลัง(ข่าวสด 22)
3. ผอส.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าคณะทำงานจัดตั้งทีเอเอ็มซี รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) ว่า ประธานคณะทำงานจัดตั้งทีเอเอ็มซี ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าการ ธปท.เพื่อขอยืมตัว ร.ต.ยอดชาย ชูศรี ผู้อำนวยการอาวุโสสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าคณะทำงานฯ ชั่วคราว 3 เดือน เพื่อวางระบบงานล่วงหน้าก่อนการจัดตั้งทีเอเอ็มซีจะแล้วเสร็จ โดยขอบข่ายการทำงานของคณะทำงานฯ จะคลอบคลุมการวางระบบงาน การเตรียมความพร้อมของสถานที่และข้อมูลที่จะนำมาใช้ในอนาคต รวมถึงประสานงานกับหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ธปท.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากสายนโยบายการเงินและสายกำกับสถาบันการเงินของ ธปท.จำนวน 10 คนเข้าร่วมคณะทำงานฯ ด้วย ทั้งนี้ คาดว่า ผอส.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการทีเอเอ็มซี เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (เดลินิวส์ 22)
4. รมว.คลังชี้แจงไอเอ็มเอฟเกี่ยวกับการเพิ่มวงเงิน งปม.ขาดดุลปี 45 รมว.คลังเปิดเผยภายหลังการเข้าพบของเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)ระดับภูมิภาค ว่า ได้ชี้แจงกรณีที่รัฐบาลเพิ่มวงเงินขาดดุล งปม.ปี 45 อีกจำนวน 50,000 ล.บาท เพื่อสำรองไว้เป็นเงินฉุกเฉินสำหรับรองรับเศรษฐกิจ สรอ.ที่อาจชะลอตัวลงมากซึ่งไอเอ็มเอฟได้แสดงความเห็นให้ ก.คลังดูแลเรื่องการใช้จ่ายอย่างมีระเบียบแบบแผนและเกิดความโปร่งใสมากที่สุด ทั้งนี้ งปม.ที่ขาดดุลเพิ่มขึ้น รัฐบาลจะนำไปใช้ใน 3 ด้าน คือ การท่องเที่ยว การเพิ่มผลผลิต และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (ไทยรัฐ, เดลินิวส์ 22)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน มี.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ค.44 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) กล่าวว่า ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจหลังสิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ปี 44 ทำให้คาดหมายว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่จะประกาศในเดือนหน้าจะแข็งแกร่งขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ โดยดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือน ก.พ.44 ส่วนประกอบของดัชนีที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ภาคอุตสาหกรรมบริการ (Tertiary sector) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของดัชนีฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมในไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.44) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีฯภาคบริการถึงร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตาม บรรดานักเศรษฐศาสตร์ที่คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนีฯ โดยรวมและอุตสาหกรรมบริการในเดือน มี.ค.จะลดลงประมาณร้อยละ 1.0 นั้น ยังคงไม่แน่ใจเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจท่ามกลางความต้องการที่อ่อนตัวลงของเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์ 22)
2. ปรับลดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ. ในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 21 พ.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน มี.ค. 44 ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ลดลงจากรายงานเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เทียบกับตัวเลขหลังปรับ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในเดือน ก.พ. 44 นอกจากนั้นทางการ ได้ปรับลดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน ในเดือน มี.ค. 44 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบกับตัวเลขหลังปรับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ในเดือน ก.พ. 44.(รอยเตอร์21)
3. ไต้หวันเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่าที่คาดหมายในไตรมาสแรกปี 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 21 พ.ค. 44 ธ. กลางไต้หวัน เปิดเผยว่า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสแรกปี 44 มีจำนวนทั้งสิ้น 3.942 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 2.99 พัน ล. ดอลลาร์ และเทียบกับที่เกินดุลฯ จำนวน 1.42 พัน ล. ดอลลาร์ และ 3.97 พัน ล. ดอลลาร์ในไตรมาสแรกปี 43 และไตรมาสที่ 4 ปี 43 ตามลำดับ การเกินดุลฯ ครั้งนี้ ส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นการเกินดุลสินค้า ขณะที่ภาคบริการขาดดุล (รอยเตอร์21)
4. คาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 21 พ.ค. 44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน พ.ค.44 จะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 ยิ่งสนับสนุนการคาดหมายว่า ธ. กลางยุโรปจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจนถึงครึ่งหลังเดือน มิ.ย. 44 (รอยเตอร์21)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 21พ.ค. 44 45.616 (45.407)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 21 พ.ค. 44ซื้อ 45.4187 (45.1331) ขาย 45.7119 (45.4302)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,000 (6,050) ขาย 6,100 (6,200)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.26 (26.44)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. นรม. ให้ ธปท. ทบทวนนโยบายอัตราดอกเบี้ย รมว.คลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจว่า นรม. ได้มอบหมายให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ศึกษานโยบายอัตราดอกเบี้ยอย่างละเอียดอีกครั้งว่า นโยบายในปัจจุบันมีความเหมาะสมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดูแลการไหลเข้าออกของเงินทุน ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อผู้ออมเงินและตลาดทุนแล้วหรือไม่ โดยรัฐบาลต้องการให้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นนโยบายที่ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ในระดับที่สร้างเสถียรภาพในระยะยาว และทำให้เงินทุนไหลเข้าออกเป็นปกติ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ 22)
2. ธปท. ออกหนังสือเวียนให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานการบัญชี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ออกหนังสือเวียนให้สถาบันการเงินบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีฉบับที่ 40 หรือฉบับล่าสุดของ ธปท. โดยตราสารหนี้ในความหมายของ ธปท. คือ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตราสารอื่นที่ออกโดยรัฐบาลไทย องค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นและออกในลักษณะการระดมทุน รวมทั้งตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้ขาย หรือตราสารที่ ธปท. อนุญาตเพิ่มเติมภายหลัง(ข่าวสด 22)
3. ผอส.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท. เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าคณะทำงานจัดตั้งทีเอเอ็มซี รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) ว่า ประธานคณะทำงานจัดตั้งทีเอเอ็มซี ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าการ ธปท.เพื่อขอยืมตัว ร.ต.ยอดชาย ชูศรี ผู้อำนวยการอาวุโสสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าคณะทำงานฯ ชั่วคราว 3 เดือน เพื่อวางระบบงานล่วงหน้าก่อนการจัดตั้งทีเอเอ็มซีจะแล้วเสร็จ โดยขอบข่ายการทำงานของคณะทำงานฯ จะคลอบคลุมการวางระบบงาน การเตรียมความพร้อมของสถานที่และข้อมูลที่จะนำมาใช้ในอนาคต รวมถึงประสานงานกับหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ธปท.ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากสายนโยบายการเงินและสายกำกับสถาบันการเงินของ ธปท.จำนวน 10 คนเข้าร่วมคณะทำงานฯ ด้วย ทั้งนี้ คาดว่า ผอส.สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการทีเอเอ็มซี เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานด้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (เดลินิวส์ 22)
4. รมว.คลังชี้แจงไอเอ็มเอฟเกี่ยวกับการเพิ่มวงเงิน งปม.ขาดดุลปี 45 รมว.คลังเปิดเผยภายหลังการเข้าพบของเจ้าหน้าที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)ระดับภูมิภาค ว่า ได้ชี้แจงกรณีที่รัฐบาลเพิ่มวงเงินขาดดุล งปม.ปี 45 อีกจำนวน 50,000 ล.บาท เพื่อสำรองไว้เป็นเงินฉุกเฉินสำหรับรองรับเศรษฐกิจ สรอ.ที่อาจชะลอตัวลงมากซึ่งไอเอ็มเอฟได้แสดงความเห็นให้ ก.คลังดูแลเรื่องการใช้จ่ายอย่างมีระเบียบแบบแผนและเกิดความโปร่งใสมากที่สุด ทั้งนี้ งปม.ที่ขาดดุลเพิ่มขึ้น รัฐบาลจะนำไปใช้ใน 3 ด้าน คือ การท่องเที่ยว การเพิ่มผลผลิต และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (ไทยรัฐ, เดลินิวส์ 22)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน มี.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 22 พ.ค.44 ก.เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) กล่าวว่า ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจหลังสิ้นสุดไตรมาสที่ 1 ปี 44 ทำให้คาดหมายว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ที่จะประกาศในเดือนหน้าจะแข็งแกร่งขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ โดยดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของธุรกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือน ก.พ.44 ส่วนประกอบของดัชนีที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ภาคอุตสาหกรรมบริการ (Tertiary sector) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของดัชนีฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเมื่อเทียบไตรมาสต่อไตรมาส ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมในไตรมาสที่ 1 (ม.ค.-มี.ค.44) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีฯภาคบริการถึงร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตาม บรรดานักเศรษฐศาสตร์ที่คาดหมายไว้ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนีฯ โดยรวมและอุตสาหกรรมบริการในเดือน มี.ค.จะลดลงประมาณร้อยละ 1.0 นั้น ยังคงไม่แน่ใจเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจท่ามกลางความต้องการที่อ่อนตัวลงของเศรษฐกิจโลก (รอยเตอร์ 22)
2. ปรับลดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของ สรอ. ในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 21 พ.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน มี.ค. 44 ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ลดลงจากรายงานเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เทียบกับตัวเลขหลังปรับ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในเดือน ก.พ. 44 นอกจากนั้นทางการ ได้ปรับลดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน ในเดือน มี.ค. 44 เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ลดลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบกับตัวเลขหลังปรับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ในเดือน ก.พ. 44.(รอยเตอร์21)
3. ไต้หวันเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่าที่คาดหมายในไตรมาสแรกปี 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 21 พ.ค. 44 ธ. กลางไต้หวัน เปิดเผยว่า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสแรกปี 44 มีจำนวนทั้งสิ้น 3.942 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะมีจำนวน 2.99 พัน ล. ดอลลาร์ และเทียบกับที่เกินดุลฯ จำนวน 1.42 พัน ล. ดอลลาร์ และ 3.97 พัน ล. ดอลลาร์ในไตรมาสแรกปี 43 และไตรมาสที่ 4 ปี 43 ตามลำดับ การเกินดุลฯ ครั้งนี้ ส่วนใหญ่เนื่องจากเป็นการเกินดุลสินค้า ขณะที่ภาคบริการขาดดุล (รอยเตอร์21)
4. คาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 ในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 21 พ.ค. 44 นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน พ.ค.44 จะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 ยิ่งสนับสนุนการคาดหมายว่า ธ. กลางยุโรปจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจนถึงครึ่งหลังเดือน มิ.ย. 44 (รอยเตอร์21)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 21พ.ค. 44 45.616 (45.407)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 21 พ.ค. 44ซื้อ 45.4187 (45.1331) ขาย 45.7119 (45.4302)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,000 (6,050) ขาย 6,100 (6,200)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.26 (26.44)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-