ในเดือนสิงหาคม ดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวแข็งขึ้นเทียบกับยูโรดอลลาร์ และปอนด์สเตอร์ลิง แต่ทรงตัวเมื่อเทียบกับเยนญี่ปุ่น
ดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลสำคัญ โดยตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวปรับตัวลดลง ซึ่งแสดงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ MSCI (All Country World Index Free) ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ทำให้เกิด sentiment เชิงบวกต่อดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ผลการประชุมคณะกรรมการ FOMC ในวันที่ 22 สิงหาคม มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate ไว้ที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี โดย ได้ให้เหตุผลว่าการขยายตัวของผลิตภาพการผลิต (productivity growth) ที่ระดับร้อยละ 5.3 เป็นปัจจัยที่ลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงมีความเสี่ยงต่อแรงกดดันเงินเฟ้อจากอุปสงค์ที่สูง และภาวะตลาดแรงงานที่ยังคงตึงตัว
ยูโรดอลลาร์
ยูโรดอลลาร์ปรับตัวอ่อนลง ส่วนหนึ่งเกิดจากผลการสำรวจความมั่นใจของธุรกิจ IFO (Information & Forschung Institut) ของเยอรมนี ประจำเดือนกรกฎาคม ลดลงสู่ระดับ 99.1 จาก 100.4 ในเดือนมิถุนายน ทำให้ตลาดคาดว่ามีการชะลอตัวของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของ Eurozone ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อนึ่ง ECB ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย refinancing rate ร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4.25 เป็นร้อยละ 4.5 ต่อปี ในวันที่ 31 สิงหาคม โดยมีผลในวันที่ 6 กันยายน
เยน
ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งขึ้นในช่วงปลายเดือนหลังจากการคาดการณ์ว่า GDP ในไตรมาสที่ 2 ของญี่ปุ่นจะออกมาดี และมีนักการเมืองพรรค LDP กล่าวว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถทนการปรับตัวแข็งขึ้นของค่าเงินเยนได้ถึง 103 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งทำให้ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งขึ้น อย่างรวดเร็ว และทำให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังออกมาเตือนว่าไม่ต้องการเห็นค่าเงินเยนปรับตัวแข็งขึ้นเร็วเกินไป ตัวเลข wage earners' spending เดือนกรกฎาคม ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.6 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 2.6 แต่ตัวเลข mom กลับปรับ เพิ่มขึ้นจากติดลบร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อนหน้าเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 อนึ่ง ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย O/N ขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม
ค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังคงปรับตัวอ่อนลง ยกเว้น ค่าเงินรูเปียอินโดนีเซีย และดอลลาร์สิงคโปร์รูเปียอินโดนีเซีย
ค่าเงินรูเปียอินโดนีเซียปรับตัวดีขึ้น โดยในช่วงต้นเดือน รูเปียอินโดนีเซียได้รับปัจจัยบวกจากข่าวที่ประธานาธิบดี Wahid จะปรับคณะรัฐมนตรีซึ่งจะประกอบด้วย technocrats จำนวนร้อยละ 60 และ ที่เหลือจะมาจากพรรคการเมือง อย่างไรก็ตามภายหลังการประกาศปรับคณะรัฐมนตรี โดยนาย Prijadi Pratosuhardjo ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาด เนื่องจากเคยไม่ผ่านการพิจารณาจากธนาคารกลางอินโดนีเซียในการ เข้าไปบริหารธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งของรัฐ ปัจจัยดังกล่าวทำให้ค่าเงินรูเปียปรับตัวอ่อนลงในช่วงปลายเดือน
เกาหลีใต้
ดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ประจำเดือนกรกฎาคม แม้ว่าจะเกินดุลเพียง 810.7 ล้านดอลลาร์สรอ. จากที่เกินดุล 1.46 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน้ำมันนำเข้าที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าเงินวอนยังคงทรงตัวอยู่ได้ โดยผู้ส่งออกได้ขายดอลลาร์ สรอ. ออกมาและมีผลทำให้นักค้าเงินหยุดการประท้วงการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อการเก็งกำไร ซึ่งมีสาเหตุจากความไม่พอใจที่ทางการได้เข้าแทรกแซงค่าเงินมากเกินไป ซึ่งการยกเลิกการประท้วงดังกล่าวทำให้ปริมาณการซื้อขายประจำวันกลับสู่สภาพปกติที่ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ฟิลิปปินส์
เปโซฟิลิปปินส์ปรับตัวอ่อนลง โดยได้รับผลกระทบจากการประเมินตัวใหม่เลขการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลฟิลิปปินส์จากร้อยละ 1.9 เป็นร้อยละ 2.9ของ GDP คิดเป็นจำนวน 95 พันล้านเปโซ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลต่อ sentiment ของค่าเงินเปโซ อนึ่ง ตัวเลข NPL ของระบบธนาคารพาณิชย์ฟิลิปปินส์ ในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ร้อยละ 14.65 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม จากที่ระดับ รัอยละ 14.32 อนึ่ง ทางการฟิลิปปินส์ประกาศตัวเลข GDP ประจำไตรมาสที่ 2 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.5 (yoy)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาด onshore และราคาทองคำ
? ในเดือนสิงหาคม อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาดระหว่างธนาคาร (interbank) มีค่าเฉลี่ย 40.87 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. และอัตราเฉลี่ยซื้อ-ขายระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า (retail rate) มีค่าเฉลี่ย 40.83 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.61 และ 1.66 ตามลำดับ
? ค่าเงินบาทเทียบเงินสกุลสำคัญและเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาค เดือนนี้มีค่าเฉลี่ยอ่อนลง ยกเว้นเมื่อเทียบกับ ยูโรดอลลาร์โดยเงินบาทมีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับรูเปียอินโดนีเซีย (ร้อยละ 10.17) ดอลลาร์สิงคโปร์ (2.79) ดอลลาร์บรูไน (2.79) ริงกิตมาเลเซีย (1.90) ดอลลาร์ สรอ. (1.66) ดอลลาร์ฮ่องกง (1.63) เยนญี่ปุ่น (1.49) เปโซฟิลิปปินส์ (0.69) และ ปอนด์สเตอร์ลิง (0.33) เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรดอลลาร์ (ร้อยละ 2.06)
ปัจจัยลบที่มีผลต่อค่าเงินบาท
? MSCI ได้ประกาศปรับเพิ่มน้ำหนักให้กับสหรัฐฯ โดยได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในญี่ปุ่นและยุโรปลง โดย MSCI ได้เปิดเผยว่า มีการปรับลดน้ำหนักในตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยได้ตัดหลักทรัพย์ไทยจำนวน 8 หลักทรัพย์ และได้เพิ่มหลักทรัพย์ใหม่เพียง 1 หลักทรัพย์ ในดัชนี MSCI Thailand Index ซึ่งการปรับลดหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิด sentiment เชิงลบ
ต่อตลาดหลักทรัพย์ไทยและค่าเงินบาท
? การเร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนในประเทศ โดยส่วนหนึ่งเป็นการชำระหนี้ต่างประเทศก่อนกำหนด เนื่องจากเอกชนคาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวอ่อนลงในระยะนี้
? การอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ เป็นปัจจัยที่ กดดันค่าเงินบาท
สรุปความเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนในช่วง 8 เดือน
? เงินบาทเคลื่อนโน้มตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 8 เดือน โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยรายเดือน (อัตราอ้างอิง) เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 37.35 - 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเกิดจากการเร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนเพื่อเตรียมชำระหนี้เนื่องจากมี sentiment เชิงลบต่อ ค่าเงินบาท ตลอดจนการปรับตัวลดลงอย่างมากของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงที่ผ่านมา และการประกาศภาระหนี้ต่างประเทศจากการสำรวจทำให้ ตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ตลาดยังเชื่อว่า ธปท. จะไม่เข้าแทรกแซงค่าเงินบาท เว้นแต่เงินบาทมีความผันผวนมากเกินไป ซึ่งทำให้ตลาดคาดว่าค่าเงินบาท มีแนวโน้มปรับตัวอ่อนลงได้อีก ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯ ได้เพิ่มมากขึ้น โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง และการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ ค่าเงินบาทใน 8 เดือนแรก
ความเคลื่อนไหวในตลาดเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
? อัตรา swap premium ระยะ T/N ผันผวนตลอด ทั้งเดือนและโน้มตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่วนอัตรา swap premium ระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน ทรงตัวและอยู่ในระดับเดียวกันตลอดทั้งเดือน
? ส่วนต่างดอกเบี้ยบาท (อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร) และอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์ สรอ. (Fed Funds Rate) มีค่าเฉลี่ยติดลบร้อยละ 4.84 ต่อปี (ดอกเบี้ย Fed Funds Rate สูงกว่าดอกเบี้ยบาท) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณร้อยละ 0.7 ต่อปี เนื่องจากอัตรา ดอกเบี้ยภายในประเทศปรับตัวลดลงร้อยละ 0.7
ราคาทองคำ
? ราคาทองคำในตลาดต่างประเทศมีค่าเฉลี่ยลดลง 6.6 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ จากค่าเฉลี่ย 281.4 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนเป็น 274.8 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ ในเดือนสิงหาคม
? ราคาทองคำปรับตัวลดลงในช่วงต้นดือน ส่วนหนึ่ง เกิดจากการปรับตัวแข็งขึ้นของดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักของโลกโดยการปรับตัวแข็งขึ้นของดอลลาร์ สรอ. ก่อให้เกิดแรงจูงใจกับนักลงทุนในการเข้าถือครองสินทรัพย์ที่เป็นดอลลาร์ สรอ. โดยตลาดมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับขึ้น ดอกเบี้ยในการประชุม FOMC ในวันที่ 22 สิงหาคม นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับผลกระทบเชิงลบจากการนำเข้าทองคำของอินเดียซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ เนื่องจาก ค่าเงินรูปีที่อ่อนลงและจากภัยธรรมชาติซึ่งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย โดยปัจจัย ดังกล่าวได้ส่งผลต่ออุปสงค์ของทองคำในช่วงต้นเดือน อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำปรับตัวดีขึ้นในกลางเดือน โดยมีสาเหตุจากการที่นักลงทุนได้ปิดฐานะการขายทองคำล่วงหน้า ประกอบกับดอลลาร์ สรอ. ได้ปรับตัวอ่อนลงเล็กน้อยทำให้ราคาทองคำปรับตัวสู่ระดับ 277.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอาซ์ ซึ่งนักวิเคราะห์ได้มองว่า การปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าวเป็นเกิดจากปัจจัยชั่วคราว โดยการซื้อขายทองคำในระยะดังกล่าวมีปริมาณ เบาบาง ในช่วงสิ้นเดือน ราคาทองคำได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับเดียวกับในช่วงต้นเดือน
สรุปความเคลื่อนไหวราคาทองคำในช่วง 8 เดือน
? ราคาทองคำเฉลี่ยใน 8 เดือนแรกมีความผันผวนและได้โน้มตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ยกเว้น ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ในเรื่องของปริมาณทองคำที่จะเพิ่มขึ้นจากการขายทองคำของธนาคารกลางต่างๆ ในยุโรปในระหว่างปี จึงเกิดการขายในตลาดล่วงหน้า ตลอดจนมีการปิดฐานะทองคำก่อนวันส่งมอบ ซึ่งทำให้ราคาทองคำผันผวน ในตลาดซื้อขายทองคำทันที
ดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลสำคัญ โดยตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวปรับตัวลดลง ซึ่งแสดงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ MSCI (All Country World Index Free) ได้ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ทำให้เกิด sentiment เชิงบวกต่อดอลลาร์ สรอ. อนึ่ง ผลการประชุมคณะกรรมการ FOMC ในวันที่ 22 สิงหาคม มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate ไว้ที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี โดย ได้ให้เหตุผลว่าการขยายตัวของผลิตภาพการผลิต (productivity growth) ที่ระดับร้อยละ 5.3 เป็นปัจจัยที่ลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงมีความเสี่ยงต่อแรงกดดันเงินเฟ้อจากอุปสงค์ที่สูง และภาวะตลาดแรงงานที่ยังคงตึงตัว
ยูโรดอลลาร์
ยูโรดอลลาร์ปรับตัวอ่อนลง ส่วนหนึ่งเกิดจากผลการสำรวจความมั่นใจของธุรกิจ IFO (Information & Forschung Institut) ของเยอรมนี ประจำเดือนกรกฎาคม ลดลงสู่ระดับ 99.1 จาก 100.4 ในเดือนมิถุนายน ทำให้ตลาดคาดว่ามีการชะลอตัวของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของ Eurozone ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อนึ่ง ECB ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย refinancing rate ร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 4.25 เป็นร้อยละ 4.5 ต่อปี ในวันที่ 31 สิงหาคม โดยมีผลในวันที่ 6 กันยายน
เยน
ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งขึ้นในช่วงปลายเดือนหลังจากการคาดการณ์ว่า GDP ในไตรมาสที่ 2 ของญี่ปุ่นจะออกมาดี และมีนักการเมืองพรรค LDP กล่าวว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถทนการปรับตัวแข็งขึ้นของค่าเงินเยนได้ถึง 103 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งทำให้ค่าเงินเยนปรับตัวแข็งขึ้น อย่างรวดเร็ว และทำให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังออกมาเตือนว่าไม่ต้องการเห็นค่าเงินเยนปรับตัวแข็งขึ้นเร็วเกินไป ตัวเลข wage earners' spending เดือนกรกฎาคม ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.6 (yoy) เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 2.6 แต่ตัวเลข mom กลับปรับ เพิ่มขึ้นจากติดลบร้อยละ 3.4 ในเดือนก่อนหน้าเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 อนึ่ง ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย O/N ขึ้นร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม
ค่าเงินสกุลสำคัญในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังคงปรับตัวอ่อนลง ยกเว้น ค่าเงินรูเปียอินโดนีเซีย และดอลลาร์สิงคโปร์รูเปียอินโดนีเซีย
ค่าเงินรูเปียอินโดนีเซียปรับตัวดีขึ้น โดยในช่วงต้นเดือน รูเปียอินโดนีเซียได้รับปัจจัยบวกจากข่าวที่ประธานาธิบดี Wahid จะปรับคณะรัฐมนตรีซึ่งจะประกอบด้วย technocrats จำนวนร้อยละ 60 และ ที่เหลือจะมาจากพรรคการเมือง อย่างไรก็ตามภายหลังการประกาศปรับคณะรัฐมนตรี โดยนาย Prijadi Pratosuhardjo ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ไม่ได้รับการยอมรับจากตลาด เนื่องจากเคยไม่ผ่านการพิจารณาจากธนาคารกลางอินโดนีเซียในการ เข้าไปบริหารธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งของรัฐ ปัจจัยดังกล่าวทำให้ค่าเงินรูเปียปรับตัวอ่อนลงในช่วงปลายเดือน
เกาหลีใต้
ดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ประจำเดือนกรกฎาคม แม้ว่าจะเกินดุลเพียง 810.7 ล้านดอลลาร์สรอ. จากที่เกินดุล 1.46 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน้ำมันนำเข้าที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าเงินวอนยังคงทรงตัวอยู่ได้ โดยผู้ส่งออกได้ขายดอลลาร์ สรอ. ออกมาและมีผลทำให้นักค้าเงินหยุดการประท้วงการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อการเก็งกำไร ซึ่งมีสาเหตุจากความไม่พอใจที่ทางการได้เข้าแทรกแซงค่าเงินมากเกินไป ซึ่งการยกเลิกการประท้วงดังกล่าวทำให้ปริมาณการซื้อขายประจำวันกลับสู่สภาพปกติที่ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ฟิลิปปินส์
เปโซฟิลิปปินส์ปรับตัวอ่อนลง โดยได้รับผลกระทบจากการประเมินตัวใหม่เลขการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลฟิลิปปินส์จากร้อยละ 1.9 เป็นร้อยละ 2.9ของ GDP คิดเป็นจำนวน 95 พันล้านเปโซ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลต่อ sentiment ของค่าเงินเปโซ อนึ่ง ตัวเลข NPL ของระบบธนาคารพาณิชย์ฟิลิปปินส์ ในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ร้อยละ 14.65 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนพฤษภาคม จากที่ระดับ รัอยละ 14.32 อนึ่ง ทางการฟิลิปปินส์ประกาศตัวเลข GDP ประจำไตรมาสที่ 2 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 4.5 (yoy)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในตลาด onshore และราคาทองคำ
? ในเดือนสิงหาคม อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาดระหว่างธนาคาร (interbank) มีค่าเฉลี่ย 40.87 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. และอัตราเฉลี่ยซื้อ-ขายระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้า (retail rate) มีค่าเฉลี่ย 40.83 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.61 และ 1.66 ตามลำดับ
? ค่าเงินบาทเทียบเงินสกุลสำคัญและเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาค เดือนนี้มีค่าเฉลี่ยอ่อนลง ยกเว้นเมื่อเทียบกับ ยูโรดอลลาร์โดยเงินบาทมีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับรูเปียอินโดนีเซีย (ร้อยละ 10.17) ดอลลาร์สิงคโปร์ (2.79) ดอลลาร์บรูไน (2.79) ริงกิตมาเลเซีย (1.90) ดอลลาร์ สรอ. (1.66) ดอลลาร์ฮ่องกง (1.63) เยนญี่ปุ่น (1.49) เปโซฟิลิปปินส์ (0.69) และ ปอนด์สเตอร์ลิง (0.33) เงินบาทมีค่าแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรดอลลาร์ (ร้อยละ 2.06)
ปัจจัยลบที่มีผลต่อค่าเงินบาท
? MSCI ได้ประกาศปรับเพิ่มน้ำหนักให้กับสหรัฐฯ โดยได้ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในญี่ปุ่นและยุโรปลง โดย MSCI ได้เปิดเผยว่า มีการปรับลดน้ำหนักในตลาดหลักทรัพย์ไทยโดยได้ตัดหลักทรัพย์ไทยจำนวน 8 หลักทรัพย์ และได้เพิ่มหลักทรัพย์ใหม่เพียง 1 หลักทรัพย์ ในดัชนี MSCI Thailand Index ซึ่งการปรับลดหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิด sentiment เชิงลบ
ต่อตลาดหลักทรัพย์ไทยและค่าเงินบาท
? การเร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนในประเทศ โดยส่วนหนึ่งเป็นการชำระหนี้ต่างประเทศก่อนกำหนด เนื่องจากเอกชนคาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มปรับตัวอ่อนลงในระยะนี้
? การอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ เป็นปัจจัยที่ กดดันค่าเงินบาท
สรุปความเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนในช่วง 8 เดือน
? เงินบาทเคลื่อนโน้มตัวอ่อนลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 8 เดือน โดยค่าเงินบาทเฉลี่ยรายเดือน (อัตราอ้างอิง) เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 37.35 - 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเกิดจากการเร่งซื้อดอลลาร์ สรอ. ของเอกชนเพื่อเตรียมชำระหนี้เนื่องจากมี sentiment เชิงลบต่อ ค่าเงินบาท ตลอดจนการปรับตัวลดลงอย่างมากของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในช่วงที่ผ่านมา และการประกาศภาระหนี้ต่างประเทศจากการสำรวจทำให้ ตัวเลขหนี้ต่างประเทศของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ ตลาดยังเชื่อว่า ธปท. จะไม่เข้าแทรกแซงค่าเงินบาท เว้นแต่เงินบาทมีความผันผวนมากเกินไป ซึ่งทำให้ตลาดคาดว่าค่าเงินบาท มีแนวโน้มปรับตัวอ่อนลงได้อีก ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐฯ ได้เพิ่มมากขึ้น โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง และการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค อาทิ รูเปียอินโดนีเซีย และเปโซฟิลิปปินส์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อ ค่าเงินบาทใน 8 เดือนแรก
ความเคลื่อนไหวในตลาดเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
? อัตรา swap premium ระยะ T/N ผันผวนตลอด ทั้งเดือนและโน้มตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่วนอัตรา swap premium ระยะ 1 เดือน และ 3 เดือน ทรงตัวและอยู่ในระดับเดียวกันตลอดทั้งเดือน
? ส่วนต่างดอกเบี้ยบาท (อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคาร) และอัตราดอกเบี้ยดอลลาร์ สรอ. (Fed Funds Rate) มีค่าเฉลี่ยติดลบร้อยละ 4.84 ต่อปี (ดอกเบี้ย Fed Funds Rate สูงกว่าดอกเบี้ยบาท) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าประมาณร้อยละ 0.7 ต่อปี เนื่องจากอัตรา ดอกเบี้ยภายในประเทศปรับตัวลดลงร้อยละ 0.7
ราคาทองคำ
? ราคาทองคำในตลาดต่างประเทศมีค่าเฉลี่ยลดลง 6.6 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ จากค่าเฉลี่ย 281.4 ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อนเป็น 274.8 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอานซ์ ในเดือนสิงหาคม
? ราคาทองคำปรับตัวลดลงในช่วงต้นดือน ส่วนหนึ่ง เกิดจากการปรับตัวแข็งขึ้นของดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักของโลกโดยการปรับตัวแข็งขึ้นของดอลลาร์ สรอ. ก่อให้เกิดแรงจูงใจกับนักลงทุนในการเข้าถือครองสินทรัพย์ที่เป็นดอลลาร์ สรอ. โดยตลาดมองว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจปรับขึ้น ดอกเบี้ยในการประชุม FOMC ในวันที่ 22 สิงหาคม นอกจากนี้ ราคาทองคำยังได้รับผลกระทบเชิงลบจากการนำเข้าทองคำของอินเดียซึ่งเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ เนื่องจาก ค่าเงินรูปีที่อ่อนลงและจากภัยธรรมชาติซึ่งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย โดยปัจจัย ดังกล่าวได้ส่งผลต่ออุปสงค์ของทองคำในช่วงต้นเดือน อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำปรับตัวดีขึ้นในกลางเดือน โดยมีสาเหตุจากการที่นักลงทุนได้ปิดฐานะการขายทองคำล่วงหน้า ประกอบกับดอลลาร์ สรอ. ได้ปรับตัวอ่อนลงเล็กน้อยทำให้ราคาทองคำปรับตัวสู่ระดับ 277.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อทรอยเอาซ์ ซึ่งนักวิเคราะห์ได้มองว่า การปรับตัวสูงขึ้นดังกล่าวเป็นเกิดจากปัจจัยชั่วคราว โดยการซื้อขายทองคำในระยะดังกล่าวมีปริมาณ เบาบาง ในช่วงสิ้นเดือน ราคาทองคำได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับเดียวกับในช่วงต้นเดือน
สรุปความเคลื่อนไหวราคาทองคำในช่วง 8 เดือน
? ราคาทองคำเฉลี่ยใน 8 เดือนแรกมีความผันผวนและได้โน้มตัวต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ยกเว้น ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ในเรื่องของปริมาณทองคำที่จะเพิ่มขึ้นจากการขายทองคำของธนาคารกลางต่างๆ ในยุโรปในระหว่างปี จึงเกิดการขายในตลาดล่วงหน้า ตลอดจนมีการปิดฐานะทองคำก่อนวันส่งมอบ ซึ่งทำให้ราคาทองคำผันผวน ในตลาดซื้อขายทองคำทันที