กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ
แถลงข่าวร่วม
การประชุมระดับรัฐมนตรีสี่ฝ่าย (ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น)
เพื่อการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
และการพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก
22 พฤศจิกายน 2544 จังหวัดมุกดาหาร
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีสี่ฝ่าย (ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น) เพื่อการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) และการพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) จัดขึ้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2544 ที่จังหวัดมุกดาหาร โดยมี ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ฯพณฯ นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฯพณฯ นายเหวียน ซี เนียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ ฯพณฯ นายไทเม ยามากูจิ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (Parliamentary Secretary)
2. การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันที่จะพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาวแห่งที่ 2 และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก อันจะนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดีของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง อนึ่ง พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกประกอบด้วย เส้นทางหมายเลข 9 ในลาวและเวียดนาม และเส้นทางหลวง หมายเลข 1 ในเวียดนาม ซึ่งจะเชื่อมต่อพื้นที่จากจังหวัดขอนแก่นผ่านจังหวัดมุกดาหาร แขวงสะหวันนะเขต ไปสิ้นสุดที่นครดานัง
3. ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงโทย-ลาวแห่งที่ 2 เส้นทางหมายเลข 9 และทางหลวงหมายเลข 1 ในเวียดนาม (ซึ่งใช้เดินทางไปที่เรือน้ำลึกที่นครดานัง) โดยคาดว่า การปรับปรุงถนนตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกในลาวจะแล้วเสร็จในปี 2546 ในเวียดนามจะแล้วเสร็จในปี 2547 และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จะเสร็จในปี 2548
4. ที่ประชุมได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และได้เห็นชอบร่วมกันในเรื่องสำคัญๆดังนี้
* ส่งเสริมการค้าและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจชายแดนที่ลาวบาวและจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จังหวัดมุกดาหารและแขวงสะหวันนะเขต เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตร่วม โดยอาจขยายเขตเศรษฐกิจพิเศษไปยังพื้นที่อื่นๆ ตามแนวเส้นทางหมายเลข 9 ด้วย โดยที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกัน (Joint feasibility study) ในเรื่องนี้ต่อไป (หมายเหตุ: ไทยและลาวโดยความสนับสนุนจาก JICA ได้ร่วมกันศึกษาความร่วมมือ cross-border และผลการศึกษาเสนอว่า ควรกำหนดให้จังหวัดสกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ)
* ยืนยันเจตนารมณ์ของไทย ลาว และเวียดนาม ที่จะอำนวยความสะดวกในด้าน การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดน โดยเร่งรัดให้มีการจัดตั้งการบริการศุลกากรแบบตรวจสอบ ณ จุดเดียว ( Single stop inspection ) (หมายเหตุ: จุดดังกล่าวจะจัดตั้งในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ดี ตาม ความตกลงขนส่งสินค้าและคนข้ามแดน ไทย ลาว เวียดนาม กำหนดให้จัดตั้ง single stop/window )
* ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางบก โดยมุ่งเน้นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยทำแผนการตลาดร่วมกัน เช่น แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว "สามประเทศ หนึ่งจุดหมาย" ( Three Countries One Destination ) และให้มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
* เสริมสร้างขีดความสามารถของภาคการพัฒนาไปทั้ง 8 สาขา ได้แก่ การขนส่งโทรคมนาคม การท่องเที่ยว การค้า การลงทุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม
* ส่งเสริมและกระตุ้นให้องค์กรระหว่างประเทศ สถาบันการเงิน และประเทศผู้ให้อื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก
* ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนทั้งในและระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ตามเส้นทางหมายเลข9
* ส่งเสริมและผลักดันให้มีการดำเนินโครงการต่างๆ ที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญไว้ในแผนศึกษาก่อนการลงทุน (Pre-Investment Study for the Eastern Part of the East-West Economic Corridor) ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการรับรองแผนดังกล่าวในการประชุมระดับรัฐมนตรีอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ครั้งที่ 10 ที่กรุงย่างกุ้ง นอกจากนี้ รัฐมนตรีฯ ยังได้แสดงความยินดีที่กัมพูชาจะเข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งผ่านแดนไทย-ลาว-เวียดนาม ในการประชุมครั้งดังกล่าวด้วย
* แสดงความหวังว่า เส้นทางถนนจะขยายไปถึงพม่า เพื่อให้แผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกสมบูรณ์แบบ
5. เพื่อบรรลุเป้าหมายข้างต้น รัฐมนตรี 3 ประเทศ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโส รวมทั้งผู้แทนจาก 3 จังหวัด คือ จังหวัดมุกดกหาร แขวงสะหวันนะเขต และนครดานัง จัดประชุมประจำปีเพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการต่างๆ ข้างต้น แล้วรายงานให้รัฐมนตรีของตนทราบ
6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นแสดงความยินดีและชื่นชมไทย ลาว และเวียดนาม แสดงความชื่นชนยินดีต่อรัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่ได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนสำคัญต่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก
7. ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นแสดงความยินดีและชื่นชมไทย ลาว และเวียดนามที่ได้จัดการประชุมครั้งนี้ขี้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของทั้งสามประเทศในการสนับสนุนโครงการนี้ ญี่ปุ่นยืนยันเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนโครงการพัฒนาต่างๆ ในอนุภาคนี้อย่างแข็งขันต่อไป
8. ในช่วงบ่าย รัฐมนตรีฯ มีกำหนดที่จะหารือกันพร้อมกับเดินทางไปเยี่ยมสำรวจสถานที่ ก่อสร้างสะพานทั้งที่ฝั่งมุกดาหารและฝั่งสะหวันนะเขต และเดินทางต่อไปยังนครดานังเพื่อเยี่ยมชมท่าเรือน้ำลึก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ
แถลงข่าวร่วม
การประชุมระดับรัฐมนตรีสี่ฝ่าย (ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น)
เพื่อการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)
และการพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก
22 พฤศจิกายน 2544 จังหวัดมุกดาหาร
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีสี่ฝ่าย (ไทย-ลาว-เวียดนาม-ญี่ปุ่น) เพื่อการใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) และการพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) จัดขึ้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2544 ที่จังหวัดมุกดาหาร โดยมี ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธาน ผู้ร่วมประชุมประกอบด้วย ฯพณฯ นายสมสะหวาด เล่งสะหวัด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฯพณฯ นายเหวียน ซี เนียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และ ฯพณฯ นายไทเม ยามากูจิ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (Parliamentary Secretary)
2. การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันที่จะพัฒนาและใช้ประโยชน์จากสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาวแห่งที่ 2 และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก อันจะนำมาซึ่งความอยู่ดีกินดีของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง อนึ่ง พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกประกอบด้วย เส้นทางหมายเลข 9 ในลาวและเวียดนาม และเส้นทางหลวง หมายเลข 1 ในเวียดนาม ซึ่งจะเชื่อมต่อพื้นที่จากจังหวัดขอนแก่นผ่านจังหวัดมุกดาหาร แขวงสะหวันนะเขต ไปสิ้นสุดที่นครดานัง
3. ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงโทย-ลาวแห่งที่ 2 เส้นทางหมายเลข 9 และทางหลวงหมายเลข 1 ในเวียดนาม (ซึ่งใช้เดินทางไปที่เรือน้ำลึกที่นครดานัง) โดยคาดว่า การปรับปรุงถนนตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกในลาวจะแล้วเสร็จในปี 2546 ในเวียดนามจะแล้วเสร็จในปี 2547 และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จะเสร็จในปี 2548
4. ที่ประชุมได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และได้เห็นชอบร่วมกันในเรื่องสำคัญๆดังนี้
* ส่งเสริมการค้าและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจชายแดนที่ลาวบาวและจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จังหวัดมุกดาหารและแขวงสะหวันนะเขต เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตร่วม โดยอาจขยายเขตเศรษฐกิจพิเศษไปยังพื้นที่อื่นๆ ตามแนวเส้นทางหมายเลข 9 ด้วย โดยที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกัน (Joint feasibility study) ในเรื่องนี้ต่อไป (หมายเหตุ: ไทยและลาวโดยความสนับสนุนจาก JICA ได้ร่วมกันศึกษาความร่วมมือ cross-border และผลการศึกษาเสนอว่า ควรกำหนดให้จังหวัดสกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ)
* ยืนยันเจตนารมณ์ของไทย ลาว และเวียดนาม ที่จะอำนวยความสะดวกในด้าน การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดน โดยเร่งรัดให้มีการจัดตั้งการบริการศุลกากรแบบตรวจสอบ ณ จุดเดียว ( Single stop inspection ) (หมายเหตุ: จุดดังกล่าวจะจัดตั้งในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ดี ตาม ความตกลงขนส่งสินค้าและคนข้ามแดน ไทย ลาว เวียดนาม กำหนดให้จัดตั้ง single stop/window )
* ส่งเสริมการท่องเที่ยวทางบก โดยมุ่งเน้นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยทำแผนการตลาดร่วมกัน เช่น แผนส่งเสริมการท่องเที่ยว "สามประเทศ หนึ่งจุดหมาย" ( Three Countries One Destination ) และให้มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
* เสริมสร้างขีดความสามารถของภาคการพัฒนาไปทั้ง 8 สาขา ได้แก่ การขนส่งโทรคมนาคม การท่องเที่ยว การค้า การลงทุน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม
* ส่งเสริมและกระตุ้นให้องค์กรระหว่างประเทศ สถาบันการเงิน และประเทศผู้ให้อื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก
* ส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนทั้งในและระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ตามเส้นทางหมายเลข9
* ส่งเสริมและผลักดันให้มีการดำเนินโครงการต่างๆ ที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญไว้ในแผนศึกษาก่อนการลงทุน (Pre-Investment Study for the Eastern Part of the East-West Economic Corridor) ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการรับรองแผนดังกล่าวในการประชุมระดับรัฐมนตรีอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ครั้งที่ 10 ที่กรุงย่างกุ้ง นอกจากนี้ รัฐมนตรีฯ ยังได้แสดงความยินดีที่กัมพูชาจะเข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งผ่านแดนไทย-ลาว-เวียดนาม ในการประชุมครั้งดังกล่าวด้วย
* แสดงความหวังว่า เส้นทางถนนจะขยายไปถึงพม่า เพื่อให้แผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกสมบูรณ์แบบ
5. เพื่อบรรลุเป้าหมายข้างต้น รัฐมนตรี 3 ประเทศ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโส รวมทั้งผู้แทนจาก 3 จังหวัด คือ จังหวัดมุกดกหาร แขวงสะหวันนะเขต และนครดานัง จัดประชุมประจำปีเพื่อติดตามผลการดำเนินงานโครงการต่างๆ ข้างต้น แล้วรายงานให้รัฐมนตรีของตนทราบ
6. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นแสดงความยินดีและชื่นชมไทย ลาว และเวียดนาม แสดงความชื่นชนยินดีต่อรัฐบาลญี่ปุ่นและธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่ได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนสำคัญต่อการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก
7. ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นแสดงความยินดีและชื่นชมไทย ลาว และเวียดนามที่ได้จัดการประชุมครั้งนี้ขี้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของทั้งสามประเทศในการสนับสนุนโครงการนี้ ญี่ปุ่นยืนยันเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนโครงการพัฒนาต่างๆ ในอนุภาคนี้อย่างแข็งขันต่อไป
8. ในช่วงบ่าย รัฐมนตรีฯ มีกำหนดที่จะหารือกันพร้อมกับเดินทางไปเยี่ยมสำรวจสถานที่ ก่อสร้างสะพานทั้งที่ฝั่งมุกดาหารและฝั่งสะหวันนะเขต และเดินทางต่อไปยังนครดานังเพื่อเยี่ยมชมท่าเรือน้ำลึก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-