ปัจจุบันผู้ส่งออกต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาการหาตลาดในต่างประเทศ ปัญหาผู้ซื้อไม่ชำระเงิน ปัญหาด้านกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของประเทศผู้ซื้อรวมไปถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้นประเด็นปัญหาที่น่าจับตามองเพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาเรื่อง GMOs หรือการดัดแปลงทางพันธุกรรมของพืชหรือสัตว์
เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2543 ที่ผ่านมา จากข่าวปลาทูน่าไทยถูกส่งกลับจากประเทศซาอุดิอาระเบียเนื่องจากมีการนำน้ำมันถั่วเหลืองที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรมมาใช้ในปลาทูน่ากระป๋อง แม้ว่ารัฐบาลกำลังติดตามข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อยู่ แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ GMOs ได้เข้ามามีผลกระทบต่อการส่งออกของผู้ส่งออกไทยแล้ว ดังนั้น ผู้ส่งออกควรเร่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ GMOs เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการส่งออก
GMOs คืออะไร
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ให้คำนิยาม GMOs ดังนี้
"GMOs (Genetically Modified Organisms) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ที่ผ่านกระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรมโดยการถ่ายเทยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ทำให้เกิดลักษณะหรือคุณสมบัติใหม่ ๆ ขึ้นตามที่ต้องการ" อย่างไรก็ตาม สินค้า GMOs ที่แพร่หลายส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เป็นพืชมากกว่าสินค้าที่เป็นสัตว์ สินค้าพืชที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย มันฝรั่ง และมะเขือเทศ
สินค้า GMOs กำลังเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบันโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ไม่มีใครทราบแน่ชัดถึงผลข้างเคียงของ GMOs ด้านผู้สนับสนุนให้เหตุผลว่า GMOs จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยผลิตอาหารให้พอเพียงกับความต้องการของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นของโลก ด้านผู้คัดค้านให้ความเห็นว่า GMOs อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคหรือสิ่งแวดล้อมได้ภายหลัง เนื่องจากไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ส่งออกไทยมีอะไรบ้าง
1. กฎเกณฑ์ทางการค้าเพิ่มมากขึ้น
ในสหรัฐอเมริกาการติดฉลากสินค้ายังขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ผลิตเนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าผลจากการทดลองทางวิทยาศาตร์ไม่พบว่า GMOs มีอันตรายต่อผู้บริโภค แต่หลายประเทศที่เกรงอันตรายจาก GMOs ได้พยายามกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ ขึ้นมา เรื่องที่เด่นชัดที่สุดคือการให้ผู้ส่งออกติดฉลากสินค้าแสดงส่วนผสมของ GMOs ซึ่งแต่ละประเทศต่างมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป อาทิ
-สหภาพยุโรป (EU) : ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป กำหนดให้อาหารที่มีส่วนประกอบของ GMOs และสามารถตรวจสอบได้ เช่น ถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว และซีอิ๊ว ต้องระบุส่วนประกอบบนฉลากสินค้าด้วย
-ญี่ปุ่น : กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหาร 28 ชนิดซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากข้าวโพดหรือถั่วเหลืองที่มีส่วนประกอบของ GMOs ต้องระบุส่วนประกอบบนฉลากสินค้าให้ผู้บริโภคทราบภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2544
-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ : มีข้อกำหนดไว้ว่าอาหาร GMOs จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยก่อนและให้มีการติดฉลากแสดงส่วนประกอบ GMOs ตามที่จะกำหนดต่อไป ซึ่งขณะนี้รัฐบาลยังอยู่ในระหว่างการพิจารณามาตรฐานเกี่ยวกับอาหารที่ผลิตโดยใช้ Gene Technology
2. ต้นทุนสูงขึ้น
เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ต้องการให้มีการติดฉลากสินค้าที่ระบุส่วนประกอบของ GMOs อย่างชัดเจน ภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายการติดฉลากรวมถึงขั้นตอนการตรวจสอบหา GMOs ว่ามีอยู่ในสินค้าหรือไม่และมีอยู่ในระดับใดจึงมักจะตกเป็นของผู้ส่งออกมากกว่าที่จะเป็นของผู้ซื้อ ซึ่งหากผู้ส่งออกปฏิเสธภาระค่าใช้จ่ายนี้โดยนำต้นทุนที่เพิ่มขึ้นบวกเข้าไปในราคาสินค้า ก็อาจทำให้สินค้ามีราคาแพงกว่าสินค้าจากประเทศคู่แข่งและอาจทำให้เสียตลาดการส่งออกของตนเองได้
3. การจัดทำใบรับรองสำหรับสินค้า GMOs
เนื่องจากบางประเทศได้กำหนดให้สินค้าจากประเทศต่าง ๆ ที่นำเข้าไปขายต้องมีการรับรองว่ามีส่วนประกอบของ GMOs หรือไม่รัฐบาลไทยจึงมีมติให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ออกใบรับรองสำหรับพืชผักและผลไม้และคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้ออกใบรับรองด้านอาหาร ทั้งนี้ให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมแห่งชาติ (ไบโอเทค) เป็นผู้ตรวจสอบสินค้าก่อนที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกใบรับรองซึ่งผู้ส่งออกจะต้องจัดเตรียมสินค้าตัวอย่างในการยื่นขอใบรับรองด้วย
4. การประกาศห้ามนำเข้าสินค้า GMOs ที่คาดไม่ถึง
ปัญหา 3 ข้อแรกเป็นปัญหาที่ผู้ส่งออกสามารถทราบล่วงหน้าได้ก่อนการส่งออกสินค้าโดยผู้ส่งออกสามารถตรวจสอบกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของประเทศผู้ซื้อ ซึ่งหากพบว่าประเทศของผู้ซื้อต้องการให้ติดฉลาก GMOs แต่ผู้ส่งออกไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ผู้ส่งออกอาจจะงดการส่งสินค้าไปประเทศดังกล่าวเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการคืนสินค้า อย่างไรก็ตามอาจเกิดกรณีที่ผู้ส่งออกได้ตรวจสอบกฎระเบียบของประเทศผู้ซื้อแล้วและพบว่ามิได้มีกฎระเบียบติดฉลาก GMOs แต่เมื่อผู้ส่งออกส่งสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว ประเทศของผู้ซื้อได้ประกาศกฎระเบียบเรื่องฉลาก GMOs ขึ้นภายหลัง กรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับประเทศที่ปัจจุบันยังไม่มีท่าทีใด ๆ ต่อสินค้า GMOs เช่น ประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปและประเทศในกลุ่มมุสลิมที่เห็นว่า GMOs เป็นประเด็นทางศาสนา เนื่องจากการตัดแต่งทางพันธุกรรมแบบ GMOs เป็นการขัดต่อหลักจริยธรรมและคุณธรรม รวมไปถึงเป็นการท้าทายต่ออำนาจพระเจ้า
ผู้ส่งออกควรเตรียมตัวอย่างไร
เมื่อผู้ส่งออกทราบถึงผลกระทบจากประเด็นปัญหา GMOs แล้ว สิ่งที่ผู้ออกอาจจะทำได้ในเบื้องต้นคือ "การป้องกันตัวเอง" ซึ่งทำให้หลายวิธี เช่น การตรวจสอบกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของประเทศผู้ซื้อให้แน่ใจว่าต้องการใบรับรอง GMOs หรือไม่ หรือติดฉลากแสดงระดับการใช้ผลิตภัณฑ์ GMOs นอกจากนี้ ในเรื่องค่าใช้จ่ายการติดฉลากหรือการออกใบรับรอง GMOs ผู้ส่งออกอาจเจรจาต่อรองกับผู้ซื้อเพื่อร่วมกันรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และสำหรับประเทศผู้ซื้อที่ผู้ส่งออกไม่มั่นใจว่าจะประกาศ ห้ามการนำเข้าสินค้า GMOs หรือไม่ ผู้ส่งออกอาจหันมาใช้บริการประกันการส่งออกเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการที่ประเทศของผู้ซื้อประกาศห้ามนำเข้าสินค้า GMOs หลังจากที่ผู้ส่งออกได้ส่งสินค้าไปแล้ว--จบ--
เมื่อประมาณเดือนเมษายน 2543 ที่ผ่านมา จากข่าวปลาทูน่าไทยถูกส่งกลับจากประเทศซาอุดิอาระเบียเนื่องจากมีการนำน้ำมันถั่วเหลืองที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรมมาใช้ในปลาทูน่ากระป๋อง แม้ว่ารัฐบาลกำลังติดตามข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อยู่ แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ GMOs ได้เข้ามามีผลกระทบต่อการส่งออกของผู้ส่งออกไทยแล้ว ดังนั้น ผู้ส่งออกควรเร่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ GMOs เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการส่งออก
GMOs คืออะไร
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ให้คำนิยาม GMOs ดังนี้
"GMOs (Genetically Modified Organisms) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ที่ผ่านกระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรมโดยการถ่ายเทยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตหนึ่ง ทำให้เกิดลักษณะหรือคุณสมบัติใหม่ ๆ ขึ้นตามที่ต้องการ" อย่างไรก็ตาม สินค้า GMOs ที่แพร่หลายส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่เป็นพืชมากกว่าสินค้าที่เป็นสัตว์ สินค้าพืชที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย มันฝรั่ง และมะเขือเทศ
สินค้า GMOs กำลังเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบันโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ไม่มีใครทราบแน่ชัดถึงผลข้างเคียงของ GMOs ด้านผู้สนับสนุนให้เหตุผลว่า GMOs จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยผลิตอาหารให้พอเพียงกับความต้องการของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นของโลก ด้านผู้คัดค้านให้ความเห็นว่า GMOs อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคหรือสิ่งแวดล้อมได้ภายหลัง เนื่องจากไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ส่งออกไทยมีอะไรบ้าง
1. กฎเกณฑ์ทางการค้าเพิ่มมากขึ้น
ในสหรัฐอเมริกาการติดฉลากสินค้ายังขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ผลิตเนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าผลจากการทดลองทางวิทยาศาตร์ไม่พบว่า GMOs มีอันตรายต่อผู้บริโภค แต่หลายประเทศที่เกรงอันตรายจาก GMOs ได้พยายามกำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ ขึ้นมา เรื่องที่เด่นชัดที่สุดคือการให้ผู้ส่งออกติดฉลากสินค้าแสดงส่วนผสมของ GMOs ซึ่งแต่ละประเทศต่างมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป อาทิ
-สหภาพยุโรป (EU) : ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป กำหนดให้อาหารที่มีส่วนประกอบของ GMOs และสามารถตรวจสอบได้ เช่น ถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว และซีอิ๊ว ต้องระบุส่วนประกอบบนฉลากสินค้าด้วย
-ญี่ปุ่น : กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหาร 28 ชนิดซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากข้าวโพดหรือถั่วเหลืองที่มีส่วนประกอบของ GMOs ต้องระบุส่วนประกอบบนฉลากสินค้าให้ผู้บริโภคทราบภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2544
-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ : มีข้อกำหนดไว้ว่าอาหาร GMOs จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยก่อนและให้มีการติดฉลากแสดงส่วนประกอบ GMOs ตามที่จะกำหนดต่อไป ซึ่งขณะนี้รัฐบาลยังอยู่ในระหว่างการพิจารณามาตรฐานเกี่ยวกับอาหารที่ผลิตโดยใช้ Gene Technology
2. ต้นทุนสูงขึ้น
เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ต้องการให้มีการติดฉลากสินค้าที่ระบุส่วนประกอบของ GMOs อย่างชัดเจน ภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายการติดฉลากรวมถึงขั้นตอนการตรวจสอบหา GMOs ว่ามีอยู่ในสินค้าหรือไม่และมีอยู่ในระดับใดจึงมักจะตกเป็นของผู้ส่งออกมากกว่าที่จะเป็นของผู้ซื้อ ซึ่งหากผู้ส่งออกปฏิเสธภาระค่าใช้จ่ายนี้โดยนำต้นทุนที่เพิ่มขึ้นบวกเข้าไปในราคาสินค้า ก็อาจทำให้สินค้ามีราคาแพงกว่าสินค้าจากประเทศคู่แข่งและอาจทำให้เสียตลาดการส่งออกของตนเองได้
3. การจัดทำใบรับรองสำหรับสินค้า GMOs
เนื่องจากบางประเทศได้กำหนดให้สินค้าจากประเทศต่าง ๆ ที่นำเข้าไปขายต้องมีการรับรองว่ามีส่วนประกอบของ GMOs หรือไม่รัฐบาลไทยจึงมีมติให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้ออกใบรับรองสำหรับพืชผักและผลไม้และคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นผู้ออกใบรับรองด้านอาหาร ทั้งนี้ให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมแห่งชาติ (ไบโอเทค) เป็นผู้ตรวจสอบสินค้าก่อนที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกใบรับรองซึ่งผู้ส่งออกจะต้องจัดเตรียมสินค้าตัวอย่างในการยื่นขอใบรับรองด้วย
4. การประกาศห้ามนำเข้าสินค้า GMOs ที่คาดไม่ถึง
ปัญหา 3 ข้อแรกเป็นปัญหาที่ผู้ส่งออกสามารถทราบล่วงหน้าได้ก่อนการส่งออกสินค้าโดยผู้ส่งออกสามารถตรวจสอบกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของประเทศผู้ซื้อ ซึ่งหากพบว่าประเทศของผู้ซื้อต้องการให้ติดฉลาก GMOs แต่ผู้ส่งออกไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ผู้ส่งออกอาจจะงดการส่งสินค้าไปประเทศดังกล่าวเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการคืนสินค้า อย่างไรก็ตามอาจเกิดกรณีที่ผู้ส่งออกได้ตรวจสอบกฎระเบียบของประเทศผู้ซื้อแล้วและพบว่ามิได้มีกฎระเบียบติดฉลาก GMOs แต่เมื่อผู้ส่งออกส่งสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว ประเทศของผู้ซื้อได้ประกาศกฎระเบียบเรื่องฉลาก GMOs ขึ้นภายหลัง กรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะกับประเทศที่ปัจจุบันยังไม่มีท่าทีใด ๆ ต่อสินค้า GMOs เช่น ประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปและประเทศในกลุ่มมุสลิมที่เห็นว่า GMOs เป็นประเด็นทางศาสนา เนื่องจากการตัดแต่งทางพันธุกรรมแบบ GMOs เป็นการขัดต่อหลักจริยธรรมและคุณธรรม รวมไปถึงเป็นการท้าทายต่ออำนาจพระเจ้า
ผู้ส่งออกควรเตรียมตัวอย่างไร
เมื่อผู้ส่งออกทราบถึงผลกระทบจากประเด็นปัญหา GMOs แล้ว สิ่งที่ผู้ออกอาจจะทำได้ในเบื้องต้นคือ "การป้องกันตัวเอง" ซึ่งทำให้หลายวิธี เช่น การตรวจสอบกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าของประเทศผู้ซื้อให้แน่ใจว่าต้องการใบรับรอง GMOs หรือไม่ หรือติดฉลากแสดงระดับการใช้ผลิตภัณฑ์ GMOs นอกจากนี้ ในเรื่องค่าใช้จ่ายการติดฉลากหรือการออกใบรับรอง GMOs ผู้ส่งออกอาจเจรจาต่อรองกับผู้ซื้อเพื่อร่วมกันรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และสำหรับประเทศผู้ซื้อที่ผู้ส่งออกไม่มั่นใจว่าจะประกาศ ห้ามการนำเข้าสินค้า GMOs หรือไม่ ผู้ส่งออกอาจหันมาใช้บริการประกันการส่งออกเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการที่ประเทศของผู้ซื้อประกาศห้ามนำเข้าสินค้า GMOs หลังจากที่ผู้ส่งออกได้ส่งสินค้าไปแล้ว--จบ--