สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเพราะเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ส่งผลให้การบริโภคเนื้อสุกรค่อนข้างซบเซา แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 48.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 45.82 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 46.82 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.04 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 45 บาท) ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาตัวละ 1,200 (บวกลบ 45)
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.30 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.83
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกพื้นที่ ประกอบกับช่วงปิดภาคเรียนและตรงกับช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้การบริโภคค่อนข้างซบเซา แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ)เปิดเผยว่า รัฐบาลได้กำหนดให้โรคไข้หวัดนกเป็นวาระแห่งชาติซึ่งถือเป็นภัยที่ทำความเสียหายให้แก่เกษตรกรทุกระดับและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งอาจเป็นโรคที่สามารถติดต่อมายังมนุษย์ได้ ทางจังหวัดหนองบัวลำภูได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 5 แสนบาท ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนำไปฝึกอบรมเครือข่ายอาสาปศุสัตว์ในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และอีก 1.5 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนในการจัดหารถ Mobile Unit ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในการบริการประชาชนในพื้นที่ในรูปแบบ One Stop Service ซึ่งจะให้บริการในการตรวจปฏิบัติการ
ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ได้เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการประสานงานด้านไข้หวัดนกในอาเซียน เพราะโรคไข้หวัดนกกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่ทุกประเทศต้องมีมาตรการป้องกัน ซึ่งไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือถึงมาตรฐานที่ปฏิบัติและมั่นใจในประสิทธิภาพ และไทยยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนสุขภาพสัตว์ของอาเซียน ซึ่งจะเป็นการวางโปรแกรมสุขภาพสัตว์ในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 35.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 35.47 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 39.70 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.50 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 46.50 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลไม้ประจำฤดูออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก ประกอบกับขณะนี้สถานศึกษาต่าง ๆ ปิดภาคเรียนและอยู่ในช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 248 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 254 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อย ฟองละ 247 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 271 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 236บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 270 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 240 บาท ทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 308 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 255 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 301 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 298 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.83 บาท ลดลงกิโลกรัมละ 47.34 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 43.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.58 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 39.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.75 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.50 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 3-9 ต.ค.2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเพราะเป็นช่วงเทศกาลกินเจ ส่งผลให้การบริโภคเนื้อสุกรค่อนข้างซบเซา แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 48.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 45.82 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 46.82 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.04 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 45 บาท) ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาตัวละ 1,200 (บวกลบ 45)
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.30 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 53.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.83
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากช่วงนี้ฝนตกเกือบทุกพื้นที่ ประกอบกับช่วงปิดภาคเรียนและตรงกับช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้การบริโภคค่อนข้างซบเซา แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวลดลง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ)เปิดเผยว่า รัฐบาลได้กำหนดให้โรคไข้หวัดนกเป็นวาระแห่งชาติซึ่งถือเป็นภัยที่ทำความเสียหายให้แก่เกษตรกรทุกระดับและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งอาจเป็นโรคที่สามารถติดต่อมายังมนุษย์ได้ ทางจังหวัดหนองบัวลำภูได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 5 แสนบาท ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนำไปฝึกอบรมเครือข่ายอาสาปศุสัตว์ในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก และอีก 1.5 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนในการจัดหารถ Mobile Unit ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในการบริการประชาชนในพื้นที่ในรูปแบบ One Stop Service ซึ่งจะให้บริการในการตรวจปฏิบัติการ
ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ได้เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการประสานงานด้านไข้หวัดนกในอาเซียน เพราะโรคไข้หวัดนกกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่ทุกประเทศต้องมีมาตรการป้องกัน ซึ่งไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือถึงมาตรฐานที่ปฏิบัติและมั่นใจในประสิทธิภาพ และไทยยังได้เสนอให้มีการจัดตั้งกองทุนสุขภาพสัตว์ของอาเซียน ซึ่งจะเป็นการวางโปรแกรมสุขภาพสัตว์ในกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 35.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 35.47 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 39.70 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.50 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 46.50 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลไม้ประจำฤดูออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก ประกอบกับขณะนี้สถานศึกษาต่าง ๆ ปิดภาคเรียนและอยู่ในช่วงเทศกาลกินเจ ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 248 บาท ลดลงจาก ร้อยฟองละ 254 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อย ฟองละ 247 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 271 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 236บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 270 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 240 บาท ทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 308 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 255 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 301 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 298 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.83 บาท ลดลงกิโลกรัมละ 47.34 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 43.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.58 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 39.63 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.75 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 35.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 47.50 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 39 ประจำวันที่ 3-9 ต.ค.2548--
-พห-