แท็ก
สหภาพยุโรป
สมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจร (Green Paper on Integrated Product Policy: IPP) เป็นเอกสารที่สหภาพยุโรป (European Union: EU) จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการผลิตและการใช้สินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product) ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมของ EU ที่เน้นการป้องกันปัญหาเป็นสำคัญ ปัจจุบันคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ให้ความเห็นชอบกับนโยบายในสมุดปกเขียวนี้แล้วและอยู่ในระหว่างการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องส่งความคิดเห็นไปยังคณะกรรมาธิการภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544 นี้
เครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตและการใช้สินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมตามที่ระบุในสมุดปกเขียวคือ
- กลไกด้านราคา เป็นกลไกที่ EU นำมาใช้เพื่อผลักดันให้ราคาจำหน่ายสินค้าทุกประเภทสะท้อนถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมด้วย อันจะทำให้สินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งมักมีราคาจำหน่ายสูงกว่าสินค้าทั่วไปมีราคาใกล้เคียงกับสินค้าทั่วไปและสามารถแข่งขันได้ กลไกด้านราคาที่ EU กำหนดจะนำมาใช้ผ่านทางมาตรการต่างๆ ได้แก่
1. มาตรการด้านภาษี (Differentiated Taxation) เช่น เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าแต่ละชนิดในอัตราที่แตกต่างกันโดยใช้เกณฑ์ในการประเมินถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสินค้าซึ่งพิจารณาจากวงจรชีวิตของสินค้านั้นๆ (Product Life Cycle Approach) เป็นตัวกำหนดอัตราภาษี ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กระบวนการผลิต การจำหน่าย การนำไปใช้งาน ตลอดจนการกำจัดหรือการนำเศษเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่เมื่อสินค้านั้นหมดอายุการใช้งาน ทั้งนี้สินค้าที่ได้รับการรับรองว่าไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและติดฉลาก European Eco-label จะได้รับการลดหย่อนให้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าสินค้าที่ไม่มีฉลาก ฯลฯ
2. มาตรการเกี่ยวกับต้นทุนในการรักษาสิ่งแวดล้อม สมุดปกเขียวระบุว่าผู้ผลิตสินค้าที่ก่อให้เกิด มลภาวะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อมลภาวะที่เกิดขึ้น โดยกำหนดระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษซากเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) ระเบียบว่าด้วยยานพาหนะที่หมดอายุการใช้งาน เป็นต้น
- การสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้สินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การติดฉลาก European Eco-label บนสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า นอกจากนี้ EU ยังมีนโยบายให้ภาครัฐของประเทศสมาชิก EU แต่ละประเทศเน้นใช้สินค้าที่ไม่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการซื้อและผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
- การสร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจหันมาผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้การสนับสนุนดังนี้
- จัดทำฐานข้อมูลสินค้าและชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตสินค้า โดยระบุผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอายุการใช้งานของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถเลือกใช้ชิ้นส่วนต่างๆ ในการผลิตสินค้าที่ไม่เป็น อันตรายต่อสิ่งแแวดล้อมได้
- ให้ข้อเสนอแนะในการออกแบบสินค้า ตลอดจนกระบวนการผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
- จัดตั้ง Product Panel เพื่อร่วมพิจารณาและเผยแพร่ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสินค้าต่างๆ ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตหลีกเลี่ยงการผลิตสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
- ให้การอุดหนุนการพัฒนาการผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านทางรัฐบาลของประเทศสมาชิก EU แต่ละประเทศ โดยระดับของการอุดหนุนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการค้าเสรี
- มาตรการสนับสนุนอื่นๆ ได้แก่ จัดตั้งระบบจัดการและติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของสินค้าแต่ละชนิดเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตทราบถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของสินค้าที่ผลิตและสามารถจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นให้ผู้ผลิตสินค้าคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
แม้ว่าการจัดทำสมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจรยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่คาดว่า EU จะนำนโยบายดังกล่าวมาใช้ในไม่ช้า เมื่อถึงเวลานั้นการส่งออกของไทยไป EU ย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากมาตรการตามสมุดปกเขียวนี้กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสินค้าโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ ขณะที่ผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่มีระดับการพัฒนาคุณภาพสินค้าตลอดจนเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ EU กำหนด ส่วนผู้ประกอบการใน EU ต่างมีการปรับตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ การที่ EU มีนโยบายให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ผลิตใน EU ที่ผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ย่อมสร้างความได้เปรียบให้แก่ผู้ผลิตใน EU เป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น การที่ EU นำมาตรฐานสิ่งแวดล้อม มารวมเข้ากับระบบมาตรฐานสินค้าทำให้ระบบมาตรฐานของสินค้าที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายใน EU มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นำไปสู่ต้นทุนในการผลิตและการพัฒนาสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการกีดกันสินค้านำเข้าและอุดหนุนผู้ผลิตใน EU อย่างชัดเจน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
เครื่องมือที่นำมาใช้เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตและการใช้สินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมตามที่ระบุในสมุดปกเขียวคือ
- กลไกด้านราคา เป็นกลไกที่ EU นำมาใช้เพื่อผลักดันให้ราคาจำหน่ายสินค้าทุกประเภทสะท้อนถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมด้วย อันจะทำให้สินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งมักมีราคาจำหน่ายสูงกว่าสินค้าทั่วไปมีราคาใกล้เคียงกับสินค้าทั่วไปและสามารถแข่งขันได้ กลไกด้านราคาที่ EU กำหนดจะนำมาใช้ผ่านทางมาตรการต่างๆ ได้แก่
1. มาตรการด้านภาษี (Differentiated Taxation) เช่น เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสินค้าแต่ละชนิดในอัตราที่แตกต่างกันโดยใช้เกณฑ์ในการประเมินถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสินค้าซึ่งพิจารณาจากวงจรชีวิตของสินค้านั้นๆ (Product Life Cycle Approach) เป็นตัวกำหนดอัตราภาษี ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กระบวนการผลิต การจำหน่าย การนำไปใช้งาน ตลอดจนการกำจัดหรือการนำเศษเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่เมื่อสินค้านั้นหมดอายุการใช้งาน ทั้งนี้สินค้าที่ได้รับการรับรองว่าไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและติดฉลาก European Eco-label จะได้รับการลดหย่อนให้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าสินค้าที่ไม่มีฉลาก ฯลฯ
2. มาตรการเกี่ยวกับต้นทุนในการรักษาสิ่งแวดล้อม สมุดปกเขียวระบุว่าผู้ผลิตสินค้าที่ก่อให้เกิด มลภาวะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อมลภาวะที่เกิดขึ้น โดยกำหนดระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษซากเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) ระเบียบว่าด้วยยานพาหนะที่หมดอายุการใช้งาน เป็นต้น
- การสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้สินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การติดฉลาก European Eco-label บนสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า นอกจากนี้ EU ยังมีนโยบายให้ภาครัฐของประเทศสมาชิก EU แต่ละประเทศเน้นใช้สินค้าที่ไม่อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการซื้อและผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
- การสร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจหันมาผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้การสนับสนุนดังนี้
- จัดทำฐานข้อมูลสินค้าและชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตสินค้า โดยระบุผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอายุการใช้งานของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสินค้าสามารถเลือกใช้ชิ้นส่วนต่างๆ ในการผลิตสินค้าที่ไม่เป็น อันตรายต่อสิ่งแแวดล้อมได้
- ให้ข้อเสนอแนะในการออกแบบสินค้า ตลอดจนกระบวนการผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
- จัดตั้ง Product Panel เพื่อร่วมพิจารณาและเผยแพร่ถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสินค้าต่างๆ ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตหลีกเลี่ยงการผลิตสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
- ให้การอุดหนุนการพัฒนาการผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านทางรัฐบาลของประเทศสมาชิก EU แต่ละประเทศ โดยระดับของการอุดหนุนจะค่อยๆ ลดลงเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการค้าเสรี
- มาตรการสนับสนุนอื่นๆ ได้แก่ จัดตั้งระบบจัดการและติดตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของสินค้าแต่ละชนิดเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตทราบถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของสินค้าที่ผลิตและสามารถจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นให้ผู้ผลิตสินค้าคำนึงถึงปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
แม้ว่าการจัดทำสมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจรยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่คาดว่า EU จะนำนโยบายดังกล่าวมาใช้ในไม่ช้า เมื่อถึงเวลานั้นการส่งออกของไทยไป EU ย่อมได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากมาตรการตามสมุดปกเขียวนี้กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสินค้าโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ ขณะที่ผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่มีระดับการพัฒนาคุณภาพสินค้าตลอดจนเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ EU กำหนด ส่วนผู้ประกอบการใน EU ต่างมีการปรับตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ การที่ EU มีนโยบายให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ผลิตใน EU ที่ผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ย่อมสร้างความได้เปรียบให้แก่ผู้ผลิตใน EU เป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น การที่ EU นำมาตรฐานสิ่งแวดล้อม มารวมเข้ากับระบบมาตรฐานสินค้าทำให้ระบบมาตรฐานของสินค้าที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายใน EU มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นำไปสู่ต้นทุนในการผลิตและการพัฒนาสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการกีดกันสินค้านำเข้าและอุดหนุนผู้ผลิตใน EU อย่างชัดเจน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-