ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2544 มีการชะลอตัวลงมามากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมก็มีอัตราลดลงจากเดิมมาก จากการประมาณการอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในไตรมาสแรกของปี 2544 อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 เป็นต้นมา โดยภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 ในไตรมาสแรก
สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 อยู่ในภาวะทรงตัว โดยมีการขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นอัตราใกล้เคียงกันกับการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ซึ่งมีค่าร้อยละ 1.8 และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับฤดูกาลแล้วในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ขยายตัวจากไตรมาสแรกในปีเดียวกัน ร้อยละ 0.9 มีผลทำให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 5.8 ในปีที่แล้ว (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กันยายน 2544)
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรม มีการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และอยู่ในระดับเดียวกันกับไตรมาสแรกของปีนี้ หากพิจารณา GDP เป็นรายอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมที่ขยายตัวในไตรมาสที่ 2 ได้แก่ ยานยนต์, ปิโตรเคมี, เครื่องจักรกล, เครื่องหนัง, กลั่นน้ำมัน, เฟอร์นิเจอร์, การพิมพ์ และเครื่องแต่งกาย สำหรับอุตสาหกรรมที่ยังทรงตัว ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้, โลหะขั้นพื้นฐาน และอาหาร ส่วนอุตสาหกรรมที่หดตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องใช้สำนักงาน, วิทยุโทรทัศน์, เครื่องมือและอุปกรณ์แพทย์, ยาสูบ และกระดาษและผลิตภัณฑ์
สำหรับในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 เศรษฐกิจไทยและภาคอุตสาหกรรมไทยยังมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดกันว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าช่วง ครึ่งปีแรก
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ 10 กลุ่มนั้น พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 คือ 108.3, 109.5 และ 109.5 ตามลำดับในแต่ละเดือน ซึ่งค่าดัชนีมีการปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ไตรมาสที่แล้ว และยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ดัชนีมีค่าสูงขึ้นเล็กน้อย
อุตสาหกรรมที่ผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นตามการผลิตรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นการขายตั้งแต่เดือนมกราคมของปี 2544 เรื่อยมา ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) ส่งออกรถยนต์นั่งได้มากขึ้น , หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ตามความต้องการภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ช่วงกลางไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการผลิตเหล็กรีดร้อนและรีดเย็นต้องประสบปัญหาการแข่งขันและการกีดกันทางการค้า , หมวดเครื่องดื่ม มีผลผลิตเพิ่มขึ้นตามการผลิตสุรา เพื่อการสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี และมีการเปิดดำเนินการของโรงงานสุราเพิ่มขึ้นอีก 4 โรง ในช่วงไตรมาสนี้ ขณะที่หมวดสินค้าที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว แต่ค่าของดัชนียังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนขึ้นในไตรมาสต่อไป นอกจากนี้ หมวดสิ่งทอในไตรมาสนี้มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้วและไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ตามการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก รวมทั้งปัญหาการแข่งขันจากประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า เช่น จีน อินเดีย นอกจากนี้ ในส่วนของหมวดวัสดุก่อสร้าง และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ ค่าดัชนีในไตรมาสนี้มีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ในส่วนของหมวดวัสดุก่อสร้าง มีการส่งออกปูนซีเมนต์ไป บังกลาเทศ และอินเดีย
กล่าวโดยสรุป ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการขยายตัวมีการชะลอลงไปในไตรมาสที่ 3 ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ค่อนข้างดี คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง, หมวดเครื่องดื่ม และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (แถลงข่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย, 31 ตุลาคม 2544)
สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมาดัชนีมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการแปรรูปและการเก็บถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบ
การขนส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) ใช้แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ดัชนีการส่งสินค้านี้จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมบางกลุ่ม (ตารางที่ 2) โดยดัชนีการขนส่งสินค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการส่งสินค้าลดลงของอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต ยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ดัชนีการส่งสินค้ามีค่าลดลง โดยมีอุตสาหกรรมการผลิต หลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ และอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนี
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished goods inventory Index) ใช้แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ดัชนีนี้จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 2) โดยดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใย สิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลง และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมี อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนี
ดัชนีการใช้กำลังการผลิต
ดัชนีการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ดัชนีนี้จะสะท้อนถึงความสามารถในการ จัดการต่อการขยายตัวของการผลิต การส่งออก และความกดดันจากระดับราคาในประเทศ อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่า 51.5, 52.2 และ 52.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน (ตารางที่ 3) ซึ่งค่าดัชนีในไตรมาสนี้มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ค่าดัชนีมีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก
เมื่อพิจารณาอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.2 (55.3 หากไม่รวมสุรา) จากระดับร้อยละ 55.1 (58.8 หากไม่รวมสุรา) ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
นอกจากนี้การใช้กำลังการผลิตที่ลดลง เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้ปริมาณสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ(ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 ของการผลิต) ลดลงมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่น หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการใช้กำลังการผลิตลดลงมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับปัจจัยด้านอุปสงค์ภายในประเทศและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนั้น บางหมวดสินค้ายังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ การกีดกันทางการค้า และการทุ่มตลาด โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ เหล็กรีดร้อนและเหล็กรีดเย็น และหมวดยาสูบมีการผลิตลดลงมาก เนื่องจากเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศ
หากพิจารณารายสินค้า พบว่า หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้วและไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการขยายตัวอย่างมากจากการผลิต รถยนต์นั่ง เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่รถยนต์พาณิชย์กลับผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามการชะลอตัวของการจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและการส่งออกไปตลาดยุโรปและออสเตรเลีย หมวดเครื่องดื่ม เพิ่มตามการผลิตสุราเป็นสำคัญ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับมีการขยายอัตราการผลิต เนื่องจากมีการขยายตลาดส่งออกโดยมุ่งเน้นตลาดยุโรปมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตได้ชะลอลงในเดือนสิงหาคม และกันยายน 2544 เพราะผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) เป็นปัจจัยชี้วัดความ เชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 อยู่ในระดับทรงตัว โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย อย่างไรก็ตามยังมีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำ และการจ้างงานยังไม่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจาก สถานการณ์ในปัจจุบัน ส่วนปลายไตรมาสนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคทรุดต่ำสุดในรอบ 30 เดือน โดยเป็นปการปรับตัวลดลงของการใช้กำลังไฟฟ้า และยอดการขายรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ โดยเฉพาะการลดลงของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคสะท้อนถึงความมั่นใจของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ รวมทั้งการอ่อนตัวของกำลังซื้อจากประชาชน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 กับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ค่าดัชนีโดยรวมมีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หากแยกประเภทพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของการใช้กำลังไฟฟ้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์นั่งและมอเตอร์ไซค์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ, ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ และยอดการ นำเข้าสินค้าทุน พบว่าการลงทุนในภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งการที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ผนวกกับแนวโน้มการส่งออกที่ยังลดลงต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตค่อนข้างทรงตัว แสดงว่ายังไม่มีปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนที่ชัดเจน
หากแยกตามรายสินค้าจะพบว่า การนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัว ลดลงอย่างมากจากไตรมาสเดียวกันของปีและจากไตรมาสที่แล้ว อันเป็นผลจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ตลอดจนอุปสงค์มวลรวมในประเทศ กำลังการผลิตยังคงมีเหลือ ทำให้ ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุนเพิ่ม ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะสงครามสหรัฐอเมริกาและอัฟกานิสถานที่อาจยืดเยื้อ จึงเป็นปัจจัยที่ชะลอการตัดสินใจลงทุนใหม่ของผู้ประกอบการ การหดตัวอย่างเฉียบพลันของสินค้านำเข้าประเภททุนและวัตถุดิบอาจหมายถึง การชะลอของการลงทุนของภาคเอกชนในอีก 2 ไตรมาสหน้า ฉะนั้นปัญหาของเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นเฉพาะหน้านี้ คือการ เจริญเติบโตในระดับต่ำรวมไปถึงแนวโน้มการว่างงานที่อาจเพิ่มมากขึ้น
หากพิจารณาถึงปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์จะพบว่า ยอดการจำหน่ายปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้วอย่างมาก ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ แม้ผู้ประกอบการยังจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องนำมาซึ่งความไม่แน่นอนในการลงทุน ตลอดจนยังไม่มีแรงจูงใจที่สามารถกระตุ้นการลงทุนใหม่ได้
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ แม้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลางไตรมาสแต่ในปลายไตรมาสก็ลดลง สาเหตุของการขยายตัวแม้จะอยู่ในระดับต่ำนี้ เนื่องจากแรงอุปสงค์ของกลุ่มคนที่พอมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก และแรงจูงใจจากการแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนในภาวะเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อรายได้ เริ่มเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากขึ้น
กล่าวโดยสรุป ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ภาพรวมของเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปรับลดของการลงทุนในกลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างขยายตัวไม่สูงนัก
เมื่อพิจารณาแนวโน้มการลงทุนจากข้อมูลการลงทุนใหม่ที่ขอรับการส่งเสริมจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพบว่า 9 เดือนแรกของปี 2544 มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิปรับลดลงร้อยละ 53.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปรับลดลงเกือบทุกประเภทกิจการอย่าง ต่อเนื่อง (BOI)
ดัชนีเชื่อมั่นของธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมและดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 7) พบว่า ทั้ง 3 ดัชนีนี้มีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 แม้ว่าในเดือนมิถุนายน 2544 ดัชนีทั้ง 3 จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ดัชนีทั้ง 3 ยังคงปรับตัวลดลงเรื่อย ๆ แสดงให้เห็นว่า ความมั่นใจของผู้บริโภคในภาวะด้านเศรษฐกิจโดยรวม โอกาสการหางานทำและรายได้ลดน้อยลง สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในไตรมาสนี้ ได้แก่ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2544 จากเดิมที่ระดับ 2.5 - 4.0% เหลือ 2.0 - 3.0% (ก.ค.) เหลือ 1.5 - 2.0 % (ส.ค.) ปัจจัยอีกประการ คือ การส่งออกของไทยช่วง 7 เดือนแรกมีแนวโน้มชะลอตัวลงและมีอัตราการขยายตัวติดลบ ความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย รวมทั้งปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเซีย เช่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ และ มาเลเซีย การแก้ปัญหา NPL ยังล่าช้า ซึ่งทำให้เกิดความกังวลแก่ผู้บริโภค นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญในปลายไตรมาส ได้เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา โดยผู้บริโภคมีความกังวลว่าผลจากการก่อ วินาศกรรมครั้งนี้จะทำให้เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยมีการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออก การท่องเที่ยวไทย ซึ่งคาดว่าปัญหาการว่างงานจะมีความรุนแรงขึ้นในอนาคต สำหรับรายละเอียดของการปรับตัวของดัชนีต่าง ๆ มีดังนี้
ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยรวมของไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่า 70.3, 69.6 และ56.4 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดีนัก นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 3 นี้ยังทรงตัวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2544 และต่ำกว่าค่าดัชนีของไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมของไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ยังคงอยู่ในระดับต่ำ คือ 63.5, 62.3 และ 50.5 ตามลำดับในแต่ละเดือน ซึ่งค่าดัชนีปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว มีค่าต่ำกว่าระดับ 100 และมีค่าลดลงมามากในเดือนกันยายน แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังรู้สึกว่าภาวะการจ้างงานโดยรวมยังไม่ดี
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัว ลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ 98.3, 97.2 และ 82.6 ตามลำดับในแต่ละเดือน โดยค่าดัชนีมีค่าห่างจาก 100 เรื่อย ๆ แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มมีความกังวลและไม่มั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลง และมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ในอนาคต ซึ่งส่งสัญญานให้เห็นว่าการบริโภคอาจปรับตัวลดลงในอนาคต จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 6) พบว่า ดัชนีโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัวลดลงอย่างมากจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายไตรมาส ค่าดัชนีโดยรวมล้วนอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ทุกเดือน ซึ่งหมายความว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจแย่ลง ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น แม้ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมดัชนีความเชื่อมั่นในการลงทุนจะอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว แต่ช่วงปลายไตรมาสดัชนีทุกตัวปรับตัวลดลง โดยมีต้นทุนการประกอบการเป็นปัจจัยฉุดมากขึ้น โดยในเดือนกันยายนค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลงทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการคำสั่งซื้อ การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของธุรกิจ ทั้งนี้อาจเป็นผลจากแรงกระทบทันทีของเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาที่คาดว่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 8) พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าดัชนีปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และการลดลงของหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคาสินค้าหมวดไข่และผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตไข่ไก่ที่ลดลง และราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นตามปริมาณผลไม้ที่ออกสู่ตลาดน้อยลง เพราะเป็นช่วงนอกฤดูกาล สำหรับหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร ในเดือนกรกฎาคม 2544 ราคาหมวดยานพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงมากที่สุด เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่วนในเดือนสิงหาคม 2544 ราคาหมวดพลังงานลดลงมากที่สุด จากการลดลงของค่ากระแสไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายน 2544 ราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ขณะที่ราคาหมวดอาหารและ เครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.5 โดยราคาผักและผลไม้ลดลงมากที่สุด เนื่องจากปริมาณผักและผลไม้ออก สู่ตลาดมากขึ้น
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งจัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ (ตารางที่ 9) ใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 พบว่ามีค่าค่อนข้างคงที่หลังจากมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าดัชนีมีการปรับตัวสูงขึ้น แม้อัตราการขยายตัวในปีนี้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว
โดยในเดือนกรกฎาคม 2544 ค่าดัชนีราคาผู้ผลิตมีค่าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.5 และทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดผลผลิตเกษตรกรรม จากการสูงขึ้นของราคาข้าวเปลือก มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเป็นต้น ในขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมีราคาลดลง โดยเฉพาะหมวดปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ -4.8) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมีและใยสังเคราะห์ เยื่อกระดาษ
ในเดือนสิงหาคม 2544 ดัชนีเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.6 และเพิ่มจาก เดือนก่อนร้อยละ 0.2 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ขณะที่ราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมลดลง ในเดือนกันยายน 2544 ดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยราคาหมวด ผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ 0.6 ตามลำดับ ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
สถานการณ์ราคาน้ำมันในช่วงไตรมาส 3
ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2544 ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยอ่อนตัวลง 2 - 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 23.4 - 26.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในเดือน ก.ค. เนื่องจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของโลกในช่วงครึ่งปีแรกได้แสดงถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันอ่อนตัวลง และอิรักกลับมา ส่งออกใหม่ตามการอนุมัติของสหประชาชาติ อย่างไรก็ตามในช่วงปลายเดือนกลุ่มโอเปคได้ประกาศลดกำลังการผลิตลง ประกอบกับความต้องการใช้ที่เริ่มสูงขึ้น และการเริ่มสำรองน้ำมันไว้ใช้ในช่วงไตรมาส 4 ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 0.8 - 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบ ทรงตัวมาจนถึงเดือน ก.ย. จากความสมดุลของการใช้และการผลิตน้ำมันดิบ โดยในช่วงแรกของเดือนราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อน และการตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ แต่หลังจากนั้นราคาได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วประมาณ 6 - 8 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก ประกอบกับการขยายการผลิตและการส่งออก ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลกลดลง และทำให้ระดับราคาน้ำมันในไตรมาส 3 ลดต่ำลงกว่าไตรมาส 2 เล็กน้อยอยู่ในระดับ 24.2 - 26.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับต่ำกว่าปี 2543 ประมาณ 2 - 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สำหรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ในเดือน ก.ค. ยังอ่อนตัวลงต่อเนื่องจากเดือน มิ.ย. เนื่องจากความต้องการในภูมิภาคที่อ่อนตัวลง ทำให้โรงกลั่นในหลายประเทศ เช่น เกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่นลดปริมาณการกลั่นลง ในขณะที่ปริมาณสำรองทางการค้าของน้ำมันเบนซินอยู่ในระดับต่ำ เพราะเป็นช่วงปลายฤดูร้อน ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันเตาปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ส.ค. ส่วนในเดือน ก.ย. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันดิบ ในช่วงแรกปรับตัวสูงขึ้นจากเหตุการณ์การ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ต่อมาได้ปรับตัวลดลง ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ออกเทน 92 ก๊าด ดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา ณ วันที่ 25 ก.ย. 2544 อยู่ที่ 23.55, 22.45, 26.75, 26.15 และ 21.81 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ทำให้ระดับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไตรมาสนี้ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว ประมาณ 1 - 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันสำเร็จรูปในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับต่ำกว่าปี 2543 ประมาณ 1 - 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศไทยในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2544 ในเดือน ก.ค. อัตราแลกเปลี่ยนของไทยอ่อนตัวลง ทำให้ต้นทุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกที่อ่อนตัวลง มีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันมีทั้งปรับขึ้นและปรับลง ทำให้ราคาเบนซินในเดือน ก.ค. ในที่สุดลดลง 50 สตางค์ต่อลิตร ดีเซลหมุนเร็วปรับลดลง 50 สตางค์ต่อลิตร ในเดือน ส.ค. อัตราแลกเปลี่ยนของไทยแข็งขึ้น ทำให้ต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูปของไทยลดลง แต่ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่แข็งตัว มีผลให้ราคาน้ำมันเบนซินในเดือน ส.ค. ในที่สุดปรับขึ้น 90 สตางค์ต่อลิตร และดีเซลหมุนเร็วปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อลิตร และในเดือน ก.ย. อัตราแลกเปลี่ยนของไทยอ่อนตัวลงเล็กน้อย ราคาขายปลีกน้ำมันในเดือน ก.ย. ในที่สุดเบนซินปรับขึ้น 30 สตางค์ต่อลิตร และดีเซลปรับลง 20 สตางค์ต่อลิตร ทำให้ในวันที่ 25 ก.ย. 2544 ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลอยู่ที่ระดับ 15.99, 14.99 และ 13.94 บาทต่อลิตร ตามลำดับ และเพื่อรองรับผลกระทบของการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ต่อการจัดหา น้ำมันในประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงออกมาตรการให้ผู้ค้าน้ำมันเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 สำหรับน้ำมันที่ผลิตในประเทศ และจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10 สำหรับน้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 อยู่ในภาวะทรงตัว โดยมีการขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 1.9 ซึ่งเป็นอัตราใกล้เคียงกันกับการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ซึ่งมีค่าร้อยละ 1.8 และหากพิจารณาค่า GDP ที่ปรับฤดูกาลแล้วในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 ขยายตัวจากไตรมาสแรกในปีเดียวกัน ร้อยละ 0.9 มีผลทำให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 5.8 ในปีที่แล้ว (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กันยายน 2544)
ในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรม มีการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และอยู่ในระดับเดียวกันกับไตรมาสแรกของปีนี้ หากพิจารณา GDP เป็นรายอุตสาหกรรม พบว่า อุตสาหกรรมที่ขยายตัวในไตรมาสที่ 2 ได้แก่ ยานยนต์, ปิโตรเคมี, เครื่องจักรกล, เครื่องหนัง, กลั่นน้ำมัน, เฟอร์นิเจอร์, การพิมพ์ และเครื่องแต่งกาย สำหรับอุตสาหกรรมที่ยังทรงตัว ได้แก่ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้, โลหะขั้นพื้นฐาน และอาหาร ส่วนอุตสาหกรรมที่หดตัว ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องใช้สำนักงาน, วิทยุโทรทัศน์, เครื่องมือและอุปกรณ์แพทย์, ยาสูบ และกระดาษและผลิตภัณฑ์
สำหรับในไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 เศรษฐกิจไทยและภาคอุตสาหกรรมไทยยังมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดกันว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าช่วง ครึ่งปีแรก
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม
จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 1) ซึ่งครอบคลุมสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ 10 กลุ่มนั้น พบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 คือ 108.3, 109.5 และ 109.5 ตามลำดับในแต่ละเดือน ซึ่งค่าดัชนีมีการปรับตัวลดลงมาตั้งแต่ไตรมาสที่แล้ว และยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ดัชนีมีค่าสูงขึ้นเล็กน้อย
อุตสาหกรรมที่ผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นตามการผลิตรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นการขายตั้งแต่เดือนมกราคมของปี 2544 เรื่อยมา ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) ส่งออกรถยนต์นั่งได้มากขึ้น , หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ตามความต้องการภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ช่วงกลางไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการผลิตเหล็กรีดร้อนและรีดเย็นต้องประสบปัญหาการแข่งขันและการกีดกันทางการค้า , หมวดเครื่องดื่ม มีผลผลิตเพิ่มขึ้นตามการผลิตสุรา เพื่อการสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี และมีการเปิดดำเนินการของโรงงานสุราเพิ่มขึ้นอีก 4 โรง ในช่วงไตรมาสนี้ ขณะที่หมวดสินค้าที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า แม้ว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว แต่ค่าของดัชนียังอยู่ในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า รวมถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนขึ้นในไตรมาสต่อไป นอกจากนี้ หมวดสิ่งทอในไตรมาสนี้มีการปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้วและไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ตามการชะลอตัวของตลาดส่งออกหลัก รวมทั้งปัญหาการแข่งขันจากประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำกว่า เช่น จีน อินเดีย นอกจากนี้ ในส่วนของหมวดวัสดุก่อสร้าง และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ ค่าดัชนีในไตรมาสนี้มีการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ในส่วนของหมวดวัสดุก่อสร้าง มีการส่งออกปูนซีเมนต์ไป บังกลาเทศ และอินเดีย
กล่าวโดยสรุป ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อยจากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยอัตราการขยายตัวมีการชะลอลงไปในไตรมาสที่ 3 ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ค่อนข้างดี คือ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง, หมวดเครื่องดื่ม และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (แถลงข่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย, 31 ตุลาคม 2544)
สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่จัดทำขึ้นโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมาดัชนีมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงกับไตรมาสที่แล้ว โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมการแปรรูปและการเก็บถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบ
การขนส่งสินค้า
ดัชนีการส่งสินค้า (Shipment Index) ใช้แสดงทิศทางของระดับการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศ ดัชนีการส่งสินค้านี้จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมบางกลุ่ม (ตารางที่ 2) โดยดัชนีการขนส่งสินค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากการส่งสินค้าลดลงของอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต ยานยนต์ และอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ดัชนีการส่งสินค้ามีค่าลดลง โดยมีอุตสาหกรรมการผลิต หลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ และอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนี
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง (Finished goods inventory Index) ใช้แสดงทิศทางหรือระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการสำรองสินค้าเพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด ดัชนีนี้จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ตารางที่ 2) โดยดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และอุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใย สิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ เป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลง และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมี อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ และอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนี
ดัชนีการใช้กำลังการผลิต
ดัชนีการใช้กำลังการผลิตเป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ดัชนีนี้จะสะท้อนถึงความสามารถในการ จัดการต่อการขยายตัวของการผลิต การส่งออก และความกดดันจากระดับราคาในประเทศ อัตราการใช้กำลังการผลิตในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่า 51.5, 52.2 และ 52.8 ตามลำดับในแต่ละเดือน (ตารางที่ 3) ซึ่งค่าดัชนีในไตรมาสนี้มีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ค่าดัชนีมีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก
เมื่อพิจารณาอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.2 (55.3 หากไม่รวมสุรา) จากระดับร้อยละ 55.1 (58.8 หากไม่รวมสุรา) ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
นอกจากนี้การใช้กำลังการผลิตที่ลดลง เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้ปริมาณสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ(ส่งออกมากกว่าร้อยละ 60 ของการผลิต) ลดลงมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เช่น หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการใช้กำลังการผลิตลดลงมากจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับปัจจัยด้านอุปสงค์ภายในประเทศและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนั้น บางหมวดสินค้ายังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ การกีดกันทางการค้า และการทุ่มตลาด โดยเฉพาะสับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ เหล็กรีดร้อนและเหล็กรีดเย็น และหมวดยาสูบมีการผลิตลดลงมาก เนื่องจากเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับบุหรี่ต่างประเทศ
หากพิจารณารายสินค้า พบว่า หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่แล้วและไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการขยายตัวอย่างมากจากการผลิต รถยนต์นั่ง เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่รถยนต์พาณิชย์กลับผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ตามการชะลอตัวของการจำหน่ายทั้งตลาดในประเทศและการส่งออกไปตลาดยุโรปและออสเตรเลีย หมวดเครื่องดื่ม เพิ่มตามการผลิตสุราเป็นสำคัญ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับมีการขยายอัตราการผลิต เนื่องจากมีการขยายตลาดส่งออกโดยมุ่งเน้นตลาดยุโรปมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตได้ชะลอลงในเดือนสิงหาคม และกันยายน 2544 เพราะผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ
การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (Expenditure on private consumption) เป็นปัจจัยชี้วัดความ เชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 อยู่ในระดับทรงตัว โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย อย่างไรก็ตามยังมีการขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำ และการจ้างงานยังไม่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจาก สถานการณ์ในปัจจุบัน ส่วนปลายไตรมาสนี้ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีการปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคทรุดต่ำสุดในรอบ 30 เดือน โดยเป็นปการปรับตัวลดลงของการใช้กำลังไฟฟ้า และยอดการขายรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ โดยเฉพาะการลดลงของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคสะท้อนถึงความมั่นใจของผู้บริโภคที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ รวมทั้งการอ่อนตัวของกำลังซื้อจากประชาชน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 กับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า ค่าดัชนีโดยรวมมีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หากแยกประเภทพบว่า มีการเพิ่มขึ้นของการใช้กำลังไฟฟ้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์นั่งและมอเตอร์ไซค์
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 พิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ ได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศ, ยอดการขายซีเมนต์ในประเทศ และยอดการ นำเข้าสินค้าทุน พบว่าการลงทุนในภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งการที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ผนวกกับแนวโน้มการส่งออกที่ยังลดลงต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตค่อนข้างทรงตัว แสดงว่ายังไม่มีปัจจัยที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนที่ชัดเจน
หากแยกตามรายสินค้าจะพบว่า การนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัว ลดลงอย่างมากจากไตรมาสเดียวกันของปีและจากไตรมาสที่แล้ว อันเป็นผลจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ตลอดจนอุปสงค์มวลรวมในประเทศ กำลังการผลิตยังคงมีเหลือ ทำให้ ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุนเพิ่ม ประกอบกับความไม่แน่นอนของภาวะสงครามสหรัฐอเมริกาและอัฟกานิสถานที่อาจยืดเยื้อ จึงเป็นปัจจัยที่ชะลอการตัดสินใจลงทุนใหม่ของผู้ประกอบการ การหดตัวอย่างเฉียบพลันของสินค้านำเข้าประเภททุนและวัตถุดิบอาจหมายถึง การชะลอของการลงทุนของภาคเอกชนในอีก 2 ไตรมาสหน้า ฉะนั้นปัญหาของเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นเฉพาะหน้านี้ คือการ เจริญเติบโตในระดับต่ำรวมไปถึงแนวโน้มการว่างงานที่อาจเพิ่มมากขึ้น
หากพิจารณาถึงปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์จะพบว่า ยอดการจำหน่ายปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่แล้วอย่างมาก ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ แม้ผู้ประกอบการยังจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องนำมาซึ่งความไม่แน่นอนในการลงทุน ตลอดจนยังไม่มีแรงจูงใจที่สามารถกระตุ้นการลงทุนใหม่ได้
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในระดับต่ำ แม้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในกลางไตรมาสแต่ในปลายไตรมาสก็ลดลง สาเหตุของการขยายตัวแม้จะอยู่ในระดับต่ำนี้ เนื่องจากแรงอุปสงค์ของกลุ่มคนที่พอมีกำลังซื้อที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก และแรงจูงใจจากการแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนในภาวะเศรษฐกิจที่อาจส่งผลต่อรายได้ เริ่มเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากขึ้น
กล่าวโดยสรุป ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ภาพรวมของเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปรับลดของการลงทุนในกลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างขยายตัวไม่สูงนัก
เมื่อพิจารณาแนวโน้มการลงทุนจากข้อมูลการลงทุนใหม่ที่ขอรับการส่งเสริมจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพบว่า 9 เดือนแรกของปี 2544 มูลค่าการขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิปรับลดลงร้อยละ 53.4 จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปรับลดลงเกือบทุกประเภทกิจการอย่าง ต่อเนื่อง (BOI)
ดัชนีเชื่อมั่นของธุรกิจและผู้บริโภค
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แบ่งออกเป็น 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมและดัชนีเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต (ตารางที่ 7) พบว่า ทั้ง 3 ดัชนีนี้มีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 แม้ว่าในเดือนมิถุนายน 2544 ดัชนีทั้ง 3 จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ดัชนีทั้ง 3 ยังคงปรับตัวลดลงเรื่อย ๆ แสดงให้เห็นว่า ความมั่นใจของผู้บริโภคในภาวะด้านเศรษฐกิจโดยรวม โอกาสการหางานทำและรายได้ลดน้อยลง สำหรับปัจจัยที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงทุกรายการในไตรมาสนี้ ได้แก่ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2544 จากเดิมที่ระดับ 2.5 - 4.0% เหลือ 2.0 - 3.0% (ก.ค.) เหลือ 1.5 - 2.0 % (ส.ค.) ปัจจัยอีกประการ คือ การส่งออกของไทยช่วง 7 เดือนแรกมีแนวโน้มชะลอตัวลงและมีอัตราการขยายตัวติดลบ ความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทย รวมทั้งปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเซีย เช่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ และ มาเลเซีย การแก้ปัญหา NPL ยังล่าช้า ซึ่งทำให้เกิดความกังวลแก่ผู้บริโภค นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญในปลายไตรมาส ได้เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา โดยผู้บริโภคมีความกังวลว่าผลจากการก่อ วินาศกรรมครั้งนี้จะทำให้เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย โดยมีการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออก การท่องเที่ยวไทย ซึ่งคาดว่าปัญหาการว่างงานจะมีความรุนแรงขึ้นในอนาคต สำหรับรายละเอียดของการปรับตัวของดัชนีต่าง ๆ มีดังนี้
ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยรวมของไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีค่า 70.3, 69.6 และ56.4 ตามลำดับในแต่ละเดือน การที่ดัชนีมีค่าต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ดีนัก นอกจากนี้ดัชนีความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสที่ 3 นี้ยังทรงตัวอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 ของปี 2544 และต่ำกว่าค่าดัชนีของไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมของไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ยังคงอยู่ในระดับต่ำ คือ 63.5, 62.3 และ 50.5 ตามลำดับในแต่ละเดือน ซึ่งค่าดัชนีปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว มีค่าต่ำกว่าระดับ 100 และมีค่าลดลงมามากในเดือนกันยายน แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังรู้สึกว่าภาวะการจ้างงานโดยรวมยังไม่ดี
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตของไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัว ลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา คือ 98.3, 97.2 และ 82.6 ตามลำดับในแต่ละเดือน โดยค่าดัชนีมีค่าห่างจาก 100 เรื่อย ๆ แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มมีความกังวลและไม่มั่นใจในรายได้ในอนาคตของตนว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลง และมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ในอนาคต ซึ่งส่งสัญญานให้เห็นว่าการบริโภคอาจปรับตัวลดลงในอนาคต จากการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 6) พบว่า ดัชนีโดยรวมในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีการปรับตัวลดลงอย่างมากจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายไตรมาส ค่าดัชนีโดยรวมล้วนอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ทุกเดือน ซึ่งหมายความว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจแย่ลง ผู้ประกอบการยังคงมองว่าภาวะการณ์ด้านธุรกิจในอนาคตยังมีแนวโน้มไม่ดีขึ้น แม้ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมดัชนีความเชื่อมั่นในการลงทุนจะอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว แต่ช่วงปลายไตรมาสดัชนีทุกตัวปรับตัวลดลง โดยมีต้นทุนการประกอบการเป็นปัจจัยฉุดมากขึ้น โดยในเดือนกันยายนค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลงทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการคำสั่งซื้อ การลงทุน การจ้างงาน และการผลิตของธุรกิจ ทั้งนี้อาจเป็นผลจากแรงกระทบทันทีของเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาที่คาดว่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก
ภาวะราคาสินค้า
จากการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ตารางที่ 8) พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ทรงตัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าดัชนีปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และการลดลงของหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ราคาสินค้าหมวดไข่และผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นตามปริมาณผลผลิตไข่ไก่ที่ลดลง และราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้เพิ่มขึ้นตามปริมาณผลไม้ที่ออกสู่ตลาดน้อยลง เพราะเป็นช่วงนอกฤดูกาล สำหรับหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร ในเดือนกรกฎาคม 2544 ราคาหมวดยานพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงมากที่สุด เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลหมุนเร็วลดลงตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่วนในเดือนสิงหาคม 2544 ราคาหมวดพลังงานลดลงมากที่สุด จากการลดลงของค่ากระแสไฟฟ้า
อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายน 2544 ราคาหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ขณะที่ราคาหมวดอาหารและ เครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.5 โดยราคาผักและผลไม้ลดลงมากที่สุด เนื่องจากปริมาณผักและผลไม้ออก สู่ตลาดมากขึ้น
ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต ซึ่งจัดทำโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ (ตารางที่ 9) ใน ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 พบว่ามีค่าค่อนข้างคงที่หลังจากมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าดัชนีมีการปรับตัวสูงขึ้น แม้อัตราการขยายตัวในปีนี้จะน้อยกว่าปีที่แล้ว
โดยในเดือนกรกฎาคม 2544 ค่าดัชนีราคาผู้ผลิตมีค่าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.5 และทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดผลผลิตเกษตรกรรม จากการสูงขึ้นของราคาข้าวเปลือก มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเป็นต้น ในขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมีราคาลดลง โดยเฉพาะหมวดปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ -4.8) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมีและใยสังเคราะห์ เยื่อกระดาษ
ในเดือนสิงหาคม 2544 ดัชนีเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.6 และเพิ่มจาก เดือนก่อนร้อยละ 0.2 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ขณะที่ราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรมลดลง ในเดือนกันยายน 2544 ดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยราคาหมวด ผลผลิตเกษตรกรรม และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ 0.6 ตามลำดับ ขณะที่ราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
สถานการณ์ราคาน้ำมันในช่วงไตรมาส 3
ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2544 ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยอ่อนตัวลง 2 - 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 23.4 - 26.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในเดือน ก.ค. เนื่องจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของโลกในช่วงครึ่งปีแรกได้แสดงถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันอ่อนตัวลง และอิรักกลับมา ส่งออกใหม่ตามการอนุมัติของสหประชาชาติ อย่างไรก็ตามในช่วงปลายเดือนกลุ่มโอเปคได้ประกาศลดกำลังการผลิตลง ประกอบกับความต้องการใช้ที่เริ่มสูงขึ้น และการเริ่มสำรองน้ำมันไว้ใช้ในช่วงไตรมาส 4 ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 0.8 - 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบ ทรงตัวมาจนถึงเดือน ก.ย. จากความสมดุลของการใช้และการผลิตน้ำมันดิบ โดยในช่วงแรกของเดือนราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อน และการตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ แต่หลังจากนั้นราคาได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วประมาณ 6 - 8 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก ประกอบกับการขยายการผลิตและการส่งออก ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบของโลกลดลง และทำให้ระดับราคาน้ำมันในไตรมาส 3 ลดต่ำลงกว่าไตรมาส 2 เล็กน้อยอยู่ในระดับ 24.2 - 26.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับต่ำกว่าปี 2543 ประมาณ 2 - 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สำหรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ในเดือน ก.ค. ยังอ่อนตัวลงต่อเนื่องจากเดือน มิ.ย. เนื่องจากความต้องการในภูมิภาคที่อ่อนตัวลง ทำให้โรงกลั่นในหลายประเทศ เช่น เกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่นลดปริมาณการกลั่นลง ในขณะที่ปริมาณสำรองทางการค้าของน้ำมันเบนซินอยู่ในระดับต่ำ เพราะเป็นช่วงปลายฤดูร้อน ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินและน้ำมันเตาปรับตัวสูงขึ้นในเดือน ส.ค. ส่วนในเดือน ก.ย. ราคาน้ำมันสำเร็จรูปปรับตัวในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันดิบ ในช่วงแรกปรับตัวสูงขึ้นจากเหตุการณ์การ ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ต่อมาได้ปรับตัวลดลง ทำให้ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ออกเทน 92 ก๊าด ดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันเตา ณ วันที่ 25 ก.ย. 2544 อยู่ที่ 23.55, 22.45, 26.75, 26.15 และ 21.81 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ ทำให้ระดับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไตรมาสนี้ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้ว ประมาณ 1 - 3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันสำเร็จรูปในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2544 อยู่ในระดับต่ำกว่าปี 2543 ประมาณ 1 - 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันในประเทศไทยในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2544 ในเดือน ก.ค. อัตราแลกเปลี่ยนของไทยอ่อนตัวลง ทำให้ต้นทุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกที่อ่อนตัวลง มีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันมีทั้งปรับขึ้นและปรับลง ทำให้ราคาเบนซินในเดือน ก.ค. ในที่สุดลดลง 50 สตางค์ต่อลิตร ดีเซลหมุนเร็วปรับลดลง 50 สตางค์ต่อลิตร ในเดือน ส.ค. อัตราแลกเปลี่ยนของไทยแข็งขึ้น ทำให้ต้นทุนน้ำมันสำเร็จรูปของไทยลดลง แต่ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่แข็งตัว มีผลให้ราคาน้ำมันเบนซินในเดือน ส.ค. ในที่สุดปรับขึ้น 90 สตางค์ต่อลิตร และดีเซลหมุนเร็วปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อลิตร และในเดือน ก.ย. อัตราแลกเปลี่ยนของไทยอ่อนตัวลงเล็กน้อย ราคาขายปลีกน้ำมันในเดือน ก.ย. ในที่สุดเบนซินปรับขึ้น 30 สตางค์ต่อลิตร และดีเซลปรับลง 20 สตางค์ต่อลิตร ทำให้ในวันที่ 25 ก.ย. 2544 ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 91 และดีเซลอยู่ที่ระดับ 15.99, 14.99 และ 13.94 บาทต่อลิตร ตามลำดับ และเพื่อรองรับผลกระทบของการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ ต่อการจัดหา น้ำมันในประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงออกมาตรการให้ผู้ค้าน้ำมันเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 สำหรับน้ำมันที่ผลิตในประเทศ และจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10 สำหรับน้ำมันที่นำเข้าจากต่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--