แท็ก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ข่าวในประเทศ
1. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภาพรวมระบบ ธพ.ไทยปี 45 ยังอ่อนแอ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินภาพรวมระบบ ธพ.ไทยในปี 45 ว่ายังคงอ่อนแอลง แม้เศรษฐกิจไทยจะสามารถรักษาระดับการขยายตัวปี 45 ใกล้เคียงกับปี 44 และภาคธนาคารมีการโอนเอ็นพีแอลไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) แต่ปัญหาความล่าช้าในการปรับโครงสร้างหนี้ การเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล ตลอดจนการถดถอยของมูลค่าหลักประกันในระบบ จะบั่นทอนการสร้างรายได้ของ ธพ.ต่อไป นอกจากนี้การปล่อยสินเชื่อใหม่มีข้อจำกัดตามภาวะกำลังการผลิตส่วนเกินของภาคอุตสาหกรรมที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 ทำให้การปล่อยสินเชื่อใหม่ของทั้งระบบไม่เพิ่มมาก คาดว่า สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4-17.8 เทียบกับประมาณการปี 44 ที่ร้อยละ 12.5 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืมและเงินฝากของธนาคารไทยลดลงเหลือร้อยละ 1.4-1.46 ในปี 45 จากร้อยละ 1.55 ในปี 44 แต่หากมีการลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 โดยไม่ลดดอกเบี้ยเงินฝาก ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะลดลงเหลือร้อยละ 1.17-1.22 และหากมีการลดดอกเบี้ยเงินฝากพร้อมกับดอกเบี้ยเงินกู้ คาดว่าจะทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.58-1.64 (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้ 20)
2. สถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารเดือน ก.ย.44 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยสถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเดือน ก.ย.44 ว่ามีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 4.29 ล.ฉบับ มูลค่า 1,232,802.99 ล.บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.37 และ 7.27 ตามลำดับ สำหรับปริมาณเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันทำการมีจำนวน 214,382 ฉบับ ลดลงร้อยละ 1.41 คิดเป็นมูลค่า 61,640.15 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.01 ส่วนเช็คคืนมีปริมาณทั้งสิ้น 106,747 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 12,390.86 ล.บาท โดยปริมาณเช็คคืนลดลง แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ส.ค. คิดเป็นสัดส่วนต่อปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บร้อยละ 2.49 และ 1.01 ตามลำดับ สำหรับเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณ 63,937 ฉบับ มูลค่า 5,158.70 ล.บาท คิดเป็นสัดส่วนต่อปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บร้อยละ 1.49 และ 0.42 ตามลำดับ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน 20)
3. ธ.โลกชี้ปัญหาความยากจนกลับสู่ไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาความยากจนได้กลับมาเป็นปัญหารุนแรงของประเทศไทยอีกครั้ง ทั้งที่ก่อนวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี 40 ความยากจนได้ลดลงจากร้อยละ 32.6 ของประชากรในปี 36 เหลือเพียงร้อยละ 11.6 ในปี 39 แต่ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ กลับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนประชากร หรือประมาณ 10 ล.คน และกล่าวถึงโครงการสาธารณะในการแก้ปัญหาความยากจนว่า สามารถประเมินได้จากปริมาณของทรัพยากรที่ใช้ในการต่อสู้กับความยากจน กล่าวคือ ในปี 42 รายจ่ายของภาครัฐสำหรับโครงการต่อสู้กับความยากจนทั้งหมดประมาณ 35,000 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 4.2 ของรายจ่ายรัฐบาล โดยจังหวัดที่มีความเป็นอยู่ดีกว่า มักได้รับการจัดสรรรายจ่ายสาธารณะต่อหัวมากกว่าจังหวัดที่ยากจนกว่า (ไทยโพสต์, ข่าวสด 20)
ข่าวต่างประเทศ
1. นโยบายของธนาคารกลางยุโรปและภาวะเศรษฐกิจเยอรมนีไตรมาสที่ 3/44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อ 19 พ.ย.44 ประธานธนาคารกลางเยอรมนี (Bundesbank) ซึ่งเป็นสมาชิกสภาธนาคารกลางยุโรป(ECB) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงต้นปี 45 ภายหลังจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน สรอ.เมื่อเดือน ก.ย.44 ในส่วนของการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปนั้น ยังไม่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานให้ขึ้นสูงกว่าปัจจุบัน สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการตัดสินใจการลงทุนก็อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ประธานธนาคารกลางเยอรมนีกล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะเศรษฐกิจของเยอรมนีไตรมาสที่ 3/44 ยังทรงตัว โดยอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะอยู่ประมาณร้อยละ 0 หรือสูงกว่าเล็กน้อย สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ การปรับลดภาษีอาจไม่ช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น ในทางตรงข้ามอาจทำให้เศรษฐกิจตกต่ำกว่าระดับที่จะยอมรับได้ (รอยเตอร์ 19)
2. การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของ สรอ. ในเดือน ต.ค. 44 สูงกว่าความคาดหมาย รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 19 พ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค. 44 การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว มีจำนวน 1.552 ล. หลัง/ปี ลดลงร้อยละ 1.3 จากจำนวน 1.572 ล. หลัง/ปีในเดือน ก.ย. 44 แต่สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า จะมีจำนวน 1.513 ล. หลัง/ปี ขณะเดียวกัน คำขออนุญาตเพื่อการก่อสร้าง มีจำนวน 1.473 ล.หลัง/ปี ลดลงร้อยละ 3.6 จากเดือนก่อนที่มีจำนวน 1,528 ล. หลัง/ปี นับเป็นจำนวนต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 40 ที่มีจำนวน 1.456 ล. หลัง/ปี รายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยยังคงมีความผันผวนภายใต้การตกต่ำทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์19)
3. ความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 19 พ.ย.44 สมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษเปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม (SMEs) ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 ว่า ลดลงอยู่ที่ระดับลบร้อยละ 57 ต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่เดือน ม.ค.34 และลดลงจากระดับลบร้อยละ 28 ในเดือน ก.ค.44 ทั้งนี้ มีบริษัทจำนวนมากกว่าจากการสำรวจครั้งก่อนมีแผนลดการลงทุนซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักร โดยการลงทุนอยู่ที่ระดับลบร้อยละ 33 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี และต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.34 สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งออกของอุตสาหกรรมฯ ในไตรมาสที่ 3 ก็ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 18 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องใน 4 เดือนข้างหน้า การที่ความเชื่อมั่นของธุรกิจฯ ลดลงดังกล่าว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ (รอยเตอร์ 19)
4. เกาหลีใต้จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากโซลเมื่อ 20 พ.ย.44 ก.คลังเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 1.3 โดยอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 1.0-1.3 ซึ่งหากจะดีขึ้นกว่าระดับประมาณการดังกล่าว คาดว่าจะเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนวันทำงานเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน (รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 19 พ.ย.44 44.457 (44.450)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 19 พ.ย. 44ซื้อ 44.2790 (44.2477) ขาย 44.5756 (44.5511)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,750) ขาย 5,850 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 16.50 (15.89)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 12.99 (13.29) ดีเซลหมุนเร็ว 11.99 (12.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินภาพรวมระบบ ธพ.ไทยปี 45 ยังอ่อนแอ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินภาพรวมระบบ ธพ.ไทยในปี 45 ว่ายังคงอ่อนแอลง แม้เศรษฐกิจไทยจะสามารถรักษาระดับการขยายตัวปี 45 ใกล้เคียงกับปี 44 และภาคธนาคารมีการโอนเอ็นพีแอลไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) แต่ปัญหาความล่าช้าในการปรับโครงสร้างหนี้ การเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล ตลอดจนการถดถอยของมูลค่าหลักประกันในระบบ จะบั่นทอนการสร้างรายได้ของ ธพ.ต่อไป นอกจากนี้การปล่อยสินเชื่อใหม่มีข้อจำกัดตามภาวะกำลังการผลิตส่วนเกินของภาคอุตสาหกรรมที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 ทำให้การปล่อยสินเชื่อใหม่ของทั้งระบบไม่เพิ่มมาก คาดว่า สัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4-17.8 เทียบกับประมาณการปี 44 ที่ร้อยละ 12.5 ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยการให้กู้ยืมและเงินฝากของธนาคารไทยลดลงเหลือร้อยละ 1.4-1.46 ในปี 45 จากร้อยละ 1.55 ในปี 44 แต่หากมีการลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 โดยไม่ลดดอกเบี้ยเงินฝาก ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะลดลงเหลือร้อยละ 1.17-1.22 และหากมีการลดดอกเบี้ยเงินฝากพร้อมกับดอกเบี้ยเงินกู้ คาดว่าจะทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.58-1.64 (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้ 20)
2. สถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารเดือน ก.ย.44 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยสถิติการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเดือน ก.ย.44 ว่ามีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 4.29 ล.ฉบับ มูลค่า 1,232,802.99 ล.บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.37 และ 7.27 ตามลำดับ สำหรับปริมาณเช็คเรียกเก็บเฉลี่ยต่อวันทำการมีจำนวน 214,382 ฉบับ ลดลงร้อยละ 1.41 คิดเป็นมูลค่า 61,640.15 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.01 ส่วนเช็คคืนมีปริมาณทั้งสิ้น 106,747 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 12,390.86 ล.บาท โดยปริมาณเช็คคืนลดลง แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ส.ค. คิดเป็นสัดส่วนต่อปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บร้อยละ 2.49 และ 1.01 ตามลำดับ สำหรับเช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณ 63,937 ฉบับ มูลค่า 5,158.70 ล.บาท คิดเป็นสัดส่วนต่อปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บร้อยละ 1.49 และ 0.42 ตามลำดับ (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน 20)
3. ธ.โลกชี้ปัญหาความยากจนกลับสู่ไทยหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาความยากจนได้กลับมาเป็นปัญหารุนแรงของประเทศไทยอีกครั้ง ทั้งที่ก่อนวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี 40 ความยากจนได้ลดลงจากร้อยละ 32.6 ของประชากรในปี 36 เหลือเพียงร้อยละ 11.6 ในปี 39 แต่ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ กลับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนประชากร หรือประมาณ 10 ล.คน และกล่าวถึงโครงการสาธารณะในการแก้ปัญหาความยากจนว่า สามารถประเมินได้จากปริมาณของทรัพยากรที่ใช้ในการต่อสู้กับความยากจน กล่าวคือ ในปี 42 รายจ่ายของภาครัฐสำหรับโครงการต่อสู้กับความยากจนทั้งหมดประมาณ 35,000 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 4.2 ของรายจ่ายรัฐบาล โดยจังหวัดที่มีความเป็นอยู่ดีกว่า มักได้รับการจัดสรรรายจ่ายสาธารณะต่อหัวมากกว่าจังหวัดที่ยากจนกว่า (ไทยโพสต์, ข่าวสด 20)
ข่าวต่างประเทศ
1. นโยบายของธนาคารกลางยุโรปและภาวะเศรษฐกิจเยอรมนีไตรมาสที่ 3/44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อ 19 พ.ย.44 ประธานธนาคารกลางเยอรมนี (Bundesbank) ซึ่งเป็นสมาชิกสภาธนาคารกลางยุโรป(ECB) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงต้นปี 45 ภายหลังจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน สรอ.เมื่อเดือน ก.ย.44 ในส่วนของการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรปนั้น ยังไม่มีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและอัตราการว่างงานให้ขึ้นสูงกว่าปัจจุบัน สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสม และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงซึ่งอยู่บนพื้นฐานของการตัดสินใจการลงทุนก็อยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ประธานธนาคารกลางเยอรมนีกล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะเศรษฐกิจของเยอรมนีไตรมาสที่ 3/44 ยังทรงตัว โดยอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะอยู่ประมาณร้อยละ 0 หรือสูงกว่าเล็กน้อย สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ การปรับลดภาษีอาจไม่ช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น ในทางตรงข้ามอาจทำให้เศรษฐกิจตกต่ำกว่าระดับที่จะยอมรับได้ (รอยเตอร์ 19)
2. การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของ สรอ. ในเดือน ต.ค. 44 สูงกว่าความคาดหมาย รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 19 พ.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค. 44 การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว มีจำนวน 1.552 ล. หลัง/ปี ลดลงร้อยละ 1.3 จากจำนวน 1.572 ล. หลัง/ปีในเดือน ก.ย. 44 แต่สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ของวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า จะมีจำนวน 1.513 ล. หลัง/ปี ขณะเดียวกัน คำขออนุญาตเพื่อการก่อสร้าง มีจำนวน 1.473 ล.หลัง/ปี ลดลงร้อยละ 3.6 จากเดือนก่อนที่มีจำนวน 1,528 ล. หลัง/ปี นับเป็นจำนวนต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ธ.ค. 40 ที่มีจำนวน 1.456 ล. หลัง/ปี รายงานครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยยังคงมีความผันผวนภายใต้การตกต่ำทางเศรษฐกิจ (รอยเตอร์19)
3. ความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 19 พ.ย.44 สมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษเปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม (SMEs) ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 ว่า ลดลงอยู่ที่ระดับลบร้อยละ 57 ต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่เดือน ม.ค.34 และลดลงจากระดับลบร้อยละ 28 ในเดือน ก.ค.44 ทั้งนี้ มีบริษัทจำนวนมากกว่าจากการสำรวจครั้งก่อนมีแผนลดการลงทุนซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักร โดยการลงทุนอยู่ที่ระดับลบร้อยละ 33 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี และต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.34 สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งออกของอุตสาหกรรมฯ ในไตรมาสที่ 3 ก็ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 18 ที่ผ่านมา และคาดว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องใน 4 เดือนข้างหน้า การที่ความเชื่อมั่นของธุรกิจฯ ลดลงดังกล่าว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ (รอยเตอร์ 19)
4. เกาหลีใต้จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำกว่าร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่ 3 ปี 44 รายงานจากโซลเมื่อ 20 พ.ย.44 ก.คลังเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 3 ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 1.3 โดยอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 1.0-1.3 ซึ่งหากจะดีขึ้นกว่าระดับประมาณการดังกล่าว คาดว่าจะเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนวันทำงานเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน (รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 19 พ.ย.44 44.457 (44.450)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 19 พ.ย. 44ซื้อ 44.2790 (44.2477) ขาย 44.5756 (44.5511)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,750 (5,750) ขาย 5,850 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 16.50 (15.89)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 12.99 (13.29) ดีเซลหมุนเร็ว 11.99 (12.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-