แท็ก
เครดิต
ฉบับที่ 117/2543
1.NPL คงค้างของระบบสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
1.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ทั้งสิ้น 1,115.4 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 4,897.6 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 22.78
1.2 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 แยกแสดงรายกลุ่มได้ดังนี้
1.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 526.3 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 2,617.2 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 20.11
1.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 492.6 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 1,488.7 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 33.09
1.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 39.3 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 631.4 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 6.23
1.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 57.2 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 160.3 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 35.69
1.3 ประเภทธุรกิจที่มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 จำนวนสูงแสดงได้ดังนี้
1.3.1 ภาคอุตสาหกรรมมี NPL คงค้าง 273.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.5 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.2 ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มี NPL คงค้าง 188.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.88 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.3 ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกมี NPL คงค้าง 174.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.63 ของ NPL ทั้งสิ้น
2. การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
2.1 การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ในเดือนกันยายน 2543 แสดงรายละเอียดได้ดังนี้
พันล้านบาท
2.1.1 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 2543 1,593.4
2.1.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย. 2543
-จำนวนใหม่ 18.8
-รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 13.8 32.6
2.1.3 NPL ที่ลดลงในเดือน ก.ย. 2543
-ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (40.2)
-เหตุผลอื่น (แสดงรายละเอียดในหมายเหตุ) (470.4) (510.6)
2.1.4 NPL ลดลงสุทธิในเดือน ก.ย. 2543 (478.0)
2.1.5 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2543 1,115.4
หมายเหตุ เหตุผลอื่น ประกอบด้วย
1.NPL ที่มาชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 7.8 พันล้านบาท
2.โอนไป AMC จำนวน 438.5 พันล้านบาท
3.ตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 แล้วออกจากบัญชี รวมเป็นจำนวน 4.3 พันล้านบาท
4.อื่น ๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้อง การขายหนี้ เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 19.8 พันล้านบาท
2.2 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนกันยายน 2543 พิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้ดังนี้
2.2.1ธนาคารเอกชนมี NPL ลดลงสุทธิ 47.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.31 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 574.0 พันล้านบาท สาเหตุสำคัญเนื่องจากในเดือนนี้ ธ.ดีบีเอส ไทยทนุได้ดำเนินการโอนขายหนี้
2.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL ลดลงสุทธิ 421.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.13 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 914.4 พันล้านบาท เนื่องจาก ธ.กรุงไทยได้ดำเนินการโอน NPL ไป AMC เป็นสำคัญ
2.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL ลดลงสุทธิ 7.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.83 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 46.7 พันล้านบาท
2.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 1.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.84 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 58.3 พันล้านบาท
2.3 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนกันยายน 2543 พิจารณาตามประเภทธุรกิจ แสดงได้ดังนี้
2.3.1 NPL ที่เพิ่มขึ้นรายใหม่จำนวน 18.8 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 6.3 พันล้านบาท ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 3.3 พันล้านบาท และ ธุรกิจการบริการ 2.5 พันล้านบาท
2.3.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นจากรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 13.8 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 4.0 พันล้านบาท ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 2.5 พันล้านบาท และ ธุรกิจการบริการ 1.8 พันล้านบาท
3. NPL ของสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
3.1 สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ทั้งสิ้น 4.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนก่อน 0.3 พันล้านบาท และมีสินเชื่อรวม 71.0 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 6.54
3.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ทั้งสิ้น 1.6 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับเดือนก่อน และมีสินเชื่อรวม 3.2 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 49.65
4. NPL คงค้าง ของระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ทั้งสิ้น 1,121.7 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 4,971.8 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 22.56 ลดลงจากร้อยละ 30.89 ณ สิ้นเดือนก่อน
5. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จของระบบสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 61.4 พันล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ NPL จำนวน 40.2 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกิน 3 เดือน
6. แนวโน้มและสถานการณ์ PL และ NPL ในอนาคต
6.1 Performing Loans (PL) ของระบบสถาบันการเงินไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด ทั้งในรูปจำนวนและร้อยละของสินเชื่อรวม
หน่วย : พันล้านบาท
สินเชื่อ มิ.ย.42 ธ.ค.42 มิ.ย.43 ก.ย.43
ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน 158.50 113.20 99.10 92.70
ไม่ค้างชำระ 2,781.90 3,176.10 3,338.60 3,689.50
รวม PL 2,940.40 3,289.30 3,437.70 3,782.20
PL ต่อสินเชื่อรวม (%) 52.49 61.12 68.03 77.22
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 สินเชื่อที่เป็น PL มีจำนวนทั้งสิ้น 3,782.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77.22 ของสินเชื่อรวม ประกอบด้วยส่วนที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนจำนวน 92.7 พันล้านบาท ซึ่งคงค้างในจำนวนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่หนี้จะกลายเป็น NPL ในอนาคตจะมีจำนวนที่ลดลง ส่วน PL ที่เหลืออีกจำนวน 3,689.5 พันล้านบาท เป็นสินเชื่อที่ไม่ค้างชำระซึ่งมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด เนื่องจากได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นผลจากการให้สินเชื่อจำนวนใหม่เพิ่มขึ้นด้วย
6.2 ธนาคารพาณิชย์ไทยเอกชนและของรัฐมีวิธีแก้ไขปัญหา NPL แตกต่างกัน โดยมีความคืบหน้าแสดงได้ดังนี้
6.2.1 ธนาคารเอกชนดูแลแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ผ่านกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การโอนหนี้เสียไป AMC และการตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 แล้วออกจากบัญชี โดยในขณะนี้ธนาคารเอกชนสามารถจัดการปัญหา NPL ได้เป็นอย่างดี จนมียอด NPL คงค้างลดลงเหลืออยู่ในระดับเพียงร้อยละ 20.11 ของสินเชื่อรวม
6.2.2 สำหรับธนาคารรัฐถึงแม้จะมีอัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมสูงกว่าของกลุ่มธนาคารเอกชน แต่ก็เป็นสถาบันการเงินกลุ่มที่ทางการเป็นผู้ดูแลโดยตรงในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งในเดือนกันยายน 2543 นี้ ธ.กรุงไทยได้โอนหนี้ไป AMC เรียบร้อยแล้ว ทำให้ NPL ของธนาคารรัฐลดลงเหลืออยู่ในระดับร้อยละ 33.09 ของสินเชื่อรวม ส่วนกรณี ธ.ไทยธนาคาร และ ธ.ศรีนครที่ ครม.ได้อนุมัติแนวทางการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Yield Maintenance and Gain/Loss Sharing) นั้น เมื่อทำสัญญาเสร็จแล้ว NPL จะทยอยลดลงต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/27 ตุลาคม 2543--
-ยก-
1.NPL คงค้างของระบบสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
1.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ทั้งสิ้น 1,115.4 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 4,897.6 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 22.78
1.2 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 แยกแสดงรายกลุ่มได้ดังนี้
1.2.1 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 526.3 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 2,617.2 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 20.11
1.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 492.6 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 1,488.7 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 33.09
1.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 39.3 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 631.4 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 6.23
1.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 57.2 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 160.3 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 35.69
1.3 ประเภทธุรกิจที่มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 จำนวนสูงแสดงได้ดังนี้
1.3.1 ภาคอุตสาหกรรมมี NPL คงค้าง 273.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.5 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.2 ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มี NPL คงค้าง 188.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.88 ของ NPL ทั้งสิ้น
1.3.3 ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกมี NPL คงค้าง 174.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.63 ของ NPL ทั้งสิ้น
2. การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงินที่ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
2.1 การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ในเดือนกันยายน 2543 แสดงรายละเอียดได้ดังนี้
พันล้านบาท
2.1.1 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 2543 1,593.4
2.1.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย. 2543
-จำนวนใหม่ 18.8
-รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 13.8 32.6
2.1.3 NPL ที่ลดลงในเดือน ก.ย. 2543
-ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (40.2)
-เหตุผลอื่น (แสดงรายละเอียดในหมายเหตุ) (470.4) (510.6)
2.1.4 NPL ลดลงสุทธิในเดือน ก.ย. 2543 (478.0)
2.1.5 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2543 1,115.4
หมายเหตุ เหตุผลอื่น ประกอบด้วย
1.NPL ที่มาชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 7.8 พันล้านบาท
2.โอนไป AMC จำนวน 438.5 พันล้านบาท
3.ตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 แล้วออกจากบัญชี รวมเป็นจำนวน 4.3 พันล้านบาท
4.อื่น ๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้อง การขายหนี้ เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 19.8 พันล้านบาท
2.2 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนกันยายน 2543 พิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้ดังนี้
2.2.1ธนาคารเอกชนมี NPL ลดลงสุทธิ 47.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.31 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 574.0 พันล้านบาท สาเหตุสำคัญเนื่องจากในเดือนนี้ ธ.ดีบีเอส ไทยทนุได้ดำเนินการโอนขายหนี้
2.2.2 ธนาคารของรัฐมี NPL ลดลงสุทธิ 421.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.13 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 914.4 พันล้านบาท เนื่องจาก ธ.กรุงไทยได้ดำเนินการโอน NPL ไป AMC เป็นสำคัญ
2.2.3 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL ลดลงสุทธิ 7.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.83 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 46.7 พันล้านบาท
2.2.4 บริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 1.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.84 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 58.3 พันล้านบาท
2.3 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนกันยายน 2543 พิจารณาตามประเภทธุรกิจ แสดงได้ดังนี้
2.3.1 NPL ที่เพิ่มขึ้นรายใหม่จำนวน 18.8 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 6.3 พันล้านบาท ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 3.3 พันล้านบาท และ ธุรกิจการบริการ 2.5 พันล้านบาท
2.3.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นจากรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 13.8 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 4.0 พันล้านบาท ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 2.5 พันล้านบาท และ ธุรกิจการบริการ 1.8 พันล้านบาท
3. NPL ของสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
3.1 สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ทั้งสิ้น 4.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนก่อน 0.3 พันล้านบาท และมีสินเชื่อรวม 71.0 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 6.54
3.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ทั้งสิ้น 1.6 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับเดือนก่อน และมีสินเชื่อรวม 3.2 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 49.65
4. NPL คงค้าง ของระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 ทั้งสิ้น 1,121.7 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 4,971.8 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 22.56 ลดลงจากร้อยละ 30.89 ณ สิ้นเดือนก่อน
5. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จของระบบสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 61.4 พันล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ NPL จำนวน 40.2 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกิน 3 เดือน
6. แนวโน้มและสถานการณ์ PL และ NPL ในอนาคต
6.1 Performing Loans (PL) ของระบบสถาบันการเงินไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด ทั้งในรูปจำนวนและร้อยละของสินเชื่อรวม
หน่วย : พันล้านบาท
สินเชื่อ มิ.ย.42 ธ.ค.42 มิ.ย.43 ก.ย.43
ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน 158.50 113.20 99.10 92.70
ไม่ค้างชำระ 2,781.90 3,176.10 3,338.60 3,689.50
รวม PL 2,940.40 3,289.30 3,437.70 3,782.20
PL ต่อสินเชื่อรวม (%) 52.49 61.12 68.03 77.22
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 สินเชื่อที่เป็น PL มีจำนวนทั้งสิ้น 3,782.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 77.22 ของสินเชื่อรวม ประกอบด้วยส่วนที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือนจำนวน 92.7 พันล้านบาท ซึ่งคงค้างในจำนวนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่หนี้จะกลายเป็น NPL ในอนาคตจะมีจำนวนที่ลดลง ส่วน PL ที่เหลืออีกจำนวน 3,689.5 พันล้านบาท เป็นสินเชื่อที่ไม่ค้างชำระซึ่งมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด เนื่องจากได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เสร็จแล้วเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเป็นผลจากการให้สินเชื่อจำนวนใหม่เพิ่มขึ้นด้วย
6.2 ธนาคารพาณิชย์ไทยเอกชนและของรัฐมีวิธีแก้ไขปัญหา NPL แตกต่างกัน โดยมีความคืบหน้าแสดงได้ดังนี้
6.2.1 ธนาคารเอกชนดูแลแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ผ่านกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การโอนหนี้เสียไป AMC และการตัดหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่กันสำรองครบร้อยละ 100 แล้วออกจากบัญชี โดยในขณะนี้ธนาคารเอกชนสามารถจัดการปัญหา NPL ได้เป็นอย่างดี จนมียอด NPL คงค้างลดลงเหลืออยู่ในระดับเพียงร้อยละ 20.11 ของสินเชื่อรวม
6.2.2 สำหรับธนาคารรัฐถึงแม้จะมีอัตราส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมสูงกว่าของกลุ่มธนาคารเอกชน แต่ก็เป็นสถาบันการเงินกลุ่มที่ทางการเป็นผู้ดูแลโดยตรงในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งในเดือนกันยายน 2543 นี้ ธ.กรุงไทยได้โอนหนี้ไป AMC เรียบร้อยแล้ว ทำให้ NPL ของธนาคารรัฐลดลงเหลืออยู่ในระดับร้อยละ 33.09 ของสินเชื่อรวม ส่วนกรณี ธ.ไทยธนาคาร และ ธ.ศรีนครที่ ครม.ได้อนุมัติแนวทางการชดเชยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Yield Maintenance and Gain/Loss Sharing) นั้น เมื่อทำสัญญาเสร็จแล้ว NPL จะทยอยลดลงต่อไป
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/27 ตุลาคม 2543--
-ยก-