กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่มีรายงานข่าวว่า โฆษกรัฐบาลพม่าออกแถลงการณ์กล่าวหาว่า ประเทศไทยกล่าวโทษความผิดให้กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกเรื่องที่เป็นปัญหาในประเทศไทย นั้น กระทรวงการต่างประเทศ ขอแสดงความเสียใจต่อท่าทีของรัฐบาลพม่าในการแก้ไขปัญหาการผลิตและการค้า ยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาบ้า ซึ่งเป็นปัญหาคุกคามความมั่นคงในภูมิภาค และมีผลร้ายแรง ต่อปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมของประชาชนในภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย
ประเทศไทยตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวและพยายามที่จะป้องกัน และปราบปรามปัญหายาเสพติด โดยกำหนดไว้ในนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญเร่งด่วน โดยไม่คิดที่จะกล่าวโทษประเทศใดประเทศหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการจัดการประชุมระดมความคิดกำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2544 ที่จังหวัดเชียงราย เพื่อหาทางแก้ไขกฎหมายและควบคุมการค้ายาเสพติดอย่างเข้มงวดทั้งในด้าน ผู้ผลิตและผู้ค้า ตลอดจนควบคุมการนำเข้าน้ำยาเคมีหรือสารตั้งต้นที่จะนำมาเป็นส่วนผลิตยาเสพติดและมีนโยบายการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือจากนานาชาติในการขจัดปัญหายาเสพติด
ประเทศไทยตระหนักว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่สามารถทำได้โดยลำพัง จึงได้มีความร่วมมือกับนานาประเทศ โดยไทยได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1961 และ 1971 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติดอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง 7 ฝ่าย (6 ประเทศ กับ UNDCP) กรอบความร่วมมือ ด้านยาเสพติด 3 ฝ่าย ไทย-ลาว-พม่า บันทึกความเข้าใจทวิภาคีไทย-จีน และแถลงการณ์ทางการเมืองแห่งกรุงเทพฯ มุ่งสร้างอาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) พม่า ก็ได้ร่วมลงนามความตกลงดังกล่าวเหล่านี้ด้วยหลายฉบับ ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับว่าเป็นความ รับผิดชอบร่วมกันของนานาประเทศในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันทุกวิถีทางในการเอาชนะปัญหาดังกล่าว โดยการลดการผลิตและการใช้ ยาเสพติด นานาชาติตระหนักดีถึงความพยายามของประเทศไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในการแก้ปัญหายาเสพติด และตอบสนองด้วยดีต่อความตั้งใจจริงของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่จะประกาศสงครามต่อยาเสพติดดังที่ระบุไว้ในนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล จึงเป็นความผิดชอบที่รัฐบาลพม่าควรจะแสดงให้นานาชาติเห็นถึงความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย โดยการกำจัดการผลิต อย่างน้อยที่สุดอาจเริ่มจากกำจัดแหล่งผลิตยาเสพติดในดินแดนของตนเองก่อน แหล่งข่าวนานาชาติระบุว่าดินแดนว้าเป็นแหล่งผลิตยาบ้าที่ควบคุมโดยกองกำลังทหารว้า และยาบ้าจำนวนมหาศาลที่ระบาดไปยังภูมิภาคนี้ก็มาจากแหล่งผลิตดังกล่าว หากสามารถกำจัดไปได้ก็จะเป็นชัยชนะที่สำคัญต่อการทำสงครามกับยาเสพติดที่ระบาดอยู่ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย โดยรวมที่มี รายงานว่า ประชากรมากกว่า 30 ล้านคนเป็นผู้เสพยาบ้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่มีรายงานข่าวว่า โฆษกรัฐบาลพม่าออกแถลงการณ์กล่าวหาว่า ประเทศไทยกล่าวโทษความผิดให้กับประเทศเพื่อนบ้านในทุกเรื่องที่เป็นปัญหาในประเทศไทย นั้น กระทรวงการต่างประเทศ ขอแสดงความเสียใจต่อท่าทีของรัฐบาลพม่าในการแก้ไขปัญหาการผลิตและการค้า ยาเสพติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาบ้า ซึ่งเป็นปัญหาคุกคามความมั่นคงในภูมิภาค และมีผลร้ายแรง ต่อปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมของประชาชนในภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย
ประเทศไทยตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาดังกล่าวและพยายามที่จะป้องกัน และปราบปรามปัญหายาเสพติด โดยกำหนดไว้ในนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญเร่งด่วน โดยไม่คิดที่จะกล่าวโทษประเทศใดประเทศหนึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการจัดการประชุมระดมความคิดกำหนดแนวทางเพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2544 ที่จังหวัดเชียงราย เพื่อหาทางแก้ไขกฎหมายและควบคุมการค้ายาเสพติดอย่างเข้มงวดทั้งในด้าน ผู้ผลิตและผู้ค้า ตลอดจนควบคุมการนำเข้าน้ำยาเคมีหรือสารตั้งต้นที่จะนำมาเป็นส่วนผลิตยาเสพติดและมีนโยบายการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือจากนานาชาติในการขจัดปัญหายาเสพติด
ประเทศไทยตระหนักว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่สามารถทำได้โดยลำพัง จึงได้มีความร่วมมือกับนานาประเทศ โดยไทยได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1961 และ 1971 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติดอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง 7 ฝ่าย (6 ประเทศ กับ UNDCP) กรอบความร่วมมือ ด้านยาเสพติด 3 ฝ่าย ไทย-ลาว-พม่า บันทึกความเข้าใจทวิภาคีไทย-จีน และแถลงการณ์ทางการเมืองแห่งกรุงเทพฯ มุ่งสร้างอาเซียนเป็นเขตปลอดยาเสพติดภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) พม่า ก็ได้ร่วมลงนามความตกลงดังกล่าวเหล่านี้ด้วยหลายฉบับ ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับว่าเป็นความ รับผิดชอบร่วมกันของนานาประเทศในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันทุกวิถีทางในการเอาชนะปัญหาดังกล่าว โดยการลดการผลิตและการใช้ ยาเสพติด นานาชาติตระหนักดีถึงความพยายามของประเทศไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในการแก้ปัญหายาเสพติด และตอบสนองด้วยดีต่อความตั้งใจจริงของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่จะประกาศสงครามต่อยาเสพติดดังที่ระบุไว้ในนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล จึงเป็นความผิดชอบที่รัฐบาลพม่าควรจะแสดงให้นานาชาติเห็นถึงความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย โดยการกำจัดการผลิต อย่างน้อยที่สุดอาจเริ่มจากกำจัดแหล่งผลิตยาเสพติดในดินแดนของตนเองก่อน แหล่งข่าวนานาชาติระบุว่าดินแดนว้าเป็นแหล่งผลิตยาบ้าที่ควบคุมโดยกองกำลังทหารว้า และยาบ้าจำนวนมหาศาลที่ระบาดไปยังภูมิภาคนี้ก็มาจากแหล่งผลิตดังกล่าว หากสามารถกำจัดไปได้ก็จะเป็นชัยชนะที่สำคัญต่อการทำสงครามกับยาเสพติดที่ระบาดอยู่ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย โดยรวมที่มี รายงานว่า ประชากรมากกว่า 30 ล้านคนเป็นผู้เสพยาบ้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-