1. สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าไทย ปี 2542
ภาพรวมเศรษฐกิจ
วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี2540 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจากที่เคยขยายตัวในระดับสูงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 9 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กลับหดตัวลงร้อยละ 1.8 และ 10.4 ในปี 2540 และ 2541 ตามลำดับ ในปี 2541 เศรษฐกิจตกต่ำถึงจุดต่ำสุดรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจมาโดยตลอด เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวโดยเร็วและมีรากฐานที่มั่นคง ภายใต้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยใช้นโยบายการเงินและการคลังเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีมาตรการที่สำคัญ คือ(1) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบทางสังคม (30 มีนาคม 2542)
- มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 โดยกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ ประกอบด้วย OECF J.EXIM BANK และ WORLD BANK
วงเงิน 12,250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
1) ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ สุทธิ 50,000 บาทแรก
2) ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 เป็นระยะเวลา 2 ปี
3) ยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดรายรับจากผู้ประกอบการขนาดย่อมที่มีรายรับเกินกว่า 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี
- มาตรการลดราคาพลังงาน เช่น ค่าไฟฟ้า ราคาขายส่งก๊าซหุงต้มและอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา (2) มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน (10 สิงหาคม 2542)
- มาตรการด้านภาษี โดยการลดอัตราอากรขาเข้าและอนุญาตให้หักค่าเสื่อมในอัตราเร่ง
- มาตรการสนับสนุนด้านเงินทุน ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมลงทุน (Equity Fund) กองทุนร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- มาตรการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- มาตรการปรับโครงสร้างทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (3) มาตรการการใช้จ่ายภายใต้โครงการเงินกู้มิยาซาวา วงเงิน 53,000 ล้านบาทสำหรับนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ประกอบด้วย (1) การปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงิน ภายใต้มาตรการฟื้นฟูสถาบันการเงิน (14 สิงหาคม 2541) (2) การประมูลขายทรัพย์สินของ ปรส. (3) การปรับปรุงกฎหมายสำคัญๆ และการปรับปรุงระบบการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน เช่น พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 พรบ. ธนาคารแห่งประเทศไทยพรบ. เงินตรา เป็นต้น (4) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ เช่น การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 13 สาขา การปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรทั้งระบบ การแก้ไขปัญหาและเร่งรัดการส่งออกสินค้าสำคัญของไทยผลของการดำเนินมาตรการดังกล่าว ทำเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่ต้นปี 2542 และชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี คาดว่าปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1โดยเป็นการขยายตัวที่อาศัยปัจจัยสำคัญทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์ภายนอก พิจารณาจากเครื่องชี้วัดที่สำคัญ อาทิเช่น - ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2542 ขยายตัวถึงร้อยละ 12.6 - การบริโภคภาคเอกชน จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะยังค่อนข้างทรงตัว โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 - การส่งออก ขยายตัวร้อยละ 7.3 มีมูลค่า 58,489 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.6 มีมูลค่า 49,915 ล้านเหรียญสหรัฐ - อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 - ค่าเงินบาทยังคงมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาท/เหรียญสหรัฐ - อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ (MLR ร้อยละ 8.25 - 8.50) - ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 ของ GDP และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 อยู่ในระดับ 34.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ภาวะการค้าจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ส่งผลให้การค้าของไทยเริ่มชะลอตัวลงเป็นปีแรกจากที่เคยขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาและปี 2541 การค้าระหว่างประเทศของไทยมีมูลค่าเพียง 96,925 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2540 ร้อยละ 20.2 ปี 2542 ในช่วงไตรมาสแรกการค้ายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาสที่สอง และขยายตัวเพิ่มขึ้นจนถึงสิ้นปี โดยเป็นการขยายตัวทั้งด้านการส่งออกและการนำเข้าปี 2542 การค้าระหว่างประเทศของไทยมีมูลค่า 108,404 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 11.8 โดยส่งออกมูลค่า 58,489 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 นำเข้ามูลค่า 49,915 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6และไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 8,574 ล้านเหรียญสหรัฐการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 9.3 และสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องใช้สำหรับการเดินทาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าว สำหรับสินค้าเกษตรกรรม การส่งออกลดลงร้อยละ 4.1 สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ยางพาราตลาดส่งออกสำคัญของไทยยังคงเป็น 4 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 อาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ขณะเดียวกันการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง เอเชียใต้และยุโรปตะวันออก ก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกันปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น - การเร่งขยายการส่งออกด้วยการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก การสนับสนุนการขยายการส่งออกไปตลาดใหม่ และการส่งคณะผู้แทนการค้าระดับสูงไปเจรจาขยายตลาด - ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศในกลุ่มอาเซียน จึงมีการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น - ผู้ผลิตที่เป็นการลงทุนจากต่างประเทศได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในต่างประเทศในการหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เป็นต้นสำหรับการนำเข้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการส่งออก มีมูลค่า 49,915 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 17.6 สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูง ได้แก่ ยานพาหนะ และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 185.8 รองลงมาคือ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปและสินค้าทุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และ 11.8 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 และ 13.6 สินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้ามาใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่สำคัญได้แก่ อุปกรณ์ โครงรถและตัวถัง แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์ และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องเพชรพลอยและอัญมณี ปุ๋ย หนังดิบและหนังฟอก ไม้ซุงและไม้แปรรูป ผ้าผืนและด้าย เป็นต้นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับหนึ่งของไทย คือ ญี่ปุ่น รองลงมาได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและการขยายการผลิตเพื่อการส่งออก ส่งผลให้การเกินดุลการค้าของไทยลดลงจากปี 2541 ร้อยละ 28.9 มีมูลค่า 8,574 ล้านเหรียญสหรัฐประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน (ยกเว้นมาเลเซีย) ฮ่องกง แอฟริกา และออสเตรเลีย ประเทศที่ไทยขาดดุลการค้าได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน และยุโรปตะวันออก 2. แนวโน้มเศรษฐกิจการค้าปี 2543
ภาพรวมเศรษฐกิจ
คาดว่าปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุน ได้แก่ การส่งออก การลงทุน และการบริโภคของภาคเอกชน
- อัตราเงินเฟ้อ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น การส่งออกที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการดำเนิน
นโยบายการคลังขาดดุลของรัฐบาล คาดว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
- การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์และการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการส่งออก ประกอบกับแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและมาตรการสนับสนุน
การลงทุนของภาคเอกชนที่รัฐบาลประกาศไปเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 จะเริ่มมีผลในทางปฏิบัต คาดว่าปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0
- การค้าระหว่างประเทศ การส่งออก คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 มีมูลค่าประมาณ 62 พันล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้ามีมูลค่า 57.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการเกินดุลการค้าจะลดลงเหลือเพียง 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลลดลงอยู่ในระดับ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของ GDP
- การคลัง การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลของรัฐบาล จำนวน 110,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2543 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง
- การเงิน สภาพคล่องในระบบการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง การปล่อยสินเชื่อจะปรับตัวดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่ภาคธุรกิจจะระดมทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
สำหรับตลาดทุนนั้น การออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลภาครัฐในปี 2543 จะช่วยดูดซับสภาพคล่องจากตลาดเงินได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามแม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยที่อ่อนแอทั้งจากปัญหาภายใน และภายนอกประเทศที่สำคัญ คือ- ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)ยังอยู่ในระดับสูงและมีผลกระทบต่อเนื่องในระบบการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์- ปัญหาการว่างงานซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น- การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญ- ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2543 คือ (1) นโยบายปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน และการจ้างงานเนื่องจากการแข่งขันในตลาดโลกจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่สำคัญได้แก่
- ภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด และสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาด การถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่แก่เกษตรกร การพัฒนาแหล่งน้ำ การเพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตตามแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ สนับสนุนการดำเนินการของตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
- ภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ สนับสนุนการผลิตที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ พัฒนาด้านมาตรฐานสินค้า องค์กร และกลไกการตรวจสอบให้ได้มาตรฐานสากล
- ภาคบริการ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง สนับสนุนบริการด้านการศึกษานานาชาติ สนับสนุนการบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล
- การกระตุ้นการลงทุน สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมในโครงการ ลงทุนของภาครัฐ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน เน้นความสำคัญในโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน กำกับดูแลดำเนินการภายใต้มาตรการ
สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน (10สิงหาคม 2542) ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
- การแก้ไขปัญหาการว่างงาน เร่งดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนปรับโครงสร้างทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการจ้างงาน และมีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้สูงขึ้น(2) นโยบายการเงินและการคลัง
- เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของปี 2542
- เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
- กำกับดูแลให้มีการปล่อยสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
- ปรับปรุงระบบกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและได้มาตรฐานสากล
- จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก เพื่อให้มีระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ฝากเงินที่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล
ภาวะการค้า
กระทรวงพาณิชย์ ได้คาดการณ์การส่งออกของไทยในปี 2543 จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2542 คาดว่าจะส่งออกได้มูลค่า 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 มูลค่า 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
สินค้าสำคัญที่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น คือ สินค้าอุตสาหกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 ประกอบด้วยสินค้าสำคัญ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สิ่งทอ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้เดินทาง เครื่องหนัง รองเท้า อัญมณี และเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
สำหรับสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย ร้อยละ 0.9 โดยจะเป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณส่งออก ขณะที่ราคาส่งออกมีแนวโน้มลดลง สินค้าสำคัญที่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น คือ สินค้าอาหาร ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
การส่งออกไปตลาดหลัก 4 ตลาด คือ สหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและอาเซียน ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.0 และ 8.0 ตามลำดับ เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าที่ทำให้มีความต้องการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปจะขยายตัวในอัตราไม่สูงนัก โดยมีผลจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาชะลอตัว การแข่งขันด้านราคา และการกีดกันทางการค้า ขณะที่ตลาดสหภาพยุโรปจะได้รับผลกระทบจากนโยบายที่เน้นการค้าภายในกลุ่ม และค้ากับยุโรปตะวันออกและประเทศอดีตอาณานิคม รวมทั้งปัญหาการกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของตลาดใหม่ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.1 ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ และผลจากการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ 7 ตลาด คือ ประเทศเพื่อนบ้าน ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก เอเซียใต้ และจีน
แนวนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2543(1) เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการส่งออกที่ยังคั่งค้างอยู่ให้สำเร็จและมีผลโดยเร็ว โดยเฉพาะปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยรวม ได้แก่
- การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบทั้งระบบ โดยเฉพาะเหล็กและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของสินค้าส่งออกหลายรายการ
- แก้ไขปัญหาสภาพคล่องและการกระจายสภาพคล่องอย่างทั่วถึงและพอเพียงให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก โดยเฉพาะระดับกลางและเล็ก
- ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ เช่น ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
(2) การดูแลด้านการตลาด โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านการรักษาส่วนแบ่งตลาดในตลาดเดิมและเพิ่มสัดส่วนการส่งออกในตลาดใหม่ รวมทั้งเร่งรัดผลักดันธุรกิจบริการที่มีลู่ทางและมีศักยภาพโดยมุ่งเน้นกิจกรรมที่สำคัญ คือ การสร้างภาพลักษณ์ของประเทศและสินค้าไทย การสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Brand Name) การสร้างเครือข่ายกระจายสินค้า (Distribution Network) การค้าธุรกิจบริการ ส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (Border Trade) เป็นต้น
(3) พัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการกระจายตลาด
(4) เน้นนโยบายทีมไทยแลนด์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยให้สายงานที่ดูแลด้านการเมืองและสามารถประสานกับผู้บริหารระดับสูงของต่างประเทศ เข้ามาช่วยสายงานด้านการพาณิชย์และสายงานด้านอื่น เพื่อส่งเสริมบทบาทของไทยในต่างประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น
(5) สนับสนุนและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) โดยผ่านระบบ Internet เพื่อให้มีการค้าที่สะดวกรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
ภาพรวมเศรษฐกิจ
วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี2540 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจากที่เคยขยายตัวในระดับสูงเฉลี่ยประมาณร้อยละ 9 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กลับหดตัวลงร้อยละ 1.8 และ 10.4 ในปี 2540 และ 2541 ตามลำดับ ในปี 2541 เศรษฐกิจตกต่ำถึงจุดต่ำสุดรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจมาโดยตลอด เพื่อให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวโดยเร็วและมีรากฐานที่มั่นคง ภายใต้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยใช้นโยบายการเงินและการคลังเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีมาตรการที่สำคัญ คือ(1) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบทางสังคม (30 มีนาคม 2542)
- มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2542 โดยกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ ประกอบด้วย OECF J.EXIM BANK และ WORLD BANK
วงเงิน 12,250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบด้วย
1) ยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ สุทธิ 50,000 บาทแรก
2) ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 เป็นระยะเวลา 2 ปี
3) ยกเลิกการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดรายรับจากผู้ประกอบการขนาดย่อมที่มีรายรับเกินกว่า 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี
- มาตรการลดราคาพลังงาน เช่น ค่าไฟฟ้า ราคาขายส่งก๊าซหุงต้มและอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเตา (2) มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน (10 สิงหาคม 2542)
- มาตรการด้านภาษี โดยการลดอัตราอากรขาเข้าและอนุญาตให้หักค่าเสื่อมในอัตราเร่ง
- มาตรการสนับสนุนด้านเงินทุน ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมลงทุน (Equity Fund) กองทุนร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- มาตรการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- มาตรการปรับโครงสร้างทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (3) มาตรการการใช้จ่ายภายใต้โครงการเงินกู้มิยาซาวา วงเงิน 53,000 ล้านบาทสำหรับนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ประกอบด้วย (1) การปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงิน ภายใต้มาตรการฟื้นฟูสถาบันการเงิน (14 สิงหาคม 2541) (2) การประมูลขายทรัพย์สินของ ปรส. (3) การปรับปรุงกฎหมายสำคัญๆ และการปรับปรุงระบบการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน เช่น พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 พรบ. ธนาคารแห่งประเทศไทยพรบ. เงินตรา เป็นต้น (4) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ เช่น การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม 13 สาขา การปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรทั้งระบบ การแก้ไขปัญหาและเร่งรัดการส่งออกสินค้าสำคัญของไทยผลของการดำเนินมาตรการดังกล่าว ทำเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่ต้นปี 2542 และชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี คาดว่าปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.1โดยเป็นการขยายตัวที่อาศัยปัจจัยสำคัญทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์ภายนอก พิจารณาจากเครื่องชี้วัดที่สำคัญ อาทิเช่น - ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2542 ขยายตัวถึงร้อยละ 12.6 - การบริโภคภาคเอกชน จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะยังค่อนข้างทรงตัว โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 - การส่งออก ขยายตัวร้อยละ 7.3 มีมูลค่า 58,489 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.6 มีมูลค่า 49,915 ล้านเหรียญสหรัฐ - อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 - ค่าเงินบาทยังคงมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาท/เหรียญสหรัฐ - อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ (MLR ร้อยละ 8.25 - 8.50) - ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 11.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9 ของ GDP และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 อยู่ในระดับ 34.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ภาวะการค้าจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 ส่งผลให้การค้าของไทยเริ่มชะลอตัวลงเป็นปีแรกจากที่เคยขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมาและปี 2541 การค้าระหว่างประเทศของไทยมีมูลค่าเพียง 96,925 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2540 ร้อยละ 20.2 ปี 2542 ในช่วงไตรมาสแรกการค้ายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นในไตรมาสที่สอง และขยายตัวเพิ่มขึ้นจนถึงสิ้นปี โดยเป็นการขยายตัวทั้งด้านการส่งออกและการนำเข้าปี 2542 การค้าระหว่างประเทศของไทยมีมูลค่า 108,404 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 11.8 โดยส่งออกมูลค่า 58,489 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 นำเข้ามูลค่า 49,915 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6และไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 8,574 ล้านเหรียญสหรัฐการส่งออกที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 9.3 และสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องใช้สำหรับการเดินทาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ผัก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าว สำหรับสินค้าเกษตรกรรม การส่งออกลดลงร้อยละ 4.1 สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ยางพาราตลาดส่งออกสำคัญของไทยยังคงเป็น 4 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 อาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 สหภาพยุโรป เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ขณะเดียวกันการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ เช่น ตะวันออกกลาง เอเชียใต้และยุโรปตะวันออก ก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกันปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น - การเร่งขยายการส่งออกด้วยการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก การสนับสนุนการขยายการส่งออกไปตลาดใหม่ และการส่งคณะผู้แทนการค้าระดับสูงไปเจรจาขยายตลาด - ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มฟื้นตัวมากขึ้น โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน และประเทศในกลุ่มอาเซียน จึงมีการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น - ผู้ผลิตที่เป็นการลงทุนจากต่างประเทศได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทแม่ในต่างประเทศในการหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เป็นต้นสำหรับการนำเข้า ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการส่งออก มีมูลค่า 49,915 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 17.6 สินค้าที่นำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูง ได้แก่ ยานพาหนะ และอุปกรณ์ขนส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 185.8 รองลงมาคือ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปและสินค้าทุน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 และ 11.8 ตามลำดับ ขณะที่สินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 และ 13.6 สินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่นำเข้ามาใช้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกที่สำคัญได้แก่ อุปกรณ์ โครงรถและตัวถัง แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์ และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องเพชรพลอยและอัญมณี ปุ๋ย หนังดิบและหนังฟอก ไม้ซุงและไม้แปรรูป ผ้าผืนและด้าย เป็นต้นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับหนึ่งของไทย คือ ญี่ปุ่น รองลงมาได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและการขยายการผลิตเพื่อการส่งออก ส่งผลให้การเกินดุลการค้าของไทยลดลงจากปี 2541 ร้อยละ 28.9 มีมูลค่า 8,574 ล้านเหรียญสหรัฐประเทศคู่ค้าสำคัญที่ไทยมีดุลการค้าเกินดุล คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอาเซียน (ยกเว้นมาเลเซีย) ฮ่องกง แอฟริกา และออสเตรเลีย ประเทศที่ไทยขาดดุลการค้าได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ตะวันออกกลาง ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน และยุโรปตะวันออก 2. แนวโน้มเศรษฐกิจการค้าปี 2543
ภาพรวมเศรษฐกิจ
คาดว่าปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 โดยปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุน ได้แก่ การส่งออก การลงทุน และการบริโภคของภาคเอกชน
- อัตราเงินเฟ้อ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
- การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น การส่งออกที่เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการดำเนิน
นโยบายการคลังขาดดุลของรัฐบาล คาดว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
- การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์และการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการส่งออก ประกอบกับแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและมาตรการสนับสนุน
การลงทุนของภาคเอกชนที่รัฐบาลประกาศไปเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 จะเริ่มมีผลในทางปฏิบัต คาดว่าปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0
- การค้าระหว่างประเทศ การส่งออก คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 มีมูลค่าประมาณ 62 พันล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้ามีมูลค่า 57.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการเกินดุลการค้าจะลดลงเหลือเพียง 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลลดลงอยู่ในระดับ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 6 ของ GDP
- การคลัง การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลของรัฐบาล จำนวน 110,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2543 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง
- การเงิน สภาพคล่องในระบบการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง การปล่อยสินเชื่อจะปรับตัวดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่ภาคธุรกิจจะระดมทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
สำหรับตลาดทุนนั้น การออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลภาครัฐในปี 2543 จะช่วยดูดซับสภาพคล่องจากตลาดเงินได้ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามแม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยที่อ่อนแอทั้งจากปัญหาภายใน และภายนอกประเทศที่สำคัญ คือ- ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)ยังอยู่ในระดับสูงและมีผลกระทบต่อเนื่องในระบบการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์- ปัญหาการว่างงานซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น- การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญ- ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2543 คือ (1) นโยบายปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน และการจ้างงานเนื่องจากการแข่งขันในตลาดโลกจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จึงต้องเตรียมความพร้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่สำคัญได้แก่
- ภาคเกษตรกรรม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด และสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาด การถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่แก่เกษตรกร การพัฒนาแหล่งน้ำ การเพิ่ม
ประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตตามแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ สนับสนุนการดำเนินการของตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า
- ภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ สนับสนุนการผลิตที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ พัฒนาด้านมาตรฐานสินค้า องค์กร และกลไกการตรวจสอบให้ได้มาตรฐานสากล
- ภาคบริการ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง สนับสนุนบริการด้านการศึกษานานาชาติ สนับสนุนการบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล
- การกระตุ้นการลงทุน สนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมในโครงการ ลงทุนของภาครัฐ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน เน้นความสำคัญในโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน กำกับดูแลดำเนินการภายใต้มาตรการ
สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน (10สิงหาคม 2542) ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ
- การแก้ไขปัญหาการว่างงาน เร่งดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนปรับโครงสร้างทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการจ้างงาน และมีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้สูงขึ้น(2) นโยบายการเงินและการคลัง
- เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของปี 2542
- เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)
- กำกับดูแลให้มีการปล่อยสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
- ปรับปรุงระบบกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและได้มาตรฐานสากล
- จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก เพื่อให้มีระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ฝากเงินที่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล
ภาวะการค้า
กระทรวงพาณิชย์ ได้คาดการณ์การส่งออกของไทยในปี 2543 จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2542 คาดว่าจะส่งออกได้มูลค่า 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2542 มูลค่า 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0
สินค้าสำคัญที่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น คือ สินค้าอุตสาหกรรม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 ประกอบด้วยสินค้าสำคัญ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สิ่งทอ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้เดินทาง เครื่องหนัง รองเท้า อัญมณี และเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
สำหรับสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อย ร้อยละ 0.9 โดยจะเป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณส่งออก ขณะที่ราคาส่งออกมีแนวโน้มลดลง สินค้าสำคัญที่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น คือ สินค้าอาหาร ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
การส่งออกไปตลาดหลัก 4 ตลาด คือ สหรัฐอเมริกา อาเซียน สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.2 โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและอาเซียน ประมาณว่าจะขยายตัวร้อยละ 11.0 และ 8.0 ตามลำดับ เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าที่ทำให้มีความต้องการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปจะขยายตัวในอัตราไม่สูงนัก โดยมีผลจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาชะลอตัว การแข่งขันด้านราคา และการกีดกันทางการค้า ขณะที่ตลาดสหภาพยุโรปจะได้รับผลกระทบจากนโยบายที่เน้นการค้าภายในกลุ่ม และค้ากับยุโรปตะวันออกและประเทศอดีตอาณานิคม รวมทั้งปัญหาการกีดกันทางการค้าที่มีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของตลาดใหม่ คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.1 ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ และผลจากการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกเพื่อเพิ่มสัดส่วนการส่งออกไปตลาดใหม่ 7 ตลาด คือ ประเทศเพื่อนบ้าน ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก เอเซียใต้ และจีน
แนวนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ปี 2543(1) เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการส่งออกที่ยังคั่งค้างอยู่ให้สำเร็จและมีผลโดยเร็ว โดยเฉพาะปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยรวม ได้แก่
- การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบทั้งระบบ โดยเฉพาะเหล็กและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของสินค้าส่งออกหลายรายการ
- แก้ไขปัญหาสภาพคล่องและการกระจายสภาพคล่องอย่างทั่วถึงและพอเพียงให้กับผู้ผลิตและผู้ส่งออก โดยเฉพาะระดับกลางและเล็ก
- ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ เช่น ค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
(2) การดูแลด้านการตลาด โดยให้ความสำคัญทั้งในด้านการรักษาส่วนแบ่งตลาดในตลาดเดิมและเพิ่มสัดส่วนการส่งออกในตลาดใหม่ รวมทั้งเร่งรัดผลักดันธุรกิจบริการที่มีลู่ทางและมีศักยภาพโดยมุ่งเน้นกิจกรรมที่สำคัญ คือ การสร้างภาพลักษณ์ของประเทศและสินค้าไทย การสร้างตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Brand Name) การสร้างเครือข่ายกระจายสินค้า (Distribution Network) การค้าธุรกิจบริการ ส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน (Border Trade) เป็นต้น
(3) พัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการกระจายตลาด
(4) เน้นนโยบายทีมไทยแลนด์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยให้สายงานที่ดูแลด้านการเมืองและสามารถประสานกับผู้บริหารระดับสูงของต่างประเทศ เข้ามาช่วยสายงานด้านการพาณิชย์และสายงานด้านอื่น เพื่อส่งเสริมบทบาทของไทยในต่างประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น
(5) สนับสนุนและส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) โดยผ่านระบบ Internet เพื่อให้มีการค้าที่สะดวกรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-