ที่มาของสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์
ที่ผ่านมาสหภาพยุโรป (EU) มีกฎระเบียบหลักที่ใช้ควบคุมเคมีภัณฑ์อยู่ 4 ฉบับ ได้แก่
(1) Council Directive 67/548/EEC relating to the classification, packaging and labeling of dangerous substances.
(2) Council Directive 76/769/EEC relating to restrictions on the marketing and use of certain dangerous substances & preparations.
(3) Council Directive 88/379/EEC relating to classification, packaging & labeling of dangerous preparations, replaced by Directive 1999/45/EEC.
(4) Council Regulation 793/93/EEC on the evaluation and control of the risks of existing substances.
ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในลักษณะที่ต่างกันสำหรับเคมีภัณฑ์ 2 จำพวกใหญ่ กล่าวคือ
(1) สารเคมีใหม่ (New substances) ได้แก่ สารเคมีที่ออกสู่ตลาดตั้งแต่ 1 กันยายน 1981 โดยสารเหล่านี้หากจะใช้หรือจำหน่ายในปริมาณเกินกว่า 10 กิโลกรัม จะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง (Testing & Risk Assessing) ต่อสุขภาพมนุษย์และสภาวะแวดล้อมก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายหรือใช้ได้ แต่หากใช้หรือจำหน่ายในปริมาณสูงมาก จะต้องผ่านการตรวจสอบที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันมีสารเคมีในกลุ่มนี้ประมาณ 2,700 ชนิด
(2) สารเคมีที่มีใช้มาแต่เดิม (Existing substances) ได้แก่ สารเคมีซึ่งได้มีจำหน่ายหรือใช้อยู่ในตลาดก่อนเดือนกันยายน 1981 สารเคมีเหล่านี้สามารถใช้หรือจำหน่ายได้โดยไม่มีข้อกำหนดเข้มงวดเช่นสารเคมีใหม่ แต่หากพบว่ามีหรืออาจมีอันตราย หน่วยงานภาครัฐจึงจะรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงและพิจารณาว่าควรจะออกกฎระเบียบควบคุมเช่นไร ปัจจุบันมีสารเคมีในกลุ่มนี้ประมาณ 1 แสนชนิด โดยมี 3 หมื่นกว่าชนิดที่มีปริมาณจำหน่ายในตลาดเกินกว่า 1 ตัน
อย่างไรก็ตาม การใช้กฎระเบียบที่แตกต่างกันสำหรับเคมีภัณฑ์สองจำพวกดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกว่า กฎระเบียบเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ของ EU ในปัจจุบันยังคงไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่จากอันตรายหรือความเสี่ยงของสารเคมีต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2001 คณะกรรมาธิการฯ จึงได้ออกประกาศสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ (White Paper on Chemicals) ซึ่งเป็นเอกสารนำเสนอข้อมูลเพื่อการวานโยบายเกี่ยวกับการควบคุมเคมีภัณฑ์ในสหภาพยุโรป โดยที่คณะกรรมาธิการฯ จะจัดประชุมเพื่ออธิบายและหารือกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจะนำเสนอสมุดปกขาวฯ ให้คณะมนตรีและสภายุโรปพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะดำเนินการจัดร่างข้อเสนอแนะสำหรับกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามแนวทางในสมุดปกขาวฯ ต่อไปสาระสำคัญของสมุดปกขาว
สมุดปกขาวฯ ได้เสนอให้กำหนดกฎระเบียบสำหรับสารเคมีทุกชนิดให้เป็นเช่นเดียวกัน โดยไม่มีการแยกจำพวกดังเช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ ให้วางข้อบังคับรวมไปถึงสินค้าที่มีส่วนประกอบหรือผลิตโดยใช้สารเคมีด้วยเพื่อป้องกันและควบคุมสารเคมีซึ่งมีแอบแฝงอยู่ในสินค้าที่ผลิตในประเทศนอกเขต EU ที่ยังไม่มีกฎระเบียบเข้มงวดในการควบคุม พร้อมทั้งให้นำระบบใหม่ที่เรียกว่า REACH มาใช้ในการควบคุมเคมีภัณฑ์ โดยระบบดังกล่าวประกอบด้วย
(1) Registration คือ การขึ้นทะเบียนสารเคมีทุกชนิดที่มีปริมาณผลิต/นำเข้าเกินกว่า 1 ตันขึ้นไป โดยบริษัทผู้ผลิต/นำเข้าสารเคมีจะต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแผนการตรวจสอบ (Testing) สำหรับสารเคมีนั้น ๆ ให้แก่ภาครัฐ ทั้งนี้กำหนดให้ต้องขึ้นทะเบียนระหว่างปี 2005 จนถึง 2012 ขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต/นำเข้าของสารเคมี
(2) Evaluation คือ การประเมินเพื่อตรวจสอบสำหรับสารเคมีใหม่ที่มีปริมาณผลิต/นำเข้าเกินกว่า 100 ตันขึ้นไป หรือสารเคมีที่มีใช้มาแต่เดิมเกินกว่า 100 หรือ 1,000 ตันขึ้นไป โดยหน่วยงานภาครัฐด้วยโปรแกรมการตรวจสอบแบบสำเร็จรูป (Tailored-made Testing Program) ที่พิจารณาจากข้อเสนอของผู้ผลิต
(3) Authorisation คือ การพิจารณาอนุญาตการผลิต/จำหน่ายสำหรับสารเคมีที่จัดเป็น CMR : Carcinogenic, Mutagenic Reprotaxic (Toxic to Reproduction) และ POP : Persistent Organic Pollutants ให้อยู่ในอำนาจของหน่วยงานภาครัฐ โดยพิจารณาจากผลประเมินความเสี่ยง ซึ่งจะต้องครอบคลุมตลอดช่วงวัฎจักรอาจจะของสารเคมีนั้น และจะให้การอนุญาตในกรณีที่มีข้อมูลยืนยันได้ว่ามีความเสี่ยงในระดับเล็กน้อยมาก (negligible Risk) เท่านั้น แต่หากผู้ผลิตสารเคมีให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงล่าช้า คณะกรรมาธิการฯ สามารถที่จะใช้ Precautionary Principle ในการพิจารณาไม่อนุญาตได้
นอกจากนี้ สมุดปกขาวฯ ยังเสนอให้โอนภาระจากภาครัฐไปสู่ภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิต/นำเข้าในการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยง รวมทั้งผู้ผลิต/นำเข้ายังมีหน้าที่ต้องถ่ายทอดข้อมูลที่จำเป็นให้แก่ผู้ใช้ในอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream User) ซึ่งนำสารเคมีไปใช้ในการผลิตสินค้าเป็นลำดับไปจนถึงผู้บริโภคด้วย แต่ด้วยเหตุที่การดำเนินการตรวจสอบมีภาระค่าใช้จ่ายสูง สมุดปกขาวฯ จึงเสนอให้ผู้ที่จะใช้ข้อมูลตรวจสอบซึ่งได้แก่ Downstream User จะต้องร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวด้วย และหากมีการนำสารเคมีไปใช้นอกเหนือไปจากการใช้ที่ถูกระบุโดยผู้ผลิต ผู้ใช้สารเคมีในการผลิตสินค้าจะต้องดำเนินการประเมินความเสี่ยงสำหรับการใช้นั้น ๆ ด้วยเช่นกันผลกระทบที่อาจมีต่อสินค้าส่งออกของไทย
แม้ว่าสิ่งที่นำเสนอในสมุดปกขาวฯ ยังคงเป็นข้อคิดเห็นของคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไประหว่างขั้นตอนการหารือกับฝ่ายต่าง ๆ แต่จากประเด็นที่นำเสนอในสมุดปกขาวฯ นี้ คาดว่าจะเกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสารเคมีนานาประเภทที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ยังไม่มีการควบคุม เนื่องจากสารเคมีทุกชนิดจะต้องขึ้นทะเบียนและผ่านการประเมินความเสี่ยง (รวมถึง Existing Substances) ถึงแม้ไทยจะมิได้ส่งออกสินค้าเคมีภัณฑ์ไปยังตลาดยุโรปมากนัก (ในปี 1999 ไทยส่งออกรวม 55 ล้านยูโร) แต่อาจได้รับผลกระทบสำหรับสินค้าที่มีสารเคมีเป็นส่วนผสมหรือผลิตโดยใช้สารเคมี ซึ่งสมุดปกขาวได้เสนอให้รวมอยู่ในข่ายการควบคุม
อย่างไรก็ตาม หากเป็นสารเคมีที่มีการผลิต/ใช้อยู่ใน EU การดำเนินการขึ้นทะเบียนจะเป็นหน้าที่ของผู้ผลิต/ผู้นำเข้าของ EU เองที่จะต้องใช้ข้อมูลผลตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง ผู้ผลิตของไทยซึ่งนำเข้าและใช้สารเคมีนั้น ๆ ในการผลิตสินค้าเพื่อที่จะส่งออกไปยังตลาด EU อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยบ้าง เช่น การจะต้องระบุข้อมูลบนฉลากสินค้าเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในสินค้าที่ผลิต ซึ่งตามแนวทางที่ระบุในสมุดปกขาวอาจทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียมในการใช้ข้อมูลหรือผลตรวจสอบ เป็นต้น อนึ่ง ไทยมีการนำเข้าเคมีภัณฑ์จาก EU ในปี 1999 เป็นมูลค่า 189 ล้านยูโร
ส่วนกรณีที่ผู้ผลิตสินค้าของไทยใช้สารเคมีที่นำเข้าจากประเทศที่สามนอกเหนือจาก EU และเป็นสารเคมีที่ไม่มีการผลิตหรือยังไม่มีการนำเข้าไปยัง EU มาก่อน ในกรณีนี้อาจจะต้องเป็นภาระของผู้ผลิตสินค้าของไทย และ/หรือผู้นำเข้าของ EU ที่ต้องการนำเข้าสินค้าไทยนั้น ๆ ในการขึ้นทะเบียนหรือให้ข้อมูลพิสูจน์ความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้ดังกล่าวข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
แม้ว่ายังคงจะใช้เวลาอีกนานก่อนที่สิ่งที่นำเสนอในสมุดปกขาวจะถูกนำไปออกเป็นกฎระเบียบ แต่จากเหตุการณ์ดังเช่นปัญหา BSE ทำให้ผู้บริโภคในยุโรปมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าอุปโภค/บริโภคมากขึ้น และคณะกรรมาธิการฯ ได้ใช้ Precautionary Principle ในสาขาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จึงคาดได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันให้การดำเนินการเตรียมการออกระเบียบควบคุมสารเคมีจะรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา
เนื่องจากคาดว่าจะเกิดผลกระทบครอบคลุมสารเคมีนานาประเภทรวมถึงสินค้าในขอบเขตกว้างขวาง ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนไทยควรจะเริ่มการเตรียมรับสถานะการณ์ดังกล่าวตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งอาจเริ่มจากการสำรวจ ศึกษา สถานะการใช้/การผลิตสารเคมีในไทย โดยในขั้นต้นอาจพิจารณาสารเคมีที่อยู่ในรายการเคมีภัณฑ์อันตราย 32 รายการ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ประกาศความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินมาตรการควบคุม โดยผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะใช้ช่วงเวลาที่สมุดปกขาวฯ ยังจะต้องผ่านการหารือกับฝ่ายต่าง ๆ ก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการออกเป็นกฎระเบียบในการโน้มน้าวให้มีการปรับเปลี่ยนสาระหรือระดับความเข้มงวดในการดำเนินการ ทั้งนี้จากตัวอย่างในกรณีของกฎระเบียบ WEEE เห็นได้ว่าญี่ปุ่นได้เริ่มการโน้มน้าวตั้งแต่ระยะแรก โดยมีภาคเอกชนเป็นหัวจักรในการดำเนินการ เนื่องจากภาคเอกชนเป็นผู้ทราบดีที่สุดว่าจะมีผลกระทบต่อการผลิตของตนเช่นใด และในจุดใดบ้าง จึงทำให้มีข้อมูลทางเทคนิคอย่างละเอียดที่นำมาใช้ในการวางกลยุทธการโน้มน้าว เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่ภาคเอกชนญี่ปุ่นต้องการ และได้ทราบว่าญี่ปุ่นเองได้ประสบผลสำเร็จในการโน้มน้าวสำหรับประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่บริษัทญี่ปุ่นต้องการบ้างแล้ว ดังนั้น ภาคเอกชนของไทยควรเริ่มดำเนินการในรูปแบบเดียวกันสำหรับสมุดปกขาวฯ นี้
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
หมายเหตุ: เรียบเรียงจากบันทึกข้อความของสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 7/2544 วันที่ 15 เมษายน 2544--
-อน-
ที่ผ่านมาสหภาพยุโรป (EU) มีกฎระเบียบหลักที่ใช้ควบคุมเคมีภัณฑ์อยู่ 4 ฉบับ ได้แก่
(1) Council Directive 67/548/EEC relating to the classification, packaging and labeling of dangerous substances.
(2) Council Directive 76/769/EEC relating to restrictions on the marketing and use of certain dangerous substances & preparations.
(3) Council Directive 88/379/EEC relating to classification, packaging & labeling of dangerous preparations, replaced by Directive 1999/45/EEC.
(4) Council Regulation 793/93/EEC on the evaluation and control of the risks of existing substances.
ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในลักษณะที่ต่างกันสำหรับเคมีภัณฑ์ 2 จำพวกใหญ่ กล่าวคือ
(1) สารเคมีใหม่ (New substances) ได้แก่ สารเคมีที่ออกสู่ตลาดตั้งแต่ 1 กันยายน 1981 โดยสารเหล่านี้หากจะใช้หรือจำหน่ายในปริมาณเกินกว่า 10 กิโลกรัม จะต้องผ่านการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง (Testing & Risk Assessing) ต่อสุขภาพมนุษย์และสภาวะแวดล้อมก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายหรือใช้ได้ แต่หากใช้หรือจำหน่ายในปริมาณสูงมาก จะต้องผ่านการตรวจสอบที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันมีสารเคมีในกลุ่มนี้ประมาณ 2,700 ชนิด
(2) สารเคมีที่มีใช้มาแต่เดิม (Existing substances) ได้แก่ สารเคมีซึ่งได้มีจำหน่ายหรือใช้อยู่ในตลาดก่อนเดือนกันยายน 1981 สารเคมีเหล่านี้สามารถใช้หรือจำหน่ายได้โดยไม่มีข้อกำหนดเข้มงวดเช่นสารเคมีใหม่ แต่หากพบว่ามีหรืออาจมีอันตราย หน่วยงานภาครัฐจึงจะรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงและพิจารณาว่าควรจะออกกฎระเบียบควบคุมเช่นไร ปัจจุบันมีสารเคมีในกลุ่มนี้ประมาณ 1 แสนชนิด โดยมี 3 หมื่นกว่าชนิดที่มีปริมาณจำหน่ายในตลาดเกินกว่า 1 ตัน
อย่างไรก็ตาม การใช้กฎระเบียบที่แตกต่างกันสำหรับเคมีภัณฑ์สองจำพวกดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกว่า กฎระเบียบเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ของ EU ในปัจจุบันยังคงไม่รัดกุมเพียงพอที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่จากอันตรายหรือความเสี่ยงของสารเคมีต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2001 คณะกรรมาธิการฯ จึงได้ออกประกาศสมุดปกขาวว่าด้วยเคมีภัณฑ์ (White Paper on Chemicals) ซึ่งเป็นเอกสารนำเสนอข้อมูลเพื่อการวานโยบายเกี่ยวกับการควบคุมเคมีภัณฑ์ในสหภาพยุโรป โดยที่คณะกรรมาธิการฯ จะจัดประชุมเพื่ออธิบายและหารือกับฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจะนำเสนอสมุดปกขาวฯ ให้คณะมนตรีและสภายุโรปพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะดำเนินการจัดร่างข้อเสนอแนะสำหรับกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามแนวทางในสมุดปกขาวฯ ต่อไปสาระสำคัญของสมุดปกขาว
สมุดปกขาวฯ ได้เสนอให้กำหนดกฎระเบียบสำหรับสารเคมีทุกชนิดให้เป็นเช่นเดียวกัน โดยไม่มีการแยกจำพวกดังเช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ ให้วางข้อบังคับรวมไปถึงสินค้าที่มีส่วนประกอบหรือผลิตโดยใช้สารเคมีด้วยเพื่อป้องกันและควบคุมสารเคมีซึ่งมีแอบแฝงอยู่ในสินค้าที่ผลิตในประเทศนอกเขต EU ที่ยังไม่มีกฎระเบียบเข้มงวดในการควบคุม พร้อมทั้งให้นำระบบใหม่ที่เรียกว่า REACH มาใช้ในการควบคุมเคมีภัณฑ์ โดยระบบดังกล่าวประกอบด้วย
(1) Registration คือ การขึ้นทะเบียนสารเคมีทุกชนิดที่มีปริมาณผลิต/นำเข้าเกินกว่า 1 ตันขึ้นไป โดยบริษัทผู้ผลิต/นำเข้าสารเคมีจะต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแผนการตรวจสอบ (Testing) สำหรับสารเคมีนั้น ๆ ให้แก่ภาครัฐ ทั้งนี้กำหนดให้ต้องขึ้นทะเบียนระหว่างปี 2005 จนถึง 2012 ขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต/นำเข้าของสารเคมี
(2) Evaluation คือ การประเมินเพื่อตรวจสอบสำหรับสารเคมีใหม่ที่มีปริมาณผลิต/นำเข้าเกินกว่า 100 ตันขึ้นไป หรือสารเคมีที่มีใช้มาแต่เดิมเกินกว่า 100 หรือ 1,000 ตันขึ้นไป โดยหน่วยงานภาครัฐด้วยโปรแกรมการตรวจสอบแบบสำเร็จรูป (Tailored-made Testing Program) ที่พิจารณาจากข้อเสนอของผู้ผลิต
(3) Authorisation คือ การพิจารณาอนุญาตการผลิต/จำหน่ายสำหรับสารเคมีที่จัดเป็น CMR : Carcinogenic, Mutagenic Reprotaxic (Toxic to Reproduction) และ POP : Persistent Organic Pollutants ให้อยู่ในอำนาจของหน่วยงานภาครัฐ โดยพิจารณาจากผลประเมินความเสี่ยง ซึ่งจะต้องครอบคลุมตลอดช่วงวัฎจักรอาจจะของสารเคมีนั้น และจะให้การอนุญาตในกรณีที่มีข้อมูลยืนยันได้ว่ามีความเสี่ยงในระดับเล็กน้อยมาก (negligible Risk) เท่านั้น แต่หากผู้ผลิตสารเคมีให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงล่าช้า คณะกรรมาธิการฯ สามารถที่จะใช้ Precautionary Principle ในการพิจารณาไม่อนุญาตได้
นอกจากนี้ สมุดปกขาวฯ ยังเสนอให้โอนภาระจากภาครัฐไปสู่ภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิต/นำเข้าในการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยง รวมทั้งผู้ผลิต/นำเข้ายังมีหน้าที่ต้องถ่ายทอดข้อมูลที่จำเป็นให้แก่ผู้ใช้ในอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream User) ซึ่งนำสารเคมีไปใช้ในการผลิตสินค้าเป็นลำดับไปจนถึงผู้บริโภคด้วย แต่ด้วยเหตุที่การดำเนินการตรวจสอบมีภาระค่าใช้จ่ายสูง สมุดปกขาวฯ จึงเสนอให้ผู้ที่จะใช้ข้อมูลตรวจสอบซึ่งได้แก่ Downstream User จะต้องร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวด้วย และหากมีการนำสารเคมีไปใช้นอกเหนือไปจากการใช้ที่ถูกระบุโดยผู้ผลิต ผู้ใช้สารเคมีในการผลิตสินค้าจะต้องดำเนินการประเมินความเสี่ยงสำหรับการใช้นั้น ๆ ด้วยเช่นกันผลกระทบที่อาจมีต่อสินค้าส่งออกของไทย
แม้ว่าสิ่งที่นำเสนอในสมุดปกขาวฯ ยังคงเป็นข้อคิดเห็นของคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไประหว่างขั้นตอนการหารือกับฝ่ายต่าง ๆ แต่จากประเด็นที่นำเสนอในสมุดปกขาวฯ นี้ คาดว่าจะเกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อสารเคมีนานาประเภทที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ยังไม่มีการควบคุม เนื่องจากสารเคมีทุกชนิดจะต้องขึ้นทะเบียนและผ่านการประเมินความเสี่ยง (รวมถึง Existing Substances) ถึงแม้ไทยจะมิได้ส่งออกสินค้าเคมีภัณฑ์ไปยังตลาดยุโรปมากนัก (ในปี 1999 ไทยส่งออกรวม 55 ล้านยูโร) แต่อาจได้รับผลกระทบสำหรับสินค้าที่มีสารเคมีเป็นส่วนผสมหรือผลิตโดยใช้สารเคมี ซึ่งสมุดปกขาวได้เสนอให้รวมอยู่ในข่ายการควบคุม
อย่างไรก็ตาม หากเป็นสารเคมีที่มีการผลิต/ใช้อยู่ใน EU การดำเนินการขึ้นทะเบียนจะเป็นหน้าที่ของผู้ผลิต/ผู้นำเข้าของ EU เองที่จะต้องใช้ข้อมูลผลตรวจสอบและประเมินความเสี่ยง ผู้ผลิตของไทยซึ่งนำเข้าและใช้สารเคมีนั้น ๆ ในการผลิตสินค้าเพื่อที่จะส่งออกไปยังตลาด EU อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยบ้าง เช่น การจะต้องระบุข้อมูลบนฉลากสินค้าเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในสินค้าที่ผลิต ซึ่งตามแนวทางที่ระบุในสมุดปกขาวอาจทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียมในการใช้ข้อมูลหรือผลตรวจสอบ เป็นต้น อนึ่ง ไทยมีการนำเข้าเคมีภัณฑ์จาก EU ในปี 1999 เป็นมูลค่า 189 ล้านยูโร
ส่วนกรณีที่ผู้ผลิตสินค้าของไทยใช้สารเคมีที่นำเข้าจากประเทศที่สามนอกเหนือจาก EU และเป็นสารเคมีที่ไม่มีการผลิตหรือยังไม่มีการนำเข้าไปยัง EU มาก่อน ในกรณีนี้อาจจะต้องเป็นภาระของผู้ผลิตสินค้าของไทย และ/หรือผู้นำเข้าของ EU ที่ต้องการนำเข้าสินค้าไทยนั้น ๆ ในการขึ้นทะเบียนหรือให้ข้อมูลพิสูจน์ความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้ดังกล่าวข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
แม้ว่ายังคงจะใช้เวลาอีกนานก่อนที่สิ่งที่นำเสนอในสมุดปกขาวจะถูกนำไปออกเป็นกฎระเบียบ แต่จากเหตุการณ์ดังเช่นปัญหา BSE ทำให้ผู้บริโภคในยุโรปมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าอุปโภค/บริโภคมากขึ้น และคณะกรรมาธิการฯ ได้ใช้ Precautionary Principle ในสาขาต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จึงคาดได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันให้การดำเนินการเตรียมการออกระเบียบควบคุมสารเคมีจะรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา
เนื่องจากคาดว่าจะเกิดผลกระทบครอบคลุมสารเคมีนานาประเภทรวมถึงสินค้าในขอบเขตกว้างขวาง ดังนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนไทยควรจะเริ่มการเตรียมรับสถานะการณ์ดังกล่าวตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งอาจเริ่มจากการสำรวจ ศึกษา สถานะการใช้/การผลิตสารเคมีในไทย โดยในขั้นต้นอาจพิจารณาสารเคมีที่อยู่ในรายการเคมีภัณฑ์อันตราย 32 รายการ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ประกาศความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินมาตรการควบคุม โดยผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะใช้ช่วงเวลาที่สมุดปกขาวฯ ยังจะต้องผ่านการหารือกับฝ่ายต่าง ๆ ก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนการออกเป็นกฎระเบียบในการโน้มน้าวให้มีการปรับเปลี่ยนสาระหรือระดับความเข้มงวดในการดำเนินการ ทั้งนี้จากตัวอย่างในกรณีของกฎระเบียบ WEEE เห็นได้ว่าญี่ปุ่นได้เริ่มการโน้มน้าวตั้งแต่ระยะแรก โดยมีภาคเอกชนเป็นหัวจักรในการดำเนินการ เนื่องจากภาคเอกชนเป็นผู้ทราบดีที่สุดว่าจะมีผลกระทบต่อการผลิตของตนเช่นใด และในจุดใดบ้าง จึงทำให้มีข้อมูลทางเทคนิคอย่างละเอียดที่นำมาใช้ในการวางกลยุทธการโน้มน้าว เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่ภาคเอกชนญี่ปุ่นต้องการ และได้ทราบว่าญี่ปุ่นเองได้ประสบผลสำเร็จในการโน้มน้าวสำหรับประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่บริษัทญี่ปุ่นต้องการบ้างแล้ว ดังนั้น ภาคเอกชนของไทยควรเริ่มดำเนินการในรูปแบบเดียวกันสำหรับสมุดปกขาวฯ นี้
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์)
หมายเหตุ: เรียบเรียงจากบันทึกข้อความของสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 7/2544 วันที่ 15 เมษายน 2544--
-อน-