กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (18 กรกฎาคม 2544) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังกลับจากการเดินทางเยือนอินเดีย (11 — 14 กรกฎาคม) บรูไน ดารุสซาลาม (14 — 16 กรกฎาคม) และสิงคโปร์ (16 — 18 กรกฎาคม) ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ดังนี้
1. ผลการเยือนอินเดีย ในระหว่างการเยือนอินเดีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย K.R. Narayanan ประธานาธิบดีและนาย Atal Behari Vajpayee นายกรัฐมนตรี และหารือข้อราชการกับนาย Jaswant Singh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินเดีย และกล่าวปาฐกถาต่อสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย 1.1 นาย K.R. Narayanan ประธานาธิบดีอินเดียได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ เยือนอินเดียอย่างเป็นทางการหรือ State Visit ในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 และฝ่ายไทยได้แจ้งฝ่ายอินเดียว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกำหนดที่จะเดินทางเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้
1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและอินเดียได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการประชุมหารือในกรอบ Asia Cooperation Dialogue (ACD) ซึ่งอินเดียเห็นชอบกับข้อเสนอของฝ่ายไทยและเสนอให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มแกนนำ 6 ประเทศโดยมีอินเดียรวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย โดยในเบื้องต้นฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
1.3 ฝ่ายไทยได้หยิบยกความร่วมมือไทย-เวียดนามในเรื่องการส่งออกข้าวขึ้นหารือกับฝ่ายอินเดียและเชิญชวนอินเดียเข้าร่วม โดยเป็นไปตามแนวความคิดของ นายกรัฐมนตรีทักษิณฯ ซึ่งเสนอให้ประเทศผู้ส่งออกข้าวร่วมมือกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นโดยไม่ตัดราคาซึ่งกันและกัน ฝ่ายอินเดียแสดงความสนใจและรับที่จะจัดส่งคณะทำงานเดินทางมาหารือกับฝ่ายไทย ในชั้นนี้ มีประเทศที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกข้าว ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินเดียและปากีสถาน
1.4 ในด้านการค้า ฝ่ายไทยเสนอให้ขยายมูลค่าการค้าจาก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในปัจจุบันเป็น 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายใน 3 ปี โดยการชำระเงินให้ใช้วิธี Account Trade ซึ่งเป็นแนวความคิดของนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ คือการหักกลบลบหนี้มูลค่าการนำเข้า/ส่งออกสินค้าระหว่างกันและชำระส่วนต่างทุก 3 เดือนหรือ 6 เดือน ซึ่งฝ่ายอินเดียแสดงความ สนใจในวิธีการชำระเงินดังกล่าว
1.5 ฝ่ายอินเดียแสดงความสนใจที่จะทำความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area — FTA) กับไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรับที่จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติ (กนศ.) ฝ่ายไทยเห็นว่า FTA เป็นแนวความคิดที่เป็นประโยชน์เนื่องจากอินเดียมีอัตราภาษีนำเข้าค่อนข้างสูง อาทิ ภาษีเครื่องใช้ในครัวเรือนที่ทำจากวัสดุเมลามินร้อยละ 80 หากลดภาษีนำเข้าดังกล่าวได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย
2. ผลการเยือนบรูไน ดารุสซาลาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าชายโมฮัมหมัด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน โดยฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การประชุมคณะกรรมธิการร่วม (Joint Commission - JC) ไทย-บรูไน ซึ่งจัดตั้งมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่ได้จัดให้มีการประชุม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดให้มีการประชุม JC ภายในปลายปีนี้ที่จังหวัดภูเก็ต
2.2 ฝ่ายไทยเสนอให้มีความร่วมมือด้านการประมงไทย-บรูไนมากขึ้น ในลักษณะเดียวกันกับความร่วมมือด้านการประมงไทย — มาเลเซีย (ซาราวัก) ขณะนี้ บรูไนเช่าเรือไทยไปทำการประมงเพียง 2 — 3 ลำในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เข้าไปทำการประมงประมาณ 30 ลำแล้ว ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายบรูไนเพิ่มการเช่าเรือประมงไทยมากขึ้น ฝ่ายไทยแจ้งด้วยว่า สมาคมการประมงไทยพร้อมที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับฝ่ายบรูไนในด้านการแปรรูปสินค้าประมง
2.3 ด้านการท่องเที่ยว ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายบรูไนพิจารณาให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (hub) ของการท่องเที่ยวต่อเนื่องไปในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีเครือข่ายการคมนาคมที่สะดวกจากไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีบรูไน โดยได้หารือกันในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.4 สมเด็จพระราชาธิบดีบรูไนทรงเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีทักษิณฯ เยือน บรูไนอย่างเป็นทางการในสัปดาห์ที่สามของเดือนสิงหาคม ศกนี้
2.5 สมเด็จพระราชาธิบดีบรูไนในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ได้แสดงความยินดีที่ไทยพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ ฝ่ายไทยแสดงความหวังว่านักธุรกิจบรูไนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและลงทุนในประเทศไทย
3. ผลการเยือนสิงคโปร์ ในระหว่างการเยือนสิงคโปร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เยี่ยมคารวะนาย S. R. Nathan ประธานาธิบดี นาย Goh Chok Tong นายกรัฐมนตรี และนาย Lee Kuan Yew รัฐมนตรีอาวุโสและหารือข้อราชการกับนาย S. Jayarkumar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ โดยมีประเด็นการหารือ ดังนี้
3.1 ฝ่ายไทยได้หยิบยกเรื่อง Asia Cooperation Dialogue (ACD) ขึ้นหารือว่าประเทศเอเชียควรมีเวทีในการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในภูมิภาคขึ้นโดยไทยพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งฝ่ายสิงคโปร์เห็นด้วยและพร้อมให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทย
3.2 ฝ่ายไทยเห็นว่า ปัจจุบันมีความจำเป็นที่ไทยและสิงคโปร์ควรร่วมมือกันเพื่อสร้างพลังให้กับอาเซียน (revitalizing ASEAN) เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศเริ่มมองว่า อนาคตการลงทุนของอาเซียนไม่สดใส ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจสิงคโปร์เริ่มชะลอตัว นอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment — FDI) ที่เคยเข้าไปในภูมิภาคอาเซียนร้อยละ 60 และเข้าไปที่จีนร้อยละ 20 บัดนี้กลับกันกล่าวคือ FDI ไปอาเซียนเพียงร้อยละ 20 และเข้าไปจีนร้อยละ 60 อาเซียนจะต้องสร้างความมั่นใจของนักลงทุนให้คืนกลับมา มิเช่นนั้น ไทยจะได้รับผลกระทบจากเงินทุนไหลเข้าลดลงซี่งจะมีผลกระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการเชิญบรูไนและมาเลเซียร่วมหารือในการผลักดันอาเซียนไปข้างหน้า ซึ่งฝ่ายไทยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลักดันอาเซียน ดังนี้
- เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) จะต้องมุ่งเดินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
- ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีพลัง ได้แก่ สิงคโปร์ ไทยและมาเลเซียควรร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชาและเวียดนาม
- อาเซียนเห็นด้วยและสนับสนุนข้อเสนอของไทยในการจัดตั้ง Asia Cooperation Dialogue (ACD) ขึ้นเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศเอเขียตะวันออกและเอเชียใต้ ซึ่งเป็นบทบาทสร้างสรรที่จะทำให้ประชาคมโลกเห็นว่าอาเซียนมีความหมายและกลับมาเป็นภูมิภาคที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
3.3 ในการหารือกับนาย George Yeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและ อุตสาหกรรมสิงคโปร์ ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายสิงคโปร์ซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้น
3.4 นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์จะเชิญนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ ไปเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการประมาณสัปดาห์ที่สามของเดือนสิงหาคม ศกนี้ 3.5 ฝ่ายสิงคโปร์แจ้งว่า สิงคโปร์พร้อมร่วมมือกับไทยในการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ นักธุรกิจสิงคโปร์ที่สนใจด้านอสังหาริมทรัพย์แสดงความสนใจที่จะจัดคณะเดินทางมาเยือนไทย โดยฝ่ายไทยเตรียมการให้คณะดังกล่าวได้มีโอกาสพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานบรรษัทบริหารทรัพย์สินแห่งชาติ (TAMC) ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้มีการพลิกฟื้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-
วันนี้ (18 กรกฎาคม 2544) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังกลับจากการเดินทางเยือนอินเดีย (11 — 14 กรกฎาคม) บรูไน ดารุสซาลาม (14 — 16 กรกฎาคม) และสิงคโปร์ (16 — 18 กรกฎาคม) ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ดังนี้
1. ผลการเยือนอินเดีย ในระหว่างการเยือนอินเดีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย K.R. Narayanan ประธานาธิบดีและนาย Atal Behari Vajpayee นายกรัฐมนตรี และหารือข้อราชการกับนาย Jaswant Singh รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินเดีย และกล่าวปาฐกถาต่อสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมของอินเดีย 1.1 นาย K.R. Narayanan ประธานาธิบดีอินเดียได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ เยือนอินเดียอย่างเป็นทางการหรือ State Visit ในฐานะผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 และฝ่ายไทยได้แจ้งฝ่ายอินเดียว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกำหนดที่จะเดินทางเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้
1.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและอินเดียได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการประชุมหารือในกรอบ Asia Cooperation Dialogue (ACD) ซึ่งอินเดียเห็นชอบกับข้อเสนอของฝ่ายไทยและเสนอให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มแกนนำ 6 ประเทศโดยมีอินเดียรวมอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย โดยในเบื้องต้นฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
1.3 ฝ่ายไทยได้หยิบยกความร่วมมือไทย-เวียดนามในเรื่องการส่งออกข้าวขึ้นหารือกับฝ่ายอินเดียและเชิญชวนอินเดียเข้าร่วม โดยเป็นไปตามแนวความคิดของ นายกรัฐมนตรีทักษิณฯ ซึ่งเสนอให้ประเทศผู้ส่งออกข้าวร่วมมือกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นโดยไม่ตัดราคาซึ่งกันและกัน ฝ่ายอินเดียแสดงความสนใจและรับที่จะจัดส่งคณะทำงานเดินทางมาหารือกับฝ่ายไทย ในชั้นนี้ มีประเทศที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกข้าว ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินเดียและปากีสถาน
1.4 ในด้านการค้า ฝ่ายไทยเสนอให้ขยายมูลค่าการค้าจาก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในปัจจุบันเป็น 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายใน 3 ปี โดยการชำระเงินให้ใช้วิธี Account Trade ซึ่งเป็นแนวความคิดของนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ คือการหักกลบลบหนี้มูลค่าการนำเข้า/ส่งออกสินค้าระหว่างกันและชำระส่วนต่างทุก 3 เดือนหรือ 6 เดือน ซึ่งฝ่ายอินเดียแสดงความ สนใจในวิธีการชำระเงินดังกล่าว
1.5 ฝ่ายอินเดียแสดงความสนใจที่จะทำความตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area — FTA) กับไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรับที่จะนำเรื่องดังกล่าวไปหารือในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติ (กนศ.) ฝ่ายไทยเห็นว่า FTA เป็นแนวความคิดที่เป็นประโยชน์เนื่องจากอินเดียมีอัตราภาษีนำเข้าค่อนข้างสูง อาทิ ภาษีเครื่องใช้ในครัวเรือนที่ทำจากวัสดุเมลามินร้อยละ 80 หากลดภาษีนำเข้าดังกล่าวได้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย
2. ผลการเยือนบรูไน ดารุสซาลาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเฝ้าฯ เจ้าชายโมฮัมหมัด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน โดยฝ่ายไทยได้หยิบยกประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การประชุมคณะกรรมธิการร่วม (Joint Commission - JC) ไทย-บรูไน ซึ่งจัดตั้งมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่ได้จัดให้มีการประชุม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดให้มีการประชุม JC ภายในปลายปีนี้ที่จังหวัดภูเก็ต
2.2 ฝ่ายไทยเสนอให้มีความร่วมมือด้านการประมงไทย-บรูไนมากขึ้น ในลักษณะเดียวกันกับความร่วมมือด้านการประมงไทย — มาเลเซีย (ซาราวัก) ขณะนี้ บรูไนเช่าเรือไทยไปทำการประมงเพียง 2 — 3 ลำในขณะที่ประเทศอื่น ๆ เข้าไปทำการประมงประมาณ 30 ลำแล้ว ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายบรูไนเพิ่มการเช่าเรือประมงไทยมากขึ้น ฝ่ายไทยแจ้งด้วยว่า สมาคมการประมงไทยพร้อมที่จะเข้าไปร่วมลงทุนกับฝ่ายบรูไนในด้านการแปรรูปสินค้าประมง
2.3 ด้านการท่องเที่ยว ฝ่ายไทยเสนอให้ฝ่ายบรูไนพิจารณาให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (hub) ของการท่องเที่ยวต่อเนื่องไปในประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีเครือข่ายการคมนาคมที่สะดวกจากไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีบรูไน โดยได้หารือกันในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.4 สมเด็จพระราชาธิบดีบรูไนทรงเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีทักษิณฯ เยือน บรูไนอย่างเป็นทางการในสัปดาห์ที่สามของเดือนสิงหาคม ศกนี้
2.5 สมเด็จพระราชาธิบดีบรูไนในฐานะที่ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย ได้แสดงความยินดีที่ไทยพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ ฝ่ายไทยแสดงความหวังว่านักธุรกิจบรูไนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและลงทุนในประเทศไทย
3. ผลการเยือนสิงคโปร์ ในระหว่างการเยือนสิงคโปร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เยี่ยมคารวะนาย S. R. Nathan ประธานาธิบดี นาย Goh Chok Tong นายกรัฐมนตรี และนาย Lee Kuan Yew รัฐมนตรีอาวุโสและหารือข้อราชการกับนาย S. Jayarkumar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ โดยมีประเด็นการหารือ ดังนี้
3.1 ฝ่ายไทยได้หยิบยกเรื่อง Asia Cooperation Dialogue (ACD) ขึ้นหารือว่าประเทศเอเชียควรมีเวทีในการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในภูมิภาคขึ้นโดยไทยพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งฝ่ายสิงคโปร์เห็นด้วยและพร้อมให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทย
3.2 ฝ่ายไทยเห็นว่า ปัจจุบันมีความจำเป็นที่ไทยและสิงคโปร์ควรร่วมมือกันเพื่อสร้างพลังให้กับอาเซียน (revitalizing ASEAN) เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศเริ่มมองว่า อนาคตการลงทุนของอาเซียนไม่สดใส ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจสิงคโปร์เริ่มชะลอตัว นอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment — FDI) ที่เคยเข้าไปในภูมิภาคอาเซียนร้อยละ 60 และเข้าไปที่จีนร้อยละ 20 บัดนี้กลับกันกล่าวคือ FDI ไปอาเซียนเพียงร้อยละ 20 และเข้าไปจีนร้อยละ 60 อาเซียนจะต้องสร้างความมั่นใจของนักลงทุนให้คืนกลับมา มิเช่นนั้น ไทยจะได้รับผลกระทบจากเงินทุนไหลเข้าลดลงซี่งจะมีผลกระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการเชิญบรูไนและมาเลเซียร่วมหารือในการผลักดันอาเซียนไปข้างหน้า ซึ่งฝ่ายไทยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลักดันอาเซียน ดังนี้
- เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) จะต้องมุ่งเดินไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง
- ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีพลัง ได้แก่ สิงคโปร์ ไทยและมาเลเซียควรร่วมมือกันในการพัฒนาประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชาและเวียดนาม
- อาเซียนเห็นด้วยและสนับสนุนข้อเสนอของไทยในการจัดตั้ง Asia Cooperation Dialogue (ACD) ขึ้นเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศเอเขียตะวันออกและเอเชียใต้ ซึ่งเป็นบทบาทสร้างสรรที่จะทำให้ประชาคมโลกเห็นว่าอาเซียนมีความหมายและกลับมาเป็นภูมิภาคที่ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
3.3 ในการหารือกับนาย George Yeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและ อุตสาหกรรมสิงคโปร์ ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายสิงคโปร์ซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้น
3.4 นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์จะเชิญนายกรัฐมนตรีทักษิณฯ ไปเยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการประมาณสัปดาห์ที่สามของเดือนสิงหาคม ศกนี้ 3.5 ฝ่ายสิงคโปร์แจ้งว่า สิงคโปร์พร้อมร่วมมือกับไทยในการพัฒนาประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ นักธุรกิจสิงคโปร์ที่สนใจด้านอสังหาริมทรัพย์แสดงความสนใจที่จะจัดคณะเดินทางมาเยือนไทย โดยฝ่ายไทยเตรียมการให้คณะดังกล่าวได้มีโอกาสพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานบรรษัทบริหารทรัพย์สินแห่งชาติ (TAMC) ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้มีการพลิกฟื้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7--จบ--
-อน-