นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ประจำสถานอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันว่า สมาคม National Retail Federation (NRF) สมาคมการค้าปลีกใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา ร่วมกับสมาคมการค้าอีก 3 สมาคม ได้แก่ American Apparel and Footwear Association, International Mass Retail Association และ United States of Importers of Textiles and Apparel (USA-ITA) ได้มีหนังสือถึงนาย Robert Zoellick ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ และ General Colin Powell รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เรียกร้องให้ฝ่ายบริหารประธานาธิบดีบุชเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงนโยบายการค้าสินค้าสิ่งทอใหม่เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
นายการุณฯ กล่าวต่อไปว่า ตามข้อเรียกร้องของสมาคมฯเห็นว่า นโยบายการค้าสินค้าสิ่งทอของสหรัฐฯในปัจจุบันเป็นนโยบายที่ล้าสมัย กำหนดโดยคำสั่งประธานาธิบดี Richard Nixon (Presidential Executive Order 11651) ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2515 ซึ่งสภาวะการค้าสินค้าสิ่งทอในขณะนั้นแตกต่างไปจากสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง สมาคมได้ให้ข้อแนะนำว่าขณะนี้เป็นเวลาที่สมควรแล้วที่ฝ่ายบริหารประธานาธิบดีบุชจะพิจารณาวางแผนกำหนดการค้าด้านนี้ใหม่ เพื่อให้ก้าวทันโลกยุคปัจจุบันและเพื่อรองรับสถานการณ์สินค้าสิ่งทอภายหลังการยกเลิกระบบโควตาของสินค้าในปี 2548 ตามข้อตกลงสิ่งทอระหว่างประเทศ (Multi-Fiber Arrangement MFA) ของ WTO
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้นฝ่ายบริหารควรจัดให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการวางแผนและกำหนดนโยบายทางด้านนี้โดยเน้น
1. แผนการช่วยเหลือที่ต่อเนื่องสำหรับอุตสาหกรรมสินค้าสิ่งทอภายในที่ได้รับความเสียหาย
2. แนวทางที่ก่อให้เกิดความมั่นใจว่าขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปอย่างราบรื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการรองรับและส่งเสริมวัตถุประสงค์นโยบายด้านการต่างประเทศ การค้าต่างประเทศและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
3. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมของหน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการค้าสิ่งทอ เช่น หน่วยงาน Committee for Implementation of Textile Agreement (CITA) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับควบคุมโควตาสินค้าสิ่งทอ แต่ในปัจจุบันควรจะได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ใหม่โดยเน้นประเด็นด้านการขายและการเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอของต่างประเทศ
นายการุณฯ ได้กล่าวในท้ายที่สุดว่า สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ประจำสถานอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ในปัจจุบันถึงแม้สหรัฐฯจะมีการกำหนดโควตานำเข้าสินค้าสิ่งทอจากประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญต่างๆ แต่อุตสาหกรรมภายในก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศจีน ทำให้ต้องปิดกิจการหรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เช่น เม็กซิโก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯยังพิจารณาว่าฝ่ายบริหารในปัจจุบันมิได้ดำเนินนโยบายในการบังคับให้ประเทศต่างๆ เปิดตลาดสินค้าสิ่งทอให้แก่สินค้าของสหรัฐฯเท่าที่ควร ในขณะที่สหรัฐฯต้องเปิดตลาดของตนให้กับประเทศต่างๆ การเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารประธาธิบดีบุชวางแผนปรับปรุงนโยบายการค้าสินค้าสิ่งทอใหม่ แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ ตระหนักดีถึงผลกระทบของการยกเลิกระบบโควตาสินค้าสิ่งทอใน 3 — 4 ปีข้างหน้านี้
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2544--
-อน-
นายการุณฯ กล่าวต่อไปว่า ตามข้อเรียกร้องของสมาคมฯเห็นว่า นโยบายการค้าสินค้าสิ่งทอของสหรัฐฯในปัจจุบันเป็นนโยบายที่ล้าสมัย กำหนดโดยคำสั่งประธานาธิบดี Richard Nixon (Presidential Executive Order 11651) ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2515 ซึ่งสภาวะการค้าสินค้าสิ่งทอในขณะนั้นแตกต่างไปจากสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง สมาคมได้ให้ข้อแนะนำว่าขณะนี้เป็นเวลาที่สมควรแล้วที่ฝ่ายบริหารประธานาธิบดีบุชจะพิจารณาวางแผนกำหนดการค้าด้านนี้ใหม่ เพื่อให้ก้าวทันโลกยุคปัจจุบันและเพื่อรองรับสถานการณ์สินค้าสิ่งทอภายหลังการยกเลิกระบบโควตาของสินค้าในปี 2548 ตามข้อตกลงสิ่งทอระหว่างประเทศ (Multi-Fiber Arrangement MFA) ของ WTO
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้นฝ่ายบริหารควรจัดให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการวางแผนและกำหนดนโยบายทางด้านนี้โดยเน้น
1. แผนการช่วยเหลือที่ต่อเนื่องสำหรับอุตสาหกรรมสินค้าสิ่งทอภายในที่ได้รับความเสียหาย
2. แนวทางที่ก่อให้เกิดความมั่นใจว่าขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปอย่างราบรื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการรองรับและส่งเสริมวัตถุประสงค์นโยบายด้านการต่างประเทศ การค้าต่างประเทศและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
3. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมของหน่วยงานรัฐบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการค้าสิ่งทอ เช่น หน่วยงาน Committee for Implementation of Textile Agreement (CITA) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบังคับควบคุมโควตาสินค้าสิ่งทอ แต่ในปัจจุบันควรจะได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ใหม่โดยเน้นประเด็นด้านการขายและการเปิดตลาดสินค้าสิ่งทอของต่างประเทศ
นายการุณฯ ได้กล่าวในท้ายที่สุดว่า สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ประจำสถานอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ในปัจจุบันถึงแม้สหรัฐฯจะมีการกำหนดโควตานำเข้าสินค้าสิ่งทอจากประเทศผู้ส่งออกรายสำคัญต่างๆ แต่อุตสาหกรรมภายในก็ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศจีน ทำให้ต้องปิดกิจการหรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เช่น เม็กซิโก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯยังพิจารณาว่าฝ่ายบริหารในปัจจุบันมิได้ดำเนินนโยบายในการบังคับให้ประเทศต่างๆ เปิดตลาดสินค้าสิ่งทอให้แก่สินค้าของสหรัฐฯเท่าที่ควร ในขณะที่สหรัฐฯต้องเปิดตลาดของตนให้กับประเทศต่างๆ การเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารประธาธิบดีบุชวางแผนปรับปรุงนโยบายการค้าสินค้าสิ่งทอใหม่ แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ ตระหนักดีถึงผลกระทบของการยกเลิกระบบโควตาสินค้าสิ่งทอใน 3 — 4 ปีข้างหน้านี้
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2544--
-อน-