ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดระนองประกอบด้วย 4 อำเภอกับ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และกิ่งอำเภอสุขสำราญ
พื้นที่รวม 3,298 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,064,278 ไร่ มีฝั่งทะเลยาวประมาณ 96 กิโลเมตร มีเกาะต่าง ๆ 62 เกาะ
ณ 31 ธันวาคม 2542 มีประชากรจำนวน 158,185 คน น้อยที่สุดในภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 1.9 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price ) ปี2539 มีจำนวน 9,058.2 ล้านบาท โดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาหลัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.1 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและค้าส่ง ร้อยละ 11.4และสาขาอุตสาหกรรมร้อยละ 9.5 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 106,397 บาท / ปี สูงเป็นอันดับ 2 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จุดเด่นของจังหวัดระนองที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนได้แก่
1)เป็นจุดที่แคบที่สุดระหว่างฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย
2) เป็นจุดศูนย์กลางระหว่างภาคใต้กับภาคกลาง
3)เป็นเมืองท่าที่สำคัญมาแต่อดีต
4)เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับประเทศพม่า และฝั่งทะเลอันดามัน
5)มีแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ
6)มีทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และยังเป็นทางเข้า ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติจากต่างประเทศ
7)เป็นจุดศูนย์กลางเพื่อการส่งออกและนำเข้าสินค้รจากประเทศแถบมหาสมุทรอินเดีย
8)มีโครงการเพื่อรองรับการบริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคอย่างพอเพียง อาทิ สนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ ท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศถนน 4 เลนส์
9)มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ อาทิ น้ำตก ทะเล ชายหาด ป่าไม้ ภูเขา ศิลปวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวชายแดนไทยพม่า
10)สถานการณ์ทางแรงงานมีเพียงพอแก่ความต้องการ
11)เป็นจุดที่รัฐกำหนดให้อยู่ในพื้นที่ส่งเสริมการลงทุน
สภาพธุรกิจที่มีอยู่เดิมขนาดเล็กและปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตร ประมง การค้า การท่องเที่ยว จังหวัดระนองจึงมีความเหมาะสมที่นักลงทุนธุรกิจใหญ่ ๆ เช่น โรงแรม การท่าเรือ การเดินเรือ การอุตสาหกรรมประเภทผลิตเครื่องใช้จำเป็น เครื่องไฟฟ้า เพื่อการส่งออก การท่องเที่ยว การศึกษา การเกษตร การเหมืองแร่ การค้าวัสดุเชื้อเพลิง การประมง การค้าชายแดน และการขนส่งระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอการลงทุน
ประเภทโครงการที่น่าลงทุนเป็นพิเศษในจังหวัดระนองในทศวรรษนี้ ได้แก่
1)ด้านการเกษตร
1.ปลูกพืชเศรษฐกิจนิยม 4 ชนิดได้แก่มะม่วงหิมพานต์ มังคุด สะตอ และลองกอง
2.ทำนากุ้งน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยตามชายฝั่งทะเลอันดามัน
3.จัดตั้งตลาดกลางเพื่อการเกษตร และการส่งออกภาคใต้ตอนบน
4.การเลี้ยงหอยมุก
2)ด้านการพาณิชย์และบริการ
1.กรเปิดเส้นทางการบินระหว่างกรุงเทพ - ระนอง-พม่า -สิงคโปร์
2.การค้าชายแดน
3.กรค้าเพื่อการส่งออกและนำเข้าจากต่างประเทศ
4.การขนส่งระหว่างจังหวัดและประเทศ
5.การลงทุนท่าเรือเพื่อการส่งออก และนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ
6.การลงทุนเดินเรือสินค้าระหว่างประเทศและเรือท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
7.การลงทุนสถานบริการด้านการรักษาพยาบาล
8.การลงทุนด้านการจัดตั้งสถานศึกษาทางวิชาชีพ
3)ด้านอุตสาหกรรม
1.อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ประเภทเครื่องใช้จำเป็นแก่การครองชีพ เช่นอาหารกระป๋อง เสื้อผ้า ยารักษาโรค และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ อุตสาหกรรมพลาสติก
2.อุตสาหกรรมเพื่อการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่นน้ำมัน เพชรพลอย ของป่า สารเคมี
3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น อุตสาหกรรมต่อเรือ ซ่อมแซมเรือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ในการประมง อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าทางการประมงและเกษตร และอุตสาหกรรมเซรามิค
4)ด้านการท่องเที่ยว
1.ก่อสร้างโรงแรมชั้นหนึ่ง
2.ตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าที่ระลึกภาคใต้ตอนบน
3.ตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
4.การจัดนำเที่ยวในรูปแบบแพคเกจทัวร์กรุงเทพ -ระนอง -พม่า และทัวร์ป่าแคมปิ้งตามเกาะและป่าเขา
5.การลงทุนทำเรือนำเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันพม่า-ระนอง-มาเลเซีย-สิงคโปร์
6.การลงทุนจัดตั้งศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ตอนบน และศิลปวัฒนธรรมริมฝั่งทะเลอันดามัน
7.ศูนย์อาหารทะเลอันดามัน
8.ศูนย์บริการรถยนต์โดยสารและรถรับจ้าง
9.ตั้งสถานบริการบันเทิงต่าง ๆ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดระนองประกอบด้วย 4 อำเภอกับ 1 กิ่งอำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และกิ่งอำเภอสุขสำราญ
พื้นที่รวม 3,298 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,064,278 ไร่ มีฝั่งทะเลยาวประมาณ 96 กิโลเมตร มีเกาะต่าง ๆ 62 เกาะ
ณ 31 ธันวาคม 2542 มีประชากรจำนวน 158,185 คน น้อยที่สุดในภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 1.9 ของประชากรทั้งภาค
ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price ) ปี2539 มีจำนวน 9,058.2 ล้านบาท โดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาหลัก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.1 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและค้าส่ง ร้อยละ 11.4และสาขาอุตสาหกรรมร้อยละ 9.5 รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเท่ากับ 106,397 บาท / ปี สูงเป็นอันดับ 2 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จุดเด่นของจังหวัดระนองที่เอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนได้แก่
1)เป็นจุดที่แคบที่สุดระหว่างฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย
2) เป็นจุดศูนย์กลางระหว่างภาคใต้กับภาคกลาง
3)เป็นเมืองท่าที่สำคัญมาแต่อดีต
4)เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับประเทศพม่า และฝั่งทะเลอันดามัน
5)มีแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ
6)มีทรัพยากรธรรมชาติที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และยังเป็นทางเข้า ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติจากต่างประเทศ
7)เป็นจุดศูนย์กลางเพื่อการส่งออกและนำเข้าสินค้รจากประเทศแถบมหาสมุทรอินเดีย
8)มีโครงการเพื่อรองรับการบริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคอย่างพอเพียง อาทิ สนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ ท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศถนน 4 เลนส์
9)มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ อาทิ น้ำตก ทะเล ชายหาด ป่าไม้ ภูเขา ศิลปวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวชายแดนไทยพม่า
10)สถานการณ์ทางแรงงานมีเพียงพอแก่ความต้องการ
11)เป็นจุดที่รัฐกำหนดให้อยู่ในพื้นที่ส่งเสริมการลงทุน
สภาพธุรกิจที่มีอยู่เดิมขนาดเล็กและปานกลาง ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตร ประมง การค้า การท่องเที่ยว จังหวัดระนองจึงมีความเหมาะสมที่นักลงทุนธุรกิจใหญ่ ๆ เช่น โรงแรม การท่าเรือ การเดินเรือ การอุตสาหกรรมประเภทผลิตเครื่องใช้จำเป็น เครื่องไฟฟ้า เพื่อการส่งออก การท่องเที่ยว การศึกษา การเกษตร การเหมืองแร่ การค้าวัสดุเชื้อเพลิง การประมง การค้าชายแดน และการขนส่งระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
ข้อเสนอการลงทุน
ประเภทโครงการที่น่าลงทุนเป็นพิเศษในจังหวัดระนองในทศวรรษนี้ ได้แก่
1)ด้านการเกษตร
1.ปลูกพืชเศรษฐกิจนิยม 4 ชนิดได้แก่มะม่วงหิมพานต์ มังคุด สะตอ และลองกอง
2.ทำนากุ้งน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยตามชายฝั่งทะเลอันดามัน
3.จัดตั้งตลาดกลางเพื่อการเกษตร และการส่งออกภาคใต้ตอนบน
4.การเลี้ยงหอยมุก
2)ด้านการพาณิชย์และบริการ
1.กรเปิดเส้นทางการบินระหว่างกรุงเทพ - ระนอง-พม่า -สิงคโปร์
2.การค้าชายแดน
3.กรค้าเพื่อการส่งออกและนำเข้าจากต่างประเทศ
4.การขนส่งระหว่างจังหวัดและประเทศ
5.การลงทุนท่าเรือเพื่อการส่งออก และนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ
6.การลงทุนเดินเรือสินค้าระหว่างประเทศและเรือท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
7.การลงทุนสถานบริการด้านการรักษาพยาบาล
8.การลงทุนด้านการจัดตั้งสถานศึกษาทางวิชาชีพ
3)ด้านอุตสาหกรรม
1.อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ประเภทเครื่องใช้จำเป็นแก่การครองชีพ เช่นอาหารกระป๋อง เสื้อผ้า ยารักษาโรค และเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ อุตสาหกรรมพลาสติก
2.อุตสาหกรรมเพื่อการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ เช่นน้ำมัน เพชรพลอย ของป่า สารเคมี
3. อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตที่อยู่ในท้องถิ่น เช่น อุตสาหกรรมต่อเรือ ซ่อมแซมเรือ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ในการประมง อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าทางการประมงและเกษตร และอุตสาหกรรมเซรามิค
4)ด้านการท่องเที่ยว
1.ก่อสร้างโรงแรมชั้นหนึ่ง
2.ตั้งศูนย์จำหน่ายสินค้าที่ระลึกภาคใต้ตอนบน
3.ตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
4.การจัดนำเที่ยวในรูปแบบแพคเกจทัวร์กรุงเทพ -ระนอง -พม่า และทัวร์ป่าแคมปิ้งตามเกาะและป่าเขา
5.การลงทุนทำเรือนำเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามันพม่า-ระนอง-มาเลเซีย-สิงคโปร์
6.การลงทุนจัดตั้งศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ตอนบน และศิลปวัฒนธรรมริมฝั่งทะเลอันดามัน
7.ศูนย์อาหารทะเลอันดามัน
8.ศูนย์บริการรถยนต์โดยสารและรถรับจ้าง
9.ตั้งสถานบริการบันเทิงต่าง ๆ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-