กรุงเทพ--15 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศได้จัดคณะผู้แทนเดินทางไปส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลไทย ณ ประเทศโมร็อกโก และแอลจีเรีย ระหว่าง 15-23 มิถุนายน 2548 โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย การดำเนินโครงการฯ ครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนี้
1. สร้างความมั่นใจให้กับประเทศเป้าหมายว่า แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศมุสลิมแต่สินค้าอาหารฮาลาลของไทยได้ผลิตถูกต้องตามหลักสุขอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหารตามมาตรฐานระหว่างประเทศ (หลักเกณฑ์การกำหนดสุขลักษณะของอาหารและระบบการควบคุมอันตรายและจุดควบคุมวิกฤตที่ต้องควบคุม Halal-GMP/HACCP) รวมทั้ง ผ่านกระบวนการตรวจสอบว่าผลิตถูกต้องตามบทบัญญัติและขั้นตอนทางศาสนาอิสลาม
2. เปิดช่องทางให้อาหารฮาลาลของไทยซึ่งมีศักยภาพสามารถส่งออกไปยังประเทศเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโมร็อกโกและแอลจีเรีย ซึ่งยังพึ่งพาการนำเข้าอาหารเกือบทั้งหมด รวมทั้งสามารถ ใช้ประเทศดังกล่าวเป็นฐานกระจายสินค้าเนื่องจากเป็น gateway สำคัญสู่ตลาดประเทศอื่นๆ เพราะประเทศ ทั้งสองมีศักยภาพในแง่ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และมีการทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับหลายประเทศทั้งใน ภูมิภาคแอฟริกา ยุโรป และตะวันออกกลาง
3. นอกจากประเด็นด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลแล้ว ระหว่างการเยือนครั้งนี้คณะฯ ได้มีโอกาสเข้าพบกับบุคคลสำคัญของทั้งสองประเทศ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มและกระชับความสัมพันธ์กับทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการหารือในด้านต่างๆ อาทิ การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทย การผลักดันความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนให้มีผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโมร็อกโก นั้น การเยือนครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมการสำหรับการเยือนของนายกรัฐมนตรีในเดือนกันยายน 2548 นี้
4. การดำเนินโครงการฯ ครั้งนี้สอดคล้องกับการที่รัฐบาลประกาศให้ปี 2548 เป็น “ปีแอฟริกา” ที่มุ่งหวังการดำเนินการในเชิงรุก เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะพันธมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ กับแอฟริกา
5. ตลาดมุสลิมมีความสำคัญมากต่อการส่งออกอาหาร เนื่องจากเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือ 1 ใน 4 ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ กว่าหนึ่งร้อยประเทศ โดยตลาดอาหารฮาลาลทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 3.33 ล้านล้านบาทต่อปี (8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ในขณะที่สัดส่วนของตลาดอาหารฮาลาลไทยมีมูลค่าเพียง 3.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.02 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า สินค้าอาหารฮาลาลเป็นช่องทางสำคัญช่องทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ด้วยกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศได้จัดคณะผู้แทนเดินทางไปส่งเสริมและขยายตลาดสินค้าอาหารฮาลาลไทย ณ ประเทศโมร็อกโก และแอลจีเรีย ระหว่าง 15-23 มิถุนายน 2548 โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย การดำเนินโครงการฯ ครั้งนี้นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนี้
1. สร้างความมั่นใจให้กับประเทศเป้าหมายว่า แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศมุสลิมแต่สินค้าอาหารฮาลาลของไทยได้ผลิตถูกต้องตามหลักสุขอนามัยและความปลอดภัยด้านอาหารตามมาตรฐานระหว่างประเทศ (หลักเกณฑ์การกำหนดสุขลักษณะของอาหารและระบบการควบคุมอันตรายและจุดควบคุมวิกฤตที่ต้องควบคุม Halal-GMP/HACCP) รวมทั้ง ผ่านกระบวนการตรวจสอบว่าผลิตถูกต้องตามบทบัญญัติและขั้นตอนทางศาสนาอิสลาม
2. เปิดช่องทางให้อาหารฮาลาลของไทยซึ่งมีศักยภาพสามารถส่งออกไปยังประเทศเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโมร็อกโกและแอลจีเรีย ซึ่งยังพึ่งพาการนำเข้าอาหารเกือบทั้งหมด รวมทั้งสามารถ ใช้ประเทศดังกล่าวเป็นฐานกระจายสินค้าเนื่องจากเป็น gateway สำคัญสู่ตลาดประเทศอื่นๆ เพราะประเทศ ทั้งสองมีศักยภาพในแง่ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และมีการทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับหลายประเทศทั้งใน ภูมิภาคแอฟริกา ยุโรป และตะวันออกกลาง
3. นอกจากประเด็นด้านอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลแล้ว ระหว่างการเยือนครั้งนี้คณะฯ ได้มีโอกาสเข้าพบกับบุคคลสำคัญของทั้งสองประเทศ ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีในการเพิ่มและกระชับความสัมพันธ์กับทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึ้น ทั้งนี้ ได้มีการหารือในด้านต่างๆ อาทิ การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทย การผลักดันความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนให้มีผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโมร็อกโก นั้น การเยือนครั้งนี้ถือเป็นการเตรียมการสำหรับการเยือนของนายกรัฐมนตรีในเดือนกันยายน 2548 นี้
4. การดำเนินโครงการฯ ครั้งนี้สอดคล้องกับการที่รัฐบาลประกาศให้ปี 2548 เป็น “ปีแอฟริกา” ที่มุ่งหวังการดำเนินการในเชิงรุก เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะพันธมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ กับแอฟริกา
5. ตลาดมุสลิมมีความสำคัญมากต่อการส่งออกอาหาร เนื่องจากเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรมากกว่า 1,500 ล้านคน หรือ 1 ใน 4 ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ กว่าหนึ่งร้อยประเทศ โดยตลาดอาหารฮาลาลทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 3.33 ล้านล้านบาทต่อปี (8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ในขณะที่สัดส่วนของตลาดอาหารฮาลาลไทยมีมูลค่าเพียง 3.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.02 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า สินค้าอาหารฮาลาลเป็นช่องทางสำคัญช่องทางหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-