กรุงเทพฯ--1 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่ทั่วโลก ขึ้น ระหว่างวันที่ 28-31 พฤษภาคม 2544 ณ อาคารวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ นั้น
ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธาน การประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาคประชาชน ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2544 โดยมี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักวิชาการ สื่อมวลชน และผู้แทนจากองค์กรเอกชน เข้าร่วม อภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่ ด้วย ดังสรุปสาระสำคัญของข้อเสนอ ของภาคประชาชนในประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
1. ข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ
- เป็นศูนย์เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้รับจากต่างประเทศให้กับประชาชน เพื่อเป็น การเพิ่มพูนความรู้ รวมทั้ง ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการที่ต่างประเทศใช้ เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้
- ให้ความคุ้มครองและพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศโดยต้องมี การประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ในการให้ความช่วยเหลือ แก่คนไทยที่ไปตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศให้ประชาชนได้รับทราบ
2. ข้อเสนอเกี่ยวกับคุณสมบัติและบทบาทของนักการทูต : นักการทูตต้องลงมาสัมผัสกับ ปัญหา ทำงานเชิงรุกโดยลงในพื้นที่โดยตรง ต้องหาข่าวสารข้อมูลในเชิงลึกและต้องมีคุณสมบัติเป็นนักข่าวกรองด้วย มีการติดตามผล/ความคืบหน้าของการประชุมต่างๆ ที่ภาคประชาชนได้ไปประชุม และต้องมี ความจริงใจในการให้บริการกับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
3. ขอให้เน้นการประสานงานระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับภาคประชาชนให้มากขึ้น นอกเหนือจากความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน โดยให้มีการแลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสาร และความ คิดเห็นเพื่อเป็นทางเลือกและนำความคิดและข้อมูลที่หลากหลายมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการทำงาน ของกระทรวงการต่างประเทศต่อไป
4. การส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรคำนึงถึงนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพด้วยและควร หามาตรการป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยต้องโทษในประเทศไทยสามารถเดินทางกลับเข้าประเทศได้อีก รวมทั้งควรพิจารณาแลกเปลี่ยนข้อมูลกับต่างประเทศในเรื่อง blacklist ด้วย
5. ด้านแรงงาน ควรสนับสนุนการส่งออกแรงงานที่มีฝีมือ โดยรัฐบาลควรเน้นการพัฒนา ฝีมือแรงงานเพื่อยกระดับแรงงานของไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้โดยขอให้กระทรวงการต่างประเทศช่วยหาตลาดต่างประเทศที่ต้องการแรงงานไทย
6. ปัญหาเรื่องโรคเอดส์ในประเทศไทยยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และแม้ว่าไทยจะ สามารถผลิตยาเลียนแบบยาฆ่าไวรัส แต่ผู้ติดเชื้อฯ ในไทยไม่สามารถซื้อยาได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องสิทธิ บัตรยาและราคายาที่สูง จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศติดตามความคืบหน้าและมีบทบาทในการผลักดันให้มีการผ่อนปรนในเรื่องสิทธิบัตรยาและการต่อสู้เรื่องราคายาต่อไป
7. ปัญหาการค้าประเวณีไทย ปัญหาชนกลุ่มน้อย และสิทธิสตรี : กรณีปัญหาหญิงไทย ค้าบริการยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เนื่องจากหลายฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องที่เดินทางไปค้าบริการกันเอง แต่แท้จริงถือเป็นเหยื่อที่ถูกล่อลวง รวมทั้งควรมีการกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยที่ถูกล่อลวงไปค้าประเวณีด้วย ซึ่งหากมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมก็จะส่งผลให้ภาพพจน์ไทยในสายตาชาวต่างชาติ ดีขึ้น นอกจากนี้ ควรผลักดันให้ไทยมีการยอมรับในเรื่องสิทธิสตรีมากขึ้น โดยขอให้กระทรวงการต่างประเทศติดตามข่าวสาร/ความเคลื่อนไหวในต่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินการของเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากพิธีสาร (Protocol) ฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในการปกป้องคุ้มครองหญิงไทย
8. ควรดำเนินมาตรการเอาผิดอย่างจริงจังกับกลุ่มบุคคลที่นำหญิงไทยไปค้าบริการใน ต่างประเทศโดยการปลอมแปลงข้อมูลส่วนบุคคลในเอกสารเพื่อใช้ยื่นขอทำหนังสือเดินทาง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดการประชุมเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่ทั่วโลก ขึ้น ระหว่างวันที่ 28-31 พฤษภาคม 2544 ณ อาคารวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ นั้น
ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นประธาน การประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาคประชาชน ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม 2544 โดยมี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักวิชาการ สื่อมวลชน และผู้แทนจากองค์กรเอกชน เข้าร่วม อภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่ ด้วย ดังสรุปสาระสำคัญของข้อเสนอ ของภาคประชาชนในประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้
1. ข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ
- เป็นศูนย์เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้รับจากต่างประเทศให้กับประชาชน เพื่อเป็น การเพิ่มพูนความรู้ รวมทั้ง ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการที่ต่างประเทศใช้ เพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้
- ให้ความคุ้มครองและพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศโดยต้องมี การประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ในการให้ความช่วยเหลือ แก่คนไทยที่ไปตกทุกข์ได้ยากในต่างประเทศให้ประชาชนได้รับทราบ
2. ข้อเสนอเกี่ยวกับคุณสมบัติและบทบาทของนักการทูต : นักการทูตต้องลงมาสัมผัสกับ ปัญหา ทำงานเชิงรุกโดยลงในพื้นที่โดยตรง ต้องหาข่าวสารข้อมูลในเชิงลึกและต้องมีคุณสมบัติเป็นนักข่าวกรองด้วย มีการติดตามผล/ความคืบหน้าของการประชุมต่างๆ ที่ภาคประชาชนได้ไปประชุม และต้องมี ความจริงใจในการให้บริการกับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
3. ขอให้เน้นการประสานงานระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับภาคประชาชนให้มากขึ้น นอกเหนือจากความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน โดยให้มีการแลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสาร และความ คิดเห็นเพื่อเป็นทางเลือกและนำความคิดและข้อมูลที่หลากหลายมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการทำงาน ของกระทรวงการต่างประเทศต่อไป
4. การส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรคำนึงถึงนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพด้วยและควร หามาตรการป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยต้องโทษในประเทศไทยสามารถเดินทางกลับเข้าประเทศได้อีก รวมทั้งควรพิจารณาแลกเปลี่ยนข้อมูลกับต่างประเทศในเรื่อง blacklist ด้วย
5. ด้านแรงงาน ควรสนับสนุนการส่งออกแรงงานที่มีฝีมือ โดยรัฐบาลควรเน้นการพัฒนา ฝีมือแรงงานเพื่อยกระดับแรงงานของไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้โดยขอให้กระทรวงการต่างประเทศช่วยหาตลาดต่างประเทศที่ต้องการแรงงานไทย
6. ปัญหาเรื่องโรคเอดส์ในประเทศไทยยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และแม้ว่าไทยจะ สามารถผลิตยาเลียนแบบยาฆ่าไวรัส แต่ผู้ติดเชื้อฯ ในไทยไม่สามารถซื้อยาได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องสิทธิ บัตรยาและราคายาที่สูง จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศติดตามความคืบหน้าและมีบทบาทในการผลักดันให้มีการผ่อนปรนในเรื่องสิทธิบัตรยาและการต่อสู้เรื่องราคายาต่อไป
7. ปัญหาการค้าประเวณีไทย ปัญหาชนกลุ่มน้อย และสิทธิสตรี : กรณีปัญหาหญิงไทย ค้าบริการยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เนื่องจากหลายฝ่ายมองว่าเป็นเรื่องที่เดินทางไปค้าบริการกันเอง แต่แท้จริงถือเป็นเหยื่อที่ถูกล่อลวง รวมทั้งควรมีการกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาชนกลุ่มน้อยที่ถูกล่อลวงไปค้าประเวณีด้วย ซึ่งหากมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมก็จะส่งผลให้ภาพพจน์ไทยในสายตาชาวต่างชาติ ดีขึ้น นอกจากนี้ ควรผลักดันให้ไทยมีการยอมรับในเรื่องสิทธิสตรีมากขึ้น โดยขอให้กระทรวงการต่างประเทศติดตามข่าวสาร/ความเคลื่อนไหวในต่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินการของเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากพิธีสาร (Protocol) ฉบับใหม่ที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในการปกป้องคุ้มครองหญิงไทย
8. ควรดำเนินมาตรการเอาผิดอย่างจริงจังกับกลุ่มบุคคลที่นำหญิงไทยไปค้าบริการใน ต่างประเทศโดยการปลอมแปลงข้อมูลส่วนบุคคลในเอกสารเพื่อใช้ยื่นขอทำหนังสือเดินทาง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-