ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อลดภาษีขาเข้าภายใต้กรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การดำเนินการในปี 2544
ประเทศไทยมีรายการสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนในระบบฮาร์โมไนซ์ระดับ 9 หลัก จำนวน 9,111 รายการ แบ่งเป็นรายการสินค้าลดภาษี (Inclusion List : IL) จำนวน 9,104
รายการ และรายการสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List : SL) จำนวน 7 รายการ
ประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว เป็นการลดภาษีสินค้าใน IL ลงเหลือร้อยละ 0 - 5 เพิ่มขึ้นจำนวน 435 รายการ เพื่อปฏิบัติตามมาตรการเร่งรัดการลงทุน (Bold Measures) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมทั้ง 6 ประเทศ (ASEAN-6) ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงค์โปร์ และไทย ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ให้ครอบคลุมร้อยละ 90 ของรายการสินค้าใน IL ซึ่งจะทำให้รายการสินค้าใน IL ที่มีอัตราอากรร้อยละ 0 - 5 คิดเป็นจำนวน 8,193 รายการ โดยกลุ่มสินค้าที่ปรับลดภาษีเพิ่มเติมจำนวน 435 รายการเพิ่มเติมในคราวนี้ ประกอบด้วยกลุ่มสินค้า เช่น สัตว์น้ำ เคมีภัณฑ์ เหล็ก และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
การดำเนินการต่อไป
กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาที่จะสนับสนุนและผลักดันนโยบายการค้าเสรีของเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยในปี 2545 จะนำรายการสินค้ามาลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 - 5 เพิ่มเติมอีกจำนวน 439 รายการ เพื่อให้ครอบคลุมร้อยละ 95 ของจำนวนรายการ โดยประกอบด้วยสินค้าในกลุ่ม เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น และผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ทั้งนี้
สินค้าที่เหลืออีก 472 รายการซึ่งประกอบด้วยสินค้าในกลุ่ม น้ำมันพืช พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก ไม้อัด กระดาษ รถยนต์สำเร็จรูป จะนำมาลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ในปี 2546
นอกจากนี้ ในปี 2546 ประเทศไทยจะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ให้ได้ร้อยละ 60 ของรายการสินค้าใน IL หรือคิดเป็นจำนวน 5,463 รายการ ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยมีรายการที่มีภาษีเป็นร้อยละ 0 อยู่จำนวน 171 รายการ ดังนั้น จะต้องนำรายการมาลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 เพิ่มเติมในปี 2546 อีกจำนวน 5,292 รายการ ซึ่งในการพิจารณารายการ กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนและผลักดันนโยบายการค้าเสรีของเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดเลือกรายการตามข้อผูกพันดังกล่าว และใน
ปีเดียวกันนี้ ไทยมีกำหนดที่จะต้องเริ่มโอนรายการสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหว หรือ SL ซึ่งไทยมีอยู่จำนวน 7 รายการ ได้แก่ ไม้ตัดดอก กาแฟ มันฝรั่ง และมะพร้าวแห้ง มาเริ่มลดภาษีด้วย
สำหรับปีสุดท้ายที่ ASEAN-6 รวมถึงประเทศไทย จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ทั้งหมด คือ ปี 2553 ส่วนประเทศสมาชิกใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีกำหนดที่จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2558 โดยยังให้มีการสงวนสินค้าไว้บางรายการได้ ทั้งนี้ ไม่เกินปี 2561
การเตรียมความพร้อมให้ภาคเอกชน
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ไปเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT Outreach Programme) ซึ่งจัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ร่วมกับ ASEAN - Japan Centre และ ASEAN Secretariat โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ 250 คน ทั้งนี้ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมให้ภาคเอกชนในด้านของการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ
ในส่วนของการจัดทำแผนการลดภาษี กระทรวงการคลังได้เชิญภาคเอกชนได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มาร่วมจัดเตรียมแผนการลดภาษีร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ภาคเอกชนได้มีส่วนเสนอความคิดเห็นและรับรู้ถึงรายการที่จะต้องลดภาษี นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่แผนการลดภาษีตลอดจนวิธีการใช้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีดังกล่าวให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนทราบอย่างต่อเนื่อง
ผลจากการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
AFTA ได้ดำเนินการคืบหน้า และกำลังมุ่งสู่การเป็นเขตการค้าเสรีซึ่งจะไม่มีการเก็บภาษีขาเข้าระหว่างกัน หากทุกประเทศปฏิบัติตามพันธกรณีจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อ ทั้งประเทศสมาชิกและภูมิภาคอาเซียน ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิก และเพิ่มอำนาจต่อรองของอาเซียนในเวทีเจรจาระหว่างประเทศด้วย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 48/2544 30 กรกฎาคม 2544--
-อน-
การดำเนินการในปี 2544
ประเทศไทยมีรายการสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนในระบบฮาร์โมไนซ์ระดับ 9 หลัก จำนวน 9,111 รายการ แบ่งเป็นรายการสินค้าลดภาษี (Inclusion List : IL) จำนวน 9,104
รายการ และรายการสินค้าอ่อนไหว (Sensitive List : SL) จำนวน 7 รายการ
ประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว เป็นการลดภาษีสินค้าใน IL ลงเหลือร้อยละ 0 - 5 เพิ่มขึ้นจำนวน 435 รายการ เพื่อปฏิบัติตามมาตรการเร่งรัดการลงทุน (Bold Measures) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมทั้ง 6 ประเทศ (ASEAN-6) ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงค์โปร์ และไทย ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ให้ครอบคลุมร้อยละ 90 ของรายการสินค้าใน IL ซึ่งจะทำให้รายการสินค้าใน IL ที่มีอัตราอากรร้อยละ 0 - 5 คิดเป็นจำนวน 8,193 รายการ โดยกลุ่มสินค้าที่ปรับลดภาษีเพิ่มเติมจำนวน 435 รายการเพิ่มเติมในคราวนี้ ประกอบด้วยกลุ่มสินค้า เช่น สัตว์น้ำ เคมีภัณฑ์ เหล็ก และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
การดำเนินการต่อไป
กระทรวงการคลังจะดำเนินการตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาที่จะสนับสนุนและผลักดันนโยบายการค้าเสรีของเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยในปี 2545 จะนำรายการสินค้ามาลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 - 5 เพิ่มเติมอีกจำนวน 439 รายการ เพื่อให้ครอบคลุมร้อยละ 95 ของจำนวนรายการ โดยประกอบด้วยสินค้าในกลุ่ม เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น และผลิตภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ทั้งนี้
สินค้าที่เหลืออีก 472 รายการซึ่งประกอบด้วยสินค้าในกลุ่ม น้ำมันพืช พลาสติกและของที่ทำด้วยพลาสติก ไม้อัด กระดาษ รถยนต์สำเร็จรูป จะนำมาลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ในปี 2546
นอกจากนี้ ในปี 2546 ประเทศไทยจะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ให้ได้ร้อยละ 60 ของรายการสินค้าใน IL หรือคิดเป็นจำนวน 5,463 รายการ ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยมีรายการที่มีภาษีเป็นร้อยละ 0 อยู่จำนวน 171 รายการ ดังนั้น จะต้องนำรายการมาลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 เพิ่มเติมในปี 2546 อีกจำนวน 5,292 รายการ ซึ่งในการพิจารณารายการ กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนและผลักดันนโยบายการค้าเสรีของเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดเลือกรายการตามข้อผูกพันดังกล่าว และใน
ปีเดียวกันนี้ ไทยมีกำหนดที่จะต้องเริ่มโอนรายการสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหว หรือ SL ซึ่งไทยมีอยู่จำนวน 7 รายการ ได้แก่ ไม้ตัดดอก กาแฟ มันฝรั่ง และมะพร้าวแห้ง มาเริ่มลดภาษีด้วย
สำหรับปีสุดท้ายที่ ASEAN-6 รวมถึงประเทศไทย จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ทั้งหมด คือ ปี 2553 ส่วนประเทศสมาชิกใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีกำหนดที่จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2558 โดยยังให้มีการสงวนสินค้าไว้บางรายการได้ ทั้งนี้ ไม่เกินปี 2561
การเตรียมความพร้อมให้ภาคเอกชน
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ไปเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT Outreach Programme) ซึ่งจัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ร่วมกับ ASEAN - Japan Centre และ ASEAN Secretariat โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ 250 คน ทั้งนี้ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมความพร้อมให้ภาคเอกชนในด้านของการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ
ในส่วนของการจัดทำแผนการลดภาษี กระทรวงการคลังได้เชิญภาคเอกชนได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มาร่วมจัดเตรียมแผนการลดภาษีร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ภาคเอกชนได้มีส่วนเสนอความคิดเห็นและรับรู้ถึงรายการที่จะต้องลดภาษี นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่แผนการลดภาษีตลอดจนวิธีการใช้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีดังกล่าวให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนทราบอย่างต่อเนื่อง
ผลจากการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
AFTA ได้ดำเนินการคืบหน้า และกำลังมุ่งสู่การเป็นเขตการค้าเสรีซึ่งจะไม่มีการเก็บภาษีขาเข้าระหว่างกัน หากทุกประเทศปฏิบัติตามพันธกรณีจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อ ทั้งประเทศสมาชิกและภูมิภาคอาเซียน ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิก และเพิ่มอำนาจต่อรองของอาเซียนในเวทีเจรจาระหว่างประเทศด้วย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 48/2544 30 กรกฎาคม 2544--
-อน-