ข้อมูลประกอบการบรรยาย เรื่อง นโยบายการเปิดเสรีทางการค้า โดย อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ วันอังคารที่ 16 มกราคม 2544
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร การเปิดเสรีในกรอบขององค์การการค้าโลก ประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การการค้าโลกมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม ข้อผูกพัน ที่สำคัญมีดังนี้ การเปิดตลาด
สินค้าเกษตร (ไม่รวมสินค้าประมง) ลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจำนวน 738
รายการ ลงเฉลี่ยร้อยละ 24 ภายในปี 2547 รวมทั้งขยายโควตาภาษีสินค้าเกษตร 23 รายการ ให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อปี จนถึงปี 2547 และลดการอุดหนุนการผลิตสินค้าเกษตรภายในประเทศ ซึ่งไทยได้ผูกพันที่จะลดวงเงินอุดหนุนจาก 21.8 พันล้านบาท เหลือ 19.0 พันล้านบาท ภายในปี 2547 ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วเหล่านี้มีพันธกรณีที่จะต้องลดการอุดหนุนภายในลงร้อยละ 20 ลดการอุดหนุนปริมาณการส่งออกลงร้อยละ 21 และลดเงินอุดหนุนส่งออกลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม (รวมสินค้าประมง) จำนวน 3,150 รายการ ลงโดย
เฉลี่ยร้อยละ 28 ภายในปี 2542 รวมทั้งผูกพันอัตราภาษีที่ได้ลดแล้ว อย่างไรก็ดี อัตราภาษีที่ผูกพันไว้ส่วนใหญ่จะสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจริง จึงมีเพียง 854 รายการเท่านั้นที่ต้องปรับลดภาษีลงให้สอดคล้องกับที่ผูกพันไว้ ดังนั้น การลดภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรมของไทยส่วนใหญ่ไม่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ
ภายใต้ความตกลงสิ่งทอ ประเทศผู้นำเข้าจะต้องยกเลิกโควตาและเปิดเสรีสิ่งทอ
ภายใน 10 ปี (ปี 2538-2547) ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ในการขยายการส่งออกสิ่งทอไปยังประเทศต่างๆ ได้โดยเสรีในปี 2548
ลดภาษีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Agreement : ITA-I) จำนวน 157 รายการ ลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2543 เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข แผงทรานซิสเตอร์ เครื่องมือในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และจะลดภาษีอีก 37 รายการ ภายในปี 2548 เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว เครื่องแฟกซ์ เครื่องรับโทรศัพท์ แผงวงจรพิมพ์ และเคเบิลใยแก้ว ฯลฯ
ด้านกฎระเบียบต่าง ๆ
การอุดหนุนและตอบโต้การอุดหนุน ไทยจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับความ
ตกลง ไม่สามารถใช้มาตรการเหล่านี้ได้ตามอำเภอใจ จะต้องมีการไต่สวนและพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งจะต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ด้านสุขอนามัย สุขอนามัยพืชและมาตรฐานสินค้านำเข้า การกำหนกฎระเบียบ
จะต้องให้การปฏิบัติกับสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าเท่าเทียมกัน และจะต้องไม่กำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดไปกว่าวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพ ชีวิตมนุษย์ พืช และสัตว์
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร การเปิดเสรีในกรอบขององค์การการค้าโลก ประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การการค้าโลกมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม ข้อผูกพัน ที่สำคัญมีดังนี้ การเปิดตลาด
สินค้าเกษตร (ไม่รวมสินค้าประมง) ลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจำนวน 738
รายการ ลงเฉลี่ยร้อยละ 24 ภายในปี 2547 รวมทั้งขยายโควตาภาษีสินค้าเกษตร 23 รายการ ให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อปี จนถึงปี 2547 และลดการอุดหนุนการผลิตสินค้าเกษตรภายในประเทศ ซึ่งไทยได้ผูกพันที่จะลดวงเงินอุดหนุนจาก 21.8 พันล้านบาท เหลือ 19.0 พันล้านบาท ภายในปี 2547 ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วเหล่านี้มีพันธกรณีที่จะต้องลดการอุดหนุนภายในลงร้อยละ 20 ลดการอุดหนุนปริมาณการส่งออกลงร้อยละ 21 และลดเงินอุดหนุนส่งออกลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม (รวมสินค้าประมง) จำนวน 3,150 รายการ ลงโดย
เฉลี่ยร้อยละ 28 ภายในปี 2542 รวมทั้งผูกพันอัตราภาษีที่ได้ลดแล้ว อย่างไรก็ดี อัตราภาษีที่ผูกพันไว้ส่วนใหญ่จะสูงกว่าอัตราภาษีที่เก็บจริง จึงมีเพียง 854 รายการเท่านั้นที่ต้องปรับลดภาษีลงให้สอดคล้องกับที่ผูกพันไว้ ดังนั้น การลดภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรมของไทยส่วนใหญ่ไม่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ
ภายใต้ความตกลงสิ่งทอ ประเทศผู้นำเข้าจะต้องยกเลิกโควตาและเปิดเสรีสิ่งทอ
ภายใน 10 ปี (ปี 2538-2547) ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์ในการขยายการส่งออกสิ่งทอไปยังประเทศต่างๆ ได้โดยเสรีในปี 2548
ลดภาษีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Agreement : ITA-I) จำนวน 157 รายการ ลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2543 เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข แผงทรานซิสเตอร์ เครื่องมือในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ และจะลดภาษีอีก 37 รายการ ภายในปี 2548 เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว เครื่องแฟกซ์ เครื่องรับโทรศัพท์ แผงวงจรพิมพ์ และเคเบิลใยแก้ว ฯลฯ
ด้านกฎระเบียบต่าง ๆ
การอุดหนุนและตอบโต้การอุดหนุน ไทยจะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับความ
ตกลง ไม่สามารถใช้มาตรการเหล่านี้ได้ตามอำเภอใจ จะต้องมีการไต่สวนและพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งจะต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ด้านสุขอนามัย สุขอนามัยพืชและมาตรฐานสินค้านำเข้า การกำหนกฎระเบียบ
จะต้องให้การปฏิบัติกับสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้านำเข้าเท่าเทียมกัน และจะต้องไม่กำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดไปกว่าวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพ ชีวิตมนุษย์ พืช และสัตว์
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-