ข่าวในประเทศ
1. ก.คลังมีนโยบายจะยกเลิกการค้ำประกันพันธบัตรงวดใหม่ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รายงานข่าวจาก ก.คลังว่า ก.คลังจะเสนอแนวทางการบริหารหนี้สาธารณะและการชำระหนี้คืนต่างประเทศใหม่ ด้วยการผสมผสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเข้าด้วยกัน โดยจะทำความเข้าใจกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อร่วมมือบริหารหนี้ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งในส่วนหนี้ของรัฐบาลที่เกิดจากการชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินนั้น ก.คลังมีนโยบายจะยกเลิกการค้ำประกัน พธบ. งวดใหม่ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เนื่องจากรัฐบาลต้องตั้ง งปม. เพื่อชำระดอกเบี้ยถึงปีละ 3 หมื่น ล.บาท ซึ่งในปัจจุบันกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีรายได้พอควรที่สามารถบริหารตัวเองได้ ดังนั้นจึงควรรับภาระหนี้ที่ที่เกิดจากการช่วยเหลือ ธพ. เอง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไม่มีภาระผูกพันถึงภาระหนี้ในอนาคต (ไทยโพสต์ 11)
2. สศช.เปิดเผยว่าอาจปรับลดตัวเลขจีดีพีปี 44 เนื่องจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลก เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.อาจปรับลดตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของปี 2544 ใหม่ จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 3.5-4 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้อัตราการขยายตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูตัวเลขในไตรมาสที่ 1 ก่อน เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ชัดเจน และมีความเห็นว่ารัฐบาลอาจต้องออกมาตรการระยะสั้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเสริมจากมาตรการระยะยาวที่ออกมาแล้วที่จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าจะเห็นผล (ไทยโพสต์ 11)
3. มูดี้ส์ปรับเปลี่ยนรายละเอียดการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ ธพ. ไทยใหม่ บริษัทมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศปรับเปลี่ยนรายละเอียดการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร (Bank Financial Strength Rating : BFSRs) สำหรับ ธพ. ไทย 11 แห่งใหม่ โดยเพิ่มลำดับการจัดอันดับความเสี่ยงจาก 9 ขั้นเป็น 13 ขั้น โดยเพิ่มอันดับ A-, B-, C- และ D- เพื่อเพิ่มความแตกต่างของความแข็งแกร่งทางการเงินของมาตรฐานสถาบันการเงินทั่วโลก โดยได้จัดอันดับให้ ธ.ไทยพาณิชย์อยู่ในระดับ D- ธ.กรุงเทพ ธ.เอเชีย ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน และ ธ.กสิกรไทยอยู่ในระดับ D ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยระดับ E ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กรุงไทย ธ.ทหารไทย และ ธ.อาคารสงเคราะห์ระดับ E+ (ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ 11)4. นักวิชาการกล่าวถึงปัจจัยสำคัญในการบริหารทีเอเอ็มซีอย่างมีประสิทธิภาพ นายอัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(ทีเอเอ็มซี)จะสามารถทำให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ 1)แนวทางบริหารจะต้องไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง 2)ต้องไม่มีอคติในการแก้ไขปัญหา และ 3)อำนาจของทีเอเอ็มซีจะต้องให้ความยุติธรรมทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ และมีการใช้อำนาจอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือ การเร่งปรับงบดุลของสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถรองรับการปล่อยสินเชื่อที่เน้นกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น (ข่าวสด 11)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 หลังจาก ธ.กลางอังกฤษลดดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 5.25 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 10 พ.ค.44 ธ.กลางยุโรป (ECB)ได้สร้างความประหลาดใจให้แก่ตลาดเงินด้วยการปรับลด minimum bid rate ลงเหลือร้อยละ 4.50 จากเดิมร้อยละ 4.75 หลังจากปรากฎแน่ชัดว่าปริมาณเงิน (money supply) ชะลอตัวลงมากกว่าความคาดหมาย ขณะที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดระบุว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ การตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยฯดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลัง ธ.กลางอังกฤษประกาศลดอัตราดอกเบี้ย repo rate ลงเหลือร้อยละ 5.25 เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ประธาน ECB (Wim Duisenberg) คาดว่า ในช่วง 1 ปีครึ่ง - 2 ปี อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรจะกลับมาต่ำกว่าร้อยละ 2 อีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นการดำเนินการให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับเหมาะสมเพื่อสร้างสร้างความมั่นใจว่า ประเทศในเขตยูโรจะสามารถรักษาเสถียรภาพของระดับราคาและส่งผลให้การเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง…………(รอยเตอร์ 10)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์ รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 10 พ.ค. 44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค. 44 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. อัตราคงที่ระยะ 30 ปี ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 7.10 จากร้อยละ 7.14 และดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 15 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.61 จากร้อยละ 6.66 ในสัปดาห์ก่อน นับเป็นอัตราดอกเบี้ยฯที่ลดลงต่ำสุดทั้ง 2 ประเภท ตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 เม.ย. 44 ที่มีอัตราร้อยละ 7.04 และ 6.55 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับได้ระยะ 1 ปี (ARM) ก็ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.90 จากร้อยละ 6 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งไม่เคยลดลงนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 มิ.ย. 42 ที่มีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.85 Marsha Courchane นักเศรษฐศาสตร์ของ Feddie Mac กล่าวว่า การที่ตลาดแรงงานของ สรอ. อ่อนแออย่างไม่คาดคิด รวมทั้งอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเกื้อหนุนต่อการคาดการณ์ว่า ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15 พ.ค. นี้ และได้ส่งผลกดดันให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองลดลงในสัปดาห์ดังกล่าว (รอยเตอร์ 10)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลง 4.1 หมื่นคนในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 พ.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 10 พ.ค. 44 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 พ.ค. 44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงอยู่ที่จำนวน 3.84 แสนคน จากตัวเลขที่ปรับแล้ว จำนวน 4.25 แสนคนใน สัปดาห์ก่อน ซึ่งลดลงอย่างมากอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบมากว่า 1 เดือน และต่ำที่สุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.44(รอยเตอร์ 10)
4. เยอรมนีเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 10 พ.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า เยอรมนีเกินดุลการค้ามีมูลค่า 17.2 พัน ล. มาร์กในเดือน มี.ค. 44 เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 12.6 พัน ล. มาร์กในเดือน ก.พ. 44 และ 11.5 พัน ล. มาร์ก ในเดือน มี.ค. 43 นักวิเคราะห์ชี้ว่า อัตราการส่งออกในเดือน มี.ค. ยังคงแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เทียบปีต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ในเดือน ก.พ. ขณะเดียวกัน การนำเข้าลดลงอย่างมาก โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 หลังจากเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.2 ในเดือน ก.พ. ซึ่งการนำเข้าที่ลดลงอย่างรุนแรงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ (รอยเตอร์10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 10 พ.ค. 44 45.514 (45.562)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 10 พ.ค. 44ซื้อ 45.3371 (45.3850) ขาย 45.6461 (45.6934)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.31 (24.97)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังมีนโยบายจะยกเลิกการค้ำประกันพันธบัตรงวดใหม่ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ รายงานข่าวจาก ก.คลังว่า ก.คลังจะเสนอแนวทางการบริหารหนี้สาธารณะและการชำระหนี้คืนต่างประเทศใหม่ ด้วยการผสมผสานนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเข้าด้วยกัน โดยจะทำความเข้าใจกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อร่วมมือบริหารหนี้ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งในส่วนหนี้ของรัฐบาลที่เกิดจากการชดเชยความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินนั้น ก.คลังมีนโยบายจะยกเลิกการค้ำประกัน พธบ. งวดใหม่ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เนื่องจากรัฐบาลต้องตั้ง งปม. เพื่อชำระดอกเบี้ยถึงปีละ 3 หมื่น ล.บาท ซึ่งในปัจจุบันกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มีรายได้พอควรที่สามารถบริหารตัวเองได้ ดังนั้นจึงควรรับภาระหนี้ที่ที่เกิดจากการช่วยเหลือ ธพ. เอง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไม่มีภาระผูกพันถึงภาระหนี้ในอนาคต (ไทยโพสต์ 11)
2. สศช.เปิดเผยว่าอาจปรับลดตัวเลขจีดีพีปี 44 เนื่องจากผลกระทบของเศรษฐกิจโลก เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.อาจปรับลดตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของปี 2544 ใหม่ จากเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 3.5-4 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทำให้อัตราการขยายตัวลดลง แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูตัวเลขในไตรมาสที่ 1 ก่อน เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ชัดเจน และมีความเห็นว่ารัฐบาลอาจต้องออกมาตรการระยะสั้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเสริมจากมาตรการระยะยาวที่ออกมาแล้วที่จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าจะเห็นผล (ไทยโพสต์ 11)
3. มูดี้ส์ปรับเปลี่ยนรายละเอียดการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ ธพ. ไทยใหม่ บริษัทมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศปรับเปลี่ยนรายละเอียดการจัดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร (Bank Financial Strength Rating : BFSRs) สำหรับ ธพ. ไทย 11 แห่งใหม่ โดยเพิ่มลำดับการจัดอันดับความเสี่ยงจาก 9 ขั้นเป็น 13 ขั้น โดยเพิ่มอันดับ A-, B-, C- และ D- เพื่อเพิ่มความแตกต่างของความแข็งแกร่งทางการเงินของมาตรฐานสถาบันการเงินทั่วโลก โดยได้จัดอันดับให้ ธ.ไทยพาณิชย์อยู่ในระดับ D- ธ.กรุงเทพ ธ.เอเชีย ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน และ ธ.กสิกรไทยอยู่ในระดับ D ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยระดับ E ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กรุงไทย ธ.ทหารไทย และ ธ.อาคารสงเคราะห์ระดับ E+ (ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ 11)4. นักวิชาการกล่าวถึงปัจจัยสำคัญในการบริหารทีเอเอ็มซีอย่างมีประสิทธิภาพ นายอัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(ทีเอเอ็มซี)จะสามารถทำให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ 1)แนวทางบริหารจะต้องไม่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง 2)ต้องไม่มีอคติในการแก้ไขปัญหา และ 3)อำนาจของทีเอเอ็มซีจะต้องให้ความยุติธรรมทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ และมีการใช้อำนาจอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญคือ การเร่งปรับงบดุลของสถาบันการเงิน เพื่อให้สามารถรองรับการปล่อยสินเชื่อที่เน้นกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น (ข่าวสด 11)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 หลังจาก ธ.กลางอังกฤษลดดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 5.25 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 10 พ.ค.44 ธ.กลางยุโรป (ECB)ได้สร้างความประหลาดใจให้แก่ตลาดเงินด้วยการปรับลด minimum bid rate ลงเหลือร้อยละ 4.50 จากเดิมร้อยละ 4.75 หลังจากปรากฎแน่ชัดว่าปริมาณเงิน (money supply) ชะลอตัวลงมากกว่าความคาดหมาย ขณะที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจล่าสุดระบุว่าแรงกดดันจากเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ การตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยฯดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลัง ธ.กลางอังกฤษประกาศลดอัตราดอกเบี้ย repo rate ลงเหลือร้อยละ 5.25 เมื่อวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ประธาน ECB (Wim Duisenberg) คาดว่า ในช่วง 1 ปีครึ่ง - 2 ปี อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรจะกลับมาต่ำกว่าร้อยละ 2 อีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นการดำเนินการให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับเหมาะสมเพื่อสร้างสร้างความมั่นใจว่า ประเทศในเขตยูโรจะสามารถรักษาเสถียรภาพของระดับราคาและส่งผลให้การเศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง…………(รอยเตอร์ 10)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์ รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 10 พ.ค. 44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 พ.ค. 44 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. อัตราคงที่ระยะ 30 ปี ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 7.10 จากร้อยละ 7.14 และดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 15 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 6.61 จากร้อยละ 6.66 ในสัปดาห์ก่อน นับเป็นอัตราดอกเบี้ยฯที่ลดลงต่ำสุดทั้ง 2 ประเภท ตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 13 เม.ย. 44 ที่มีอัตราร้อยละ 7.04 และ 6.55 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ปรับได้ระยะ 1 ปี (ARM) ก็ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 5.90 จากร้อยละ 6 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งไม่เคยลดลงนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 มิ.ย. 42 ที่มีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.85 Marsha Courchane นักเศรษฐศาสตร์ของ Feddie Mac กล่าวว่า การที่ตลาดแรงงานของ สรอ. อ่อนแออย่างไม่คาดคิด รวมทั้งอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ยิ่งเกื้อหนุนต่อการคาดการณ์ว่า ธ. กลาง สรอ. จะลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 15 พ.ค. นี้ และได้ส่งผลกดดันให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองลดลงในสัปดาห์ดังกล่าว (รอยเตอร์ 10)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ลดลง 4.1 หมื่นคนในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 พ.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 10 พ.ค. 44 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 5 พ.ค. 44 ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดลงอยู่ที่จำนวน 3.84 แสนคน จากตัวเลขที่ปรับแล้ว จำนวน 4.25 แสนคนใน สัปดาห์ก่อน ซึ่งลดลงอย่างมากอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในรอบมากว่า 1 เดือน และต่ำที่สุดตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.44(รอยเตอร์ 10)
4. เยอรมนีเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 10 พ.ค. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า เยอรมนีเกินดุลการค้ามีมูลค่า 17.2 พัน ล. มาร์กในเดือน มี.ค. 44 เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 12.6 พัน ล. มาร์กในเดือน ก.พ. 44 และ 11.5 พัน ล. มาร์ก ในเดือน มี.ค. 43 นักวิเคราะห์ชี้ว่า อัตราการส่งออกในเดือน มี.ค. ยังคงแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เทียบปีต่อปี หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ในเดือน ก.พ. ขณะเดียวกัน การนำเข้าลดลงอย่างมาก โดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 หลังจากเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.2 ในเดือน ก.พ. ซึ่งการนำเข้าที่ลดลงอย่างรุนแรงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ (รอยเตอร์10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 10 พ.ค. 44 45.514 (45.562)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 10 พ.ค. 44ซื้อ 45.3371 (45.3850) ขาย 45.6461 (45.6934)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.31 (24.97)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-