ส่วนที่ 1 บทสรุปผู้บริหาร
อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศช่วงครึ่งแรกของปีคิดเป็นร้อยละ 5.9 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงพอประมาณ เมื่อพิจารณาแนวโน้มของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.0 ตามประมาณการของคณะกรรมการนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างการขยายตัวด้านอุปทานและ อุปสงค์ยังคงมีอยู่มาก โดยในครึ่งแรกของปีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทางด้าน อุปสงค์เท่ากับร้อยละ 7.5 รวมการสะสมสต๊อกที่คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแล้ว
การส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ การที่สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมทำให้การขยายตัวของการผลิตภาค อุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ แนวโน้มการ ส่งออกสุทธิที่ชะลอลงได้เพิ่มความสำคัญต่อการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มไม่เร่งตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านเสถียรภาพยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานยังคงอยู่ในเป้าหมายของกรรมการนโยบาย การเงินเพราะยังไม่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการ เพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในหมวด ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้น ดุลการชำระเงินยังคงเกินดุลแม้ว่ามีการชำระหนี้ของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจนถึงปลายปีที่สำคัญมี (1) การกระตุ้นการบริโภคภาค เอกชน เนื่องจากรัฐบาลต้องบริหารหนี้สินภาครัฐอย่างระมัดระวังทำให้การกระตุ้นจากภาครัฐมีจำกัด นอกจากนี้ การว่างงานและการปรับลดการจ้างงานในหลายสาขา ก่อให้ความมั่นใจของผู้บริโภคไม่มีการปรับตัวที่ดีขึ้น (2) ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อเพิ่ม สูงขึ้น ยังไม่มีผลโดยตรงต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน แต่ อาจจะส่งผลกระทบทางอ้อมในภายหลัง (3) ภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเพิ่มชะลอลงซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ และ (4) ความคืบหน้าของการปฏิรูประบบสถาบันการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน
การผลิตและการใช้จ่ายภายในประเทศ
การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาสที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 หดตัวร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน (ถ้าไม่รวมผลผลิตสุราดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.8 ในช่วง เดียวกัน) ในช่วง 9 เดือนแรก ดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ไม่รวมผลผลิตสุรา) อุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ดีเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ การส่งออกเป็นสำคัญ เนื่องจากความต้องการต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องประดับและเครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนในไตรมาส 3 อุตสาหกรรม รถยนต์ มีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทำให้ยอดจำหน่าย ภายในประเทศลดลง อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยใน ไตรมาส 3 เท่ากับร้อยละ 55.7 อย่างไรก็ตาม หลายอุตสาหกรรมก็ได้เริ่มใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ทำให้สามารถขยายกำลังการผลิตและมีการลงทุนเพิ่มได้ อาทิ แผงวงจรไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เครื่องชี้การบริโภคส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวอยู่ ในเกณฑ์สูงในช่วง 9 เดือนแรก แต่ในไตรมาสที่ 3 อัตราการขยายตัวของเครื่องชี้มีทิศทางชะลอลง โดยเฉพาะ ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง และยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ที่ขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.6 และ 24.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัวในอัตราร้อยละ 36.2 และ 44.4 ตามลำดับ เป็นผลของความไม่มั่นใจของ ผู้บริโภคกับการเพิ่มของราคาน้ำมัน
เครื่องชี้การลงทุนมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลง เครื่องชี้การลงทุนที่ปรับเป็นหดตัวหลังจากที่เริ่ม มีการขยายตัวในช่วงครึ่งแรกของปี คือยอดจำหน่าย ปูนซีเมนต์ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวม อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ยังมีการขยายตัวในระดับสูง สะท้อนถึงความต้องการขยายหรือปรับปรุงประสิทธิภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดี เช่น อุตสาหกรรมเพื่อการ ส่งออก บทบาทของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังคงมีอยู่ ดุลเงินสดในไตรมาสที่ 3 ยังคงขาดดุล 18.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ทั้งปีงบประมาณขาดดุล 110.3 พันล้านบาทใกล้เคียงกับเป้าหมาย โดยมีอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 88 ทั้งนี้ การใช้จ่ายใน ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ขณะที่รายได้ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน การค้าต่างประเทศและฐานะการเงินระหว่างประเทศ
การส่งออกขยายตัวในอัตราที่สูง ประเภทสินค้าที่ยังส่งออกได้ดียังคงเป็นประเภทแผงวงจรไฟฟ้า และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะฉะนั้นแนวโน้มการส่งออกจึงมีความสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ เหล่านี้ การนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ทำให้ปัจจัยบวกที่ได้จากการส่งออกลดลง การสูงขึ้นของการนำเข้า ส่วนหนึ่งเป็นผลทางด้านราคานำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่เดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3 ดุลการค้าและดุลการบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนกันยายนอยู่ในระดับ 32.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าการนำเข้า 6.5 เดือน สำหรับหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนยังคงลดลงตามการชำระหนี้ภาคเอกชน ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มจากร้อยละ 1.6 ในไตรมาส 2 เป็นร้อยละ 2.2 ในไตรมาส ที่ 3 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารเป็นสำคัญตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบและผลที่ส่งต่อไปสู่ต้นทุนการผลิต ช่วง 9 เดือนแรกของปี อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 โดยยังไม่ได้รับ ผลกระทบทางอ้อมจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ภาวะการเงิน
สภาพคล่องระบบการเงินค่อนข้างสูง ในช่วง 9 เดือนแรกของปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างสูงขึ้น ขณะที่สินเชื่อรวมลดลง ในช่วง 9 เดือนแรกของปี เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเนื่องจากการระดม เงินทุนระยะยาวของธนาคารพาณิชย์ และการฝากเงินของผู้ถือตั๋วเงินที่ครบกำหนดของโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ขณะเดียวกันสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ของเอกชน การตัดหนี้สูญและ การชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ฐานเงินมียอดคงค้างลดลง แต่ปริมาณเงินปรับเพิ่มขึ้น ฐานเงินลดลง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน และ สินเชื่อสุทธิ ที่ให้กับภาครัฐลดลง ขณะที่ปริมาณเงินในช่วง 7 เดือนแรกลดลง เนื่องจากเงินสดในมือประชาชนลดลงภายหลังช่วง Y2K และเงินฝากสถาบันการเงินในรูป ตั๋วสัญญาใช้เงินลดลง แต่อีก 2 เดือนถัดมาเงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณเงิน ณ เดือนกันยายนมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม ในประเทศช่วงครึ่งแรกของปีคิดเป็นร้อยละ 5.9 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงพอประมาณ เมื่อพิจารณาแนวโน้มของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีความเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.0 ตามประมาณการของคณะกรรมการนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างการขยายตัวด้านอุปทานและ อุปสงค์ยังคงมีอยู่มาก โดยในครึ่งแรกของปีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทางด้าน อุปสงค์เท่ากับร้อยละ 7.5 รวมการสะสมสต๊อกที่คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศแล้ว
การส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ การที่สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมทำให้การขยายตัวของการผลิตภาค อุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ แนวโน้มการ ส่งออกสุทธิที่ชะลอลงได้เพิ่มความสำคัญต่อการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศโดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มไม่เร่งตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านเสถียรภาพยังอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานยังคงอยู่ในเป้าหมายของกรรมการนโยบาย การเงินเพราะยังไม่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการ เพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในหมวด ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้น ดุลการชำระเงินยังคงเกินดุลแม้ว่ามีการชำระหนี้ของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจนถึงปลายปีที่สำคัญมี (1) การกระตุ้นการบริโภคภาค เอกชน เนื่องจากรัฐบาลต้องบริหารหนี้สินภาครัฐอย่างระมัดระวังทำให้การกระตุ้นจากภาครัฐมีจำกัด นอกจากนี้ การว่างงานและการปรับลดการจ้างงานในหลายสาขา ก่อให้ความมั่นใจของผู้บริโภคไม่มีการปรับตัวที่ดีขึ้น (2) ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้แนวโน้มเงินเฟ้อเพิ่ม สูงขึ้น ยังไม่มีผลโดยตรงต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน แต่ อาจจะส่งผลกระทบทางอ้อมในภายหลัง (3) ภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเพิ่มชะลอลงซึ่งอาจส่งผลต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ และ (4) ความคืบหน้าของการปฏิรูประบบสถาบันการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชน
การผลิตและการใช้จ่ายภายในประเทศ
การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวต่อเนื่องจาก ไตรมาสที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 หดตัวร้อยละ 0.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน (ถ้าไม่รวมผลผลิตสุราดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.8 ในช่วง เดียวกัน) ในช่วง 9 เดือนแรก ดัชนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ไม่รวมผลผลิตสุรา) อุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ดีเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับ การส่งออกเป็นสำคัญ เนื่องจากความต้องการต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องประดับและเครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนในไตรมาส 3 อุตสาหกรรม รถยนต์ มีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทำให้ยอดจำหน่าย ภายในประเทศลดลง อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยใน ไตรมาส 3 เท่ากับร้อยละ 55.7 อย่างไรก็ตาม หลายอุตสาหกรรมก็ได้เริ่มใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ทำให้สามารถขยายกำลังการผลิตและมีการลงทุนเพิ่มได้ อาทิ แผงวงจรไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เครื่องชี้การบริโภคส่วนใหญ่ยังคงขยายตัวอยู่ ในเกณฑ์สูงในช่วง 9 เดือนแรก แต่ในไตรมาสที่ 3 อัตราการขยายตัวของเครื่องชี้มีทิศทางชะลอลง โดยเฉพาะ ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง และยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ที่ขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.6 และ 24.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัวในอัตราร้อยละ 36.2 และ 44.4 ตามลำดับ เป็นผลของความไม่มั่นใจของ ผู้บริโภคกับการเพิ่มของราคาน้ำมัน
เครื่องชี้การลงทุนมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลง เครื่องชี้การลงทุนที่ปรับเป็นหดตัวหลังจากที่เริ่ม มีการขยายตัวในช่วงครึ่งแรกของปี คือยอดจำหน่าย ปูนซีเมนต์ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างโดยรวม อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ยังมีการขยายตัวในระดับสูง สะท้อนถึงความต้องการขยายหรือปรับปรุงประสิทธิภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดี เช่น อุตสาหกรรมเพื่อการ ส่งออก บทบาทของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังคงมีอยู่ ดุลเงินสดในไตรมาสที่ 3 ยังคงขาดดุล 18.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ทั้งปีงบประมาณขาดดุล 110.3 พันล้านบาทใกล้เคียงกับเป้าหมาย โดยมีอัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 88 ทั้งนี้ การใช้จ่ายใน ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ขณะที่รายได้ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน การค้าต่างประเทศและฐานะการเงินระหว่างประเทศ
การส่งออกขยายตัวในอัตราที่สูง ประเภทสินค้าที่ยังส่งออกได้ดียังคงเป็นประเภทแผงวงจรไฟฟ้า และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศอาเซียน เพราะฉะนั้นแนวโน้มการส่งออกจึงมีความสัมพันธ์กับอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ เหล่านี้ การนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ทำให้ปัจจัยบวกที่ได้จากการส่งออกลดลง การสูงขึ้นของการนำเข้า ส่วนหนึ่งเป็นผลทางด้านราคานำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่เดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 3 ดุลการค้าและดุลการบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนกันยายนอยู่ในระดับ 32.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าการนำเข้า 6.5 เดือน สำหรับหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนยังคงลดลงตามการชำระหนี้ภาคเอกชน ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มจากร้อยละ 1.6 ในไตรมาส 2 เป็นร้อยละ 2.2 ในไตรมาส ที่ 3 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารเป็นสำคัญตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบและผลที่ส่งต่อไปสู่ต้นทุนการผลิต ช่วง 9 เดือนแรกของปี อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.7 โดยยังไม่ได้รับ ผลกระทบทางอ้อมจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ภาวะการเงิน
สภาพคล่องระบบการเงินค่อนข้างสูง ในช่วง 9 เดือนแรกของปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือน และอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างสูงขึ้น ขณะที่สินเชื่อรวมลดลง ในช่วง 9 เดือนแรกของปี เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเนื่องจากการระดม เงินทุนระยะยาวของธนาคารพาณิชย์ และการฝากเงินของผู้ถือตั๋วเงินที่ครบกำหนดของโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ขณะเดียวกันสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ของเอกชน การตัดหนี้สูญและ การชำระคืนหนี้ต่างประเทศ ฐานเงินมียอดคงค้างลดลง แต่ปริมาณเงินปรับเพิ่มขึ้น ฐานเงินลดลง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน และ สินเชื่อสุทธิ ที่ให้กับภาครัฐลดลง ขณะที่ปริมาณเงินในช่วง 7 เดือนแรกลดลง เนื่องจากเงินสดในมือประชาชนลดลงภายหลังช่วง Y2K และเงินฝากสถาบันการเงินในรูป ตั๋วสัญญาใช้เงินลดลง แต่อีก 2 เดือนถัดมาเงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณเงิน ณ เดือนกันยายนมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-