ดร.ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2548) คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบ ผลการศึกษาเรื่องโลกาภิวัตน์การเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศของกระทรวงการคลัง ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการคาดการณ์และวางแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. สถานการณ์ และแนวโน้มการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ
ในช่วงที่ผ่านมา บทบาทของภาคเอกชนในด้านการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศได้ขยายตัวขึ้นมาก ทำให้มีการสะสมทุนในภาคเอกชน และเป็นผลให้การเคลื่อนย้ายทุนเอกชนระหว่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเคลื่อนย้ายทุนนั้น ได้สร้างประโยชน์ ในการช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบ ดังจะเห็นได้จากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
สำหรับรูปแบบการเคลื่อนย้ายทุนนั้น โครงสร้างการเคลื่อนย้ายทุนจากเดิมที่เป็นการกู้ผ่านสถาบันการเงิน หรือการลงทุนโดยตรง (FDI) ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการลงทุนในตลาดทุนเพื่อการกระจายความเสี่ยง (Portfolio Investment) และอยู่ในรูปกองทุนเพื่อการเก็งกำไร (Hedge Fund) มากขึ้น โดยปัจจุบันมีกองทุนอยู่กว่า 7,000 กองทุน และสินทรัพย์มากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยผลของการขยายตัวของการลงทุนดังกล่าว ได้สร้างให้สินทรัพย์ที่ลงทุนในต่างประเทศของเอกชนทั่วโลกมีจำนวนถึง 38 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 ซึ่งมากกว่าเงินสำรองระหว่างประเทศที่ธนาคารกลางทั่วโลกถือไว้ 10 เท่า
ที่ผ่านมาการสะสมของสินทรัพย์ต่างประเทศของภาคเอกชน เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดทุนและตราสารหนี้ จะเข้ามามีบทบาทนำในการเคลื่อนย้ายทุน และในอนาคตไม่เกิน 10 — 15 ปี ข้างหน้า ทุนระหว่างประเทศจะก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ และคาดว่าบทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ในการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนโลกจะลดลง และจำกัดบทบาทลงเฉพาะประเทศที่ยากจนเท่านั้น
นอกจากนั้นยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการเคลื่อนย้ายทุนเอกชน กล่าวคือ ตลาดทุนจะมีบทบาทมากขึ้น ทดแทนบทบาทของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะในส่วนที่มีความเสี่ยงเกินกว่าที่สถาบันการเงินจะรับได้ และธุรกิจการเงินประเภท Non-Bank เช่นด้านสินเชื่อบุคคล Factoring และเช่าซื้อ จะมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างตลาดทุน และ Non-bank เพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2. แนวทางการปรับตัวของประเทศไทย
หลักการสำคัญภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ด้านทุนระหว่างประเทศคือการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไม่ให้ผันผวนไปกับเงินทุนระยะสั้นและการเก็งกำไร ในขณะเดียวกันควรสนับสนุนเงินทุนระยะยาวเพื่อการพัฒนาประเทศและธุรกิจ
2.1 แนวรับเพื่อการวางกลไกบริหารในประเทศให้พร้อมรักษาเสถียรภาพในระยะสั้น
สำหรับแนวนโยบายในการรองรับการเคลื่อนย้ายทุนนั้น จำเป็นต้องมีการบริหารเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะสั้น ได้แก่ 1) ดุลบัญชีเดินสะพัดสมดุลในระยะยาว หากขาดดุลในช่วงการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega projects) การขาดดุลสูงสุดไม่ควรเกินร้อยละ 2.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 2) เงินสำรองระหว่างประเทศ มากกว่า 3.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ (Credit rating) ไม่ลด และเพิ่ม 2 อันดับ และ 4) ดุลการคลังสมดุล โดยมีแนวนโยบาย และมาตรการที่สำคัญ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนี้
- บริหารเศรษฐกิจมหภาคอย่างน่าเชื่อถือและเป็นตัวของตัวเอง
- บริหารอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- มีกลไกกำกับดูแลความผันผวนของเงินทุนระยะสั้น
- ขยายความร่วมมือทางการเงินภายใต้ความริเริ่มเชียงใหม่ ไปสู่การเป็นเครื่องมือป้องกันความผันผวนระยะสั้นใน ASEAN+3
- สร้างช่องทางในการสื่อสารกับนักลงทุนต่างประเทศ
- เพิ่มเงินออมในประเทศ
2.2 แนวรุกเพื่อสร้างกลไกดึงประโยชน์จากการขยายตัวของทุนโลก
สำหรับแนวนโยบายในการดึงประโยชน์จากทุนโลกนั้น มีหลักการสำคัญ เพื่อดึงเงินทุนระยะยาวมาสนับสนุนการลงทุนของประเทศ พร้อมปรับโครงสร้างระบบการเงินไปพร้อมกัน การเพิ่มบทบาทของทุนไทยในการสนับสนุนการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ และการเพิ่มโอกาสทางการเงินของเศรษฐกิจระดับฐานรากและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป้าหมายของเงินทุนจะมุ่งไปที่เงินทุนระยะยาว ซึ่งจะช่วยสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากว่าเงินทุนระยะสั้น โดยมีแนวยุทธศาสตร์เพื่อดึงประโยชน์จากทุนระยะยาว ดังนี้
1. การดึงเงินทุนระยะยาวโดยเฉพาะเงินทุนจากเอเชีย
- การจัดตั้ง Foreign Board ให้นักลงทุนต่างชาติซื้อขายเป็นเหรียญสหรัฐได้ในตลาดหลักทรัพย์
- การผลักดันตลาดตราสารหนี้เอเชีย
- จัดดึงเงินสำรองระหว่างประเทศในเอเชียมาใช้เพื่อลงทุนในเอเชียเช่นการจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนในเอเชีย
- การจัดตั้ง Credit Rating Agency ของเอเชีย
- การจัดตั้งกองทุนรวมที่ตรงกับความต้องการของนักลงทุนต่างประเทศ
2. การเพิ่มบทบาททุนไทยตามการค้าการลงทุนของไทยไปต่างประเทศ
- การปรับระบบภาษีไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการขายหรือย้ายเครื่องจักรและโรงงานไปต่างประเทศ
- การพิจารณาให้ธุรกิจไทยในต่างประเทศถือบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
- การประเมินและการยอมรับทรัพย์สิน และรายได้ของนักลงทุนในต่างประเทศเพื่อการขอสินเชื่อและระดมทุนในประเทศ
3. การปรับปรุงกลไกตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ
- การกำกับดูแลสถาบันการเงินด้วยองค์กรที่ครบถ้วน โดยเฉพาะ สถาบันประกันเงินฝาก และข้อมูลที่ครบถ้วนในเครดิตบูโร
- การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ระยะยาวที่มั่นคง
- การจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนระยะยาวของรัฐ
- การพัฒนาองค์กรและความรู้ด้านตลาดทุนและการไปลงทุนต่างประเทศ
4. การสร้างกลไกดึงประโยชน์จากทุนสู่ฐานรากเศรษฐกิจ
- สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีศักยภาพในการระดมทุนต่างประเทศเพื่อเพิ่มทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและ SMEs โดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยง การมีองค์กรตรวจสอบดูแล
- สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องสนับสนุนการค้าและการลงทุนของเศรษฐกิจฐานรากและ SMEs ด้วยสินเชื่อระยะยาว การประกันความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ เมื่อมีการส่งออก
3. แนวทางการดำเนินงานต่อไป
กระทรวงการคลังเห็นว่าการเคลื่อนย้ายทุนจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับโลก ภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทย จนถึงระดับครัวเรือนไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องวางกรอบนโยบายเพื่อรองรับผลกระทบของการเคลื่อนย้ายทุนดังกล่าว จากการศึกษาในเบื้องต้นเห็นควรให้มีแนวนโยบาย 2 นโยบายหลัก คือ นโยบายแนวรับ เพื่อวางกลไกในประเทศเพื่อรองรับเสถียรภาพในประเทศระยะสั้น และนโยบายแนวรุกเพื่อสร้างกลไกดึงประโยชน์ จากการเคลื่อนย้ายทุน ให้สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดกับประเทศ ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการพัฒนาเป็นแผนปฏิบัติงานในรายละเอียดต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 108/2548 22 พฤศจิกายน 48--
1. สถานการณ์ และแนวโน้มการเคลื่อนย้ายทุนระหว่างประเทศ
ในช่วงที่ผ่านมา บทบาทของภาคเอกชนในด้านการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศได้ขยายตัวขึ้นมาก ทำให้มีการสะสมทุนในภาคเอกชน และเป็นผลให้การเคลื่อนย้ายทุนเอกชนระหว่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเคลื่อนย้ายทุนนั้น ได้สร้างประโยชน์ ในการช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบ ดังจะเห็นได้จากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
สำหรับรูปแบบการเคลื่อนย้ายทุนนั้น โครงสร้างการเคลื่อนย้ายทุนจากเดิมที่เป็นการกู้ผ่านสถาบันการเงิน หรือการลงทุนโดยตรง (FDI) ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการลงทุนในตลาดทุนเพื่อการกระจายความเสี่ยง (Portfolio Investment) และอยู่ในรูปกองทุนเพื่อการเก็งกำไร (Hedge Fund) มากขึ้น โดยปัจจุบันมีกองทุนอยู่กว่า 7,000 กองทุน และสินทรัพย์มากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยผลของการขยายตัวของการลงทุนดังกล่าว ได้สร้างให้สินทรัพย์ที่ลงทุนในต่างประเทศของเอกชนทั่วโลกมีจำนวนถึง 38 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 ซึ่งมากกว่าเงินสำรองระหว่างประเทศที่ธนาคารกลางทั่วโลกถือไว้ 10 เท่า
ที่ผ่านมาการสะสมของสินทรัพย์ต่างประเทศของภาคเอกชน เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดทุนและตราสารหนี้ จะเข้ามามีบทบาทนำในการเคลื่อนย้ายทุน และในอนาคตไม่เกิน 10 — 15 ปี ข้างหน้า ทุนระหว่างประเทศจะก้าวเข้าสู่ระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ และคาดว่าบทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ในการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนโลกจะลดลง และจำกัดบทบาทลงเฉพาะประเทศที่ยากจนเท่านั้น
นอกจากนั้นยังอาจมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการเคลื่อนย้ายทุนเอกชน กล่าวคือ ตลาดทุนจะมีบทบาทมากขึ้น ทดแทนบทบาทของสถาบันการเงิน โดยเฉพาะในส่วนที่มีความเสี่ยงเกินกว่าที่สถาบันการเงินจะรับได้ และธุรกิจการเงินประเภท Non-Bank เช่นด้านสินเชื่อบุคคล Factoring และเช่าซื้อ จะมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างตลาดทุน และ Non-bank เพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2. แนวทางการปรับตัวของประเทศไทย
หลักการสำคัญภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ด้านทุนระหว่างประเทศคือการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไม่ให้ผันผวนไปกับเงินทุนระยะสั้นและการเก็งกำไร ในขณะเดียวกันควรสนับสนุนเงินทุนระยะยาวเพื่อการพัฒนาประเทศและธุรกิจ
2.1 แนวรับเพื่อการวางกลไกบริหารในประเทศให้พร้อมรักษาเสถียรภาพในระยะสั้น
สำหรับแนวนโยบายในการรองรับการเคลื่อนย้ายทุนนั้น จำเป็นต้องมีการบริหารเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะสั้น ได้แก่ 1) ดุลบัญชีเดินสะพัดสมดุลในระยะยาว หากขาดดุลในช่วงการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega projects) การขาดดุลสูงสุดไม่ควรเกินร้อยละ 2.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 2) เงินสำรองระหว่างประเทศ มากกว่า 3.5 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ (Credit rating) ไม่ลด และเพิ่ม 2 อันดับ และ 4) ดุลการคลังสมดุล โดยมีแนวนโยบาย และมาตรการที่สำคัญ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ดังนี้
- บริหารเศรษฐกิจมหภาคอย่างน่าเชื่อถือและเป็นตัวของตัวเอง
- บริหารอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยในประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์
- มีกลไกกำกับดูแลความผันผวนของเงินทุนระยะสั้น
- ขยายความร่วมมือทางการเงินภายใต้ความริเริ่มเชียงใหม่ ไปสู่การเป็นเครื่องมือป้องกันความผันผวนระยะสั้นใน ASEAN+3
- สร้างช่องทางในการสื่อสารกับนักลงทุนต่างประเทศ
- เพิ่มเงินออมในประเทศ
2.2 แนวรุกเพื่อสร้างกลไกดึงประโยชน์จากการขยายตัวของทุนโลก
สำหรับแนวนโยบายในการดึงประโยชน์จากทุนโลกนั้น มีหลักการสำคัญ เพื่อดึงเงินทุนระยะยาวมาสนับสนุนการลงทุนของประเทศ พร้อมปรับโครงสร้างระบบการเงินไปพร้อมกัน การเพิ่มบทบาทของทุนไทยในการสนับสนุนการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ และการเพิ่มโอกาสทางการเงินของเศรษฐกิจระดับฐานรากและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป้าหมายของเงินทุนจะมุ่งไปที่เงินทุนระยะยาว ซึ่งจะช่วยสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากว่าเงินทุนระยะสั้น โดยมีแนวยุทธศาสตร์เพื่อดึงประโยชน์จากทุนระยะยาว ดังนี้
1. การดึงเงินทุนระยะยาวโดยเฉพาะเงินทุนจากเอเชีย
- การจัดตั้ง Foreign Board ให้นักลงทุนต่างชาติซื้อขายเป็นเหรียญสหรัฐได้ในตลาดหลักทรัพย์
- การผลักดันตลาดตราสารหนี้เอเชีย
- จัดดึงเงินสำรองระหว่างประเทศในเอเชียมาใช้เพื่อลงทุนในเอเชียเช่นการจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนในเอเชีย
- การจัดตั้ง Credit Rating Agency ของเอเชีย
- การจัดตั้งกองทุนรวมที่ตรงกับความต้องการของนักลงทุนต่างประเทศ
2. การเพิ่มบทบาททุนไทยตามการค้าการลงทุนของไทยไปต่างประเทศ
- การปรับระบบภาษีไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการขายหรือย้ายเครื่องจักรและโรงงานไปต่างประเทศ
- การพิจารณาให้ธุรกิจไทยในต่างประเทศถือบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
- การประเมินและการยอมรับทรัพย์สิน และรายได้ของนักลงทุนในต่างประเทศเพื่อการขอสินเชื่อและระดมทุนในประเทศ
3. การปรับปรุงกลไกตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ
- การกำกับดูแลสถาบันการเงินด้วยองค์กรที่ครบถ้วน โดยเฉพาะ สถาบันประกันเงินฝาก และข้อมูลที่ครบถ้วนในเครดิตบูโร
- การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ระยะยาวที่มั่นคง
- การจัดตั้งกองทุนเพื่อการลงทุนระยะยาวของรัฐ
- การพัฒนาองค์กรและความรู้ด้านตลาดทุนและการไปลงทุนต่างประเทศ
4. การสร้างกลไกดึงประโยชน์จากทุนสู่ฐานรากเศรษฐกิจ
- สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องมีศักยภาพในการระดมทุนต่างประเทศเพื่อเพิ่มทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและ SMEs โดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยง การมีองค์กรตรวจสอบดูแล
- สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องสนับสนุนการค้าและการลงทุนของเศรษฐกิจฐานรากและ SMEs ด้วยสินเชื่อระยะยาว การประกันความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ เมื่อมีการส่งออก
3. แนวทางการดำเนินงานต่อไป
กระทรวงการคลังเห็นว่าการเคลื่อนย้ายทุนจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจและสังคมในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับโลก ภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทย จนถึงระดับครัวเรือนไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องวางกรอบนโยบายเพื่อรองรับผลกระทบของการเคลื่อนย้ายทุนดังกล่าว จากการศึกษาในเบื้องต้นเห็นควรให้มีแนวนโยบาย 2 นโยบายหลัก คือ นโยบายแนวรับ เพื่อวางกลไกในประเทศเพื่อรองรับเสถียรภาพในประเทศระยะสั้น และนโยบายแนวรุกเพื่อสร้างกลไกดึงประโยชน์ จากการเคลื่อนย้ายทุน ให้สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดกับประเทศ ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการพัฒนาเป็นแผนปฏิบัติงานในรายละเอียดต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 108/2548 22 พฤศจิกายน 48--